สถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทย สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมของคนขับขี่บนท้องถนน เราต้องยอมรับก่อนว่า ตั้งแต่เราเติบโตมาเราจะเห็นว่าคนไทยไม่เคยหยุดรถตรงทางม้าลาย ไม่เคยชะลอรถเมื่อเห็นไฟเหลือง ไม่ค่อยเปิดไฟเลี้ยว เมาแล้วขับ คนไทยบางส่วนยังขับขี่มอเตอร์ไซด์บนทางเท้าอยู่ และสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่น การวางผังเมือง ป้ายบอกทางต่าง ๆ ที่ชำรุด ปัจจัยเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ ทำให้สถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทยสูงเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย
นอกจากพฤติกรรมการขับรถที่ไม่มีวินัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนแล้ว บางทีเรื่องปัญหาสุขภาพของผู้ขับขี่ก็สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้เช่นกัน ทราบหรือไม่ว่ามีโรคบางโรคที่กรมควบคุมโรคไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยขับรถยนต์หรือขับขี่รถจักรยานยนต์
กลุ่มโรคที่ไม่ควรขับรถยนต์มีอะไรบ้าง
- โรคที่เกี่ยวกับสายตา – เช่น ต้อหิน ต้อกระจก โรคประสาทจอตาเสื่อม โรคเหล่านี้มีผลต่อประสิทธิภาพการมองเห็นในช่วงเวลากลางคืน จึงทำให้เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุต่อตนเองและผู้อื่นได้
- โรคพาร์กินสัน – คนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเกร็ง สั่น ตลอดเวลา ทำให้ไม่ควรขับรถยนต์เอง
- โรคลมชัก ลมบ้าหมู – หากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ อยู่ในสภาวะที่ควบคุมอาการชักไม่ได้ ไม่ควรให้ขับรถยนต์ แต่ถ้าได้รับยาต่อเนื่องจนปลอดอาการของโรค และไม่เกิดอาการชักอย่างน้อย 1 ปี แบบนี้ทางกรมควบคุมโรคจะสามารถอนุญาตให้บุคคลเหล่านี้ขับรถยนต์ได้
- โรคไขข้อ ข้อเสื่อมต่าง ๆ ที่มีผลต่อการขับรถยนต์ – เช่น ข้อเข่าเสื่อม ทำให้ประสิทธิภาพในการบังคับการเบรครถยนต์ต่ำลงไม่ควรให้ขับรถยนต์
- โรคหัวใจ – คนที่เป็นโรคหัวใจอาจจะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ทำให้หมดสติระหว่างขับรถยนต์ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ร้ายแรงได้
- โรคเบาหวานที่ยังควบคุมไม่ได้ – หากปล่อยให้คนที่เป็นโรคเบาหวานขับรถยนต์ ระหว่างที่ขับอาจจะเกิดอาการน้ำตาลในเลือดตก ตาพร่า ทำให้เสียสมาธิในการขับรถยนต์
- ผู้ที่ต้องกินยาบางชนิด – ยาที่มีผลทำให้ง่วงซึม มึนงง เช่น ยาซึมเศร้าบางตัว เมื่อจำเป็นต้องรับประทานยาเหล่านี้ จึงไม่ควรขับรถยนต์
- โรคหลอดเลือดสมอง – มีผลทำให้แขนขาไม่มีแรงเหยียบคันเร่ง เหยียบเบรครถยนต์ ความไวของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ลดลง จึงไม่ควรให้ขับรถยนต์
- โรคทางสมองและระบบประสาท – รวมไปถึงโรคมะเร็งสมอง ไม่ควรขับรถยนต์เพราะการตัดสินใจต่าง ๆ จะลดลง
หากคนใกล้ตัวหรือเพื่อน ๆ เองที่กำลังเป็นโรคเหล่านี้อยู่ ไม่ควรให้ขับรถยนต์เด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้ใช้ท้องถนนอื่น ๆ ทั่วไป
โรคมะเร็งชนิดไหน ที่มีผลต่อการทำประกันรถยนต์
โดยทั่วไปแล้ว คนมักจะเข้าใจกันว่าเป็นโรคมะเร็งแล้วเกี่ยวอะไรกับการทำประกันรถยนต์ ประกันรถยนต์มันคุ้มครองรถ ไม่ได้คุ้มครองสุขภาพคนขับรถยนต์ แต่จะมีโรคมะเร็งบางชนิดที่ไม่สามารถทำประกันรถยนต์ได้ นั่นก็คือ โรคมะเร็งสมองหรือเนื้องอกในสมอง
เพราะสมองเป็นเสมือนศูนย์บัญชาการหลักของร่างกาย เมื่อสมองไม่ได้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ 100% ความสามารถในการบังคับ ความสามารถในการตัดสินใจต่าง ๆ จึงลดลงและมีผลโดยตรงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน บริษัทประกันภัยเห็นถึงสาระสำคัญข้อนี้ ส่วนมากเลยปฏิเสธที่จะไม่ให้ความคุ้มครองประกันรถยนต์แก่ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าว
ควรแจ้งบริษัทประกันรถยนต์หรือไม่ ถ้าเป็นโรคมะเร็งสมอง
หากเพื่อน ๆ กำลังมองหาประกันรถยนต์และกำลังคิดว่าจะทำ แต่ตัวเองดันเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งสมองอยู่ เพื่อน ๆ จำเป็นต้องแถลงข้อเท็จจริงนี้ให้กับบริษัทประกัน หากไม่ได้แจ้งบริษัทประกันแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจากอาการทางสมองของโรคที่เป็นอยู่นั้น บริษัทประกันมีสิทธิ์ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนและบอกเลิกกรมธรรม์ได้ทันที
เหตุผลเพราะคนที่เป็นโรคมะเร็งสมองหรือมีเนื้องอกในสมอง จะส่งผลต่อความสามารถในการขับรถยนต์และรถจักรยายนต์ มีผลโดยตรงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุบท้องถนนได้ง่าย บริษัทประกันภัยจึงมักจะไม่รับทำประกันหรือในกรณีที่รับทำประกันรถยนต์ เบี้ยประกันอาจสูงกว่าปกติ
ที่รู้ใจ ประกันออนไลน์ เราให้บริการทั้งประกันรถยนต์ออนไลน์ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันมะเร็งชนิดต่าง ๆ หากเพื่อน ๆ สนใจในรายละเอียด สามารถเข้าไปเลือกดูแผนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของเราหรือสามารถเข้าไปอ่านบทความ สาระความรู้เรื่องต่าง ๆ ได้เลยที่ www.roojai.com หรือสามารถติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจได้ที่ FB fan page: Roojai และ คลิก add Official Line ของเราไว้ได้เช่นกัน