การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นเรื่องที่เราทุกคนควรทำ เพราะโรคภัยไข้เจ็บนั้นอยู่รอบตัวเรา ยากจะเลี่ยงได้ ใครที่ยังไม่ได้ตรวจสุขภาพประจำปีนี้ และเป็นผู้ประกันตนที่ใช้สิทธิประกันสังคม สามารถไปตรวจสุขภาพฟรีได้ 14 รายการ มีอะไรบ้าง และต้องไปตรวจที่ไหน อ่านบทความนี้กัน
เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่เป็นพนักงานประจำทั้งราชการและบริษัทเอกชนต่าง ๆ คงได้ตรวจสุขภาพประจำปีกันทุกปีอยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่ได้มีงานประจำหรือเป็นทำอาชีพอิสระ การที่จะไปโรงพยาบาลเพื่อจ่ายเงินตรวจสุขภาพประจำปี คงเป็นเรื่องที่ต้องคิดหนัก เพราะโปรแกรมตรวจสุขภาพของแต่ละช่วงอายุนั้นเริ่มต้นที่ 1,500 บาท ไปจนถึงหลักหลายหมื่นเลยก็มี หลายคนเลยเลี่ยงที่จะไม่ตรวจสุขภาพเพราะกลัวว่าจะเสียค่าใช้จ่ายแพง
แต่รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันนี้ผู้ประกันตนที่จ่ายเบี้ยประกันสังคม มีสิทธิ์ตรวจสุขภาพประจำปีฟรี 14 รายการ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่ทั้งนี้ต้องตรวจสอบสิทธิประกันสังคมว่าเข้าข่ายเกณฑ์อายุที่สามารถตรวจได้ มีหลักเกณฑ์อะไร และ 14 รายการนี้ มีอะไรบ้าง?
ใครบ้างที่มีสิทธิ์ตรวจสุขภาพประจำปีฟรี?
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 เป็นผู้มีสิทธิ์ในการเข้ารับการตรวจสุขภาพฟรีประจำปี ก่อนเข้ารับการตรวจ ควรตรวจสอบสิทธิประกันสังคมว่าเรามีสิทธิ์ที่โรงพยาบาลอะไร อายุของเราเข้าเกณฑ์การตรวจอะไรบ้าง
เตรียมตัวยังไงก่อนตรวจสุขภาพประจำปี?
ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม เช็คข้อมูลช่วงอายุว่าสามารถตรวจเช็คสุขภาพด้านใดได้บ้าง หลังจากนั้นให้เตรียมร่างกาย ดังนี้
- งดน้ำ อาหาร อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
- พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- หากมีโรคประจำตัวหรือรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ควรนำยาหรือผลตรวจสุขภาพนั้น ๆ ติดตัวไปด้วย เพื่อให้แพทย์นำไปประกอบการวินิจฉัย
ตรวจสุขภาพประจำปีฟรี 14 รายการมีอะไรบ้าง?
- การทดสอบการได้ยิน Finger Rub Test
- อายุ 15 ปีขึ้นไป 1 ครั้ง/ปี
- การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากร
- อายุ 30-39 ปี ตรวจทุกๆ 3 ปี
- อายุ 40-54 ปี ตรวจปีละ 1 ครั้ง
- อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเหมาะสมหรือตรวจตามความเสี่ยง
- การตรวจตาโดยจักษุแพทย์
- อายุ 40-54 ปี 1 ครั้ง/ปี
- อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจทุกๆ 1-2 ปี
- การตรวจสายตาด้วย Snellen Eye Chart
- อายุ 55 ปีขึ้นไป 1 ครั้ง/ปี
- การตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC
- อายุ 18-54 ปี ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
- อายุ 55-70 ปี ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
- ตรวจปัสสาวะ UA
- อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
- ตรวจน้ำตาลในเลือด FBS
- อายุ 35-54 ปีตรวจทุกๆ 3 ปี
- อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
- ตรวจการทำงานของไต Cr
- อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้ง/ปี
- ตรวจไขมันในเลือดชนิด Total Cholesterol & HDL
- อายุ 20 ปีขึันไปตรวจทุก 5 ปี
- ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ HBsAg
- สำหรับผู้ที่เกิดก่อน 2535 ตรวจ 1 ครั้ง
- ตรวจหามะเร็งปากมดลูก Pap Smear
- ผู้หญิงอายุ 30-54 ปีตรวจ 1 ครั้ง/ปี
- ผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเหมาะสมหรือตามความเสี่ยง
- ตรวจหามะเร็งปากมดลูกด้วย Via
- อายุ 30-54 ปี ตรวจทุกๆ 5 ปี
- อายุ 55 ปีขึ้นไปควรตรวจแบบ Pap Smear
- ตรวจเลือดในอุจจาระ FOBT
- อายุ 50 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
- เอกซเรย์ทรวงอก
- อายุ 15 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ปี
สำหรับการรักษาทางทันตกรรม (การรักษาฟัน) ผู้ประกันตนที่ถือบัตรประกันสังคม จะมีค่ารักษาทางทันตกรรมต่อปีอยู่ที่ 900 บาท โดยสามารถใช้สิทธิ์ทำฟันฟรี โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ได้ที่โรงพยาบาลในเครือประกันสังคมทั่วประเทศ 535 แห่ง หรือตามคลินิกทันตกรรมที่เข้าร่วมโครงการกับประกันสังคม
ตรวจสุขภาพประจำปีฟรี ต้องไปตรวจที่ไหน?
การตรวจสุขภาพประจำปี การค้นหาโรคตั้งแต่ระยะแรก ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บ หากเรารู้เร็วก็จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ สำหรับผู้ที่มีสิทธิ์ตรวจสุขภาพฟรีประจำปี สามารถสอบถามได้ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลในประกันสังคมของแต่ละคน หรือถ้าใครจำไม่ได้ว่าสิทธิประกันสังคมของเราอยู่ที่ไหน สามารถเช็คสิทธิ์สถานพยาบาลได้ที่ www.sso.go.th หรือโทร 1506
เมื่ออายุมากขึ้น การทำงานของอวัยวะในร่างกายต่าง ๆ ก็เสื่อมลง การตรวจสุขภาพประจำปีในแพคเกจตรวจสุขภาพปกติอาจไม่เพียงพอ แนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเลือกแพ็กเกจตรวจสุขภาพเฉพาะทางเพิ่มเติม เช่น ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งระบบทางเดินอาหาร คลื่นไฟฟ้าหัวใจ อัลตร้าซาวน์เช็คช่องท้อง และตรวจความหนาแน่นของกระดูก
จะเห็นได้ว่าเมื่ออายุมากขึ้น ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้าย เช่น มะเร็งชนิดต่าง ๆ โรคหัวใจ เบาหวาน จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุ นอกจากการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดแล้ว การดูแลสุขภาพอย่างอื่น เช่น อาหาร การกิน การออกกำลังกายเป็นประจำ ยังสามารถช่วยละชอความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายได้อีกด้วย
รวมไปถึงการทำประกันโรคร้ายแรง ประกันมะเร็ง ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะหากโชคร้ายเกิดตรวจพบความผิดปกติบางอย่าง ยังโชคดีที่มีเงินก้อนมาใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยไม่ต้องใช้เงินออมนำมารักษาตัวจนหมด รักษาตัวต่อได้ไร้กังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)