Roojai

เทียบจุดเด่น-ราคา ระบบขนส่งพัสดุในไทย เจ้าไหนคุ้มค่า?

ระบบขนส่งพัสดุในไทย เจ้าไหนราคาดีและคุ้มค่า | รู้ใจ ประกันออนไลน์

หากพูดถึง “โลจิสติกส์” หรือระบบขนส่งในไทย บอกเลยว่าในตอนนี้มีให้เลือกมากกว่าแต่ก่อนเยอะ ทั้ง Shopee, Lazada, flash และอื่น ๆ ที่มีระบบการทำงานที่หลากหลาย รู้ใจจึงจะพาทุกคนไปรู้จักว่าระบบขนส่ง คืออะไร เพื่อให้คุณเลือกใช้บริษัทขนส่งได้เหมาะสมกับการขนส่งของคุณ จะมีรายละเอียดอะไรที่น่าสนใจ ตามรู้ใจไปดูพร้อม ๆ กันเลยในบทความนี้

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

ระบบขนส่ง คืออะไร?

สำหรับ “Transportation” หรือระบบขนส่ง คือการเคลื่อนย้ายสินค้า, คน หรือบริการจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่หนึ่ง โดยใช้ยานพาหนะ, โครงสร้างพื้นฐาน และวิธีดำเนินการที่แตกต่างกันออกไป โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้

1. การขนส่งทางบก

การขนทางบกในประเทศไทย จำแนกออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. การขนส่งทางรถยนต์การขนส่งทางรถยนต์หรือรถบรรทุก ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะสะดวก รวดเร็ว แถมยังขนส่งสินค้าได้ตลอดเวลาต้องการ ตอบโจทย์สำหรับสินค้าขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ และอีกหนึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยม คือ การขนส่งโดยใช้รถจักรยานยนต์ ที่เหมาะสำหรับสินค้าขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง แต่เหมาะสำหรับระยะทางการขนส่งสั้น ๆ เท่านั้น
  2. การขนส่งทางรถไฟ – อีกหนึ่งเส้นทางการขนส่งที่มีความสำคัญมาก ๆ แถมยังเรียกได้ว่าเป็น “ยุคบุกเบิก” ของระบบขนส่งสาธารณะคงไม่ผิด เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ น้ำหนักเยอะ และระยะทางไกล แต่ถึงอย่างนั้น “อัตราค่าบริการ” ไม่ได้แพงจนเกินไป ที่สำคัญสามารถขนส่งสินค้าได้จำนวนมาก และหลายชนิดด้วย
เปรียบเทียบข้อดีของระบบขนส่งพัสดุในไทย | รู้ใจ ประกันออนไลน์

2. การขนส่งทางน้ำ

ส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เหมาะกับสินค้าขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถขนส่งได้ปริมาณ แถมยากแก่การเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นข้าว หิน หรือทราย เมื่อเทียบกับการขนส่งทางอื่น ๆ การขนส่งทางน้ำถือว่าถูกกว่ามาก แต่มีข้อจำกัดคือใช้ระยะเวลาการขนส่งที่ไม่แน่นอน

3. การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์

เป็นการขนส่งด้วยการบรรจุสินค้าลงในตู้คอนเทนเนอร์ แล้วทำการขนส่งโดยรถไฟ เครื่องบิน หรือรถบรรทุก ไปยังจุดหมายปลายทางโดยไม่มีการขนถ่ายสินค้าออกจากตู้ระหว่างการขนส่ง เป็นประเภทการขนส่งที่ช่วยป้องกันสินค้าชำรุด เสียหายได้ดีมาก ๆ

4. การขนส่งทางท่อ

ส่วนใหญ่เป็นการขนส่งสินค้าประเภทก๊าซหรือของเหลว โดยเป็นการส่งผ่านสายเดินท่อที่ติดตั้งไว้ เช่น น้ำมัน น้ำประปา หรือก๊าซธรรมชาติ แตกต่างจากการขนส่งประเภทอื่น ๆ ตรงอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งไม่ต้องเคลื่อนที่ไปไหน ช่วยให้กำหนดเวลาการขนส่งได้ชัดเจน ประหยัดต้นทุนและเวลาในการขนย้ายได้ดี นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยสูง ใช้กำลังคนน้อย แต่มีข้อเสียคือขนส่งได้เฉพาะสินค้าที่เป็นของเหลวและก๊าซเท่านั้น แถมยังมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนครั้งแรกสูงมาก

5. การขนส่งทางอากาศ

อีกหนึ่งการขนส่งที่เหมาะกับการขนส่งระหว่างประเทศ หรือสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วสูง สะดวกและปลอดภัย เหมาะสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูง เปราะบาง ส่วนเรื่อง “ค่าใช้จ่าย” ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการขนส่งประเภทอื่น ๆ

ซึ่งทั้งหมดนี้คือการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ และปริมาณเยอะ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดสิ่งในภาคธุรกิจ B2B หรือ Business to Business แต่ถ้าหากคุณเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งแบบ B2C และ B2B2C ที่ต้องการจัดส่งสินค้าให้กับ “ผู้บริโภครายบุคคล” โดยตรง จะมี “บริษัทขนส่ง” ในไทยให้เลือกยิบย่อยอีกมากมาย แต่จะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลยดีกว่า

ธุรกิจแบบ B2C, B2B และ B2B2C แต่ละแบบต่างกันยังไง?

หลายคนอาจสงสัยว่าการทำธุรกิจแบบ B2B, B2C และ B2B2C คืออะไร แล้วทำไมต้องทำความเข้าใจด้วย เป็นเพราะว่าปัจจุบันธุรกิจส่วนใหญ่เน้นเจาะกลุ่ม “ตลาดออนไลน์” เป็นหลัก รวมถึงให้ความสำคัญกับธุรกิจอีคอมเมิร์ชมากขึ้น ทำให้การเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจจาก B2C กลายมาเป็นแบบ B2B และ B2B2C มากขึ้น ซึ่งแต่ละแบบมีระบบขนส่ง และการดำเนินธุรกิจที่ต่างกัน ดังนี้

  1. B2C ย่อมาจากคำว่า Business to Customer คือ ธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการระหว่าง “เจ้าของธุรกิจ (B) และผู้บริโภครายบุคคล (c)” ถือเป็นประเภทธุรกิจอีคอมเมิร์ชระยะสั้น เช่น ธุรกิจเสื้อผ้า, อาหาร, โรงแรม หรือสายการบิน นอกจากนี้ยังรวมถึงร้านสะดวกซื้อ และร้านขายสินค้าต่าง ๆ อีกด้วย
  2. B2B ย่อมาจากคำว่า Business to Business เป็นการทำการค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจด้วยกัน มีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ เช่น ผลิตสินค้า วัตถุดิบ หรือการบริการ ไม่ใช่การนำไปเพื่ออุปโภคหรือบริโภคเอง เช่น ซื้อผ้ามาเพื่อผลิตเสื้อ เป็นต้น
  3. B2B2C ย่อมาจากคำว่า Business to Business to Customer คือ ธุรกิจอีคอมเมิร์ชที่รวมธุรกิจแบบ B2B และ B2C เข้าด้วยกัน เพื่อ “เติมเต็ม” การทำธุรกิจให้สมบูรณ์แบบ และเพิ่มความสามารถในการขายสินค้าและบริการ เช่น Lazada หรือ Shopee ที่มีร้านค้าและแบรนด์สินค้าต่าง ๆ มาลงขายสินค้า เพื่อให้ลูกค้ามาเลือกซื้อได้อย่างอิสระ

เหตุผลที่ควรทำความเข้าใจให้ดี ว่าธุรกิจที่คุณทำในตอนนี้เป็นแบบไหน เพื่อช่วยให้ทำธุรกิจได้ตรงกับกลุ่มลูกค้า รวมถึงยังส่งผลให้รู้วิธีการทำตลาดได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม เพราะการทำการตลาดอย่างมีคุณภาพ จะส่งผลต่อยอดขายและกำไรที่ตามมาในอนาคต

จุดเด่น-จุดด้อยระบบขนส่งในไทยแต่ละเจ้า มีอะไรบ้าง?

หลังจากพูดถึงการขนส่งในภาคธุรกิจแบบ B2B ไปแล้ว เรามาทำความรู้จักการขนส่งที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยกันดี อย่าง Shopee, Lazada, flash รวมถึงไปรษณีย์ไทยกันบ้างดีกว่า ว่าแต่ละเจ้ามีจุดเด่น-จุดด้อยต่างกันยังไง เลือกแบบไหนตอบโจทย์ได้มากกว่า ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

เปรียบเทียบราคาของระบบขนส่งพัสดุในไทย | รู้ใจ ประกันออนไลน์

1. SPX Express (Shopee)

SPX Express คือ บริการขนส่งสินค้าทั่วไป ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ Shopee แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชชื่อดัง มีบริการเข้ารับสินค้าถึงหน้าร้าน เลือกวันและเวลาที่ต้องการให้เข้ารับได้อย่างอิสระ ปัจจุบันมีมากกว่า 900 สาขาทั่วประเทศ มีบริการเก็บเงินปลายทาง โอนเข้าบัญชีร้านค้าภายใน 1-2 วันทำการ

จุดเด่น

  • บริการขนส่งรวดเร็ว ใช้เวลาเพียง 1-3 วัน
  • ขนส่งทุกวัน ไม่มีวันหยุด
  • มีการรับประกันกรณีสินค้าเสียหาย หรือสูญหาย
  • ร้านค้าออนไลน์ปริ้นท์ใบปะหน้าได้ง่าย ๆ แค่เข้าไปที่ Seller Center

จุดด้อย

  • ค่าบริการบางรายการค่อนข้างสูง
  • กรณีสินค้าพรีออเดอร์ต้องใช้เวลารอคอยนาน เมื่อระบบขนส่ง SPX Express ล่าช้า จะยิ่งนานขึ้นไปอีก

2. LEX TH (Lazada)

คือ ระบบขนส่งภายใต้การดูแลของ Lazada หนึ่งในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชชื่อดัง เนื่องจากทางลาซาด้าพบว่า “อุปสรรคในการทำรายได้” คือค่าขนส่งที่ต้องแบกรับจากโปรโมชั่น เช่น ซื้อครบ 99 บาทส่งฟรี ทำให้ขาดทุนจากค่าขนส่ง จึงกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นในการตั้งระบบขนส่งของตัวเองขึ้นมา

จุดเด่น

  • ร้านค้าที่ใช้ LEX TH สามารถเข้าร่วมโปรแกรมจัดส่งเร็วพิเศษได้
  • มีอัตราการเข้ารับสินค้าวันเดียวกับที่ร้านค้ากดพร้อมจัดส่ง มากกว่าระบบขนส่งเจ้าอื่น
  • มีอัตราการจัดส่งล้มเหลวน้อยกว่าขนส่งเจ้าอื่น
  • มีอัตราการพยายามจัดส่งให้ลูกค้าในวัดถัดไปที่ 99%
  • ได้รับความพึงพอใจสูงสุดจากลูกค้าเกี่ยวกับการขนส่ง

จุดด้อย

  • ค่าใช้จ่ายสูง ไม่ว่าจะเป็นค่าคอมมิชชั่น ค่าธรรมเนียมการรับชำระเงิน และค่าธรรมเนียมการจัดส่งสินค้า
  • ต้องแข่งขันกับสินค้าที่มาจากจีน เนื่องจากแพลตฟอร์มนี้มีสินค้าจากจีนลงขายค่อนข้างเยอะ แถมราคาถูกกว่า
วิธีเลือกบริษัทขนส่งพัสดุให้ตอบโจทย์ | รู้ใจ ประกันออนไลน์

3. Flash Express

Flash Express หรือ “ขนส่งสีเหลือง” เป็นบริษัทขนส่งสัญชาติไทยแท้ เปิดให้บริการ 365 วัน ไม่มีวันหยุด เพื่อให้บริการลูกค้าแบบไม่มีสะดุด เหมาะสำหรับคนที่ขายของออนไลน์ทุกวัน นอกจากนี้หากเลือกให้มารับที่บ้านยังไม่มีค่าบริการเพิ่มตั้งแต่ชิ้นแรก

จุดเด่น

  • มารับถึงที่โดยไม่บวกค่าบริการเพิ่ม
  • ราคาถูกกว่าระบบขนส่งเจ้าอื่น ๆ
  • รับพัสดุขนาด Over Size ได้
  • รองรับการเก็บเงินปลายทาง
  • เช็คพัสดุ หรือติดตามพัสดุได้โดยเช็คเลขพัสดุ Tracking Number

จุดด้อย

  • ระบบแอปพลิเคชันยังไม่เสถียร
  • ต้องแสตนบายรอรถเข้ามารับ
  • ไม่มีระบบจองล่วงหน้า ต้องคอยกดให้รถเข้ามารับวันต่อวัน

4. KEX Express (หรือ Kerry Express)

KEX Express หรือชื่อเดิมคือ Kerry Express เรียกได้ว่าเป็นระบบขนส่งขนาดยักษ์ใหญ่ และเป็นที่จับตามองในวงการขายของออนไลน์มาก ๆ ปัจจุบันเปิดให้บริการมากกว่า 5,500 แห่งทั่วประเทศไทย

จุดเด่น

  • จัดส่งรวดเร็ว ในกทม. ใช้เวลา 1-2 วัน ต่างจังหวัดใช้เวลา 2-3 วันทำการ
  • เช็คพัสดุ หรือติดตามพัสดุได้โดยเช็คเลขพัสดุ Tracking Number

จุดด้อย

  • ค่าส่งสำหรับสินค้าขนาดใหญ่ มีน้ำหนัก หรือส่งต่างจังหวัดค่อนข้างแพง

5. ไปรษณีย์ไทย

ไปรษณีย์ไทย หรือ ปณ. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้บริการส่งของทางไปรษณีย์ มีทั้งบริการส่งด่วน (EMS), ลงทะเบียน (R) และบริการส่งของใหญ่ (Logispost)

จุดเด่น

  • จัดส่งรวดเร็ว ใช้เวลา 1-3 วันทำการ
  • สินค้าขนาดเล็กส่งถึงหน้าบ้าน
  • เช็คพัสดุ หรือติดตามพัสดุได้โดยเช็คเลขพัสดุ Tracking Number

จุดด้อย

  • สินค้าที่มีน้ำหนักมาก ค่าจัดส่งค่อนข้างแพง
  • กรณีสินค้าเสียหายเคลมได้ค่อนข้างยาก
  • สินค้ากล่องใหญ่ บางกรณีอาจส่งไม่ถึงบ้าน ลูกค้าต้องไปรับที่ทำการไปรษณีย์เอง

เทียบราคาค่าส่งพัสดุแต่ละเจ้า เลือกเจ้าไหนคุ้มค่ากว่ากัน?

อีกหนึ่งประเด็นที่เจ้าของธุรกิจควรให้ความใส่ใจ และคิดคำนวณให้ดีมาก ๆ คือ “ค่าบริการขนส่ง” ของระบบขนส่งแต่ละเจ้า ว่ามีค่าบริการเริ่มต้นเท่าไหร่ เพื่อให้ได้รับความคุ้มค่ามากที่สุด ถ้าพร้อมแล้วเราไปเปรียบเทียบพร้อม ๆ กันได้เลย

1. ค่าส่ง SPX Express (Shopee)

  • อัตราค่าขนส่งพัสดุเริ่มต้น 18 บาท
  • น้ำหนักสูงสุด 20 กิโลกรัม และขนาดใหญ่รวมไม่เกิน 180 เซนติเมตร (ด้านยาวมากสุดเกิน 100 เซนติเมตร)
  • บริการส่งพัสดุแบบเก็บเงินปลายทาง (COD) ค่าธรรมเนียม 2.5%

2. ค่าส่ง LEX TH (Lazada)

  • อัตราค่าขนส่งพัสดุปริมณฑล เริ่มต้น 20 บาท ระยะเวลาจัดส่ง 1-2 วัน
  • อัตราค่าขนส่งพัสดุต่างจังหวัด เริ่มต้น 25 บาท ระยะเวลาจัดส่ง 2-3 วัน

3. ค่าส่ง Flash Express

ค่าขนส่งพัสดุของ Flash Express เริ่มต้นที่ 18 บาท ภายในพื้นที่จังหวัดเดียวกัน ยกเว้นไม่รวมในพื้นที่กรุงเทพฯ, นนทบุรี, สมุทรปราการ และปทุมธานี และไม่รวมบริการ SPEED ด้วย

4. ค่าส่ง KEX Express (หรือ Kerry Express)

  • โซนกรุงเทพฯ ปริมณฑล เริ่มต้น 25 บาท ระยะเวลาจัดส่ง 1-2 วัน
  • โซนต่างจังหวัด เริ่มต้น 49 บาท ระยะเวลาจัดส่ง 2-3 วัน
  • บริการ Bangkok Sameday เริ่มต้น 45 บาท

5. ค่าส่งไปรษณีย์ไทย

  • พัสดุบรรจุซอง ส่งแบบลงทะเบียน (R) เริ่มต้น 13 บาท ระยะเวลาจัดส่ง 3-5 วัน
  • พัสดุบรรจุกล่อง ส่งแบบลงทะเบียน (R) เริ่มต้น 20 บาท ระยะเวลาจัดส่ง 3-5 วัน
  • ส่งพัสดุแบบ EMS เริ่มต้น 32 บาท ระยะเวลา 1-2 วัน

เลือกบริษัทขนส่งแบบไหน ตอบโจทย์ธุรกิจได้มากกว่า?

ในปัจจุบันผู้คนหันมาทำธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ทั้งขายเสื้อผ้า ขายของใช้ทั่วไป และอื่น ๆ การเลือกบริษัทขนส่งให้ตอบโจทย์ยังเป็นหนึ่งประเด็นที่ควรให้ความสำคัญปล่อยผ่านไม่ได้ จะมีเกณฑ์การพิจารณาในการเลือกระบบขนส่งยังไงบ้างให้เหมาะกับคุณ ตามไปดูกันเลย

  1. ค่าบริการขนส่ง ถือเป็นประเด็นที่สำคัญมาก ๆ เพราะเป็นหนึ่งใน “ต้นทุน” ในการทำธุรกิจ แนะนำให้เลือกระบบขนส่งที่มีการคิดค่าบริการสมเหตุสมผล มีมาตรฐาน นอกจากนี้ยังควรดูในเรื่องโปรโมชั่น และส่วนลดต่าง ๆ จากการใช้บริการเป็นประจำ เพียงเท่านี้จะช่วยให้ได้รับความคุ้มค่ามากที่สุดแล้ว
  2. การรับประกันความเสียหาย เนื่องจากสินค้าที่ต้องการส่งให้ถึงมือลูกค้าล้วนมีต้นทุน หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายระหว่างขนส่ง อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ ดังนั้นควรเลือกระบบขนส่งที่มีการรับประกันในส่วนนี้ด้วย
  3. คุณภาพในการให้บริการ แนะนำว่าควรตรวจสอบให้มั่นใจ ว่าบริษัทขนส่งที่เลือกใช้บริการนั้น มีมาตรฐาน จัดส่งรวดเร็ว รวมถึงมีเจ้าหน้าที่ที่สามารถติดต่อได้ง่ายเมื่อเกิดปัญหา
  4. บริการเสริมอื่น ๆ บริการเสริมอื่น ๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งได้มากกว่า เช่น ช่วยยกของ ซึ่งจะช่วยให้การขนส่งเป็นไปอย่างรวดเร็ว

นอกจากประเทศไทยจะมีระบบขนส่งสาธารณะให้เลือกใช้บริการมากมายแล้ว ระบบขนส่งด้านการจัดส่งสินค้ายังมีให้เลือกตามใจชอบอีกเพียบเช่นกัน หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ ที่ต้องการจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้าโดยตรง ไม่ว่าจะขายผ่านแพลตฟอร์ม Shopee, Lazada รวมถึงแพลตฟอร์มอื่น ๆ แนะนำให้เลือกบริษัทขนส่งให้ดี เพียงเท่านี้จะ่วยทำให้คุณลดต้นทุนได้เยอะ กำไรสูงขึ้น แถมยังซื้อใจลูกค้าได้อีกนานเลยล่ะ

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

บุกเบิก ริเริ่ม, ทำเป็นคนแรกหรือกลุ่มแรก
ตู้คอนเทนเนอร์ ตู้ขนาดใหญ่ที่ผลิตด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม เพื่อใช้บรรจุสินค้าสำหรับการขนส่งทางเรือ ที่ต้องใช้ระยะเวลานานอย่างน้อย 15 วัน
อีคอมเมิร์ช การทำธุรกรรมซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นเป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ