Roojai

เพิ่งรู้! เลี้ยวรถแล้วหมุนพวงมาลัยสุด เสี่ยงเพลารถพังเร็ว

ผลเสียต่อรถยนต์เมื่อเลี้ยวรถแล้วหมุนพวงมาลัยจนสุด | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

หนึ่งในประเด็นที่หลายคนไม่คาดคิด หรืออาจไม่เคยนึกถึงมาก่อนเลย คือ หมุนพวงมาลัยขณะเลี้ยวจนสุด เสี่ยงทำให้เพลารถได้รับความเสียหายและพังเร็วมากกว่าที่ควร หากเกิดความสงสัยตามมาว่าแล้วแบบนี้จะต้องเลี้ยวรถยังไงให้ดีต่อรถยนต์ บทความนี้มีคำตอบ  พร้อมบอกต่อทริคถือพวงมาลัยให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจตามมาในภายหลัง 

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

หมุนพวงมาลัยจนสุด ส่งผลเสียต่อรถยังไง?

ชุดบังคับเลี้ยวของรถยนต์ ประกอบด้วยแรคพวงมาลัยที่ต่อเชื่อมกับก้านของพวงมาลัยรถยนต์ไปจนถึงวงพวงมาลัย ซึ่งมีทั้งพวงมาลัยรถไฟฟ้าและพวงมาลัยพาวเวอร์สายพาน ทั้ง 2 แบบมีกระปุกน้ำมันหล่อลื่นที่ทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือทำงานด้วยกลไกที่พ่วงต่อกับสายพานหน้าเครื่องรถยนต์

โดยหน้าที่หลักของ “พวงมาลัยรถยนต์” คือ ควบคุมให้รถยนต์วิ่งไปในทิศทางที่ต้องการ ใช้เพื่อจอด และใช้ในการเลี้ยวรถ การจะหมุนพวงมาลัยจนสุด ไม่ว่าจะจากซ้ายไปขวาหรือจากขวามาซ้าย แล้วเหยียบคันเร่งออกตัวเร็ว ๆ อาจทำให้ชุดบังคับเลี้ยวได้รับความเสียหายมากมาย ดังนี้

1. หมุนพวงมาลัยจนสุดแบบเร็วและแรง

การที่คุณหมุนพวงมาลัยจนสุดแบบเร็ว ๆ และแรง ๆ จะทำให้แรงดันน้ำมันพาวเวอร์เกิดการไหลย้อน อาจทำให้บริเวณจุดเชื่อมต่อของท่อน้ำมันพาวเวอร์เกิดการรั่วออกจากตัวปั๊ม หรือรั่วซึม ซีลยางสึกหรอ รวมถึงชิ้นส่วนต่าง ๆ ของแรคพวงมาลัยเสียหาย

2. หมุนพวงมาลัยจนสุด พร้อมออกตัวอย่างรวดเร็ว

กรณีที่หมุนพวงมาลัยจนสุด พร้อมเหยียบคันเร่งเพื่อออกตัวอย่างรวดเร็ว จะทำให้เพลารถขับเคลื่อนล้อหน้าได้รับความเสียหาย อาจทำให้ลูกปืนของเพลาหรือระบบพวงมาลัยพาวเวอร์เสียหาย เนื่องจากรับแรงมากเกินไป ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นมักเกิดกับรถที่ใช้พวงมาลัยพาวเวอร์ระบบไฮดรอลิก

เพลารถยนต์คืออะไร มีความสำคัญยังไง | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

3. หมุนพวงมาลัยขณะที่รถจอดนิ่งอยู่กับที่

หากรถจอดนิ่งอยู่กับที่แล้วคุณหมุนพวงมาลัยจนสุด จะก่อให้เกิดความเสียหายในระยะยาว เช่น ยางรถยนต์เกิดการเสียดสีกับพื้นถนน ทำให้ดอกยางสึกหรอก่อนกำหนด หรือรถยนต์ที่ใช้พวงมาลัยไฟฟ้าอาจเกิดการสึกหรอแล้วตามมาด้วยความเสียหาย เนื่องจากมอเตอร์ทำงานหนักกว่าปกติ ซึ่งจะตามมาด้วยค่าซ่อมแซมชุดบังคับเลี้ยวที่สูงเอาเรื่องเลยล่ะ 

4. หมุนพวงมาลัยจนสุด แล้วคาทิ้งไว้นาน ๆ

อาจทำให้ระบบบังคับเลี้ยงเกิดความเสียหายได้ เนื่องจากน้ำมันพาวเวอร์เกิดความร้อนสูง ซึ่งจะเกิดขึ้นกับรถยนต์ที่ใช้พวงมาลัยพาวเวอร์ระบบไฮดรอลิก มีสายพานคล้องกับปั๊มเพื่อสร้างแรงดันน้ำมันไฮดรอลิกไหลไปหล่อเลี้ยงระบบ 

ถ้าไม่ได้ตั้งใจหมุนพวงมาลัยจนสุดไม่ว่าจะกรณีใด ๆ ก็ตาม เมื่อรู้ตัวให้ค่อย ๆ คลายพวงมาลัยหมุนย้อนคืนมาเล็กน้อย เพื่อลดความตึงของระบบบังคับเลี้ยว พร้อมกับออกตัวช้า ๆ ค่อย ๆ กดคันเร่ง หากต้องคาพวงมาลัยรถยนต์ในรัศมีเลี้ยวรถไว้แบบนั้น ทำแบบนี้บ่อย ๆ เมื่อต้องใช้พวงมาลัยในการถอยเข้า-ออก หรือเลี้ยวรถกลับลำ ก็จะช่วยยืดอายุระบบบังคับเลี้ยงได้แล้วล่ะ 

เลี้ยวรถแล้วมีเสียง ผิดปกติมั้ย?

หลายคนอาจมองว่าเสียงที่เกิดขึ้นขณะเลี้ยวรถ ไม่ใช่ความผิดปกติใด ๆ แต่บอกไว้เลยว่าอย่าชะล่าใจเด็ดขาด เพราะมันคือสัญญาณอาการผิดปกติ แล้วทำไมถึงเกิดเสียงต่าง ๆ ขึ้นมาได้กันนะ? ตามไปหาคำตอบกันเลยดีกว่า

  1. เลี้ยวรถแล้วมีเสียงดังแก๊ก ๆ มักมีสาเหตุมาจากตัวยางหุ้มเพลาขับข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจจะทั้ง 2 ข้างขาด เพราะฝุ่นหรือน้ำเข้าไปทำให้จาระบีบริเวณหัวเพลารถแห้ง จนเกิดการเสียดสีและเกิดความร้อน และตามมาด้วยการสึกหรอในที่สุด
  2. เสียงเอี๊ยด ๆ ขณะเลี้ยวรถ แนะนำให้ตรวจเช็กช่วงล่างทั้งหมด ไล่ไปตั้งแต่แรคพวงมาลัย, ลูกหมาก, ปีกนก, คันส่งคันชัก เนื่องจากอาจหมดอายุการใช้งาน หรือเกิดความเสียหายจากการใช้งานก็เป็นได้
  3. เกิดเสียงครืด ๆ เมื่อทำการเลี้ยวรถ ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับพวงมาลัยพาวเวอร์ ที่อาจมีการรั่วซึมของน้ำมันพาวเวอร์ ทำให้พวงมาลัยรถยนต์หนักและเบาสลับกันไป รวมไปถึงเมื่อหมุนพวงมาลัยแล้วไม่กลับคืนด้วยเช่นกัน 
  4. เสียงดอกยางขณะเลี้ยวรถ ไม่ถือว่าเป็นปัญหาที่น่ากังวล เพียงแต่จะสร้างความรำคาญให้กับผู้ขับขี่และผู้โดยสารเท่านั้น สาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงเช่นนี้เป็นเพราะดอกยางยังใหม่ แต่ถ้าใช้ไปนาน ๆ แล้วเกิดเสียงแบบนี้ ก็อาจเป็นเพราะดอกยางเสื่อมก็ได้เป็นได้

นอกจากจะรู้ทันสัญญาณผิดปกติของพวงมาลัยรถยนต์ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นแล้ว ยังควรรู้เท่าทันอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วย ว่ามันไม่เลือกเวลาเกิด และไม่เลือกว่าจะต้องเกิดกับใคร ดังนั้นการมีตัวช่วยที่อุ่นใจได้มากกว่าอย่าง “ประกันภัยรถยนต์” ถือเป็นเรื่องที่ดีกว่า โดยเฉพาะในวันที่คุณเป็นฝ่ายต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ประกันรถที่รู้ใจ ลดเบี้ยสูงสุด ปรับแต่งแผนตามใจ เช็คราคาประกันรถไม่ต้องใส่เบอร์หรืออีเมล 

เลี้ยวรถเข้าโค้งยังไงให้ปลอดภัย ห่างไกลจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน?

หนึ่งในวิธีที่คนมีรถจำเป็นต้องเรียนรู้เอาไว้หน่อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน คือ การเลี้ยวรถเข้าโค้งให้ปลอดภัย ซึ่งเราก็ได้รวบรวมมาให้ทั้งหมด 3 วิธีเลี้ยวรถ จะมีอะไรบ้างนั้น ตามไปทำความเข้าใจกันเลยดีกว่า 

1. ระมัดระวังในการเร่งเครื่องยนต์

หากเร่งเครื่องยนต์ในขณะเข้าโค้ง จะทำให้การหมุนพวงมาลัยไม่สอดคล้องกับทางโค้ง แต่ถ้ากำลังจะผ่านจุดยอดของโค้งด้านในไปอย่างมั่นคง สามารถแตะคันเร่งเพื่อรักษาความเร็วระหว่างเข้าโค้งได้ โดยเหยียบคันเร่งเบา ๆ ให้ยังพอรู้สึกว่าสามารถควบคุมพวงมาลัยรถยนต์ได้โดยไม่เสียหลัก แต่ถ้าไม่ได้รู้สึกแบบนั้น ให้ถอนคันเร่งออกมาพร้อมกับแตะเบรคเบา ๆ 

2. ใช้ความระวังในการเปลี่ยนเลน

ถ้าต้องการเปลี่ยนเลน ควรเปลี่ยนเลนให้อยู่ชิดกับส่วนนอกของโค้ง เช่น หากต้องการเข้าโค้งเพื่อเลี้ยวขวา ให้เปลี่ยนเลนมาอยู่ด้านซ้ายสุด เพื่อให้เลี้ยงในทางโค้งได้เยอะขึ้น ไม่ข้ามไปเลนตรงข้าม และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการแซงบริเวณทางโค้ง

3. ไม่กระแทกเบรคขณะเข้าโค้ง

ในขณะที่ขับรถเข้าโค้งควรใช้ความเร็วต่ำ ไม่กระแทกเบรคแรง ๆ แต่ให้ค่อย ๆ แตะเบรคและชะลอรถตอนเลี้ยว ที่สำคัญไม่ควรหักพวงมาลัยกะทันหันเกินไป หากพ้นโค้งไปแล้วจึงค่อย ๆ เร่งเครื่อง เพราะถ้าหากเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง อาจทำให้รถเสียการทรงตัว หรืออาจทำให้พลิกคว่ำได้ง่าย

เลี้ยวรถแล้วหมุนพวงมาลัยสุด เสี่ยงเพลารถพัง | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

จับพวงมาลัยรถยนต์ยังไงให้ถูกต้อง?

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการปรับพวงมาลัยหรือท่าจับพวงมาลัย เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการควบคุมรถ เพราะถ้าหากจับพวงมาลัยรถยนต์แบบผิด ๆ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมาได้ แล้วแบบนี้จะต้องจับยังไงให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยงพบเจอกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ตามไปหาคำตอบกัน

  • จับพวงมาลัยให้กระชับ แต่ไม่ต้องกำแน่นจนเกินไป เว้นแต่ตอนที่ขับรถช่วงที่ฝนตกหรือขับรถขึ้น-ลงเขา สถานการณ์เช่นนี้ควรจับพวงมาลัยรถยนต์ให้กระชับมากขึ้น เพื่อเพิ่มการควบคุมพวงมาลัยรถ
  • ห้ามจับพวงมาลัยรถยนต์แบบหงายมือ หรือสอดมือเข้าไปในพวงมาลัยเด็ดขาด แม้ว่าหลายคนจะรู้สึกว่าถนัดมือมากกว่า เพราะการจับพวงมาลัยรถยนต์แบบนี้เป็นวิธีที่ผิด อาจตีมือรุนแรงและทำให้เสียหลักขณะขับขี่ได้
  • จับพวงมาลัยรถยนต์ด้วยมือทั้ง 2 ข้างเสมอ โดยให้มือซ้ายอยู่ในตำแหน่ง 9 นาฬิกา และมือขวาอยู่ในตำแหน่ง 3 นาฬิกา จะช่วยให้หมุนจับพวงมาลัยรถยนต์ได้ถนัดมือมากขึ้น แถมยังช่วยให้ควบคุมรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ยังไม่ควรจับพวงมาลัยด้วยมือข้างเดียวเด็ดขาด เพราะอาจเสี่ยงทำให้รถสูญเสียการควบคุม และเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อเจอกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น รถไถลลื่น, ตกหลุม, สัตว์ตัดหน้า เป็นต้น

อย่างที่บอกไปว่าการหมุนพวงมาลัยจนสุด เสี่ยงทำให้ล้อและเพลารถได้รับความเสียหาย หากไม่อยากเสียเงินค่าซ่อมเพลารถ รวมถึงชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แนะนำให้ระมัดระวังการใช้งานพวงมาลัยรถยนต์ให้ดี และอย่าลืมให้ความสำคัญกับท่าจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง 

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

แรคพวงมาลัย เป็นส่วนหนึ่งของระบบบังคับเลี้ยว มีหน้าที่ช่วยบังคับรถยนต์ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
พวงมาลัยพาวเวอร์ พวงมาลัยที่ถูกพัฒนามาจากพวงมาลัยแบบเก่า ให้สามารถช่วยลดแรงหมุนพวงมาลัยให้รถยนต์สามารถเลี้ยวตามคำสั่งของผู้ขับขี่ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องออกแรงหมุนมาก