ความคุ้มครองตามกรมธรรม์คืออะไร?
ความคุ้มครองตามกรมธรรม์นั้นหมายถึง ปริมาณของความเสี่ยงหรือความรับผิดชอบที่บริษัทประกันจะให้ความคุ้มครองต่อบุคคลหรือนิติบุคคล เช่น ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก ประกันรถยนต์ หรือ ประกันชีวิต ซึ่งบริษัทประกันจะรับหน้าที่ให้ประกันภัยในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น อุบัติเหตุรถชน หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และเมื่อบริษัทสามารถเก็บค่าเบี้ยประกันตามระดับความเสี่ยงจากลูกค้าหลาย ๆ คน ก็จะมั่นใจได้ว่าบริษัทจะมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับลูกค้าของตน หากวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือ อุบัติเหตุขึ้นมานั่นเอง
ลูกค้าวัยหนุ่มจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันรถยนต์แพงกว่าลูกค้าผู้ชายวัยอื่น ๆ นั่นเพราะตามสถิติแล้วพวกเขามีแนวโน้มที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องในอุบัติเหตุที่เกิดการบาดเจ็บทางร่างกาย หรือความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก ในทางตรงกันข้ามค่าเบี้ยประกันรถยนต์ของลูกค้าผู้หญิงวัยกลางคนที่แต่งงานแล้วและมีประสบการณ์ขับขี่หลายปีจะมีราคาถูกกว่า
ความคุ้มครองตามกรมธรรม์มีกี่ประเภท?
1. กรมธรรม์ประกันรถยนต์
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ คือ ความคุ้มครองประเภทหนึ่งซึ่งให้ความคุ้มครองคุณในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือรถชน โดยผู้ขับขี่อาจต้องมีเงินขั้นต่ำจำนวนหนึ่งตามที่ตกลงกับบริษัทประกันภัยเพื่อใช้รับผิดชอบต่อการคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ และยังรวมถึงความคุ้มครองต่อการบาดเจ็บทางร่างกายและความคุ้มครองต่อความเสียหายของทรัพย์สิน
ความรับผิดชอบต่อการบาดเจ็บ หรือ ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก หมายถึง ค่ารักษาพยาบาลของบุคคลภายนอกที่อาจได้รับบาดเจ็บอันเนื่องมาจากคุณ
ความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเมื่อคุณเป็นฝ่ายผิด
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณอาศัยอยู่ที่ไหน เพราะคุณอาจต้องมีประกันอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น
- ประกันที่มีความคุ้มครองครบ ครอบคลุม
- ประกันที่คุ้มครองอุบัติเหตุรถชน
- ประกันที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล
- ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
สำหรับเบี้ยประกันรถยนต์ ราคาเบี้ยจะขึ้นอยู่กับประวัติการขับขี่ของคุณ หากคุณเป็นผู้มีประวัติขับขี่ดี นั่นคือ ไม่มีประวัติการเกิดอุบัติเหตุ เบี้ยประกันของคุณก็จะราคาถูกลง
อย่างไรก็ตาม หากคุณมีประวัติการเกิดอุบัติเหตุมาก่อนคุณอาจต้องจ่ายเบี้ยประกันที่สูงขึ้นมาก เพื่อให้ครอบคลุมกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ทั้งความคุ้มครองต่อรถของคุณเอง การบาดเจ็บทางร่างกาย และความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก
ในทำนองเดียวกัน ผู้ขับขี่ที่เป็นผู้ใหญ่และมากประสบการณ์ก็มักจะเกิดอุบัติเหตุน้อยกว่าผู้ขับขี่หน้าใหม่
ดังนั้น ผู้ขับขี่ที่อายุต่ำกว่า 25 ปีจึงมีแนวโน้มที่จะต้องจ่ายค่าเบี้ยแพงกว่า
ส่วนผู้ขับที่ใช้รถขับไปทำงานหรือขับทางไกลเป็นประจำ ก็ย่อมจะต้องจ่ายค่าประกันรถยนต์เพิ่มขึ้น เนื่องจากระยะทางที่เพิ่มขึ้นก็มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุรถชนได้มากขึ้น ส่วนคนที่ไม่ค่อยได้ใช้รถก็จะมีค่าเบี้ยที่ต้องจ่ายน้อยลง
อีกข้อที่เอามาใช้ประกอบการเสนอค่าเบี้ยคือ อัตราความเสียหายต่อทรัพย์สิน หากผู้ขับขี่ที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ก็มักจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยสูงกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัดและพื้นที่ชนบท
2. ประกันบ้านและที่อยู่อาศัย
กรมธรรม์ประกันบ้านและที่อยู่อาศัย เป็นความคุ้มครองประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับบ้านและทรัพย์สินของคุณ โดยทั่วไปประกันบ้านและที่อยู่อาศัย จะคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินดังต่อไปนี้:
- เพลิงไหม้
- ถูกโจรกรรม
- ทรัพย์สินถูกทำลาย
- ความเสียหายจากฟ้าผ่า
- ลูกเห็บและวาตภัย
ผู้ถือกรมธรรม์ประกันบ้านและที่อยู่อาศัย จะได้รับเงินชดเชย สำหรับจ่ายค่าซ่อมบ้าน หรือ สร้างบ้านใหม่ได้หากได้รับความเสียหายขั้นรุนแรง
ประกันบ้านสามารถจ่ายค่าชดเชยต่อสิ่งของที่สูญหายหรือเสียหาย ตลอดจนเปลี่ยนหรือซ่อมแซมโครงสร้างใด ๆ ได้ที่เกี่ยวข้องกับบ้านของคุณได้เช่นกัน (ตัวอย่างเช่น โรงรถของคุณ)
เบี้ยประกันของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมูลค่ารวมของบ้านและทำเลที่ตั้งบ้านของคุณ ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยที่สูงขึ้น หากมีบ้านอยู่ในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดภัยธรรมชาติได้สูง เช่น ภัยน้ำท่วม
3. กรมธรรม์ประกันชีวิต
ประกันชีวิต หมายถึง ความคุ้มครองที่ให้หลักประกันทางการเงินแก่คนที่คุณรักและผู้อยู่ในความอุปการะ หากคุณเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร สำหรับกรมธรรม์ประเภทนี้ คุณต้องใส่ชื่อผู้รับผลประโยชน์ (คนที่จะรับผิดชอบทรัพย์สินและมรดกของคุณต่อไป) หรือใส่ชื่อผู้รับผลประโยชน์ได้หลายคนหากคุณเสียชีวิต
กรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นความคุ้มครองระยะยาวและให้ความคุ้มครองตามระยะเวลาที่กำหนด ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเลือกกรมธรรม์ที่มีระยะเวลา 20 หรือ 25 ปี
ประกันชีวิตแบบถาวรจะคุ้มครองคุณตราบเท่าที่คุณชำระเบี้ยประกันภัยรายเดือน (เช่น ความคุ้มครองตลอดชีพ) ข้อดีอีกอย่างของประกันชีวิตแบบถาวร คือ คุณจะได้รับเงินปันผลมาใช้สอยได้ หากคุณประสบปัญหาทางการเงิน
ประเภทของประกันชีวิต มีดังนี้ :
- ประกันชีวิตตลอดชีพ ไม่มีเงินปันผล (Whole life)
- ประกันชีวิตควบการลงทุน (Universal life)
- ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ (Variable life)
- ประกันชีวิตตลอดชีพแบบมีเงินสะสมทรัพย์ (Variable universal life)
ด้วยการประกันชีวิตแต่ละประเภท (ทั้งแบบสะสมทรัพย์หรือตลอดชีพ) คุณสามารถเลือกรับผลประโยชน์เมื่อเสียชีวิตให้กับผู้รับผลประโยชน์ได้ตามที่คุณต้องการ (เช่น ได้รับเงิน 1,000,000 บาท หรือ มากกว่านั้น)
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลามีแนวโน้มที่ค่าเบี้ยประกันจะต่ำกว่า เนื่องจากคุณจะได้รับการคุ้มครองในช่วงระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น
ค่าเบี้ยประกันชีวิตจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุและเพศของผู้เอาประกัน เนื่องจากคนอายุน้อยมีโอกาสเสียชีวิตน้อยกว่า คนกลุ่มนี้ก็จะจ่ายเบี้ยประกันต่ำกว่า หรือ ค่าเบี้ยของผู้หญิงจะถูกกว่าผู้ชายเพราะมีแนวโน้มที่จะอายุยืนกว่าผู้ชาย
การมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น งานอดิเรกที่เป็นอันตราย การใช้ยาเสพติด หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ก็อาจส่งผลให้ค่าเบี้ยประกันสูงขึ้นเช่นกัน
สุขภาพของผู้เอาประกันภัยก็สำคัญ เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใช้คำนวณเบี้ยประกันภัย ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงจะจ่ายค่าเบี้ยน้อยลง ตัวอย่างเช่น คนที่ถือกรมธรรม์ 30 ปีมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่ถือกรมธรรม์ 10 ปี
และหากคุณมีประวัติเจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีโรคประจำตัวหรือภาวะสุขภาพหรือสภาพที่เป็นมาก่อนทำประกัน เช่น โรคหัวใจจากกรรมพันธุ์ หรือมะเร็ง ก็อาจส่งผลให้ค่าเบี้ยประกันสูงขึ้นได้เช่นกัน
คนที่สูบบุหรี่ นักดื่ม และคนที่มีโรคอ้วน กลุ่มคนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะจ่ายเบี้ยประกันที่สูงขึ้น เมื่อตัดสินใจทำประกันชีวิต ผู้สมัครจะต้องผ่านการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเพื่อหาสัญญาณของโรคความดันโลหิตสูงหรือสัญญาณความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น
นอกจากประกันชีวิตแล้ว คุณก็ควรพิจารณาทำประกันประเภทอื่น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับความคุ้มครองหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น การทำประกันสุขภาพ ประกันมะเร็ง ประกันอัคคีภัย และประกันที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล
คำถามที่พบบ่อย
เปรียบเทียบราคาประกันที่ไหนดี?
คุณสามารถเปรียบเทียบแผนความคุ้มครอง เช็คราคาเบี้ยประกัน และรับใบเสนอราคาของคุณได้ทันทีบนเว็บไซต์ของเรา หรือมาที่เว็บพันธมิตรของเราอย่าง MrKumka.com เพียงคุณตอบคำถามไม่กี่ข้อ ก็จะได้เห็นรายละเอียดความคุ้มครอง ค่าเบี้ยประกัน รวมทั้งความคุ้มครองเพิ่มเติมและบริการเสริมต่าง ๆ อีกด้วย
ทำไมการทำประกันจึงสำคัญกับคุณ?
เพราะการมีประกันที่มอบความคุ้มครองต่าง ๆ ให้คุณ จะทำให้คุณมั่นใจในทุกสถานการณ์ คุณควรเลือกบริษัทประกันที่ไว้ใจได้และหากเกิดอุบัติเหตุก็สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อรับความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกซื้อประกันภัยมีอะไรบ้าง?
สำหรับแผนประกันรถยนต์ ควรต้องมีความคุ้มครองและความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก ครอบคลุมกรณีรถชน ส่วนประกันบ้านควรมีความคุ้มครองจากไฟไหม้ การโจรกรรม การก่อกวน ความเสียหายจากฟ้าผ่า ภัยธรรมชาติ เช่น ลูกเห็บ พายุ น้ำท่วม
ประกันประเภทไหนที่ต้องมีตามกฎหมายบังคับใช้?
การทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับในประเทศไทย หรือ “พ.ร.บ.” เป็นไปตามกฎหมายกำหนด ความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนั้นจำกัด ดังนั้นเราจึงแนะนำให้คุณซื้อประกันภาคสมัครใจประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติม แม้กฎหมายจะไม่ได้บังคับให้ทำ เช่น ประกันบ้าน เพราะอย่างไรก็ตาม ภัยธรรมชาติอย่างน้ำท่วมก็เกิดขึ้นบ่อยในประเทศไทย และประกันชีวิตในประเทศไทยก็ไม่บังคับ แต่เราก็ขอแนะนำให้ทำคุณประกันชีวิตสักฉบับ
การทำประกัน คุ้มครองการทำศัลยกรรม ทันตกรรม หรือ เลสิก ได้หรือไม่?
การทำศัลยกรรมตกแต่งทั่วไป บริการทันตแพทย์ การทำเลสิก ไม่รวมอยู่ในความคุ้มครอง แต่อย่างไรก็ตาม หากเกิดอุบัติเหตุภายหลังการทำ บริษัทประกันอาจจะพิจารณาให้ความคุ้มครองได้
คำจำกัดความ
เขตเมือง / พื้นที่เมือง | เขตเมือง / พื้นที่เมือง คือพื้นที่ที่มีประชากร อาคาร และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ หนาแน่น |
พื้นที่ชนบท | คือพื้นที่ที่มีประชากรและมีธุรกิจหนาแน่นน้อย |
โรคทางพันธุกรรม | เป็นโรคที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกผ่านทางยีน |
ลูกเห็บ | ลูกเห็บ คือประเภทของหยาดน้ำฟ้า (ปรากฏการณ์ของน้ำในอากาศ) ในสถานะของแข็ง ซึ่งประกอบด้วยก้อนน้ำแข็ง |
เสียชีวิตก่อนวัยอันควร | คือการตายที่เกิดขึ้นก่อนอายุขัยเฉลี่ย |