Roojai

4 ขั้นตอนแจ้งเปลี่ยนสีรถ ต้องแจ้งภายในกี่วัน  และเอกสารที่ใช้

ขั้นตอนแจ้งเปลี่ยนสีรถต่อกรมการขนส่งทางบก I ประกันรถยนต์ I รู้ใจ

สำหรับคนที่ใช้รถมาเป็นเวลานาน หรือคนที่เบื่อง่ายแล้วอยากเปลี่ยนเลือกสีรถใหม่ รู้มั้ยว่าจำเป็นต้องแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ให้ถูกต้องด้วย เนื่องจากมีเรื่องของ “กฎหมาย” เข้ามาเกี่ยวข้อง รวมถึงมีเรื่องที่ควรรู้อีกเยอะแยะมากมาย ที่รู้ใจรวบรวมข้อมูลดี ๆ มาบอกต่อ

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังตัดสินใจจะเปลี่ยนสีรถ และกำลังหาข้อมูลประเด็นนี้อยู่ เราลิสต์มาให้เรียบร้อยแล้ว ว่าจะต้องทำยังไง ใช้เอกสารอะไรบ้าง และต้องแจ้งภายในระยะเวลาเท่าไหร่ ถ้าพร้อมแล้วไปทำความเข้าใจกันเลยดีกว่า

การเปลี่ยนสีรถ เกี่ยวข้องกับกฎหมายยังไง?

เพราะการเปลี่ยนสีรถไม่ได้ง่ายเหมือนกับการเปลี่ยนสีลิปสติก ดังนั้นก่อนการซื้อรถจึงจำเป็นต้องเลือกสีรถให้ดีก่อนตัดสินใจจับจองเป็นเจ้าของ แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปความชอบก็อาจเปลี่ยนตามไปด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่คิดอยากจะเปลี่ยนก็สามารถเปลี่ยนได้เลย เนื่องจากอย่างที่เราบอกไปในตอนแรกว่ามีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการการเปลี่ยนสีรถยนต์ให้ต่างไปจากสีเดิม มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2549 กับการกำหนดสีและลักษณะของรถ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

รายการสีรถที่ถูกตามระเบียบในคู่มือจดทะเบียน

  • กรณีรถมีสีเดียว ให้กำหนดสีที่เป็นสีหลัก โดยไม่คำนึงถึงความเข้มของสีที่ต่างกัน
  • กรณีตัวรถมีหลายสี ในบริเวณตัวถังที่ส่วนสำคัญของรถ (ฝากระโปรงหน้า-ท้าย, หลังคา และประตู) ให้กำหนดเป็นสีหลักของรถไม่เกิน 3 สี ในกรณีที่รถยนต์มีมากกว่า 3 สี หากสามารถกำหนดสีหลักของตัวรถได้ ให้กำหนดสีหลักไว้ 2 สี
  • กรณีสีคาดหรือแถบคาดตกแต่งรถ โดยไม่ทำให้สีหลักของรถเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องกำหนดเป็นสีรถ

กรณีที่ไม่สามารถกำหนดสีหลักได้ ให้ระบุในสมุดคู่มือประจำรถเป็น “หลายสี” ไม่ว่าจะเปลี่ยนสีด้วยการติดฟิล์ม สติกเกอร์ หรือใด ๆ ก็ตาม จำเป็นจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่กำหนดสีรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ข้างต้น

ไม่แจ้งเปลี่ยนสีรถมีโทษตามกฎหมาย I ประกันรถยนต์ I รู้ใจ

แจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ที่ไหน และต้องแจ้งภายในกี่วัน?

ทุก ๆ ครั้งที่นำรถยนต์ไปเปลี่ยนสีใหม่ ไม่ว่าจะด้วยความชอบหรือเปลี่ยนตามสีรถมงคล หรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ ก็ตาม จำเป็นจะต้องแจ้งเปลี่ยนที่กรมการขนส่ง ตามข้อกฎหมาย พรบ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 13 ที่ระบุไว้ว่า “รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากมีการเปลี่ยนสีรถให้ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ เจ้าของรถต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลงสีรถมากกว่า 30% ของพื้นที่ตัวถังรถทั้งหมด”

รู้มั้ย? ตกแต่งรถแบบไหน ไม่ต้องแจ้งเปลี่ยนสีรถ

กรณีตัวรถมีสีคาดหรือแถบเพื่อตกแต่งให้สวยงาม หรือมีการติดสติกเกอร์ต่าง ๆ ทั้งแบบข้อความ รูป ตัวอักษร โดยที่ไม่ทำให้สีหลักของรถยนต์เปลี่ยนแปลงไป ไม่จำเป็นต้องแจ้งเปลี่ยนสีรถ เนื่องจากไม่ถือว่าผิดกฎหมายกรณีที่เปลี่ยนแปลงสีรถยนต์ให้ต่างไปจากเดิมเกินกว่า 30% แล้วไม่แจ้งกรมการขนส่งทางบก จะมีความผิดตาม พรบ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 13 และมาตรา 60 ต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

นอกจากจะให้ความสำคัญเรื่องการแจ้งเปลี่ยนสีรถ หรือการเลือกสีรถมงคลที่ถูกโฉลกแล้ว  อย่าลืมให้ความสำคัญกับ “ประกันภัยรถยนต์ด้วย” แม้ว่าการที่ประกันรถขาดจะไม่ส่งผลต่อข้อกฎหมายใด ๆ แต่ถ้าหากรถยนต์ได้รับความเสียหายขึ้นมาบอกเลยว่า “เจ็บหนัก” หากกำลังมองหาประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุม คุ้มค่าราคาจ่าย ที่รู้ใจ ประกันรถยนต์ลดสูงสุด 30% มีอู่และศูนย์ซ่อมกว่า 1,600+ ทั่วไทย แถมเรียกเจ้าหน้าที่มาไวใน 30 นาทีหรือเคลมผ่านแอปได้ทันที อุ่นใจได้เลยมีรู้ใจเดินทางเคียงข้างทุกเส้นทาง

เอกสารที่ต้องใช้แจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ มีอะไรบ้าง?

เอกสารที่ต้องใช้และจำเป็นต้องเตรียมให้พร้อม ก่อนเดินเรื่องแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์มีดังนี้

  1. คู่มือจดทะเบียนรถ
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. หลักฐานสำคัญการเปลี่ยนสีรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินการเปลี่ยนสีรถ

4 ขั้นตอนการแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์

หลังจากเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว ให้นำเอกสารทั้งหมดไปดำเนินการแจ้งขนส่งตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ยื่นคำขอพร้อมเอกสารต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ เพื่อแสดงความประสงค์ขอนำรถเข้ารับการตรวจสอบจากกรมขนส่ง
  2. หลังตรวจสอบผ่าน ให้ยื่นตรวจสอบคำขอพร้อมเอกสารต่าง ๆ รวมถึงผลผ่านการตรวจสอบด้วย
  3. เมื่อกระบวนการต่าง ๆ เสร็จสิ้น ให้ทำการชำระค่าธรรมเนียมที่กรมขนส่ง
  4. รอรับเอกสารต่าง ๆ คืนจากกรมการขนส่ง

ค่าธรรมเนียมในการแจ้งเปลี่ยนสีรถมีอะไรบ้าง?

ค่าธรรมเนียมในการแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ มีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

  1. ค่าธรรมเนียมการแจ้งเปลี่ยนสีรถ: 50 บาท
  2. ค่าดำเนินการตรวจสภาพรถ: 50 บาท
  3. ค่าคำขอ: 5 บาท
ขั้นตอนแจ้งเปลี่ยนสีรถ I ประกันรถยนต์ I รู้ใจ

กรณี Wrap สีรถ ต้องแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ด้วยมั้ย?

การเปลี่ยนสีรถ ไม่ว่าจะด้วยกรรมวิธีใด ๆ ก็ตาม เช่น ติดสติกเกอร์ ฟิล์ม คาร์บอนเคฟล่า หรือวัสดุอื่น ๆ โดยเฉพาะการ Wrap ทั้งคัน ซึ่งส่งผลให้สีรถทั้งคันเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างชัดเจน หรือพูดง่าย ๆ ว่าเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 30% จำเป็นต้องแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ที่กรมการขนส่งทางบกด้วย

เพราะการ Wrap คือการ “เปลี่ยนสีรถใหม่” โดยมีการใช้ฟิล์ม PVC มาหุ้มทับสีเดิม เหมาะสำหรับคนที่เบื่อง่าย อยากเปลี่ยนสีรถใหม่บ่อย ๆ แต่ต้องบอกก่อนว่าสีที่ใช้ Wrap มักจะเป็นสีโทนแฟชั่น แถมยังมีสีให้เลือกสีรถมากกว่าการทำสีรถทั่วไป หรือถ้าอยาก Wrap เฉพาะจุดก็สามารถทำได้เช่นกัน

รถติดไฟแนนซ์แจ้งเปลี่ยนสีรถยังไง?

การเปลี่ยนสีรถ จำเป็นต้องใช้ “เล่มทะเบียนตัวจริง” ในการแก้ไขข้อมูล หากรถยนต์ของคุณยังผ่อนไฟแนนซ์อยู่ สามารถแจ้งเปลี่ยนสีได้ โดยมีให้เลือก 2 วิธี ดังนี้

  1. ใช้สำเนาทะเบียนรถแทนเล่มจริง เพื่อติดต่อแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ แต่หลังจากดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของกรมการขนส่งแล้ว เจ้าของรถต้องติดไฟแนนซ์เพื่อแจ้งเปลี่ยนข้อมูลในเล่มจริง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 500 บาท
  2. ใช้การวางเงินมัดจำกับทางไฟแนนซ์ เพื่อขอเล่มทะเบียนตัวจริงเข้าติดต่อแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์กับกรมการขนส่ง เมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วค่อยนำเล่มทะเบียนไปคืนไฟแนนซ์ และรับเงินมัดจำกลับคืนมา

ซึ่งถ้าหากถามว่าควรเลือกใช้วิธีไหนดีที่สุด ขึ้นอยู่กับ “ความสะดวก” ของแต่ละคนเป็นสำคัญ สำหรับคนที่มีกำลังทรัพย์มากพอ อาจเลือกวางมัดจำเพื่อนำเล่มจริงออกมาก็ได้ แต่ถ้าหากไม่สะดวกก็ให้ทำตามวิธีแรก คือ ใช้สำเนาทะเบียนรถแทนเล่มจริง แล้วค่อยมาจ่ายค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนข้อมูลในภายหลัง

ไม่ว่าจะไม่ชอบสีรถเดิม อยากมูสีรถมงคล แล้วต้องการเปลี่ยนสีรถ สิ่งสำคัญตามกฎหมายคือต้องดำเนินการแจ้งเปลี่ยนสีรถตามรายละเอียดข้างต้น ว่าต้องแจ้งเปลี่ยนที่ไหน มีขั้นตอนยังไง รวมถึงเอกสารที่ต้องใช้ และค่าธรรมเนียม ทำตามวิธีอย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัยและความอุ่นใจตลอดการใช้งาน

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

คู่มือจดทะเบียน สมุดที่รวบรวมรายละเอียดของรถคันนั้น ๆ ทั้งรายละเอียดของเจ้าของรถหรือชื่อผู้ครอบครองรถ ยี่ห้อ รุ่นรถ หมายเลขเครื่องเลขตัวถังของรถคันดังกล่าว
ตัวถัง ชิ้นส่วนโลหะสำคัญที่ถูกออกแบบมาเพื่อประกอบเข้าด้วยกัน ให้เป็นรูปโฉมของรถ
wrap สีรถ การนำฟิล์ม PVC (Polyvinylchloride) มาห่อหุ้มตัวรถ โดยตัวฟิล์มจะมีความยืดหยุ่นน้อย ต้องใช้ความร้อนเพื่อให้ยืดตัว