Roojai

อัปเดต 2567! สถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV ทั่วไทย พร้อมราคา เช็คเลย

เช็คสถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV ทั่วไทย พร้อมราคา | ประกันรถยนต์ไฟฟ้า | รู้ใจ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันรถไฟฟ้าในไทย เป็นหนึ่งในยานพาหนะที่ได้รับความสนใจไม่แพ้รถยนต์สันดาป แต่สิ่งหนึ่งที่ยังสร้างความกังวลอยู่เนือง ๆ คงไม่พ้นสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ที่หลายคนมองว่ายังไม่แพร่หลายเท่าไหร่นัก แต่มันจะจริงอย่างที่กังวลกันหรือไม่ รู้ใจพร้อมพาสาวกรถไฟฟ้าไปทำความเข้าใจเพิ่มเติมเรียบร้อยแล้ว ไปดูกัน!

สถานีชาร์จรถไฟฟ้าคืออะไร?

สถานีชาร์จรถไฟฟ้าหรือ EV Charger ทำหน้าที่เป็นตัวชาร์จแบต/พลังงานให้กับแบตรถไฟฟ้า ให้มีพลังงานพร้อมใช้งานอีกครั้งหลังจากที่แบตเตอรี่ถูกใช้งานไปก่อนหน้า ซึ่งระบบชาร์จแบตเตอรี่มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและความต้องการของผู้ใช้งาน หลัก ๆ แล้วการชาร์จรถไฟฟ้า EV แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Normal Charge (AC Charging) และ Fast Charge (DC Charging)

การชาร์จแบตเตอรี่ทั้ง 2 ประเภท ต่างกันยังไง?

1. Normal Charge (AC Charging)

เป็นการชาร์จแบตเตอรี่ด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) โดยต้องชาร์จแบตรถไฟฟ้าผ่าน On Board Charger ที่อยู่ภายในตัวรถยนต์ชาร์จไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟฟ้า AC เป็นไฟ DC เพื่อเก็บสะสมในแบตรถไฟฟ้า โดยขนาดของ On Board Charger จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของรถชาร์จไฟฟ้า แน่นอนว่าขนาดย่อมมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตรถไฟฟ้า

2. Fast Charge (DC Charging)

การชาร์จโหมด DC เป็นวิธีชาร์จแบตเตอรี่ที่ชาร์จแบตได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากอาศัยการส่งพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ไฟฟ้าแรงสูงไปยังแบตรถไฟฟ้าโดยตรง สามารถชาร์จประจุได้มาก และชาร์จได้ถึง 80% หรือมากกว่า โดยใช้เวลาเพียง 20-30 นาทีเท่านั้น เหมาะสำหรับรถไฟฟ้าในไทยที่ใช้สำหรับเดินทางไกล

รถไฟฟ้าชาร์จแบตที่ไหนได้บ้าง?

ปัจจุบันการชาร์จรถไฟฟ้าในไทยสามารถทำได้ในหลายสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคารที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน รวมถึงสถานที่อื่น ๆ อีกมากมายในไทย โดยเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ โหมดการชาร์จ และจำนวนเครื่องชาร์จ มักขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสถานีชาร์จรถไฟฟ้าเป็นหลัก

1. ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน หรืออาคารที่พักอาศัย

การชาร์จแบตรถไฟฟ้า EV ที่บ้านถือเป็นเรื่องปกติมาก ๆ คล้ายกับการชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ แน่นอนว่าการติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าไว้ที่บ้าน ย่อมเพิ่มความสะดวกสบายได้อย่างถึงที่สุด สามารถชาร์จได้ตามที่ต้องการ ไม่ต้องเดินทางไปชาร์จแบตเตอรี่ตามสถานีนอกบ้าน

2. ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่อาคารสำนักงาน หรือออฟฟิศ

การชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ในสถานที่ทำงาน อาคารสำนักงานต่าง ๆ ระหว่างทำงาน นับตั้งแต่เริ่มงานจนถึงเลิกงาน ประมาณ 8-10 ชั่วโมง ถือว่าสะดวกมาก ๆ เพราะส่วนใหญ่สถานีชาร์จรถไฟฟ้าจะติดตั้งใกล้ที่จอดรถหรือในที่จอดรถเลย ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน พูดง่าย ๆ ว่าต้องไม่มีความยุ่งยากในการเข้าถึงการชาร์จแบตเตอรี่

3. ชาร์จแบตรถไฟฟ้า ณ จุดหมายปลายทาง

“ปลายทาง” ของการเดินทางมักเป็นจุดปลายทางสำหรับคนใช้รถไฟฟ้าในไทยที่ต้องการชาร์จแบตรถไฟฟ้าระหว่างการเดินทาง เช่น โรงแรม ปั๊มน้ำมัน เพราะฉะนั้นการติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่เหมาะสม ควรตั้งอยู่ในสถานที่ที่สะดวกสบาย เข้าถึงการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ได้ง่าย หรืออาจติดตั้งป้ายแสดงจุดชาร์จอย่างชัดเจน

ติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

สำหรับคนที่มีรถยนต์ชาร์จไฟฟ้าที่อยากติดตั้งสถานีชาร์จแบตเตอรี่ที่บ้าน รู้ใจได้ลิสต์ “ค่าใช้จ่าย” มาให้เห็นภาพโดยประมาณดังต่อไปนี้

  1. ค่าเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า EV
    ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและขนาดของกำลังไฟ เริ่มต้นที่ 15,000-100,000 บาท แต่รถชาร์จไฟฟ้าบางยี่ห้อก็แถมให้ฟรี
  2. ค่าเพิ่มขนาดมิเตอร์/ค่าขอมิเตอร์ลูกที่ 2
    • พื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ต้องติดต่อการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งมีค่าขอเพิ่มมิเตอร์ตั้งแต่ 700-2,500 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดมิเตอร์ที่ขอ) กรณีที่ต้องการค่าไฟแบบ TOU จะคิดเพิ่มอีก 6,640-7,350 บาท
    • พื้นที่นอกกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ต้องติดต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบประมาณ 700-1,500 บาท หากต้องการเปลี่ยนมิเตอร์ที่คิดค่าไฟแบบ TOU ต้องจ่ายเพิ่มอีก 3,740-5,340 บาท
  3. ค่าเดินสายเมนที่ 2 ค่าติดตั้งอุปกรณ์ และวางระบบไฟใหม่ เพื่อรองรับสถานีชาร์จรถไฟฟ้า
    สามารถเลือกผู้ให้บริการได้ตามความพึงพอใจ โดยมีราคาเริ่มต้น 10,000 บาทขึ้นไป หรือจะเลือกผู้ให้บริการจากการไฟฟ้าก็ได้เช่นกัน (ในด้านของ PEA ในปัจจุบันยังไม่มีบริการติดตั้ง)

นอกจากการมองหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้าใกล้บ้าน ที่สามารถรองรับการชาร์จแบตรถไฟฟ้าอย่างตอบโจทย์ และวิธีชาร์จแบตเตอรี่ที่เหมาะสมแล้ว การมองหาประกันรถไฟฟ้า EV ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก ที่ช่วยเพิ่มความอุ่นใจได้ตลอดการเดินทางเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อเลือกซื้อประกันกับ “รู้ใจ” นอกจากนี้จะมีแผนประกันที่ครอบคลุมแล้ว ยังมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเดินทางใกล้หรือไกลในช่วงเวลาไหน ก็มีเพื่อนร่วมเคียงข้างอยู่เสมอ

วิธีชาร์จแบตเตอรี่รถ EV ที่สถานีชาร์จรถไฟฟ้า | ประกันรถยนต์ไฟฟ้า | รู้ใจ

ซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้าต้องเช็คอะไรบ้าง?

สำหรับคนที่มีรถชาร์จไฟฟ้าที่กำลังมองหาประกันรถไฟฟ้า EV แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเลือกแบบไหนถึงจะตอบโจทย์ ให้ความคุ้มครองรถไฟฟ้าคู่ใจได้อย่างครอบคลุม รู้ใจลิสต์สิ่งที่ต้องเช็คมาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลย

1. ความคุ้มครอง

ประเด็นสำคัญที่เจ้าของรถไฟฟ้าในไทยไม่ควรมองข้าม คือ “ความคุ้มครอง” ต้องดูให้ว่าคุ้มครองครอบคลุมในเรื่องของอะไหล่หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ หรือไม่ โดยเฉพาะในเรื่องของแบตรถไฟฟ้า และเครื่องชาร์จแบตรถที่บ้าน รวมไปถึงน้ำท่วม รถหาย ไฟไหม้ ภัยธรรมชาติต่าง ๆ

2. เบี้ยประกันและทุนประกัน

การตรวจสอบเบี้ยและทุนประกันรถไฟฟ้าให้ถี่ถ้วน ว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่ ถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญ ที่จะช่วยให้คุณได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่ามากที่สุด หากจ่ายค่าเบี้ยรถยนต์ชาร์จไฟฟ้าสูง ทุนประกันและความคุ้มครองก็ต้องสูงตามไปด้วยเช่นกัน

3. ศูนย์ซ่อม

ในปัจจุบันรถไฟฟ้าได้รับความนิยมค่อนข้างสูง แต่ในเรื่องของศูนย์บริการ/ศูนย์ซ่อมกลับสวนทาง หากต้องการทำประกัน แนะนำให้เลือกบริษัทที่มีศูนย์ซ่อมคุณภาพชั้นนำ เพื่อช่วยให้คุณประหยัดเวลา และลดปัญหากวนใจอื่น ๆ ได้เป็นปลิดทิ้ง

ชี้เป้าสถานีชาร์จแบตรถไฟฟ้าในไทย มีแบรนด์ไหนบ้าง?

ปัจจุบันสถานีชาร์จรถไฟฟ้าในประเทศไทย เริ่มมีขึ้นอย่างแพร่หลาย มีจุดบริการหลายแบรนด์ แถมส่วนใหญ่ยังเป็นการให้บริการจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีมาตรฐาน นอกจากจะมีการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ให้เลือกหลากหลายแล้วยังแผ่ขยายสาขาไปทั่วทั้งประเทศไทย แต่จะมีของแบรนด์ไหนบ้างไปดูกันเลย

1. สถานีชาร์จรถไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง MEA

เป็นจุดชาร์จรถไฟฟ้าในไทยที่การไฟฟ้านครหลวงจัดตั้งขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ชาร์จไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ปัจจุบันมีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามากถึง 34 สถานี รวม 138 หัวชาร์จ สามารถค้นหาสถานีชาร์จแบตเตอรี่ จองหัวชาร์จ และชำระค่าบริการผ่านแอปพลิเคชั่น MEA EV ได้โดยตรง

  • อัตราค่าบริการ: อัตราเดียว 7.5 บาทต่อหน่วย

2. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า PPT EV Station PluZ

ให้บริการโดยบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบันมีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศไทย ครอบคลุมทั้งในและนอกสถานีบริการ PTT Station

อัตราค่าบริการ:

  • On Peak: 7.7 บาท/หน่วย
  • Off Peak: 6.0 บาท/หน่วย

หมายเหตุ: มีอัตราค่าบริการ “จองชาร์จ” 20 บาท

ประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่รู้ใจ

3. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า SHARGE

SHARGE เป็นผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV หรือ EV Charging Solution ครบวงจร แถมยังรองรับ Lifestyle Charging Ecosystem ทั้ง Night, Day, On-the-go สามารถค้นหาและจองสถานีชาร์จรถไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชั่น SHARGE ได้ทันที

อัตราค่าบริการ:

  • AC Charger: ราคาอยู่ที่ 8.5 บาท สถานี SHARGE MBK 1 ชม. 60 บาท
  • DC Charger: ราคาเริ่มต้น 7.1 บาท ตามทั่วไป 8.7 บาท ยกเว้นปั๊มเชลล์ ตู้ DC 180kW ราคา 9 บาท

4. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า PEA VOLTA

แบรนด์สถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่ติดตั้งโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการใช้รถไฟฟ้า EV ในประเทศไทย มีการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่หลากหลายแบบ ทั้ง Normal Charge และ Quick Charge สามารถค้นหาสถานีที่ใกล้ที่สุดผ่านแอปพลิเคชั่น PEA VOLTA ได้โดยตรง

อัตราค่าบริการ:

  1. เครื่องอัดประจุไฟฟ้าขนาด 25 kW
    • On Peak: 6.9 บาท/หน่วย
    • Off Peak: 5.3 บาท/หน่วย
  2. เครื่องอัดประจุไฟฟ้าขนาด 50 kW
    • On Peak: 7.4 บาท/หน่วย
    • Off Peak: 5.7 บาท/หน่วย
  3. เครื่องอัดประจุไฟฟ้าขนาด 120 kW
    • On Peak: 7.5 บาท/หน่วย
    • Off Peak: 5.8 บาท/หน่วย
  4. เครื่องอัดประจุไฟฟ้าขนาด 300 kW และ 360 kW
    • On Peak: 8.8 บาท/หน่วย
    • Off Peak: 6.6 บาท/หน่วย

5. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า EA Anywhere

ผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV ทั้งแบบปลั๊กอินไฮบริดและแบบแบตเตอรี่ ก่อตั้งขึ้นโดย บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

อัตราค่าบริการ:

  1. ค่าบริการตู้ชาร์จแบบ AC
    • 10 min / 15.00 บาท
    • 60 min / 80.00 บาท
    • 120 min / 150.00 บาท
    • 180 min / 220.00 บาท
    • 240 min / 320.00 บาท
  2. ค่าบริการตู้ชาร์จแบบ DC
    • เริ่มต้นที่ 6.50 บาทต่อหน่วย

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสถานีชาร์จรถไฟฟ้าในปัจจุบัน เริ่มมีหน่วยงานต่าง ๆ ออกมาให้บริการอย่างแพร่หลาย ช่วยให้เจ้าของรถไฟฟ้าอย่างคุณ มี “ตัวเลือก” ที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ยังควรให้ความสำคัญในเรื่องของประกันรถไฟฟ้าให้ดีด้วย เพราะศูนย์ซ่อมทั้งส่วนแบตรถไฟฟ้าหรือจะเป็นรถไฟฟ้าในไทยยังค่อนข้างน้อย แถมค่าแบตเตอรี่ก็ค่อนข้างสูง หากมองหาประกันที่ตอบโจทย์และคุ้มครองอย่างครอบคลุม จะช่วยให้คุณใช้รถใช้ถนนได้อย่างอุ่นใจมากยิ่งขึ้น

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ประกันรถยนต์ไฟฟ้า ประกันภัยที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ เพราะมีความคุ้มครองแบตเตอรี่รถ EV และบางบริษัทอาจมีความคุ้มครองเครื่องชาร์จรถ EV ที่บ้าน
มิเตอร์ไฟฟ้า อุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้านหรือสถานประกอบการ
ค่าไฟแบบ TOU TOU ย่อมาจาก Time of Use Tariff คือการคิดค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาการใช้ไฟฟ้า โดยแบ่งเป็นช่วง Peak และ Off-Peak