หนึ่งในประเด็นสำคัญที่คนมีรถห้ามมองข้ามเด็ดขาด คือ การต่อภาษีรถยนต์ 2567 เนื่องจากการต่อภาษีรถยนต์มีผลทางกฎหมาย และมีความเกี่ยวข้องกับพรบ.รถยนต์ รวมถึงประกันภัยด้วย หากยังมองภาพไม่ออกว่าการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 2567 มีความสำคัญยังไง ตามรู้ใจไปทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันได้เลย
- ภาษีรถยนต์คืออะไร?
- หากขาดต่อภาษีรถยนต์จะเกิดอะไรขึ้น?
- ยื่นต่อภาษีรถยนต์ 2567 ออนไลน์ได้มั้ย?
- ต่อภาษีรถยนต์ 2567 ราคาเท่าไหร่?
- รถไฟฟ้า EV ต้องจ่ายภาษีปีละเท่าไหร่?
- อัตราภาษีรถไฟฟ้า (หลัง 30 กันยายน 2568) คิดยังไง?
ภาษีรถยนต์คืออะไร?
ภาษีรถยนต์คือ ป้ายสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่ผู้มีรถยนต์ทุกคนต้องจ่ายหรือต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 2567ตามที่กฎหมายกำหนด โดยภาษีที่จ่ายทุก ๆ ปี ทางภาครัฐจะนำไปพัฒนาปรับปรุงถนน การคมนาคมภายในประเทศ หากปล่อยให้ขาดไม่ว่าจะด้วยเหตุผลลืม ละเลย หรือจงใจ อาจทำให้ถูกปรับและเสียเวลาในการดำเนินการได้
หากขาดต่อภาษีรถยนต์จะเกิดอะไรขึ้น?
อยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่าการต่อภาษีรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถตู้ รถครอบครัว 7 ที่นั่ง หรือรถยนต์ประเภทใดก็ตามจะต้องทำการต่อภาษีรถยนต์ในปีที่หมดอายุ โดยสามารถ “ต่อล่วงหน้า” ได้ 90 วัน แน่นอนว่ามีเวลาให้เจ้าของรถคำนวณค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีได้มากโขเลย
แต่ถึงอย่างนั้นยังไม่วายลืมต่อภาษี จนเป็นเหตุให้ต่อภาษีรถยนต์ล่าช้ากว่าที่กำหนด หรือขาดต่อภาษีนานเกินไป ซึ่งถ้าหากเป็นแบบนี้ แน่นอนว่ามีผลกระทบตามมาแน่นอน แต่จะอะไรบ้าง? ตามรู้ใจไปดูกันเลย
หากต่อภาษีรถยนต์ล่าช้ากว่าที่กำหนด
ค่าปรับที่เกิดจากการต่อภาษีรถยนต์ล่าช้ากว่ากำหนด นับตั้งแต่วันที่ขาด 1 วันขึ้นไป ค่าปรับจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนวัน โดยทางกฎหมายจะถือเป็นการขาดต่อภาษี นับเวลาตั้งแต่ 1-3 ปี จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1% ต่อเดือน
หากขาดต่อภาษีรถยนต์มากกว่า 3 ปีขึ้นไป
หากขาดภาษีรถยนต์มากกว่า 3 ปีขึ้นไป ทางกฎหมายจะถือว่าป้ายทะเบียนรถยนต์นั้น ๆ “ถูกยกเลิก” ทันที หากเจ้าของรถต้องการต่อภาษีรถยนต์ใหม่ จะต้องนำป้ายทะเบียนเดิมไปคืนที่กรมขนส่งทางบก พร้อมกับชำระค่าปรับให้เรียบร้อย ถึงจะสามารถทำใหม่ได้
ยื่นต่อภาษีรถยนต์ 2567 ออนไลน์ได้มั้ย?
ในการต่อภาษีรถยนต์ สำหรับรถยนต์ที่มีอายุไม่ถึง 7 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อ แต่ถ้าหากมีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป ไม่ว่าจะต่อภาษีรถยนต์ 7 ที่นั่ง รถไฟฟ้า EV รถเก๋ง รถกระบะ หรือรถอื่น ๆ จำเป็นต้องตรวจสภาพให้ครบ ถึงจะสามารถดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ได้ โดยใครที่กำลังจะต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 2567 สามารถทำออนไลน์ได้ผ่านแอป DLT Vehicle Tax หรือเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
ต่อภาษีรถยนต์ 2567 ราคาเท่าไหร่?
รถยนต์แต่ละคันมีค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภทรถยนต์ที่ใช้ ขนาดเครื่องยนต์ น้ำหนัก อายุของรถ และประเภทการจดทะเบียนรถ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือดำ)
รถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป (ไม่เกิน 7 ที่นั่ง) จะคำนวณเรื่องต่อภาษีรถยนต์ 2567 จากขนาดของเครื่องยนต์หรือซีซี ดังนี้
- 600 ซีซีแรก คิดซีซีละ 50 สตางค์
- 601–1,800 ซีซี คิดซีซีละ 1.50 บาท
- 1,801 ซีซีขึ้นไป ซีซีละ 4 บาท
นอกจากนี้ยังมี “ส่วนลด” สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป โดยมีสัดส่วนที่ลดลง ดังนี้
- รถยนต์อายุเกิน 6 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 10%
- รถยนต์อายุเกิน 7 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 20%
- รถยนต์อายุเกิน 8 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 30%
- รถยนต์อายุเกิน 9 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 40%
- รถยนต์อายุเกิน 10 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 50%
รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีเขียว)
รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง จะถูกคิดตาม เช่น รถตู้ขนส่งสินค้า รถบรรทุก มีวิธีคิดคำนวณต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 2567 ดังนี้
- น้ำหนักรถ 0-500 อัตราภาษี 300 บาท
- น้ำหนักรถ 501- 750 กก. อัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. อัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. อัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. อัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. อัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก. อัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. อัตราภาษี 1,650 บาท
- น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 กก. อัตราภาษี 1,950 บาท
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน)
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้ มีวิธีคำนวณราคาต่อรถยนต์ตาม “น้ำหนัก” ตัวรถของ ดังนี้
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท
นอกจากการต่อภาษีรถยนต์ 2567 จะเป็นอีกประเด็นสำคัญที่ทุกคนควรให้ความสำคัญแล้ว “ประกันภัยรถยนต์” ทั้ง รถตู้ รถไฟฟ้า จะรถประเภทไหน ๆ ควรจะให้ความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้คุณตลอดการเดินทาง หากไม่รู้ว่าจะเลือกประกันแบบไหน ที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์มากที่สุด รู้ใจมีตัวเลือกค่อนข้างหลากหลาย ประกันรถยนต์ที่รู้ใจ เช็คราคาได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีอู่และศูนย์ซ่อมทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนก็สบายใจไร้กังวล
รถไฟฟ้า EV ต้องจ่ายภาษีปีละเท่าไหร่?
สำหรับรถไฟฟ้าทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ลดภาษีรถไฟฟ้า EV ลง 80% ของอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียน โดยรถไฟฟ้าที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2568 โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
ภาษีรถไฟฟ้า ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 30 บาท
- น้ำหนัก 501 – 750 กก. ต้องเสียภาษี 60 บาท
- น้ำหนัก 751 – 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 90 บาท
- น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 160 บาท
- น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 200 บาท
- น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กก. ต้องเสียภาษี 260 บาท
- น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กก. ต้องเสียภาษี 330 บาท
- น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กก. ต้องเสียภาษี 380 บาท
- น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กก. ต้องเสียภาษี 440 บาท
- น้ำหนัก 3,001 – 3,500 กก. ต้องเสียภาษี 480 บาท
- น้ำหนัก 3,501 – 4,000 กก. ต้องเสียภาษี 520 บาท
- น้ำหนัก 4,001 – 4,500 กก. ต้องเสียภาษี 560 บาท
- น้ำหนัก 4,501 – 5,000 กก. ต้องเสียภาษี 600 บาท
- น้ำหนัก 5,001 – 6,000 กก. ต้องเสียภาษี 640 บาท
- น้ำหนัก 6,001 – 7,000 กก. ต้องเสียภาษี 680 บาท
- น้ำหนัก 7,001 ขึ้นไป กก. ต้องเสียภาษี 720 บาท
ภาษีรถไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน 7 ที่นั่ง
- น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 15 บาท
- น้ำหนัก 501 – 750 กก. ต้องเสียภาษี 30 บาท
- น้ำหนัก 751 – 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 45 บาท
- น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 80 บาท
- น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 100 บาท
- น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กก. ต้องเสียภาษี 130 บาท
- น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กก.ต้องเสียภาษี 160 บาท
- น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กก. ต้องเสียภาษี 190 บาท
- น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กก. ต้องเสียภาษี 220 บาท
- น้ำหนัก 3,001 – 3,500 กก. ต้องเสียภาษี 240 บาท
- น้ำหนัก 3,501 – 4,000 กก. ต้องเสียภาษี 260 บาท
- น้ำหนัก 4,001 – 4,500 กก. ต้องเสียภาษี 280 บาท
- น้ำหนัก 4,501 – 5,000 กก. ต้องเสียภาษี 300 บาท
- น้ำหนัก 5,001 – 6,000 กก. ต้องเสียภาษี 320 บาท
- น้ำหนัก 6,001 – 7,000 กก. ต้องเสียภาษี 340 บาท
- น้ำหนัก 7,001 ขึ้นไป กก. ต้องเสียภาษี 360 บาท
ภาษีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ต้องเสียภาษี 10 บาท
- รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องเสียภาษี 10 บาท
อัตราภาษีรถไฟฟ้า (หลัง 30 กันยายน 2568) คิดยังไง?
สำหรับอัตราภาษีรถไฟฟ้าหลังจบมาตรการลดภาษี โดยยรถไฟฟ้าที่จดทะเบียนตั้งแต่ 31 กันยายน 2568 ต้องเสียภาษี มีดังนี้
ภาษีรถไฟฟ้า ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 150 บาท
- น้ำหนัก 501 – 750 กก. ต้องเสียภาษี 300 บาท
- น้ำหนัก 751 – 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 450 บาท
- น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 800 บาท
- น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 1,000 บาท
- น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กก. ต้องเสียภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กก. ต้องเสียภาษี 1,600 บาท
- น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กก. ต้องเสียภาษี 1,900 บาท
- น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กก. ต้องเสียภาษี 2,200 บาท
- น้ำหนัก 3,001 – 3,500 กก. ต้องเสียภาษี 2,400 บาท
- น้ำหนัก 3,501 – 4,000 กก. ต้องเสียภาษี 2,600 บาท
- น้ำหนัก 4,001 – 4,500 กก. ต้องเสียภาษี 2,800 บาท
- น้ำหนัก 4,501 – 5,000 กก. ต้องเสียภาษี 3,000 บาท
- น้ำหนัก 5,001 – 6,000 กก. ต้องเสียภาษี 3,200 บาท
- น้ำหนัก 6,001 – 7,000 กก. ต้องเสียภาษี 3,400 บาท
- น้ำหนัก 7,001 ขึ้นไป กก. ต้องเสียภาษี 3,600 บาท
ภาษีรถไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน 7 ที่นั่ง
- น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 75 บาท
- น้ำหนัก 501 – 750 กก. ต้องเสียภาษี 150 บาท
- น้ำหนัก 751 – 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 225 บาท
- น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 400 บาท
- น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 500 บาท
- น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กก. ต้องเสียภาษี 650 บาท
- น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กก. ต้องเสียภาษี 800 บาท
- น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กก. ต้องเสียภาษี 950 บาท
- น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กก. ต้องเสียภาษี 1,100 บาท
- น้ำหนัก 3,001 – 3,500 กก. ต้องเสียภาษี 1,200 บาท
- น้ำหนัก 3,501 – 4,000 กก. ต้องเสียภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนัก 4,001 – 4,500 กก. ต้องเสียภาษี 1,400 บาท
- น้ำหนัก 4,501 – 5,000 กก. ต้องเสียภาษี 1,500 บาท
- น้ำหนัก 5,001 – 6,000 กก. ต้องเสียภาษี 1,600 บาท
- น้ำหนัก 6,001 – 7,000 กก. ต้องเสียภาษี 1,700 บาท
- น้ำหนัก 7,001 ขึ้นไป กก. ต้องเสียภาษี 1,800 บาท
ภาษีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ต้องเสียภาษี 50 บาท
- รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องเสียภาษี 50 บาท
สำหรับใครที่กำลังวางแผนซื้อรถยนต์อยู่ ไม่ว่าจะรถไฟฟ้า รถตู้ รถครอบครัว 7 ที่นั่ง ความคุ้มครองแบบไหน นอกจากจะต้องให้ความสำคัญในเรื่อง “ประกันภัยรถยนต์แล้ว” การต่อภาษีรถยนต์ 2567 ยังมีความสำคัญไม่แพ้กันในการใช้รถ เพราะถ้าหากขาดต่อภาษีรถยนต์จะมีผลทางกฎหมาย มีค่าปรับหรือการยกเลิกทะเบียนตามมา เพราะฉะนั้นควรวางแผนให้ดี เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมาในภายหลัง
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
พรบ.รถยนต์ | ประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคันต้องทำไว้ เพราะถ้าหากตรวจสอบแล้วว่ารถคันไหนไม่มี พ.ร.บ. ตามที่กฎหมายว่าไว้จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท |
การคมนาคม |
|
รถไฟฟ้า EV | รถพลังงานไฟฟ้า คือรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าโดยใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งเก็บอยู่ในแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้าแบบอื่น ๆ |