Roojai

รู้ทันความเครียดช่วงโควิด 19 แล้วจัดการชีวิตให้เป็นเรื่องง่ายกันดีกว่า

รู้ทันความเครียดช่วงโควิด 19 (cover) | รู้ใจ

วิถี นิว นอร์มอล ดูจะไม่ใช่เรื่องนอร์มอลของใครหลาย ๆ คนอีกแล้ว ในภาวะวิกฤตโรคระบาดอย่าง โควิด 19 นั้น แค่เดินออกจากบ้านก็ถือว่าเสี่ยงแล้ว แต่การอยู่บ้านดูจะเสี่ยงยิ่งกว่า เพราะสุขภาพเงินในกระเป๋ากำลังถดถอยลงทุกที ทั้งภัยนอกบ้านและสมรภูมิการเอาตัวรอด ล้วนส่งผลให้เกิดความเครียดช่วงโควิด 19 แล้วเราจะผ่านวิกฤตความเครียดนี้ไปได้อย่างไร รู้ใจมีวิธีมาเสนอ จะมีอะไรบ้าง ! ตามไปดูกันเลย

ความเครียดช่วงโควิด 19 เอาชนะได้ไม่ยากถ้าเราเข้าใจ

เมื่อร่างกายรับรู้ว่าเรากำลังอยู่ในภาวะคับขัน สารสื่อประสาทบางชนิดจะหลั่งออกมาสั่งให้ร่างกายสู้หรือหนี สัญชาติญาณทางธรรมชาตินี้จะส่งผลต่อร่างกายให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อหดตัว ความดันสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นี่เป็นอาการเริ่มต้นก่อนที่จะพัฒนาจนกลายเป็นโรคเครียด

รู้ทันความเครียดช่วงโควิด 19 (1) | รู้ใจ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเครียดจะเริ่มมีความรู้สึกกลัว หวาดระแวง ตื่นตระหนก เมื่ออยู่ในความไม่ปลอดภัย บางคนจะว้าวุ่นจนเก็บไปฝันร้ายถึงสถานการณ์เลวร้ายที่คิดว่าจะเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมนุษย์แต่ละคนตอบสนองต่อความเครียดสะสมไม่เหมือนกัน บางสถานการณ์ดูเลวร้ายสำหรับบางคนแต่กับคนอีกจำนวนหนึ่งกลับรับมือได้อย่างไม่สะทกสะท้าน

จะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังเป็นโรคเครียด

อาการของโรคเครียดเกี่ยวพันธ์กับอารมณ์ ดังนั้นเมื่อมีอาการ อย่างแรกที่จะเกิดขึ้นคืออารมณ์ขุ่นมัว ผู้ป่วยมักแสดงความรู้สึกออกมาในทางลบ บางคนอาจเป็นโรคซึมเศร้า บางคนเกรี้ยวกราด อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ แน่นอนเมื่อคนในครอบครัวเป็นโรคเครียด การกักตัวอยู่บ้านจะยิ่งทำให้เป็นอุปสรรคในการทำให้อารมณ์ที่ร้อนแรงเบาลงได้ ทำให้โรคเครียดเริ่มปะทุออกมา เมื่อร่างกายเราตกอยู่สภาวะเครียด ความผิดปกติจะเริ่มแสดงอาการออกมา ปรากฎชัดทั้งในด้านร่างกายและสภาวะอารมณ์

  1. ด้านร่างกาย อาการที่จะรู้สึกได้ทันทีเมื่อเครียดก็คือ ความดันสูง หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก มือสั่น ใจสั่น เวียนศีรษะ นาน ๆ เข้าจะเริ่มเป็นไมเกรน และจะเริ่มส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร มีกรดในกระเพาะ กรดไหลย้อนจนเป็นโรคกระเพาะในที่สุด
  2. ด้านอารมณ์ ความวิตกกังวลฟุ้งซ่านจะเริ่มเกิดขึ้น มีความกดดันอยู่เสมอ จะเริ่มทำให้ค่อย ๆ หมดแรงจูงใจในเรื่องต่าง ๆ เกิดภาะโรคซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ และหมดแรงขับทางเพศ เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม รับประทานอาหารได้น้อยลง หยุดทำกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ เคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง และไม่สนใจสิ่งรอบตัว สูบบุหรี่จัดและใช้สารเสพติด
รู้ทันความเครียดช่วงโควิด 19 (2) | รู้ใจ

รักษาโรคเครียด ทุกคนสามารถทำได้

การรักษาโรคเครียดนั้นแน่นอนว่าเราควรจะหาสาเหตุของ ความเครียด นั้นให้เจอเสียก่อน เมื่อเข้าใจสาเหตุดังกล่าวแล้ว อาจเริ่มด้วยการพูดคุยระบายกับคนรู้จัก หรือถ้าคิดว่ารุนแรงเรื้อรังก็ควรปรึกษาจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ก่อนอื่นลองสำรวจก่อนว่าสาเหตุของโรคเครียดในช่วงโควิด 19 เกิดจากอะไรได้บ้าง

เครียดจากปัญหาด้านสุขภาพ

ในภาวะโรคระบาดอย่างโควิด 19 ความกลัวอย่างที่สุดของคนทั่วไปก็คือ กลัวการติดโควิด 19 ภาวะนี้ทำจิตใจหวาดระแวง ว้าวุ่นตลอดเวลาและทำให้ร่างกายเกิดโรคเครียดสะสมได้ง่าย ดังนั้นวิธีแก้ไขก็ควรจะสงบจิตใจให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก หาอะไรทำให้จิตใจผ่อนคลายให้มีสติ เพราะเมื่อสติมาปัญญาจึงเกิด จากนั้นจึงค่อยหาความรู้เกี่ยวกับการอยู่กับโรคระบาดโควิด 19 นี้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าจะสามารถอยู่กับโรคระบาดได้ เมื่อมีความมั่นใจ ความวิตกกังวลก็จะลดลงด้วย

รู้ทันความเครียดช่วงโควิด 19 (3) | รู้ใจ

เครียดจากปัญหาด้านการเงิน

สาเหตุหลักของความเครียดจากภาวะโรคระบาดนี้ ก็คือปัญหาด้านการเงิน เมื่อทำงานไม่ได้ก็ไม่มีรายได้ แต่รายจ่ายและหนี้สินยังเดินอยู่อย่างต่อเนื่อง ใครไม่เครียดก็แกร่งเกินคนแล้ว ฉะนั้นเมื่อเรารู้สาเหตุแล้ว จึงต้องเริ่มหาทางแก้จากจุดนั้น

  1. ปล่อยวาง จริงอยู่ว่าการปล่อยวางไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่ทุกข์ร้อนไปก็ไม่ช่วยอะไรอยู่ดี ดังนั้นจงมองหาด้านดีของมัน ถึงเงินไม่พอใช้ก็ไม่ได้หมายความว่าหมดหนทางซะทีเดียว ยังมีเงินอยู่ในมือยังไงต้องมีโอกาส อย่างน้อยตอนนี้คุณรู้แล้วว่าจะต้องทำอะไรสักอย่าง และมันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
  2. วางแผน เมื่อทำใจได้แล้ว เราก็ควรมาเริ่มวางแผนกัน การวางแผนการเงินนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก เริ่มดูจากเหลือเงินเท่าไหร่ เดือนนี้รายได้เท่าไหร่ รายจ่ายเท่าไหร่ จดค่าใช้จ่ายทุกบาททุกสตางค์มาคำนวณ คุณจะเริ่มเห็นว่าค่าใช้จ่ายบางอย่างไม่จำเป็น พยามลดค่าใช้จ่ายให้เพียงพอกับรายได้ แต่ในกรณีตกงาน ทำยังไงรายได้ก็ไม่รองรับรายจ่าย ก็ต้องลองดูว่าจะขยับภาระหนี้อะไรออกได้บ้าง เก็บไว้แต่ที่จำเป็นจริง ๆ จากนั้นค่อยมาหาวิธีเพิ่มรายได้
  3. หางานเพิ่ม ในสภาวะที่ใคร ๆ ก็ตกงานแน่นอนว่างานนั้นน่าจะต้องหายาก แต่ถ้ามองหา มันย่อมมีหนทาง อาจจะเริ่มจากมองหาจากสิ่งที่คุณชอบหรือหลงใหล เปลี่ยนมันมาเป็นช่องทางหารายได้ เช่น ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ หรืองานเล็ก ๆ งานเขียน วาดรูป ถ่ายรูป สิ่งเหล่านี้มีแหล่งรับซื้ออยู่ในอินเตอร์เน็ตมากมาย คุณแค่ต้องหามันให้เจอ ถ้าไม่มีจริง ๆ ลองฝึกทำอาหารขายก็ยังได้
รู้ทันความเครียดช่วงโควิด 19 (4) | รู้ใจ

เครียดมากไม่ไหวแล้ว ปรึกษาแพทย์

ความจริงแล้วการปรึกษาแพทย์ไม่จำเป็นต้องเป็นหนทางท้าย ๆ เราสามารถปรึกษาจิตแพทย์ได้ทุกเมื่อที่รู้สึกเป็น โรคเครียดเรื้อรัง ซึ่งจิตแพทย์จะมีวิธีบำบัดจิตใจจากโรคเครียด เรียกว่าการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy: CBT) การบำบัดความคิดและพฤติกรรม คือการบำบัดจิตภายใต้แนวคิดที่ว่าความคิดบางอย่างมีผลต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จิตแพทย์จะค่อย ๆ ทำการพูดคุยเพื่อค้นหาสาเหตุของความคิดและค่อย ๆ ชี้ให้เห็นระบบความคิดบางอย่างที่ไม่ถูกต้อง และปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ไม่อยู่กับความจริงนั้นออกไป

ซึ่งหากการรักษาด้วยการบำบัดนั้นไม่ได้ผล แน่นอนว่าแพทย์จำเป็นจะต้องใช้ยาร่วมด้วย ซึ่งเป็นยาที่ช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย และหายจากภาวะโรคซึมเศร้า

รู้ทันความเครียดช่วงโควิด 19 (5) | รู้ใจ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเครียด

สำหรับคนที่กำลังเผชิญอยู่กับ อาการ หากยังรู้สึกว่าเป็นความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ควรดูแลตัวเองโดยหากิจกรรมยามว่างทำ ให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลาย เพื่อที่จะไม่ทำให้โรคเครียดที่เกิดนั้นรุนแรงขึ้น จนเป็นเครียดเรื้อรัง สำหรับคนที่เป็นโรคเครียดเรื้อรังนั้น อาจตามมาด้วยปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคร้ายแรงต่าง ๆ

ผู้ที่เกิด อาการความเครียดสะสม เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นประจำควรดูแลตัวเอง โดยหากิจกรรมอย่างอื่นทำยามว่าง เพื่อให้ตนเองรู้สึกผ่อนคลาย ทั้งนี้ ผู้ที่เกิดความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานาน อาจประสบปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนี้

  1. โรคหัวใจ เมื่อฮอร์โมนความเครียดหลั่งออกมา ก็ทำให้เกิดภาวะหัวใจทำงานหนักเพราะหัวใจจะถูกกระตุ้นให้เต้นเร็วขึ้น เกิดความดันสูง นาน ๆ เข้าก็เกิดความเสียหายทางระบบหลอดเลือด ยิ่งบวกกับอาการนอนไม่หลับก็ส่งผลให้เกิดโรคความดันและโรคหัวใจได้ในที่สุด
  2. โรคเบาหวาน มีการวิจัยในผู้ป่วยโรคเบาหวานว่าปัญหาด้านจิตใจส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาล เพราะร่างกายสร้างอินซูลินได้น้อยลง การย่อยสลายน้ำตาลจึงทำได้ช้าลง ซึ่งนี่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน
  3. โรคมะเร็ง ในการวิจัยพบว่าสัตว์ทดลองที่มีสารก่อมะเร็งในตัว เมื่อถูกกดดันให้อยู่ในสภาวะเครียด จะพบว่ามีอัตราในการลุกลามของสารก่อมะเร็งมากกว่าสัตว์ที่ไม่ได้ถูกกระตุ้น จึงคิดได้ว่าความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญในการลุกลามของเซลล์มะเร็งอย่างเห็นได้ชัด สำหรับในมนุษย์มีการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่รู้สึกว่าไม่ได้รับกำลังใจที่ดีจากครอบครัว กลับเอาชนะโรคมะเร็งได้ยากกว่าผู้ป่วยที่มีกำลังใจด

ความเครียดนั้นน่ากลัว ! ต้องเฝ้าระวัง เพราะบางทีโรคเครียดอาจมาเยือนโดยที่คุณยังไม่รู้ตัวซึ่งมาพร้อมกับโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ยิ่งน่ากลัวกว่า รักษายากกว่า เรื่องประกันจึงจำเป็น รู้มั้ย รู้ใจประกันออนไลน์ ให้ทุกคนได้เช็คราคาออนไลน์ได้ภายใน 60 วินาที และประหยัดสูงสุดถึง 30% ทั้ง ประกันโควิด ประกันมะเร็ง และอีกมากมาย มีไว้อุ่นใจกว่า เราเป็นห่วงทุกคนที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด 19 ถึงไม่ติดเชื้อโควิด 19 แต่ความเครียดก็แทรกซ้อนมา และเราอยากจะให้กำลังใจทุกคนให้ผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน จากรู้ใจ ประกันออนไลน์ รู้ใจกว่า ประหยัดกว่า

สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจได้ทาง FB Fan page: Roojai หรือ คลิก add Official Line ของเราไว้ได้เช่นกัน