Roojai

เรื่องเก่า(เหล้า)ใหม่ ดื่มแค่ไหนไม่ควรขับ? | รู้ใจ.com

การรณรงค์ “เมาไม่ขับ” อาจเป็นเหมือนเรื่องเก่าเล่าใหม่ประจำทุกเทศกาล แต่ข้อมูลจากมูลนิธิเมาไม่ขับ (Don’t Drive Drunk Foundation) จนถึงมาตรการล่าสุดที่หน่วยงานภาครัฐนำมาใช้เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากคนเมาแล้วขับรถ ถือเป็นเรื่องที่พลพรรคนักดื่ม (แอลกอฮอล์) ควรรับรู้ เพื่อจะได้ขึ้นชื่อว่า เป็นนักดื่มที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะคำนึงถึงความปลอดภัยของทุกชีวิตและทรัพย์สินของตัวเองและผู้อื่น

หลังการเปิดเผยสถิติระดับโลกเกี่ยวกับอัตราการเสียชีวิตจากอุบัตเหตุ โดยมีประเทศไทยครองตำแหน่งรองแชมป์ประเทศที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนถนนสูงสุดเป็นอันดับสองของโลก (สถิติในปี 2559) สาเหตุอันดับหนึ่งมาจาก “เมาแล้วขับ” ทำให้หน่วยงานภาครัฐเร่งงัดมาตรการช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ถึงอย่างนั้นนักดื่มส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้และความเข้าใจเรื่องปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย แถมนักเมารุ่นใหม่ยังนำเทคนิคต่างๆ ที่อำพรางค่าแอลกอฮอล์ให้ดูเจือจาง ขณะเข้าเครื่องเป่าวัดปริมาณแอลกอฮอล์

  • “รู้ใจ” นำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการดื่มแล้วขับรถมาอัพเดตมาตรการใหม่ให้รับรู้ เพื่อช่วยให้คุณเป็นนักดื่มที่มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่นประเทศไทยกำหนดมาตรการใหม่ในเดือนมีนาคม 2560 เรื่องการตรวจจับคนเมาแล้วขับ โดยถือระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีความผิดตามกฎหมายบัญญัติไว้ นักดื่มแล้วขับที่อายุไม่เกิน 20 ปี รวมถึงผู้ขับขี่ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ หรือมีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว หากตรวจพบระดับแอลกอฮอล์เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ถือว่า “เมาสุรา”
  • ปัจจุบันมีการตรวจวัดแอลกอฮอล์ 3 วิธีหลักคือ การตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจ ด้วยการเป่าลมจากปากเข้าไปในเครื่องตรวจ 2. การตรวจหาระดับแอลกอฮอล์จากเลือด และ 3. การตรวจระดับแอลกอฮอล์จากปัสสาวะ โดยเจ้าหน้าที่สามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับบุคคลและสถานการณ์
  • รู้หรือไม่ว่า ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ทำให้คุณรู้สึกสบายใจ ร่าเริง แต่การตัดสินใจไม่ดี หากสูงกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ทำให้คุณขาดประสิทธิภาพในการควบคุม ความเคลื่อนไหวของร่างกายและการขับขี่ลดลง 8%  ยิ่งร่างกายมีระดับแอลกอฮอล์สูงกว่า 100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพในการทรงตัว การตัดสินใจ การมองเห็น การควบคุมอารมณ์ รวมถึงการขับขี่รถจะลดลงสูงถึง 33% และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าร้อยละ 40
  • การเพิ่มเติมอัตราโทษในความผิดฐานขับรถขณะเมาสุราหรือของมึนเมา เดิมจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-2,0000 บาท เพิ่มโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับขั้นต่ำ 10,000- 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาต และเพิ่มมาตรการยึดรถในชั้นศาลไม่เกิน 7 วัน
  • เมาแล้วขับทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ จำคุก 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตฯ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตฯ ส่วนเมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสจำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต แต่หากเมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 3-10 ปี ปรับ 60,000-200,000 บาท รวมทั้งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
  • เมาแล้วขับอาจไม่ได้รับการคุ้มครองจากบริษัทประกัน เพราะคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย แก้ไข พรบ.ประกันวินาศภัยในเดือนมีนาคม 2560 โดยระบุว่า “การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 16 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 กำหนดให้ถือว่าเมาสุรา

วิธีที่ดีที่สุดคือ หนึ่งชั่วโมงก่อนขับรถคุณสามารถดื่มสุราได้ไม่เกิน 6 แก้ว (ผสมสุราแก้วละ 1 ฝา) ดื่มไลท์เบียร์ได้ 4 กระป๋องหรือ 4 ขวดเล็ก ดื่มเบียร์ได้ 2 กระป๋องหรือ 2 ขวดเล็ก ดื่มไวน์ได้ 2 แก้วๆ ละไม่เกิน 80 ซีซี และหากจำเป็นต้องขับรถเอง ควรงดเว้นการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับรถประมาณ 1-2 ชั่วโมง ดื่มน้ำสะอาดมากๆ หรือดื่มน้ำอัดลมและกาแฟ เพื่อช่วยลดอาการมึนเมา

รู้อย่างนี้แล้ว นักดื่มทั้งหลายคงต้องประเมิณตัวเองให้พร้อมก่อนนัดสังสรรค์ครั้งต่อไป ท่องไว้ให้ขึ้นใจ “ดื่มไม่ขับ” “ใช้บริการแท็กซี่” “เมาไหนนอนนั่น” หรือ “ให้คนที่บ้านมารับ” เพื่อความปลอดภัย เพราะประกันภัย “รู้ใจ” รักรถเต็มหัวใจ ให้รู้ใจดูแลประกันัยรถยนต์ของคุณ ห่วงใยทุกชีวิตบนท้องถนน มีรู้ใจไว้อุ่นใจแน่นอน ประกันรถยนต์ชั้น 1 ผ่อน 0% นาน 10 เดือน พร้อมบริการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน รถเสีย และการันตีถึงที่เกิดเหตุภายใน 30 นาที

ถ้ารักรถเต็มหัวใจ ให้ “รู้ใจ” ดูแลรถให้คุณ คลิกเช็คเบี้ยประกันรถ หรือโทร 02 582 8888