Roojai

เจาะลึก! ติดกล้องติดรถยนต์ยังไง? ไม่ให้ผิดกฏหมาย PDPA

วิธีติดกล้องติดรถยนต์ไม่ผิดกฏหมาย PDPA | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากล้องติดรถยนต์ เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมาก ๆ เพราะกล้องหน้ารถจะช่วยบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเป็นประโยชน์มาก ๆ เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วหาฝ่ายผิดไม่ได้ แต่ในปัจจุบันมีกฎหมาย PDPA ออกมาบังคับใช้ ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่าจะผิดพ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ รู้ใจได้ลิสต์คำตอบและประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องนี้มาให้แล้ว ตามำไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

ประโยชน์ของกล้องติดหน้ารถ มีอะไรบ้าง?

หลายคนมองว่าการติดตั้งกล้องบันทึกหน้ารถ ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะเป็นคนที่ขับรถระวังอยู่แล้ว หรือบางคนอาจจะมองว่าเป็นอุปกรณ์ที่สิ้นเปลือง รู้ใจจึงได้ลิสต์ประโยชน์ของกล้อง มาให้หากใครคิดว่าไม่จำเป็น อาจต้องคิดใหม่ และทำให้คุณเปลี่ยนใจหันมาติดกล้องหน้ารถได้ ประโยชน์ที่ว่าก็คือ

  1. ใช้เป็นหลักฐานเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แน่นอนว่าประโยชน์ของกล้องหน้ารถ คงไม่พ้นในเรื่องของการบันทึกภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนสำคัญในการพิสูจน์หลักฐานในการเคลมประกัน แถมยังช่วยป้องกันมิจฉาชีพ ที่หวังเรียกค่าเสียหาย อย่างการกระโดดขวางหน้ารถเพื่อหวังเรียกเงินได้อีกด้วย
  2. ช่วยตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่ การติดกล้องหน้ารถอาจทำให้หลายคนเกิดความกังวล คล้ายว่าถูกจับตามองอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้มีวินัยในการขับขี่มากขึ้น แถมยังทำให้ขับขี่ด้วยความระมัดระวังมากกว่าปกติ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประโยชน์ที่ดีมาก ๆ เลยล่ะ
  3. เคลมประกันได้ง่ายขึ้น เมื่อมีกล้องติดรถยนต์ที่คอยบันทึกภาพเหตุการณ์ระหว่างขับขี่ตลอดเวลา จะช่วยให้เห็นภาพอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน จึงช่วยให้การแจ้งเคลมประกันง่ายขึ้น โดยเฉพาะในขั้นตอนพิสูจน์ถูกผิด

นอกจากการติดกล้องหน้ารถจะมีประโยชน์ในแง่มุมต่าง ๆ แล้ว การติดตั้งกล้องติดรถยนต์เป็นส่วนลดค่าเบี้ยประกันได้มากถึง 5-10% กันเลยทีเดียว หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่อยากได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันรถ ที่รู้ใจลดให้เมื่อคุณติดกล้องติดรถยนต์ถึง 10% เช็คราคาประกันรถได้เลยไม่ต้องใส่เบอร์โทรหรืออีเมล

ความหมายของกฎหมาย PDPA | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

กฎหมาย PDPA คืออะไร?

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA เป็นกฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน นอกจากนี้ยังรวมถึงเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลและนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ หรือไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน

จากพระราชบัญญัติ PDPA พ.ศ.2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) เหมารวมถึงกรณีการซื้อขายข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม ส่วนใหญ่มักพบในรูปแบบการโทรมาโฆษณาหรือล่อลวง

ความเป็นมาของกฎหมาย PDPA และการบังคับใช้

ต้องอธิบายก่อนว่ากฎหมาย PDPA ถอดแบบมาจากกฎหมายต้นแบบอย่างกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป วัตถุประสงค์ของการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีทำการแฮ็กข้อมูล หรือละเมิดความเป็นส่วนตัว เพื่อข่มขู่ หวังผลประโยชน์ทั้งจากตัวเจ้าของข้อมูล หรือจากบุคคลที่ดูแลข้อมูล สำหรับการบังคับใช้พระราชบัญญัติ PDPA ในประเทศไทย เริ่มบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา โดยพ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างครอบคลุม เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รูปถ่าย บัญชีธนาคาร ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลได้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ กระดาษ เอกสาร หรือจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม

ติดกล้องติดรถยนต์ ผิดกฎหมาย PDPA มั้ย?

ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่งคงปลอดภัยไซเบอร์ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ “ดร.ปริญญา หอมเอนก” ระบุว่าการบันทึกภาพจากกล้องติดรถยนต์ ทั้งกล้องติดรถยนต์หน้าหลัง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการใช้ส่วนตัวหรือไม่ และยังควรต้องระวังว่าการใช้ส่วนตัว มีโอกาสละเมิดสิทธิคนอื่นอย่างไร

ซึ่งการติดตั้งกล้องติดรถยนต์ไม่ได้ละเมิดสิทธิของคนอื่น ๆ เนื่องจากกล้องหน้ารถมีไว้เพื่อบันทึกหลักฐานในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุการณ์สุดวิสัย สามารถนำภาพเหล่านั้นไปใช้เป็นหลักฐานในกางกฎหมายได้

แต่จะมีปัญหาหรือมีความผิดตามกฎหมาย PDPA ต่อเมื่อภาพที่ติดกล้องหน้ารถถูกนำไปเผยแพร่นอกเหนือจากการเอามาใช้เพื่อยืนยันความผิดของตนเอง หรือเอาไว้ยืนยันทางกฎหมาย ให้เห็นภาพง่าย ๆ เช่น การโพสต์ประจานหรือตามหาในโลกโซเชียล เป็นต้น

ประโยชน์ของกล้องหน้ารถ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง?

หากจะพูดว่า PDPA คือข้อกฎหมายที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนหากไม่ทำความเข้าใจให้ดี แถมยังมีเรื่องที่ต้องรู้อีกไม่น้อยเลย ใช่ที่ว่าคุณไม่ใช่นักกฎหมาย แต่เรื่องพื้นฐานสำคัญย่อมควรที่จะรู้ไว้สักหน่อย อาทิเช่น

1. เจ้าของข้อมูล ต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้?

จริง ๆ แล้วในแง่ของกฎหมาย PDPA “ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลทุกครั้ง” หากเป็นการใช้ข้อมูลดังต่อไปนี้

  • เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
  • เป็นการใช้เพื่อค้นหาวิจัยทางสถิติ
  • เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง
  • เป็นการทำตามสัญญา
  • เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิต และ/หรือร่างกายของบุคคล
  • เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

2. การถ่ายรูป/คลิปติดคนอื่น โดยเจ้าตัวไม่ยินยอม ผิดพ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลมั้ย?

ในกรณีที่คุณถ่ายรูปหรือถ่ายคลิปติดบุคคลอื่น โดยไม่มีเจตนาและไม่ได้ไปก่อความเสียหายกับบุคคลนั้น ๆ “สามารถทำได้” เนื่องจากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

3. ติดกล้องวงจรปิด แล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือน ผิดพระราชบัญญัติ PDPA มั้ย?

การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน รวมถึงกล้องติดรถยนต์ ไม่ว่ากล้องติดรถยนต์หน้าหลัง ก็ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือนใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นการติดตั้งเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน/เจ้าของรถ

วิธีติดกล้องหน้ารถอย่างถูกกฎหมาย | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

4. นำรูป/คลิปไปโพสต์ลงโซเชียล โดยเจ้าตัวไม่ยินยอม ผิดมั้ย?

กรณีที่ถ่ายรูปหรือคลิปติดคนอื่นแล้วนำไปโพสต์ลง Facebook, Instagram หรือช่องทางไหน ๆ ก็ตาม สามารถทำได้ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย PDPA หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช่แสวงหากำไรทางการค้า และต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

หลายคนที่กำลังพยายามค้นหาวิธีใช้กล้องติดรถยนต์ เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมาย PDPA ขอยืนยันอีกครั้งตรงนี้ ว่าภาพที่บันทึกจากกล้องติดรถยนต์ ไม่ถือว่าผิดพ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลแต่อย่างใด สามารถนำไปเป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความผิดติดตัว แถมการติดตั้งกล้องติดรถยนต์นอกจากจะใช้เป็นส่วนลดค่าเบี้ยประกันได้แล้ว ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกเพียบ แนะนำว่าติดไว้ดีกว่า เพื่อความสบายใจของตัวคุณเอง

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ละเมิดความเป็นส่วนตัว การทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ได้รับผลกระทบจากการกระทำนั้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยเจตนา จงใจ หรือประมาทเลินเล่อก็ตาม
อาชญากรรม การกระทำผิดที่ฝ่าฝืนกฎหมายและมีบทลงโทษ โดยทำให้เกิดความเดือดร้อน เสียหายต่อทรัพย์สินหรือบุคคล เช่น การโจรกรรม การฆาตกรรม เป็นต้น