สิ่งที่ทำให้เจ้าของรถไฟฟ้าใจตุ้ม ๆ ต่อม ๆ คือการใช้งานผิดปกติ “เกิดปัญหาขัดข้อง” ไม่รู้ว่าจะเริ่มแก้ปัญหาจากตรงไหน เพราะส่วนใหญ่รถไฟฟ้า EV มักมีปัญหาจากแบตรถไฟฟ้า หรือไม่ก็ซอฟต์แวร์ตัวรถ บทความนี้จะช่วยแก้ปัญหารถ EV เบื่องต้น ไม่ว่าจะปัญหาการชาร์ต รถเสียกลางทาง ต้องทำยังไง ขอความช่วยเหลือรถเสียจากใครได้บ้าง? บทความนี้มีคำตอบ
สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!
- รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จแบตไม่เข้า
- ดึงสายชาร์จแบตรถไฟฟ้าไม่ออก
- รถ EV เกิดอุบัติเหตุหรือรถเสียฉุกเฉินกลางทาง
- ขับรถยนต์ไฟฟ้าลุยน้ำ
- การชาร์จแบตรถไฟฟ้าล้มเหลว
- แบตรถยนต์ไฟฟ้าใกล้หมดกลางทาง
สำหรับ “ปัญหา” ที่สาวกรถไฟฟ้าพบบ่อย ย้ำอีกครั้งว่าส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากแบตเตอรี่รถไฟฟ้าแทบทั้งนั้น แต่จะมีปัญหาอะไรบ้าง แล้วต้องแก้ไขยังไง บทความนี้มีคำตอบ
1. รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จแบตไม่เข้า
ปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยมาก ๆ โดยเฉพาะกับมือใหม่หัดขับช่วงแรก ๆ เนื่องจากหลายคนอาจสับสนวิธีการชาร์จไฟ รวมถึงตำแหน่งพอร์ตชาร์จ เพราะมันต้องอาศัยความเข้าใจ รวมถึงศึกษาวิธีการชาร์จอย่างถูกต้อง
แต่ในกรณีที่ไม่ได้สับสน อยู่ดี ๆ กลับชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้าไม่เข้า อาจเป็นเพราะ “เสียบหัวชาร์จไม่สนิท” วิธีแก้ไขง่าย ๆ คือนำปลั๊กออกแล้วเสียบเข้าไปใหม่ จากนั้นก็ล็อกรถ แล้วกด “ชาร์จอีกครั้งหรือ Recharge” ในแอปพลิเคชั่น หากยังไม่สามารถใช้ได้ ให้ติดต่อกับบริษัทรถยนต์
2. ดึงสายชาร์จแบตรถไฟฟ้าไม่ออก
เหตุการณ์ที่แล้วเป็นการชาร์จแบตไม่เข้า แล้วถ้าหากชาร์จเข้าแต่ดันดึงสายไม่ออกต้องทำยังไง? วิธีแก้คือให้ลองกดล็อกหรือปลดล็อก 3 ครั้ง แล้วดึงสายชาร์จออก หากยังไม่ได้ให้ติดต่อกับบริษัทรถยนต์ โดยไม่แนะนำให้ใช้แรงหรือพยายามถึงออกมา
3. รถ EV เกิดอุบัติเหตุหรือรถเสียฉุกเฉินกลางทาง
ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหลายแบรนด์ พร้อมอำนวยความสะดวกให้ผู้ขับขี่สามารถใช้งานได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ด้วยการติดตั้งปุ่ม SOS ให้กดโทรออกเพื่อขอความช่วยเหลือรถเสีย กรณีที่มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บกะทันหัน
กรณีรถไฟฟ้าขัดข้อง แนะนำให้จอดไหล่ทางแล้วลองดับเครื่องยนต์ไว้ก่อนประมาณ 20 นาที จากนั้นลองสตาร์ตใหม่อีกครั้ง แต่ถ้าอาการหนักจนไม่สามารถเคลื่อนรถได้ ควรเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินทันที พร้อมติดต่อหน่วยงานเพื่อขอความช่วยเหลือจากรถเสีย
ปัญหารถเสียกลางทางหรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันของรถไฟฟ้า ถือเป็นเรื่องที่ยากเกินจะคาดเดา และยังใหม่เกินกว่าจะรับมือ เพราะการซ่อมรถไฟฟ้า EV จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะด้าน ไม่สามารถนำเข้าอู่ซ่อมรถหรือร้านซ่อมรถยนต์ทั่วไปได้ แถมค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถพลังงานไฟฟ้าก็สูงมาก คงดีจะไม่ใช่น้อยหากมีคนที่สามารถขอความช่วยเหลือรถเสียหรืออุบัติเหตุได้ ประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่รู้ใจ มีบริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. ปรับแผนตามใจเพื่อความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ ในราคาที่ถูกใจ เช็คราคาประกันรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ต้องใส่ข้อมูลติดต่อ
4. ขับรถยนต์ไฟฟ้าลุยน้ำ
รถไฟฟ้าเป็นรถที่ขับเคลื่อนโดยพลังงานไฟฟ้า แม้จะกันน้ำได้ แต่ไม่ว่ารถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์น้ำมันก็มีระดับน้ำที่ไม่ควรขับฝ่าไป โดยเฉพาะเมื่อน้ำท่วมสูงเกินขอบประตูรถไม่ควรขับฝ่าเด็ดขาด แต่หากขับลุยมาแล้ว ควรไล่น้ำออกจากเบรคโดยเบรคซ้ำ ๆ วนไป 5-10 นาที และนำรถเข้าไปเช็คที่ศูนย์
5. การชาร์จแบตรถไฟฟ้าล้มเหลว
หากไม่ใช่การชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้าไม่เข้า แต่ดันเป็น “ชาร์จแบตล้มเหลว” อาจเกิดจากสาเหตุหลาย ๆ อย่าง ดังนี้
- ปัญหาฮาร์ดแวร์ – ปัญหาฮาร์ดแวร์เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยมาก ๆ ซึ่งอาจมีตั้งแต่สายชาร์จหรือขั้วต่อที่ชำรุด ไปจนถึงปัญหาเกี่ยวกับแท่นชาร์จ ซึ่งการตรวจสอบอุปกรณ์ชาร์ตและดูแลรักษาอยู่เสมอจะช่วยลดความเสี่ยงอุปกรณ์เสียหายได้
- ปัญหาซอฟต์แวร์ – การอัปเดตซอฟต์แวร์เป็นประจำ ทั้งรถยนต์ เครื่องชาร์จติดผนังที่บ้าน แอปมือถือสถานีชาร์จ จะช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งถ้าหากคุณเกิดข้อสงสัยว่าตัวซอฟต์แวร์จะมีปัญหา การรีเซ็ตหรือติดตั้งการอัปเดตล่าสุดใหม่ อาจช่วยแก้ปัญหาได้
- ข้อผิดพลาดของผู้ใช้ ข้อผิดพลาดง่าย ๆ ของผู้ใช้งาน เช่น การเสียบสายชาร์จไม่ถูกต้อง การใช้อุปกรณ์ชาร์จที่ไม่รองรับ รวมถึงการไม่เปิดใช้งานเซสชันการชาร์จผ่านแอปฯ หรือการ์ด RFID ที่จำเป็น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาได้ แนะนำให้ตรวจสอบการตั้งค่าอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างเชื่อมต่อ และเปิดใช้งานแล้ว
- ปัญหาแบตรถไฟฟ้า ความเป็นไปได้อีกหนึ่งอย่างที่ทำให้การชาร์จแบตรถไฟฟ้าล้มเหลว คือ มีปัญหาจากตัวแบตเตอรี่โดยตรง แนะนำให้นำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อเช็คแบตเตอรี่และหาสาเหตุโดยผู้เชี่ยวชาญ
เทคนิคง่าย ๆ ช่วยดูแลรักษารถยนต์ไฟฟ้า
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการดูแลรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ชาร์จ สามารถป้องกันปัญหาการชาร์จแบตรถไฟฟ้าได้ด้วย แต่จะมีวิธีดูแลรักษารถเก๋งไฟฟ้ายังไงบ้าง? ตามไปดูกันเลย
- ทำความสะอาดทุกวัน – เช็ดสายชาร์จและพอร์ตด้วยผ้าแห้งเป็นประจำ เพื่อขจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกออก
- เช็คสภาพสายชาร์จ – ก่อนชาร์จควรเช็คความเสียหายบนสายชาร์จ และขั้วต่อก่อนใช้งานแต่ละครั้ง หากชำรุด แตกหัก หรือมีความผิดปกติใด ๆ ควรเปลี่ยนทันที เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับระบบไฟฟ้า
- อัปเดตซอฟต์แวร์ – เช็คซอฟต์แวร์ของรถไฟฟ้า EVเป็นเวอร์ชันล่าสุด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความเข้ากันไม่ได้กับสถานีชาร์จ
- การจัดเก็บที่เหมาะสม – เก็บสายชาร์จไว้ในที่เย็นและแห้ง รวมถึงห่างจากแสงแดดและความชื้น
6. แบตรถยนต์ไฟฟ้าใกล้หมดกลางทาง
หากรถไฟฟ้ากำลังเผชิญกับเหตุการณ์แบตรถไฟฟ้าใกล้หมด แนะนำให้รีบหาสถานีชาร์จโดยด่วน ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันสำหรับตรวจสอบสถานีชาร์จ หรือค้นหาสถานีชาร์จใน Google Maps จากนั้นค้นหาคำว่า “สถานีชาร์จ หรือ EV Charging และรีบหาสถานีชาร์จที่ใกล้ที่สุด เพื่อนำรถพลังงานไฟฟ้าไปเข้าไปชาร์จทันที
รถยนต์ไฟฟ้าแบตหมดกลางทางบ่อย ๆ เกิดปัญหาตามมามั้ย?
เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่า เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่เหลือ 0% สามารถขับต่อได้ประมาณหลายสิบกิโลเมตร ทำให้หลายคนไม่ค่อยวางแผนการเดินทาง
แม้รถพลังงานไฟฟ้าจะถูกออกแบบให้มี “กำลังไฟสำรอง” เพื่อหลาย ๆ เหตุผล เช่น การเข้าเกียร์, ความปลอดภัย, รวมถึงเพื่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถไฟฟ้าเอง แต่การที่ใช้งานรถไฟฟ้า EV จนแบตเหลือ 0% โดยไม่มีประจุไฟฟ้าหลงเหลืออยู่เลย อาจทำให้แบตเสื่อมสภาพ แม้ว่าจะเป็นแบตก้อนใหม่ก็ตาม ถ้าไม่อยากเสียเงินเปลี่ยนแบตอีกรอบ อย่าได้คิดชะล่าใจในจุดนี้เด็ดขาด
การเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าถือเป็น “ตัวเลือก” ที่ดี แต่มีหลายอย่างที่ต้องความเข้าใจให้ดีก่อน โดยเฉพาะ “ปัญหา” ที่อาจเกิดขึ้นตามมากับระบบไฟฟ้าและการแบตรถไฟฟ้า เพื่อรู้วิธีรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงหาวิธีซ่อมรถได้อย่างแยบยล ถูกต้อง เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้คุณใช้รถใช้ถนนได้อย่างอุ่นใจตลอดทริปแล้วล่ะ
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
ความเสียหายทางกายภาพ | การจัดเก็บที่ไม่ดี การจัดเก็บที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม และไม่เพียงพอ |
รีเซ็ต | การเริ่มต้นใหม่, การคืนค่าเดิม |
ไหล่ทาง | พื้นที่ที่อยู่ติดกับขอบถนนซึ่งไม่ได้ทำเป็นทางเท้า มีไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน เช่น การจอดรถเมื่อเกิดปัญหาหรือการให้ทางรถฉุกเฉินผ่าน |