Roojai

Checklist ความเครียดในยุคโควิด ใช่ว่าทุกคนจะยิ้มได้กับโรคเครียด

Checklist โรคเครียดในยุคโควิด (1) | รู้ใจ

เกิดมาเป็นมนุษย์จะให้ไม่มีความเครียดเลยก็น่าแปลก เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่คิดมากตลอดเวลา และมีความเครียดเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ขึ้นอยู่ว่าใครจะมีมากหรือน้อยแล้วแต่สถานการณ์ ดังนั้นในยุคโควิด-19 คงไม่ต้องสงสัยเลยว่าแต่ละคนจะเครียดกันขนาดไหน บางคนพอจะทนได้ แต่กับบางคนด้วยสถานการณ์แบบนี้ มันสุดจะทานทน ความเครียดสะสมนั้นเป็นเรื่องที่ประมาทไมได้ เพราะบางคนไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเครียดจนปล่อยให้มันส่งผลต่อการใช้ชีวิต และทำให้เป็นโรคอย่างอื่นตามมา รู้ใจจะพาไปเช็กดูว่าคุณกำลังมีอาการเครียดอยู่รึเปล่า

Checklist โรคเครียดในยุคโควิด (2) | รู้ใจ

ความเครียดเกิดจากอะไร?

ความเครียดเกิดจากสองปัจจัยใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยภายนอกและภายใน ภายนอกก็อย่างเช่นปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้า ปัญหาภายในครอบครัว ปัญหาการงาน การเงิน ซึ่งกดดันให้เกิดความวิตกกังวล เกิดความวุ่นวายใจ ส่วนปัจจัยภายในนั้นก็คือสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด นิสัยส่วนตัว สภาวะจิตใจที่เกิดจากบุคลิก สารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล ที่ทำให้เกิดความวิตก ความคิดมากที่ควบคุมไม่ได้ ความเครียดจะแบ่งได้ 3 ประเภท

  1. Acute stress คือ ความเครียดที่เกิดจากความกดดันแบบเฉพาะเจาะจง เช่น Deadline ในการทำงาน ค่าใช้จ่ายที่กำลังจะมาถึง การเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่เป็นอย่างที่คิด ความเครียดนี้จะทำให้วุ่นวายใจอยู่พักหนึ่ง เมื่อผ่านไปได้ สภาวะเครียดก็จะหายไป ร่างกายก็จะกลับมาปกติ
  2. Episodic acute stress คือ ความเครียดสะสม ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หลายครั้ง เมื่อผ่านไปแล้วก็จะเกิดขึ้นใหม่ ทำให้จิตใจว้าวุ่นซ้ำ ๆ จึงทำให้เริ่มมีปัญหากับสุขภาพ และปัญหาจะยิ่งหนักขึ้นจากความเครียดที่มีอยู่ และขยายขึ้นเรื่อย ๆ
  3. Chronic stress คือ ความเครียดที่เกิดจากความวิตกกังวล ความกดดันที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเหมือนไม่มีวันสิ้นสุด จนเป็นโรคเครียดเรื้อรัง ความเครียดชนิดนี้มีผลอย่างรุนแรงต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต
Checklist โรคเครียดในยุคโควิด (3) | รู้ใจ

โรคที่เกิดจากความเครียด ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?

เมื่อร่างกายเกิดความเครียด มันจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา ฮอร์โมนนั้นเรียกว่า คอร์ติซอล (cortisol) ผลของมันทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดหลัง จนเกิดโรคเครียดเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ  ซึ่งฮอร์โมนคอร์ติซอลจะกระตุ้นให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินระดับปกติ จนเสี่ยงต่อภาวะช็อก

ในด้านจิตใจเอง ความเครียดก็ทำให้จิตใจอยู่ในความผิดปกติได้ บางครั้งทำให้จิตใจเหม่อลอย ไม่มีสมาธิ ส่งผลกระทบทำให้ขาดความมั่นใจในการทำงาน หากเกิดภาวะเครียดเป็นเวลานาน อาจจะทำให้ความจำและสติปัญญาลดลง และเกิดภาวะซึมเศร้าได้  

ผู้ที่มีความเครียดมาก ๆ อาจจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น เบื่ออาหารหรืออยากอาหาร นอนไม่หลับ ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตแย่ลง ทำให้เกิดปัญหาตามมา ปลีกตัวจากสังคม พฤติกรรมก้าวร้าวขึ้น ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ถึงขั้นทำร้ายตัวเองและผู้อื่น

Checklist โรคเครียดในยุคโควิด (4) | รู้ใจ

Checklist 7 อย่าง ที่บอกว่าคุณกำลังเครียด

บางคนมักปฏิเสธตัวเองเมื่อมีคนถามว่ากำลังเครียดอยู่หรือไม่ หรือบางครั้งเราก็ไม่รู้ตัวว่ากำลังมีอาการเครียดอยู่ ดังนั้นลองเช็กดูตาม 7 ข้อต่อไปนี้ ซึ่งอาจจะบอกได้ว่าคุณกำลังเป็นโรคเครียดอยู่นั่นเอง

  • มีอาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก นอนแล้วไม่อยากตื่น นอนมากเกินไป หรือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเกินสองสัปดาห์ จนมีผลต่อการดำรงชีวิต
  • อยากอยู่คนเดียว ไม่อยากเจอหน้าใคร ไม่อยากทำในสิ่งที่เคยชอบ ทำอย่างไม่มีเหตุผล ไม่อยากออกไปใช้ชีวิตข้างนอก ไม่ใส่ใจดูแลตัวเอง ไม่อยากอาบน้ำแปรงฟัน เกิดความรู้สึกไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือเพื่อน
  • เกิดอาการเจ็บป่วยทางกายแบบหาสาเหตุไม่ได้ เช่น ปวดหลัง ปวดหัว หน้ามืดวิงเวียนศีรษะ ไม่มีแรง หัวใจเต้นเร็วขึ้น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
  • เบื่ออาหาร หรือกินอาหารมากจนเกินปกติ น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว ควบคุมพฤติกรรมการกินไม่ได้
  • ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดได้ ทั้งที่เคยทำได้เป็นปกติ ความสามารถในการคิดการตัดสินใจลดลง ตัดสินใจธรรมดาก็ยังทำไม่ได้
  • มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ใจร้อน มั่นใจในตัวเองเกินปกติ ทั้งที่ไม่เคยมีพฤติกรรมแบบนี้ รู้สึกว่ามีอารมณ์ครึกครื้น ไม่อยากนอน มีพลังงานสูงมาก คิดเร็ว ทำเร็ว พูดเร็ว บางครั้งก็ใจเร็ว ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ใช้เงินแบบไม่คิด
  • มีภาวะซึมเศร้า คิดว่าตัวเองไร้ค่า สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย คิดว่าตัวเองเป็นภาระคนอื่น ท้อแท้ ตำหนิตัวเอง หมดความสนใจในสิ่งที่ชอบ มองเห็นแต่ข้อผิดพลาดของตัวเอง สิ้นหวัง หรือคิดสั้น
Checklist โรคเครียดในยุคโควิด (5) | รู้ใจ

6 วิธีรักษาความเครียด โดยไม่ต้องใช้ยา

เมื่อความเครียดพัฒนาเป็นโรคเครียด มันย่อมรักษาได้ ซึ่งบางคนใช้ยาในการรักษาโรคเครียดจนทำให้ติดยาคลายเครียดขึ้นมา เพราะฉะนั้นถ้าจะต้องใช้ยา ควรใช้ยาที่ได้รับการแนะนำจากแพทย์เท่านั้น แต่หากใครไม่อยากใช้ยา นี่คือ 6 วิธีรักษาโรคเครียด 

  • รักษาด้วยการทำในสิ่งที่ชอบ เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียดสะสม ร่างกายจะหลั่งอฮร์โมนความเครียดออกมาทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายผิดปกติ ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง ดังนั้นเราควรเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วยการให้ร่างกายพยายามสร้างสารเอ็นโดรฟิน ด้วยการให้ร่างกายผ่อนคลาย และได้รู้จักกับการเพิ่มความสุขให้ตัวเอง ด้วยกิจกรรมที่ตัวเองชอบ เช่น ออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง
  • ใช้อาหารเป็นตัวช่วย  คนที่ตกอยู่ในความเครียดจนเกิดการควบคุมการกินไม่ได้ ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนัก และส่งผลเสียต่อสุขภาพ  ฉะนั้นการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะสารอาหารจำพวกวิตามินบีที่ได้จากเนื้อสัตว์ เช่น ปลา สัตว์ปีก ธัญพืชที่ไม่ขัดขาว ไข่ ถั่ว นม พืชตระกูลถั่วและผักใบเขียว อาหารเหล่านี้จะช่วยลดพลังงานที่สูญเสียไปจากความเครียด ทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้นและอ่อนเพลียน้อยลง นอกจากนี้การเพิ่มวิตามินซี แมกนีเซียม โพแทสเซี่ยมให้กับร่างกาย ก็จะช่วยลดความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้อีกด้วย  ที่สำคัญอาหารรสชาติดีดี ที่เราชอบก็ช่วยให้จิตใจสดชื่นขึ้นได้อีกด้วย
  • การกอด  เคยอยากกอดใครสักคนเวลาที่เครียดหรือเปล่า งานวิจัยบอกว่าการกอดคนรัก หรือกอดสัตว์เลี้ยงตัวโปรดในวันที่เจออะไรแย่ ๆ จะช่วยทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ เพราะการสัมผัสเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยในการบำบัดความเครียดที่ได้ผลดีกว่ายาคลายเครียด เนื่องจากร่างกายจะผลิตสารอ็อกซิโทซิน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดความเครียด สร้างความสุข เพิ่อความอบอุ่นให้กับตัวผู้ให้และผู้รับได้มากเป็นพิเศษ 
  • ทำกิจกรรมช่วยฝึกจิตใจ สำหรับใครที่เครียดจนเข้าข่ายเป็นโรควิตกกังวล ไมสามารถปล่อยวางเลิกคิดในสิ่งเดิม ๆ  การเข้ารับกิจกรรมที่ฝึกจิตใจ จะช่วยให้เรามีสมาธิ จดจ่อไปกับสิ่งที่ทำและลืมสิ่งที่กังวลได้ กิจกรรมฝึกจิตใจ เช่น การทำสมาธิฝึกควบคุมการหายใจ โยคะ หรือรำไทเก๊ก  แต่ไม่ใช่ว่าเข้าทำกิจกรรมแล้วจะเห็นผลทันที ผู้เข้าฝึกจิตใจจะต้องค่อย ๆ ปรับสมดุลจิตใจ ปรับระบบความคิดที่วนเวียนอยู่ในหัว
  • ออกกำลังกาย  การอยู่นิ่ง ๆ ไม่ว่าจะที่บ้านหรือนั่งติดอยู่กับโต๊ะทำงานไม่สามารถทำให้ความเครียดที่ได้จากการทำงานหรือการใช้ชีวิตในแต่ละวันหายไปได้ การลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสาย ด้วยท่าออกกำลังกายต่าง ๆ ที่สามารถทำได้ง่าย เช่น ทุก 20 นาทีในการนั่งทำงาน จะลุกขึ้นมายืดไหล่ บริหารต้นคอ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อขา  การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหลังเลิกงานก็ช่วยในการพักสมองที่เครียดมาทั้งวัน ช่วยรวบรวมสมาธิในการทำงานได้

สร้างบรรยากาศดีดี การปรับเปลี่ยนบรรยากาศรอบ ๆ ตัว เช่น ปรับบรรยากาศโต๊ะทำงาน หรือห้องทำงานที่ต้องอยู่กับความเครียดทั้งวัน ก็จะช่วยให้บรรยากาศการทำงานที่ตึงเครียดดูผ่อนคลายลงได้ ไม่ว่าบ้านหรือที่ทำงาน ควรจะมีต้นไม้ที่มองแล้วสบายตา กำจัดขยะ ทำให้พื้นที่โล่งปลอดโปร่ง จัดแสงที่สบายตาเน้นธรรมชาติ หรือเปิดเพลงคลอเบา ๆ เพื่อเติมเต็มความสุขให้บรรยากาศการทำงาน

Checklist โรคเครียดในยุคโควิด (6) | รู้ใจ

โรคเครียด เป็นปัญหาที่ทุกคนจะต้องเจอในยุคที่โรคโควิด-19 กำลังระบาด รู้ใจเป็นห่วงทุกคนและอยากเป็นกำลังใจให้ทุกคนต่อสู้กับความเครียด ซึ่งความเครียดนี้เองที่สามารถส่งผลต่อความเจ็บป่วยของร่างกายได้ ความมั่นใจที่มีประสิทธิภาพก็รับประกันได้ว่าคุณจะสามารถเผชิญกับความวิตกกังวลได้ และการมีประกันสุขภาพ ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณได้ว่า เวลาเจ็บป่วยจะไม่ต้องเครียดกับเรื่องค่ารักษา สามารถดูประกันสุขภาพที่เหมาะกับคุณได้เลย รู้ใจให้คุณปรับแต่งแผนได้เองตามที่คุณต้องการ เบี้ยประหยัด ความคุ้มครองสูง และซื้อง่ายภายใน 3 นาที รู้ใจกว่า ประหยัดกว่า

หรือสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจได้ทาง FB Fan page: Roojai หรือ คลิก add Official Line ของเราไว้ได้เช่นกัน