ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

ประกันภัยภาคบังคับ หรือที่เรารู้จักในชื่อ “พ.ร.บ.” คือกรมธรรม์ประกันภัยที่กฎหมายกำหนดให้รถทุกคันในประเทศไทยต้องทำประกัน

รายละเอียดความคุ้มครอง
เรียนรู้ประกันภัยภาคบังคับกับรู้ใจ

ประกันรถยนต์ภาคบังคับคืออะไร?

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ “พ.ร.บ.” เป็นประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยกำหนดให้รถทุกคันในประเทศไทยต้องทำประกันภาคบังคับ ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก โดยพรบ.จะคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินถนน และในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิต ทายาทของผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับค่าสินไหมทดแทน

ประกันรถยนต์ภาคบังคับคุ้มครองอะไรบ้าง?

ความคุ้มครอง พรบ. จะให้ความคุ้มครองพื้นฐานสำหรับ

  • ค่ารักษาพยาบาล - คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เช่น ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าธรรมเนียมแพทย์ และค่ายาตามใบสั่งแพทย์
    จำนวนเงินจำกัดความรับผิด ฿80,000 ต่อคน
  • การสูญเสียอวัยวะสำคัญ - คุ้มครองการสูญเสียอวัยวะสำคัญจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เช่น ปอด ไต หรือตับ
    จำนวนเงินจำกัดความรับผิดตั้งแต่ ฿200,000 ถึง ฿500,000
  • เสียชีวิตและทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง - คุ้มครองการเสียชีวิตและทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
    จำนวนเงินจำกัดความรับผิดสูงสุด ฿500,000 ต่อคน
  • ค่าชดเชยรายวัน - คุ้มครองค่าชดเชยรายวันเพื่อครอบคลุมค่าครองชีพของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
    จำนวนเงิน ฿200 ต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

ซื้อพรบ. ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

คุณต้องเตรียมเอกสารตามด้านล่างนี้ ก่อนซื้อประกันภัยภาคบังคับ

  • สำเนาเล่มทะเบียนรถ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
  • เอกสารประจำตัวที่มีรูปและเลขที่บัตรประชาชน เช่น สำเนาใบขับขี่

พรบ. ราคาเท่าไหร่?

เบี้ยประกันของประกันรถยนต์ภาคบังคับจะขึ้นอยู่กับประเภทของรถที่ต้องการทำประกัน ราคาเฉลี่ยหากคุณซื้อ พรบ ออนไลน์ กับรู้ใจ ด้านล่างนี้เลย

ประเภทของรถยนต์ เบี้ยประกันรายปี
รถเก๋ง (Sedan) 645 บาท
รถกระบะ 2 ประตู 967 บาท
รถตู้ 1,182 บาท
รถยนต์ไฟฟ้า 645 บาท

เคลมพรบ. ยังไง

  1. ติดต่อบริษัทประกันภัยของคุณทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์
  2. แจ้งความกับตำรวจภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดอุบัติเหตุ เช็คให้แน่ใจว่าคุณให้ข้อมูล หมายเลขกรมธรรม์ประกันภัย, เลขทะเบียนรถ, วันและเวลาเกิดอุบัติเหตุ, สถานที่เกิดเหตุ และข้อมูลการติดต่อของพยาน ครบถ้วน
  3. เตรียมเอกสารสำหรับแจ้งเคลมประกันภัยภาคบังคับ ดังนี้ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาเล่มทะเบียนรถ สำเนาใบขับขี่ ใบแจ้งความ สำเนาประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ถ้ามี) และสำเนาพ.ร.บ. ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ถ้ามี) ใบมรณบัตร (ถ้ามี) ใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)

ต่อพรบ.ออนไลน์ยังไง?

คุณสามารถต่อพรบ.ออนไลน์พร้อมกับการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้ที่ DLT’s e-Service

  1. เตรียมข้อมูลรถยนต์ให้พร้อม จากคู่มือรถ เล่มทะเบียนรถ เลขทะเบียนรถ
  2. เลือกลงทะเบียนหรือเข้าสู่ระบบได้ที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th.
  3. คลิก “ชำระภาษีประจำปี” กรอกข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้อง แล้วเลือก “ยื่นชำระภาษี”
  4. จากนั้นเมื่อเข้าสู่หน้ายื่นชำระภาษี ให้กดเลือก “ข้อมูลพรบ.” กด “ไม่มี (ซื้อผ่านระบบ)” และเลือก “ต้องการซื้อ พ.ร.บ. ใหม่”
  5. กรอกข้อมูลรถ ชำระเงิน และรอรับเอกสารพรบ รถยนต์ตามที่อยู่จัดส่งที่กรอกไว้

*คุณสามารถต่ออายุประกันรถยนต์ภาคบังคับอย่างน้อย 90 วันก่อนหมดอายุความคุ้มครอง

ต่อพรบรถยนต์ออนไลน์ง่าย ๆ

Q&A ประกันภัยภาคบังคับ

ไม่ซื้อประกันภาคบังคับ หรือ พรบ.ได้มั้ย?

ยานพาหนะทุกคันต้องมีประกันภัยภาคบังคับซึ่งจะต้องต่อพรบรถยนต์ทุกปีก่อนต่อภาษีรถยนต์ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท

ความคุ้มครองของพรบ.เพียงพอมั้ย?

ประกันภัยภาคบังคับให้ความคุ้มครองพื้นฐานสำหรับความเสี่ยงทางการเงินสำหรับผู้ประสบภัยจากรถยนต์ แต่ความคุ้มครองนี้จำกัดเฉพาะความเสียหายและการบาดเจ็บต่อชีวิตและร่างกาย ไม่รวมความเสียหายของรถยนต์และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ดังนั้นจึงแนะนำให้ซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเพิ่มเติมไว้ด้วย คุณสามารถเปรียบเทียบประกันรถยนต์ได้อย่างง่ายดายบนเว็บไซต์ของเรา

พรบ.หมดอายุ ต้องทำยังไง?

หากประกันภัยภาคบังคับหมดอายุ จะต้องต่ออายุโดยเร็วที่สุด เพราะการขับรถโดยไม่มีพรบ. ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมีโทษปรับ โดยสามารถต่ออายุออนไลน์ได้ทาง DLT’s e-Service หรือที่บริษัทประกันภัย

Tips ประกันภัยภาคบังคับ

  • ต่ออายุประกันภัยภาคบังคับอยู่เสมอเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับ หากคุณต่อประกันออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ของ DLTิ คุณสามารถต่อประกันได้อย่างน้อย 90 วันก่อนหมดอายุ
  • เก็บเอกสาร พรบรถยนต์ ไว้กับตัวรถตลอดเวลา เพราะคุณอาจถูกขอให้แสดง พรบ.เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์
  • พิจารณาซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ชั้น 1 2+ 3+ 2 และ 3 เพื่อรับความคุ้มครองที่สูงขึ้น

คำจำกัดความ

ผู้ประสบภัยจากรถยนต์ บุคคลที่ได้รับอันตราย การบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
กรมขนส่งทางบก หน่วยงานของรัฐในประเทศไทยที่รับผิดชอบด้านการจดทะเบียนและควบคุมยานพาหนะตลอดจนการออกใบขับขี่รถยนต์
คู่มือรถ เอกสารที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ การดูแลรักษา หรือการซ่อม

อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2567