
หนึ่งในหน้าที่สำคัญของประชาชนไทยผู้มีรายได้ คือการยื่นภาษี แสดงรายได้ตลอดปีในช่วงต้นปีถัดมาในรูปแบบของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เคยสงสัยมั้ยว่าเงินรายได้แบบไหนบ้างที่ต้องแสดงต่อกรมสรรพากรเพื่อยื่นภาษี วันนี้รู้ใจสรุปข้อมูลที่ต้องทราบเกี่ยวกับการยื่นภาษีเงินบุคคลธรรมดา และการขอคืนภาษีจากการลดหย่อนภาษีด้วยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล มาดูกันเลยว่ารายได้แบบไหนบ้างที่ต้องยื่นภาษี ไม่ยื่นภาษีมีโทษไหม ใครบ้างต้องเสียภาษี ประกันอุบัติเหตุที่ซื้อไว้หรือกำลังมองหาเพื่อช่วยลดหย่อนภาษีนั้นจะเลือกอย่างไรดีให้เหมาะกับคุณและคนในครอบครัว ไปดูกันเลย
ประเภทเงินรายได้ที่ต้องเสียภาษี
- เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
- เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า
- เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
- เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น เป็นต้น
- เงินได้ประเภทที่ 5 ได้แก่ เงินจากการให้เช่าทรัพย์สิน
- เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
- เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
- เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว
จะเห็นว่าไม่ว่าเงินรายได้นั้นจะมาจากช่องทางไหน ก็ล้วนถูกกำหนดให้ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแทบทั้งสิ้น ซึ่งการจงใจละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีนั้นมีโทษทางกฎหมาย หากยื่นภาษีภายในกำหนดระยะเวลา แต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นภาษีล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นภาษี จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ ก็ต้องรับโทษทางอาญาด้วย ซึ่งมีบทลงโทษ ดังนี้
ไม่ยื่นภาษีผิดกฎหมาย ทั้งจำทั้งปรับ
- กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
- กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก และปรากฏว่าไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ แล้วแต่กรณี
- กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
- กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
ใครต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีบ้าง
คนที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็คือคนไทยทุกคนที่มีรายได้ ถึงแม้บางคนจะได้รับการยกเว้นการยื่นภาษีก็ตาม ถ้าพูดตามเกณฑ์แบบถูกต้องและเห็นภาพ จะแยกได้ ดังนี้
- คนไทยทุกคน (สถานภาพโสด) ที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ย 10,000 บาทต่อเดือน ต้องยื่นภาษี
- คนไทยทุกคน (สถานภาพสมรส) ที่มีรายได้เกิน 220,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ย 18,333 บาทต่อเดือน ต้องยื่นภาษี
ซื้ออะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง
- กลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
- กลุ่มค่าลดหย่อนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
- กลุ่มเงินบริจาค
- กลุ่มค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกไปถึงการยื่นภาษีและใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ซึ่งประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจัดอยู่ในหมวดประกันสุขภาพ โดยประกันชีวิตและประกันสุขภาพสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดตามรายละเอียดดังนี้
- ประกันชีวิตและประกันสุขภาพของตัวเอง
- สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตและประกันสุขภาพไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
- ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
- ต้องทำกับบริษัทประกันภัยในประเทศไทยเท่านั้น
- ประกันสุขภาพของบิดา มารดา – ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท และบิดา มารดาต้องมีรายได้ต่อปีรวมกันไม่เกิน 30,000 บาท แต่ไม่จำเป็นต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี
- เงินสะสมประกันสังคม – นำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ต้องไม่เกิน 5,100 บาท
- เบี้ยประกันบำนาญ – ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 200,000 บาท และต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
- ประกันสะสมทรัพย์ของตัวเอง – นำเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท (รวมกับประกันในข้อที่ 1)
- หากมีการจ่ายเงินคืนในทุกปี เงินที่ได้ต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี
- หากมีการจ่ายเงินคืนตามช่วงระยะเวลา เช่น จ่ายคืนทุก ๆ 3 ปี เงินที่ได้คืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมแต่ละช่วงเวลา
- ประกันอุบัติเหตุ – การทำประกันอุบัติเหตุที่มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจะสามารถยื่นภาษีได้ ดังนั้น การทำประกันอุบัติเหตุจึงสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลควรมีอะไรบ้าง
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อผู้เอาประกันบาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุ
- มีเงินชดเชยให้กับผู้รับผลประโยชน์หรือทายาท ในกรณีผู้เอาประกันเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
- มีเงินชดเชยรายได้ให้กับผู้เอาประกัน เมื่อต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลจากอุบัติเหตุ
- บางกรมธรรม์จะคุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายด้วย ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันควรมองหาและศึกษาก่อนตัดสินใจซื้อ
- เบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลรายปีมีราคาไม่แพง แต่ผลประโยชน์ความคุ้มครองสูง ควรเลือกบริษัทประกันที่คุ้มครองให้ทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมกรณีผู้เอาประกันเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
- ประกันอุบัติเหตุเป็นกรมธรรม์แบบปีต่อปี คุณควรสามารถปรับเปลี่ยนแผนประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลได้ทุกปี เพื่อให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์และความเสี่ยงของคุณที่อาจจะเพิ่มมากขึ้นหรือลดลงในแต่ละปี
- ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลทั่วไป จะไม่คุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันได้รับอุบัติเหตุจากกีฬาเอ็กซ์ตรีม เนื่องจากถือว่าผู้เอาประกันยินยอมรับความเสี่ยงจากกีฬาดังกล่าวเอง ดังนั้นสำหรับใครที่เล่นกีฬาเอ็กซ์ตรีมผาดโผด ควรเลือกประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่คุ้มครองคนเล่นกีฬาเอ็กซ์ตรีมจะคุ้มค่ากว่า
- ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลทั่วไป จะไม่คุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุขณะผู้เอาประกันขับขี่หรือโดยสารรถมอเตอร์ไซค์ ดังนั้นการคุณเป็นผู้ขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์บ่อย ๆ ควรเลือกประกันอุบัติเหตุจากบริษัทประกันที่ให้ความคุ้มครองผู้ขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์
- มีโรงพยาบาลในเครือข่ายพันธมิตรของบริษัทประกันภัย ผู้เอาประกันสามารถเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
ใครบ้างที่ควรมีประกันอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่เลือกไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นกับใคร เมื่อไหร่ ดังนั้นทุกคนจึงควรมีสิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้โดยสวัสดิการจากภาครัฐ ทั้งสิทธิประกันสังคม สิทธิบัตรทอง หรือสิทธิอื่น ๆ แต่ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจะมีประโยชน์ในส่วนของการเลือกโรงพยาบาลหรือคลินิกที่เข้ารักษา หากคุณมีความกังวลพิเศษกับความเจ็บป่วยของคนในครอบครัว และต้องการเลือกโรงพยาบาลเอกชนในการเข้ารับบริการ ประกันอุบัติเหตุจะทำให้คุณเข้าถึงทางเลือกในการรักษาพยาบาลได้มากขึ้นตามวงเงินความคุ้มครองที่คุณได้ซื้อไว้ในกรมธรรม์
จึงกล่าวได้ว่าประกันอุบัติเหตุมีประโยชน์สำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้นำครอบครัวหรือผู้ที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนเองและคนอื่น ๆ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเป็นอีกหนึ่งวิธีในการแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุของคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าครอบครัวอย่างคุณ ลูกหลาน สามีภรรยา ญาติพี่น้อง และพ่อแม่สูงวัย หากคุณคือผู้นำครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลของบุคคลเหล่านี้ การมีประกันอุบัติเหตุจะช่วยเซฟค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลได้ ซึ่งเบี้ยประกันอุบัติเหตุโดยพื้นฐานแล้วมีราคาต่ำ เนื่องจากอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ จึงเหมาะสำหรับการซื้อไว้ให้ทุกคนในบ้านเพื่อวางแผนค่าใช้จ่ายไม่ให้กระทบเงินเก็บ ที่รู้ใจ ค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุเริ่มเพียงปีละ 61 บาท
จุดเด่นของประกันอุบัติเหตุที่รู้ใจ
- เบี้ยเริ่มต้นปีละ 61 บาท
- อายุรับประกัน 1-65 ปี
- สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
- ปรับแผนความคุ้มครองและผลประโยชน์ได้ไลฟ์สไตล์
- เลือกรับเงินชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุได้ตามความต้องการ
- ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลทั่วไป เนื่องจากอุบัติเหตุ
- สามารถเลือกขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ หากคุณขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์เป็นประจำ เล่นหรือแข่งกีฬาเอ็กซ์ตรีม รวมถึงการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย คุณสามารถเลือกให้ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจากรู้ใจคุ้มครองทั้งหมดนี้ได้ในกรมธรรม์ฉบับเดียว
- มีโรงพยาบาลและคลินิกในเครือข่ายพันธมิตรทั่วไทย มากกว่า 400 แห่ง
- เลือกแผนการชำระเงินได้ทั้งแบบผ่อนรายเดือนและจ่ายรายปี
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้บางส่วน ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- รับประกันโดย AXA บริษัทแอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)
กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่มีค่ารักษาพยาบาล สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ โดยบริษัทประกันจะเป็นผู้ออกเอกสารสำคัญการจ่ายเบี้ยประกันเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษี หากคุณเป็นลูกค้าประกันอุบัติเหตุของรู้ใจ สามารถดาวน์โหลดเอกสารสำคัญในการยื่นลดหย่อนภาษีได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่าน https://myaccount.roojai.com หรือแอปพลิเคชั่น Roojai Mobile App
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่รู้ใจ ช่วยให้คุณสบายใจได้ในทุกไลฟ์สไตล์ของชีวิต ไม่ว่าทำอาชีพไหน ชอบเล่นกีฬาอันตราย กีฬาเอ็กซ์ตรีมต่าง ๆ หรือชอบขับขี่มอเตอร์ไซค์แต่เกรงว่า พ.ร.บ. ที่มีอยู่จะไม่เพียงพอต่อค่ารักษาพยาบาล รวมถึงคนที่ไม่ได้ขับขี่แต่ซ้อนมอเตอร์ไซค์ในการเดินทางไปไหนมาไหนและในชีวิตประจำวันเป็นประจำ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่รู้ใจก็ให้ความคุ้มครองรอบด้าน ในแบบที่คุณเลือกได้
เช็คราคาประกันอุบัติเหตุได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ www.roojai.com หรือเข้าไปใส่รายละเอียดข้อมูลส่วนตัวและระบุให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่ออธิบายข้อสงสัยในกรมธรรม์ก่อนการซื้อประกัน
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)