Roojai

เช็คก่อนซื้อ! อาชีพอะไรบ้างที่ประกันอุบัติเหตุไม่รับทำประกัน?

เปิดอาชีพเสี่ยงสูง ประกันอุบัติเหตุไม่รับทำประกัน | รู้ใจ

เชื่อว่ายังมีคนอีกมากที่ยังไม่ทราบเงื่อนไขของการรับทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล อาชีพที่เสี่ยงมาก ๆ มีหลายอาชีพ และอาชีพเสี่ยงเหล่านั้นเองที่เป็นตัวแปรสำคัญที่บริษัทประกันจะไม่รับทำประกัน วันนี้ รู้ใจรวบรวมอาชีพเสี่ยงที่บริษัทประกันภัยไม่รับทำประกัน และ 7 ข้อควรรู้ก่อนการซื้อประกันอุบัติเหตุ แต่ก่อนจะไปดูว่ามีอาชีพอะไรบ้าง ในวงการประกันจะแบ่งอาชีพออกเป็นขั้นอาชีพ ขั้นอาชีพคืออะไร และมีทั้งหมดกี่ขั้น เราไปทำความเข้าใจในส่วนนี้กันก่อน 

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

ขั้นอาชีพในการรับประกันภัย คืออะไร?

ขั้นอาชีพในการรับประกันภัย หมายถึงการแบ่งประเภทของอาชีพตามระดับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน โดยความเสี่ยงเหล่านี้จะส่งผลต่อเบี้ยประกันภัยและขอบเขตของความคุ้มครอง หากอาชีพมีความเสี่ยงสูง บริษัทประกันภัยอาจเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรืออาจไม่รับทำประกันในบางกรณี โดยขั้นอาชีพสามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นหลัก ดังต่อไปนี้ 

ขั้นอาชีพ 1

เป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากทำงานในสำนักงานและไม่ได้เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่เป็นอันตราย ตัวอย่างเช่น

  • ผู้บริหาร
  • แพทย์
  • เภสัชกร
  • พนักงานบริษัท
  • ข้าราชการ

ขั้นอาชีพ 2

เป็นกลุ่มอาชีพที่มีการทำงานทั้งในและนอกสำนักงาน ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาจเกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะเฉพาะทาง ตัวอย่างเช่น

  • วิศวกร
  • ช่างไม้
  • ตัวแทน/นายหน้า
  • พนักงานขาย
  • นักแสดง
  • มัคคุเทศก์
ความหมายของขั้นอาชีพในการรับทำประกันภัย | รู้ใจ

ขั้นอาชีพ 3

กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงจากการทำงาน เช่น งานช่าง ฝ่ายผลิต หรือผู้ใช้แรงงาน ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรหรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ ตัวอย่างเช่น

  • พนักงานขับรถ
  • ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านช่าง ด้านการผลิต
  • บุรุษไปรษณีย์

ขั้นอาชีพ 4

กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในพื้นที่เสี่ยงอันตราย หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างมาก ตัวอย่างเช่น

  • คนงานก่อสร้าง
  • นักแสดงผาดโผน
  • พนักงานรักษาความปลอดภัย
  • นักกีฬาเอกซ์ตรีม
สิ่งควรรู้ก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุ | รู้ใจ

อาชีพอะไรบ้างที่บริษัทประกันไม่รับทำประกันอุบัติเหตุ?

มีอาชีพเสี่ยงหลายประเภทที่บริษัทประกันอุบัติเหตุอาจปฏิเสธรับทำประกัน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายจากการทำงาน ซึ่งตัวอย่างของอาชีพเหล่านี้ ได้แก่ 

  1. คนงานก่อสร้าง – เพราะการทำงานบนพื้นที่สูงหรือมีการใช้งานเครื่องจักรเสี่ยงอันตราย
  2. มอเตอร์ไซค์รับจ้าง – มีความเสี่ยงสูงจากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
  3. พนักงานรับส่งเอกสาร – เนื่องจากต้องมีการเดินทางในพื้นที่ต่าง ๆ และมีความเสี่ยงในการขับขี่
  4. พนักงานเช็ดกระจกอาคารสูง – ทำงานบนพื้นที่สูง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกลงมา
  5. ลูกเรือประมง – มีความเสี่ยงจากสภาพอากาศและอันตรายจากการเดินเรือ
  6. พนักงานขุดเจาะน้ำมันหรือแก๊ส – ทำงานกลางทะเลและเผชิญกับความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน
  7. เจ้าหน้าที่กู้ภัย –  เนื่องจากต้องทำงานในสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตรายอย่างต่อเนื่อง
  8. นักกีฬาเอกซ์ตรีม – เช่น นักแข่งรถหรือนักกีฬาผาดโผน เพราะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
  9. ช่างไฟฟ้า – มีโอกาสได้รับอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร
  10. นักแสดงสตันท์แมน – เนื่องจากต้องมีการถ่ายทำฉากเสี่ยงอันตราย เช่น กระโดดลงจากที่สูง เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
  11. นักการเมือง – มีความเสี่ยงจากการเผชิญหน้าสถานการณ์เสี่ยงอันตราย

บริษัทประกันมักจะพิจารณาเรื่องความเสี่ยงของอาชีพเป็นหลักในการตัดสินใจรับทำประกัน ดังนั้น ผู้ที่ทำงานในอาชีพเสี่ยงถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง และอาชีพเหล่านี้อาจต้องหาประกันเฉพาะทางที่ครอบคลุมความเสี่ยงเหล่านี้โดยเฉพาะ

เคล็ดไม่ลับ! ความปลอดภัยของคนที่ประกอบอาชีพเสี่ยงสูง

สำหรับคนที่อยู่ในสายอาชีพเสี่ยงสูง เช่น พนักงานเช็ดกระจกบนตึกสูง ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า การทำงานให้ปลอดภัยนั้น เคล็ดลับอยู่ที่การไม่ประมาทและปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดตามข้อกำหนด เช่น การสวมอุปกรณ์นิรภัยก่อนการปฏิบัติงาน และที่สำคัญอาชีพเสี่ยงควรดูแลสุขภาพและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะหากพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงานได้ เชื่อว่าเป็นสิ่งหลายคนรู้ แต่บางครั้งอาจประมาทจนกลายเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ

7 สิ่งควรรู้ก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุ

1. อายุ

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใด ก็มีโอกาสที่จะประสบอุบัติเหตุได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ ซึ่งแผนประกันอุบัติเหตุจากบริษัทประกันภัยหลายแห่งสามารถครอบคลุมได้ตั้งแต่อายุ 1-70 ปี ดังนั้นอายุของผู้ทำประกันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการเลือกแผนประกันที่เหมาะสม

2. อาชีพของผู้ทำประกันภัย

อาชีพที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น วิศวกร ช่างไฟฟ้า สถาปนิก หรือคนงานก่อสร้าง จำเป็นต้องมีประกันภัยอุบัติเหตุที่ครอบคลุมเพื่อปกป้องตนเอง เนื่องจากอาชีพเหล่านี้มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าคนที่ทำงานในสำนักงาน และควรเลือกแผนที่สามารถใช้บัตร PA Card เพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเครือข่ายได้ทันที โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

3. ราคาเบี้ยประกันภัย

เบี้ยประกันอุบัติเหตุนั้นมีหลากหลายระดับ ตั้งแต่หลักร้อยปลาย ๆ จนถึงหลักพันปลาย ๆ การคำนวณค่าใช้จ่ายในการจ่ายเบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละคน คนที่มีรายได้ประจำอาจเลือกแบ่งจ่ายทุกเดือน หรือจ่ายรวดเดียว ในขณะที่คนทำงานฟรีแลนซ์หรืออาชีพอิสระอาจต้องพิจารณาอย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม ควรเลือกประกันที่ให้ความคุ้มครองสูงหากคุณมีความเสี่ยง แม้จะมีเบี้ยประกันที่สูงขึ้น แต่ก็จะได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากกว่า

เคล็ดลับความปลอดภัยของคนอาชีพเสี่ยงสูง | รู้ใจ

4. ทุนประกันภัย

การประเมินความเสี่ยงของตนเองเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ลักษณะการเดินทาง การทำงาน หรือการประกอบอาชีพ หากอาชีพมีความเสี่ยงสูง การเลือกทุนประกันที่สูงขึ้นจะเป็นประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ช่างเทคนิคที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร อาจต้องเลือกประกันอุบัติเหตุที่ครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาลและผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต

5. โรงพยาบาลเครือข่าย

ก่อนการทำประกันควรตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลในเครือข่ายของบริษัทประกันภัย เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุการเดินทางไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้และได้รับการรักษาโดยไม่ต้องสำรองจ่ายเป็นเรื่องที่สำคัญ หากสนใจทำประกันอุบัติเหตุ ควรเช็ครายชื่อโรงพยาบาลในเครือข่ายให้แน่ใจว่าครอบคลุมในพื้นที่ของคุณ

6. การดูแลและบริการหลังการขาย 

การบริการหลังการขายก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ ไม่ใช่เพียงแค่การซื้อประกัน แต่ต้องมีบริการที่ดีหลังจากที่คุณเป็นลูกค้าแล้ว การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง การตอบคำถามที่คุณสงสัย รวมถึงการให้คำแนะนำในการเรียกร้องสินไหมต่าง ๆ คือสิ่งที่ผู้ทำประกันควรคำนึงถึง บริการที่พร้อมดูแลคุณตลอดการเป็นลูกค้าจะทำให้คุณมั่นใจในความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น

7. รีวิวจากลูกค้าที่เคยซื้อประกัน

การตามหารีวิวจากประสบการณ์ลูกค้าที่เคยซื้อประกันอุบัติเหตุก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะรู้ว่าเวลาเคลมมีปัญหาเยอะมั้ย เจ้าหน้าที่บริการดีหรือไม่ เพราะอุบัติเหตุเป็นสิ่งใกล้ตัวที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และเกิดขึ้นกระทันหันด้วย ในวินาทีที่ตกใจ ประหม่า เราควรอุ่นใจได้มากขึ้นจากการทำประกันติดไว้ ไม่ใช่การเพิ่มเรื่องที่ต้องกังวล ดังนั้นการอ่านรีวิวและทำประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองครอบคลุมก็จะทำให้อุ่นใจและหมดกังวลเมื่อต้องเจอกับเรื่องไม่คาดฝัน

การเลือกทำประกันอุบัติเหตุควรพิจารณาทั้ง 7 ข้อนี้ เพื่อให้ได้แผนประกันที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่รู้ใจ สามารถปรับแต่งความคุ้มครองตามไลฟ์สไตล์ของผู้เอาประกันได้ และยังสามารถเลือกแผนความคุ้มครองเพิ่มเติมถึงเรื่องของกีฬาเอกซ์ตรีม แลการขับขี่และซ้อนมอเตอร์ไซค์ได้อีกด้วย ที่สำคัญรู้ใจมีเครือโรงพยาบาลในเครือกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ

แม้ว่าการประกอบอาชีพจะมีความเสี่ยงมากน้อยไม่เท่ากัน แต่อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยที่ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ดังนั้น นอกจากการใช้ชีวิตบนความไม่ประมาทเเล้ว การมีประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลติดไว้สัก 1 ฉบับ ก็จะทำให้อุ่นใจมากขึ้นเมื่อต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล นอกจากจะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของคุณแล้ว ยังทำให้คุณสามารถเลือกเข้าถึงการรักษาที่คุณเลือกได้อีกด้วย

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

กีฬาเอกซ์ตรีม กีฬาเอกซ์ตรีม เป็นกีฬาที่มีความผาดโผนและมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แต่กีฬาประเภทนี้ก็สร้างความสนุก ตื่นเต้นให้กับผู้เล่นได้ในเวลาเดียวกัน
นักแสดงสตันท์แมน สตันท์แมนหรือนักแสดงแทน เป็นนักแสดงที่มีความสามารถเฉพาะตัวในเรื่องของการผาดโผน การต่อสู้ สตันท์แมนมักถูกเรียกใช้แทนบทของตัวเอก เพื่อป้องกันอันตรายจากการถ่ายทำ เพราะนักแสดงสตันท์แมนเหล่านี้ผ่านการฝึกฝนมาจนสามารถป้องกันตัวเองได้