10 อันดับถนนที่รถติด ไม่จำเป็นอย่าไปในกรุงเทพฯ
ในเรื่องปัญหาของการจราจรในกรุงเทพฯ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน ไม่ว่าจะเปลี่ยนผู้ว่ากรุงเทพฯ มากี่ยุคกี่สมัยต่างก็ชูการแก้ปัญหาจราจรเป็นอันดับต้นๆ ด้วยกันทั้งนั้น แต่ปัญหาไม่ได้คลี่คลายลงแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นจำนวนรถที่มากยิ่งขึ้นทุกปี สภาพถนนที่ทำให้การจราจรไม่คล่องตัว รถติด ถึงแม้จะรณรงค์ให้ใช้รถสาธารณะกันมากขึ้นก็ตาม
ปี 2559 นี้ มีถนนหลายเส้นที่ผู้ใช้รถถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงอยู่หลายเส้นทางเหมือนกัน เราคัดมาให้ดูแค่ 10 อันดับ บางเส้นทางนั้นครองอันดับต้นๆ มาตลอดกาล บางเส้นก็เป็นดาวที่เพิ่งติดอันดับขึ้นมาใหม่ มาลองดูกันว่าคุณจะคิดเหมือนเราหรือปล่าว
อันดับ 1 ถนนพหลโยธิน จากการที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เริ่มปิดการจราจรตลอดแนวเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทางรวม 18.7 กิโลเมตร โดยจะปิดฝั่งละครึ่งเลน ทำให้เหลือช่องจราจรขาออกและขาเข้าด้านละ 1 ช่องจราจร และต้องปิดการใช้สะพานรถยนต์ข้ามแยกเกษตร จึงจะเหลือช่องจราจรขาออกและขาเข้าด้านละ 2 ช่อง ซึ่งปกติแล้วถนนพหลโยธินช่วงนี้จะเป็นเส้นทางหลักในการใช้เข้าเมืองสำหรับผู้ที่อยู่แถวลำลูกกา เมื่อปิดช่องทางเดินรถจึงติดมากกว่าปกติ และคาดว่าจะได้ครองแชมป์ยางไปจนถึงปีหน้าเลยทีเดียว
อันดับ 2 ถนนรัชดาภิเษก ช่วงตั้งแต่แยกประชานุกูล ข้ามวงแหวนรัชวิภา ข้ามสะพานแยกรัชโยธิน แต่ก่อนจะติดเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น ปัจจุบันจราจรติดขัดตลอดทั้งวัน และคาดว่าช่วงเวลาที่จะต้องทุบสะพานข้ามแยกรัชโยธินออกเพื่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต คงจะสาหัสมากกว่านี้
อันดับ 3 ถนนสาทร ทั้ง 2 ฝั่งคือสาทรเหนือ ตั้งแต่แขวงสีลม เขตบางรัก และสาทรใต้ ในแขวงยานนาวาไปจนถึงแขวงทุ่งมหาเมฆ โดยถนนสาทรกลายเป็นแหล่งที่ตั้งของบรรดาออฟฟิคทั้งผู้ประกอบการในบ้านเราเอง และของต่างชาติมากขึ้น เพราะหลายโครงการนั้นทำเสร็จแล้วและมีผู้ไปเช่าประกอบการมากมาย
อันดับ 4 ถนนสุขุมวิท เส้นนี้ถึงแม้จะเป็นแนวเส้นทางรถไฟฟ้าแต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการจราจรได้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นช่องการเดินรถที่แคบไม่สามารถรองรับผู้ใช้ถนนได้จำนวนมากโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน อีกทั้งยังมีห้างสรรพสินค้ามากมาย จะติดชัดในช่องทางเดินรถเข้า-ออกห้างนั่นเอง
อันดับ 5 ถนนพระราม4 ถึงแม้จะมีช่องทางเดินรถที่กว้างหลายเลน แต่ต้องตัดผ่านแยกใหญ่ๆ หลายแยกจึงทำให้การจราจรสะสมมีหางแถวยาวถึงแยกชนแยกเลยทีเดียว
อันดับ 6 ถนนเพชรบุรี เส้นนี้จะไม่ค่อยติดตลอดเส้นทาง ส่วนใหญ่จะเป็นตามแยกใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นแยกยมราช แยกประตูน้ำ และที่แยกคลองตัน ควรหลีกเลี่ยงถนนเพชรบุรีที่ผ่านแยกเหล่านี้
อันดับ 7 ถนนรามคำแหง มีความยางแค่ประมาณ 6 กิโลเมตรจากแยกคลองตันไปสิ้นสุดที่แยกลำสาลีในเขตบางกะปิ ส่วนใหญ่จะติดมากและควรหลีกเลี่ยงคือช่วงจุดตัดกับถนนพระราม 9 ที่จะมีการจราจรคับคั่งตลอดทั้งวัน เช่นเดียวกับช่วงแยกลำสาลี รองลงจะเป็นช่วงจากห้างเดอะมอลล์ไปจนถึงหน้าการกีฬาแห่งประเทศไทย
อันดับ 8 ถนนลาดพร้าว จากเมื่อก่อนขึ้นชื่อว่าเป็นถนนที่ติดตลอดทั้งวัน จนมีการเปิดจุดเป็นเส้นทางรัดออกไปได้หลายทาง ปัญหาเรื่องจราจรติดขัดจึงลดลงได้บ้าง จะมีหนักๆ ก็คือช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็น ในช่วงปากซอยลาดพร้าว และจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก รวมถึงช่วงแยกบางกะปิ
อันดับ 9 ถนนเกษตร-นวมินทร์ เป็นถนนที่ตลอดสองข้างพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทางบ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้า และจุดตัดแยกใหญ่ๆ ที่สามารถไปออกถนนหลักๆ ได้หลายเส้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเวลาเร่งด่วน จะติดยาวตั้งแต่อุโมงค์เกษตรไปจนถึงแยกลาดปลาเค้าเลยทีเดียว
อันดับ 10 ถนนรามอินทรา เป็นอีกเส้นทางที่ในช่วงเวลาเร่งด่วนควรหลีกเลี่ยง เพราะเป็นเส้นทางที่จะมุ่งหน้าออกเมืองทั้งหัวถนนและปลายถนน ช่วงเช้าและเย็นจึงมีปัญหาการจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก
จากอันดับที่จัดมาให้นี้เป็นการดูจากสภาพการจราจรที่รถติดตลอดทั้งวัน ไล่จนมาถึงติดเป็นช่วงเวลา แต่อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายๆ อย่างด้วย ไม่ว่าจะเป็นช่วงเทศกาล หรือสภาพอากาศ ถ้าจะต้องใช้ถนนเหล่านี้หรือเส้นทางอื่นๆ เราขอแนะนำว่าควรตรวจสอบสภาพจราจรผ่านแอ็พฯต่างๆ บนมือถือของท่านสำหรับในยุคทันสมัยสุดๆแบบนี้ เพราะคงไม่มีใครอยากเจอรถติดใช่ไหมครับ
“รู้ใจ” พร้อมคลี่คลายทุกปัญหาของคุณ การันตีถึงที่เกิดเหตุภายใน 30 นาที คลิกเช็คเบี้ย!