Roojai

ขับรถยนต์ไฟฟ้าลุยน้ำท่วมได้แค่ไหน? เสี่ยงไฟช็อต-แบตพังจริงมั้ย!

เทคนิคขับรถไฟฟ้า ev ลุยน้ำท่วม | ประกันรถยนต์ไฟฟ้า | รู้ใจ

เข้าหน้าฝนทีไร “น้ำท่วม น้ำรอระบาย” ทำเอาเจ้าของรถไฟฟ้าร้อน ๆ หนาว ๆ กันเป็นแถว หากต้องขับรถลุยน้ำท่วมคงไม่ใช่เรื่องดีแน่ แต่อีกด้านก็ถกกันสนั่น “รถยนต์ไฟฟ้าราคาแพงขนาดนั้น จะกันน้ำไม่ได้เลยหรือยังไง” รู้ใจลิสต์ประเด็นต่าง ๆ มาเป็นคำตอบให้แล้ว รถพลังงานไฟฟ้าขับลุยน้ำท่วมได้มั้ย เป็นอันตรายหรือเปล่า? ตามไปคลายความกังวลกันเลย

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

รถไฟฟ้าขับลุยน้ำท่วมได้มั้ย?

อ้างอิงข้อมูลจาก รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล หัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center (MOVE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้เชี่ยวชาญรถยนต์ไฟฟ้า อธิบายว่า “รถยนต์ไฟฟ้าจะมีแบตเตอรี่ด้านล่างตัวรถ ฉะนั้น บริษัทรถยนต์จึงมีการออกแบบระบบให้ป้องกันน้ำได้ระดับหนึ่ง โดยระดับการป้องกันน้ำหรือความชื้น บางบริษัทจะระบุเป็นโค้ด “IP” (เหมือนโทรศัพท์มือถือที่มีการโฆษณา) ซึ่งค่า IP รถยนต์ไฟฟ้า ที่ได้มาตรฐาน จะต้องไม่ต่ำกว่า IP67 และสูงจนถึงระดับ IP69” และ “ปกติแล้ว เวลาขับรถลุยน้ำสูงจริง ๆ เต็มที่ก็ไม่น่าเกิน 10 นาที แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ว่าคุณเห็นว่ามีน้ำท่วมสูง และประเมินแล้วมีโอกาสรอดน้อย แบบนั้นไม่ควรลุย เพราะรถยนต์ถูกออกแบบแตกต่างจากเรือ คุณต้องประมาณการให้ได้ว่า รถยนต์มีความเสี่ยงแค่ไหน” (ที่มา: thairath.co.th)

มาตรฐานการกันน้ำกันฝุ่น มาตรฐาน IP คืออะไร?

ตามที่ รศ.ดร.ยศพงษ์ อธิบายเอาไว้ว่ามาตรฐาน IP ควรไม่ต่ำกว่า IP67 และสูงจนถึงระดับ IP69 ซึ่งค่า IP ดังกล่าว นอกจากจะเป็นมาตรฐานบ่งบอกระดับการกันน้ำแล้ว ยังบ่งบอกระดับการป้องกันฝุ่นด้วยเช่นกัน และรถไฟฟ้า EV ส่วนใหญ่จะได้รับมาตรฐานไหนบ้าง ตามไปดูกันเลย

  • มาตรฐาน IP67 เป็นมาตรฐานที่รับรองว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้น สามารถถูกทิ้งลงในน้ำลึกไม่เกิน 1 เมตร เป็นเวลาครึ่งชั่วโมงได้โดยไม่มีปัญหา
  • มาตรฐาน IP68 รองรับว่าอุปกรณ์นั้นอยู่ใต้น้ำลึกไม่เกิน 1 เมตร เป็นเวลาสั้น ๆ โดยไม่มีปัญหาเกิดขึ้นกับอุปกรณ์
  • มาตรฐาน IP54 เป็นมาตรฐานที่รองรับว่าอุปกรณ์นั้น ๆ สามารถป้องกันฝุ่นได้เป็นอย่างดี แม้จะมีเศษฝุ่นเล็ดลอดเข้าไปก็ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย รวมถึงยังมีการป้องกันละอองน้ำจากทุกทิศทาง

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงมาตรฐานบางส่วนรู้ใจหยิบยกขึ้นมาเท่านั้น เห็นได้ว่ามาตรฐานเหล่านี้ถูกนำมาปรับใช้ควบคู่กับการผลิตรถพลังงานไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน รวมถึงตอบโจทย์เมื่อต้องขับขี่ในสถานการณ์น้ำท่วมได้ดีมาก ๆ

ขับรถไฟฟ้าลุยน้ำท่วมได้แค่ไหน?

อธิบายเพิ่มเติมก่อนว่าหลักการทำงานของเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าหรือรถเครื่องยนต์สันดาป มีความคล้ายคลึงกันมาก ๆ ดังนั้นการขับรถไฟฟ้า EV ลุยน้ำท่วมจะใช้หลักการเดียวกับรถยนต์ทั่วไป ดังนี้

1. ระดับน้ำ 5-10 เซนติเมตร

เป็นระดับน้ำที่เกิดขึ้นทุกครั้งหลังฝนตก ถือเป็นน้ำขังแบบเล็ก ๆ ไม่มีผลอะไรต่อการขับขี่ รถยนต์ไฟฟ้า และรถทั่วไปสามารถขับผ่านได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรขับขี่ด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรขับเร็วจนเกินไป

2. ระดับน้ำ 10-20 เซนติเมตร

น้ำท่วมระดับนี้ยังคงขับผ่านได้สบาย ๆ โดยไม่มีผลต่อเครื่องยนต์หรือแบตเตอรี่รถไฟฟ้า แต่เวลาขับรถสวนกันอาจเกิดคลื่นน้ำ และอย่างที่บอกไปว่ากรณีเป็นรถเก๋งไฟฟ้า อาจได้ยินเสียงน้ำกระเพื่อมใต้ท้องรถเป็นบางครั้ง

น้ำท่วมระดับไหนไม่ควรขับรถไฟฟ้า ev | ประกันรถยนต์ไฟฟ้า | รู้ใจ

3. ระดับน้ำ 20-40 เซนติเมตร

ถือเป็นระดับน้ำที่สูงท่วม 3 ใน 4 ของล้อรถ หากเป็นรถเก๋งไฟฟ้าควรเลี่ยง เนื่องจากประตูรถมีความสูงเพียง 150-170 เซนติเมตร หากขับลุยน้ำท่วมต่อไปอาจทำให้พรมเปียกแฉะ

4. ระดับน้ำ 40-60 เซนติเมตร

น้ำระดับนี้เป็นอันตรายต่อรถเก๋งทุกประเภท ควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด ส่วนรถกระบะหรือรถปิกอัพขับได้ แนะนำว่าควรเป็นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และควรระวังเรื่องของคลื่นน้ำ ที่อาจทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นจนเข้าตัวเครื่องได้ นอกจากนี้ยังควรปิดแอร์รถยนต์ขณะขับ เพื่อความปลอดภัยของเครื่องยนต์ด้วย

5. ระดับน้ำ 60-80 เซนติเมตร

เป็นระดับน้ำที่อันตรายกับรถยนต์ทุกประเภท หากขับรถไม่ชำนาญไม่ควรขับรถลุยน้ำท่วมเด็ดขาด ควรหันไปใช้เส้นทางอื่นจะปลอดภัยกว่า เพราะถ้าหากน้ำไหลเข้าเครื่องกรองอากาศ อาจสร้างความเสียหายแก่ระบบ แถมยังทำให้เครื่องยนต์หยุดชะงัก ดับกลางทาง

6. ระดับน้ำ 80 เซนติเมตรขึ้นไป

ถือเป็นระดับที่สูงที่สุดที่รถยนต์จะขับลุยน้ำท่วมได้แล้ว หากจำเป็นหรือเลี่ยงไปเส้นทางอื่นไม่ได้จริง ๆ ต้องขับอย่างต่อเนื่องห้ามหยุด แต่ทางที่ดีต่อให้ชำนาญแค่ไหน อย่าขับลุยเลยจะดีที่สุด

ไม่ว่าจะขับรถไฟฟ้าไปที่ไหน รถยนต์ไฟฟ้าในไทยก็มีความเสี่ยงเรื่องของน้ำท่วมอยู่ดี ดังนั้นการมี “ประกันรถยนต์ไฟฟ้า” ที่คุ้มครองอย่างครอบคลุม ก็จะช่วยคลายความกังวลของคุณได้อีกเพียบ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถไฟฟ้า และภัยธรรมชาติที่คาดเดาไม่ได้ เช็คราคาและความคุ้มครองที่ใช่กับรู้ใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

ขับรถไฟฟ้าลุยน้ำเสี่ยงแบตพัง หรือไฟช็อตหรือไม่?

อ้างอิงจากค่ายรถผู้ผลิตรถไฟฟ้ายอดนิยมในบ้านเรา Ora Good Cat ที่จำหน่ายไปกว่า 7,612 คันในปี 2023 เกรท วอลล์ มอเตอร์ (Great Wall Motor) ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่สัญชาติจีน ระบุว่า

“รถยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ตามปกติแม้โดนฝน เพราะมอเตอร์ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ต่างได้รับการปกป้องเป็นอย่างดีด้วยฉนวนไฟฟ้า รวมถึงมีเซ็นเซอร์ตรวจจับไฟฟ้ารั่ว และระบบป้องกันการลัดวงจรลงดิน (Ground Fault Protection)”

มากไปกว่านั้นทาง เกรท วอลล์ มอเตอร์ ยังอธิบายต่อว่า

“ตัวรถส่วนใหญ่ยังมีซีลกันน้ำที่สามารถกันฝุ่นและกันน้ำสาดได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันน้ำฝนกระเด็นเข้าไปยังขั้วชาร์จไฟฟ้าได้  รวมถึงระบบเซ็นเซอร์จะตัดกำลังไฟฟ้าทันทีหากพบกระแสไฟรั่วไหลในวงจร” และ “เพียงแต่ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มความปลอดภัยได้ด้วยการสำรวจบริเวณแท่นชาร์จ หัวประจุ และสายไฟทุกครั้งก่อนชาร์จว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ รวมถึงเช็ดทำความสะอาดบริเวณจุดที่ชาร์จให้แห้งก่อนปิดฝา”

(ที่มา: springnews.co.th)

สรุปง่าย ๆ ว่ารถยนต์ไฟฟ้าสามารถทำงานได้ตามปกติแม้โดนฝน และหากน้ำท่วมจนน้ำเข้าแบตรถไฟฟ้า จนเกิดไฟฟ้าลัดวงจรจริง ๆ ระบบไฟฟ้าจะตัดทันที เครื่องจะดับ ทำให้ไฟฟ้าไม่รั่วไปส่วนอื่น เนื่องจากมีระบบป้องกันไฟรั่วที่ได้มาตรฐานนั่นเอง

ขับรถไฟฟ้าลุยน้ำท่วม เสี่ยงระบบไฟฟ้าช็อตจริงหรือไม่ | ประกันรถยนต์ไฟฟ้า | รู้ใจ

หลังขับรถลุยน้ำท่วม ควรดูแลรถไฟฟ้ายังไง?

แม้ว่ารถไฟฟ้าจะมีระบบการป้องกันที่ดี อย่างไรก็ตามความชื้นหรือ “น้ำท่วม” ย่อมไม่ถูกกับรถยนต์อยู่ดีไม่ว่าจะเป็นรถประเภทไหน แนะนำว่าหลังจากขับรถไฟฟ้าลุยน้ำท่วม ควรตรวจสอบความเสียหายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

1. ตรวจสอบระบบไฟฟ้า

ควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าต่าง ๆ ว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นหรือไม่ หากกล่องฟิวส์เสียหายควรเปลี่ยนทันที นอกจากนี้ยังควรตรวจสอบไฟต่าง ๆ ภายนอกรถด้วย หากอยู่ในสภาพที่ไม่ปกติ ควรถอดขั้วแบตรถไฟฟ้าออก เพื่อให้ช่างตรวจสอบและประเมินต่อไป

2. ตรวจสอบสภาพห้องโดยสาร

หลังจากลุยน้ำท่วมแล้ว แนะนำให้ตรวจสอบความเสียหาย หรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นภายในห้องโดยสาร เพราะมีความเป็นไปได้ที่น้ำจะซึมผ่านส่วนที่เป็นซีล หรือรอยต่อต่าง ๆ เข้ารถยนต์ จากพรมปูพื้นว่ามีน้ำแฉะหรือไม่

จากนั้นควรเปิดประตูรถทั้ง 4 ด้านเพื่อระบายอากาศ ไล่ความชื้นภายในห้องโดยสาร รถบางรุ่นที่มีโมดูลควบคุมถุงลมนิรภัยอยู่ใต้เบาะคนขับ ก็ควรดูแลไม่ให้มีความชื้นด้วยเช่นกัน

3. ตรวจสอบการใช้งานของเบรก

เนื่องจากการขับรถลุยน้ำอาจทำให้ผ้าเบรกเปียก จนสูญเสียการยึดเกาะได้ หลังจากลุยน้ำท่วมจนพ้นแล้ว อย่าเพิ่งเร่งเครื่องออกตัวด้วยความเร็วสูงเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เสียหลักเนื่องจากลื่นได้

แนะนำให้เหยียบเบรคย้ำ ๆ หลายครั้ง เพื่อให้ผ้าเบรกและจานเบรก หรือดรัมเบรกอยู่ในสภาพปกติเมื่อมีการสัมผัสกันตอนเบรก แม้ผ้าเบรกจะยังไม่แห้งในทันที แต่ก็อาจช่วยให้ประสิทธิภาพการเบรกดีเท่าที่จะทำได้

การขับรถไฟฟ้าลุยน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด แค่คุณสังเกตระดับน้ำให้ดี และขับรถอย่างถูกต้อง พร้อมดูแลรถไฟฟ้า EV หลังจากขับรถลุยน้ำท่วม หากเกิดความเสียหายก็ควรแก้ไข หรือซ่อมแซมในทันที ก็จะช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้มาก ๆ แล้ว

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

เล็ดลอด ลอบเข้าไป หรือออกมาด้วยความยากลำบาก โดยผ่านที่แคบ ๆ หรือที่ลับตาคน
มาตรฐาน สิ่งที่ถือเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไปซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการหรือผลิตสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มาตรฐานถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และความสม่ำเสมอในกระบวนการผลิต การใช้งาน หรือการให้บริการในหลายอุตสาหกรรม