การดูแลเอาใส่ใส่รถเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ารถยนต์ที่เราใช้กันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดมลพิษ อากาศจากรถยนต์ หากคุณกำลังตามหาวิธีดูแลรักษารถ ให้ปล่อยมลพิษน้อยที่สุด เพื่อให้สิ่งแวดล้อมของเราน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
- ควันดำ ควันขาว เกิดจากอะไร?
- วิธีเช็คว่ารถปล่อยมลพิษอยู่หรือเปล่า?
- โทษปรับหากรถยนต์ของคุณปล่อยมลพิษมากเกินไป
- คำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะ คืออะไร?
- เคล็ดลับใช้รถยนต์ปล่อยมลพิษน้อยที่สุด
- รถควันดำ การซ่อมอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
ควันดำ ควันขาว เกิดจากอะไร?
“ควันดำ” ที่ถูกปล่อยออกมาจากรถยนต์และปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม แล้วรถควันดํา เกิดจากอะไร? เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของน้ำมันเชื้อเพลิง และยังมีอีกหลาย ๆ สาเหตุ โดยอ้างอิงข้อมูลจากฝ่ายสุขาภิบาลทั่วไป กองอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย ไม่ว่าจะเป็น
- ปรับแต่งปั๊มหัวฉีดไม่เหมาะสม
- หัวฉีดปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงชำรุด ทำให้การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงไม่เป็นฝอย
- ควันดำจากน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์มีคุณภาพต่ำ
- เครื่องหลวมเนื่องจากลูกสูบ หรือกระบอกสูบชำรุด
- มีพฤติกรรมบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด
- ไส้กรองอากาศอุดตัน ทำให้อากาศเข้าไม่เพียงพอ
“ควันขาว” ควันขาวออกท่อที่ถูกปล่อยออกมาจากรถยนต์ เกิดจากการเผาไหม้ไม่หมดจดจากการที่เครื่องยนต์ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี เครื่องยนต์อาจมีการสึกหรอ หรือน้ำมันเครื่อง ในส่วนของวิธีแก้รถควันขาว คือการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่ที่สึกหรอลงไปนั่นเอง
การรับรับผิดชอบต่อควันดำ ควันขาว เกิดจากรถยนต์ของเราเป็นสิ่งสำคัญ เพราะควันรถเหล่านี้ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และอาจทำให้คนอื่น ๆ บนท้องถนนเสี่ยงโรค ทั้งหลอดลมอักเสบหรือโรคมะเร็งปอดได้เลย รวมถึงรถควันขาวควันดำยังมีส่วนปล่อยฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเป็นผลกระทบต่อคนอื่น ๆ ในวงกว้าง และส่งผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อมและโลกของเราอีกด้วย
วิธีเช็คว่ารถปล่อยมลพิษอยู่หรือเปล่า?
รู้หรือไม่ว่ารถควันดำ มีความผิดตามกฎหมายด้วยนะ เพราะกรมการขนส่งทางบกเริ่มใช้เกณฑ์ตรวจควันดำจากท่อไอเสียใหม่ ที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2565 เป็นต้นไป ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
- การตรวจควันดำ ด้วยเครื่องวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง ตรวจขณะเครื่องยนต์ไม่มีภาระ ค่าควันดำสูงสุดต้องไม่เกินร้อยละ 30 จากเดิมร้อยละ 45
- การตรวจควันดำ ด้วยเครื่องวัดควันดำระบบกระดาษกรอง ตรวจขณะเครื่องยนต์ไม่มีภาระ ค่าควันดำสูงสุดต้องไม่เกินร้อยละ 40 จากเดิมร้อยละ 50
หากไม่แน่ใจว่ารถยนต์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีค่าควันดำเกินกว่าเกณฑ์ใหม่หรือไม่ สามารถเข้าใจตรวจเช็คได้ที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-5, สำนักงานขนส่งจังหวัด และสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ทั่วประเทศ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
โดยเกณฑ์การวัดควันดำใหม่ ได้เริ่มบังคับใช้กับรถที่ดำเนินการตรวจสภาพรถก่อนจดทะเบียน หรือตรวจสภาพรถก่อนชำระภาษีประจำปี ที่สำนักงานขนส่งและสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ทุกแห่ง
โทษปรับหากรถปล่อยมลพิษมากเกินไป
หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า รถยนต์ของคุณมีค่าควันดำเกินกว่าเกณฑ์ใหม่ที่กำหนด จะมีโทษปรับสูงสุด 5,000 บาท และสั่งห้ามใช้รถด้วยการติดสติกเกอร์ข้อความว่า “ห้ามใช้” จนกว่าเจ้าของรถจะดำเนินการแก้ไขสภาพเครื่องยนต์ ไม่ให้มีค่าควันดำเกินกำหนด รวมถึงต้องนำรถไปตรวจสภาพอีกครั้ง ถึงจะสามารถกลับมาใช้งานรถได้ดังเดิม
คำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะ คืออะไร?
รถยนต์ที่มีควันดำเกินกว่าที่เกณฑ์ใหม่กำหนด จะถูกติดสติกเกอร์ “ห้ามใช้ชั่วคราว” หรือ “ห้ามใช้เด็ดขาด” นอกจากนี้ยังถูกบันทึกหมายเลขทะเบียนลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อแจ้งไปยังนายทะเบียนของกรมขนส่งทางบก พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
- ห้ามใช้ชั่วคราว
คือ คำสั่งห้ามใช้รถยนต์ที่มีควันดำเกินกว่ามาตรฐานเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะนำรถคันดังกล่าวไปแก้ไขเครื่องยนต์ ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ และมีควันดำตามเกณฑ์ที่กำหนด ภายในเวลา 30 วัน
- ห้ามใช้เด็ดขาด
คือ คำสั่งห้ามใช้รถยนต์อย่างเด็ดขาด เมื่อไม่นำรถยนต์ไปแก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลา 30 วัน นับจากวันที่มีคำสั่งห้ามใช้ชั่วคราว และจะสามารถเคลื่อนย้ายรถได้ต่อเมื่อ ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเท่านั้น
หมายเหตุ: กรณีที่ทำสติกเกอร์ “ห้ามใช้ชั่วคราว” และ “ห้ามใช้เด็ดขาด” หลุด ฉีก หรือไร้ประโยชน์ มีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
เคล็ดลับใช้รถยนต์ปล่อยมลพิษน้อยที่สุด
ทางเลือกในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อประหยัดพลังงานเป็นที่นิยมมากขึ้น แต่หากคุณยังต้องใช้รถน้ำมันสันดาปอยู่ ใครที่ไม่อยากให้รถยนต์ของตัวเองเป็นตัวการในการปล่อยควันพิษสู่สภาพแวดล้อม เรามีเคล็ดลับดี ๆ มาบอกต่อทั้งหมด 5 ข้อด้วยกัน ดังนี้
1. ใช้รถร่วมกัน ทางเดียวกันไปด้วยกัน
เคล็ดลับที่ช่วยให้รถของคุณเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ และควรทำเป็นอันดับแรกคือ ใช้รถร่วมกัน ทางเดียวกันไปด้วยกันเพื่อประหยัดน้ำมัน งดการใช้รถ นอกจากจะช่วยให้รถบนถนนลดปริมาณลงแล้ว ยังช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศได้มากเลยทีเดียว
2. กำจัดน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสม
รู้มั้ยว่า “น้ำมันเครื่องใช้แล้ว” ใช้เวลาในการย่อยสลายนานมาก ๆ แถมยังเป็นสารเคมีที่เป็นพิษรวมถึงมีโลหะที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ที่อาจส่งผลร้ายตามมาได้ สิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือการป้องกันไม่ให้น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว ไปปนเปื้อนในระบบนิเวศน์และแหล่งน้ำดื่ม
เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการใช้วิธีการกำจัดมันไปอย่างถูกต้อง เช่นหากเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเองที่บ้าน ควรตรวจสอบให้แน่ใจเสมอว่าน้ำมันเครื่องทั้งหมด อยู่ใส่ไว้ในภาชนะและถูกทิ้งในสถานที่ที่เหมาะสม
3. รวมธุระของคุณ ใช้รถให้น้อย มลพิษก็น้อยตาม
ในแต่ละวันเชื่อว่าทุกคนล้วนมีธุระที่จำเป็นต้องใช้รถมากมาย หากอยากหลีกเลี่ยงการปล่อยมลพิษมากเกินความจำเป็น แนะนำให้วางแผนการเดินทางให้ดี รวมถึงวางแผนเวลาให้เหมาะสม จากนั้นค่อยออกไปทำธุระทั้งหมดในรอบเดียว นอกจากจะช่วยให้คุณประหยัดเวลา ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
4. เลือกใช้ยางรถยนต์ที่เหมาะสมกับตัวรถ
การเลือกใช้ยางที่เหมาะสมกับรถ เหมาะสมกับการใช้งานของคุณ และควรเติมลมยา ให้เหมาะสมด้วยเช่นกัน จะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีมาก ๆ แถมยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ รวมถึงช่วยยืดอายุการใช้งานรถยนต์ของคุณด้วย แนะนำเลยว่าควรตรวจสอบแรงดันยางเป็นประจำทุกเดือน
5. เปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (รถ EV)
ทุกวันนี้รถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาตีตลาดในประเทศไทยจำนวนมาก ซึ่งรถยนต์เหล่านี้ไม่มีเครื่องยนต์สันดาป ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ เรียกได้ว่าเป็นรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาก ๆ เลยใช่มั้ยล่ะ หรือจะเลือกใช้รถยนต์ไฮบริดก็ได้ นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะเป็นการรวมคุณสมบัติของทั้งรถยนต์ที่ใช้น้ำมันและไฟฟ้าเข้าด้วยกัน
เห็นแล้วใช่มั้ยว่า เคล็ดลับใช้รถยนต์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่ล้วนเริ่มต้นจากตัวคุณเองทั้งนั้น หากคุณสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำที่เรานำมาบอกต่ออย่างเคร่งครัด จะช่วยให้รถยนต์ของคุณปล่อยมลพิษน้อยลง แถมยังมีสภาพแวดล้อมที่ดีตามไปด้วย
รถควันดำ การซ่อมอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
หากรถยนต์ของคุณมีควันดำพวงพุ่งออกมาจากท่อไอเสียปริมาณมาก และเป็นแบบนั้นตลอดเวลา วิธีแก้ไข รถ ควัน ดำ แนะนำให้นำรถตรวจเช็คสภาพโดยด่วน เพื่อดำเนินการตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์ หากเช็คแล้วพบว่าต่ำกว่าปกติ จะต้องซ่อมด้วยการเปลี่ยนแหวนลูกสูบ หรือคว้านกระบอกสูบใหม่ทันที นอกจากนี้ยังรวมถึงการปรับแรงดันที่หัวฉีดให้ตรงตามกำหนด
กรณีที่ตรวจพบสุดสึกหรอดังกล่าว จะต้องมีการเปลี่ยนชุดหัวฉีดใหม่ หรือถ้าหากมีอาการลูกปั๊มสึกหรอ อาจต้องเปลี่ยนลูกปั๊มแต่ละชุดใหม่เช่นกัน ดังนั้นคุณควรตรวจเช็ครถยนต์ ตามรายการต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
- ทำความสะอาดไส้เครื่องกรองอากาศ ทุกสัปดาห์
- รถควันดำ ล้างท่อไอเสีย เพื่อล้างเขม่าที่อาจตกค้างอยู่
- เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ทุก 3 เดือน
- ทำความสะอาดไส้กรองน้ำมัน ทุก 3 เดือน
- เปลี่ยนไส้กรองอากาศ ทุก 6 เดือน
- เปลี่ยนไส้กรองน้ำมัน ทุก 6 เดือน
- ตรวจสอบหัวฉีดน้ำมัน ทุก 6 เดือน
- ตรวจสอบระบบจ่ายน้ำมัน ปีละครั้ง
เพียงเท่านี้เครื่องยนต์ของคุณจะหมดปัญหาควันดำ และปล่อยมลพิษ อากาศสู่สภาพแวดล้อมน้อยลงแล้วล่ะ นอกจากเช็คสภาพรถแล้วอย่าลืมเช็คประกันภัยรถยนต์ด้วย อย่าปล่อยให้หมดอายุ หรือขาดเด็ดขาด เพื่อที่คุณจะได้รับความคุ้มครองตลอดการเดินทาง และไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุเพียงลำพัง
ในยุคสมัยที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพ และสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น คุณเองสามารถใส่ใจสิ่งแวดล้อม”ได้ง่าย ๆ โดยเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวอย่างการใช้งานรถยนต์ก่อนได้ นอกจากจะทำตามคำแนะนำที่เราบอกต่อแล้ว ยังจำเป็นจะต้องนำรถไปตรวจสภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจตามมา รวมถึงเรื่อง โทษปรับตามกฎหมายจราจรด้วยเช่นกัน
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)