Roojai

สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อประกัน PA (ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล)

สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (cover) | รู้ใจ

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ไม่มีใครตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดแล้วมักมีผลทำให้บาดเจ็บ ทุพพลภาพ เสียทรัพย์สิน หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งอุบัติเหตุนี้ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และร้ายแรงมากแค่ไหน การมีประกันอุบัติเหตุป้องกันเอาไว้ จึงไม่ใช่เรื่องน่าเสียหาย

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ประกัน PA (Personal Accident) คือ ประกันภัยที่ใช้สำหรับบุคคลคนเดียวเท่านั้น และประกันจะให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเท่านั้น โดยจะจ่ายเงินค่าชดเชยความเสียหายทางร่างกาย เช่น เกิดการบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ ทุุพพลภาพ หรือเสียชีวิต จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามทุนประกันที่ผู้เอาประกันได้ซื้อความคุ้มครองเอาไว้

ประกันอุบัติเหตุยังสามารถแยกระดับความเสี่ยงตามขั้นอาชีพได้ หมายความว่า แต่ละสายอาชีพมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน เบี้ยประกันภัยก็มากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของอาชีพนั้น ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นขั้นอาชีพได้ 4 ขั้น ดังนี้

  • ชั้นอาชีพที่ 1 ผู้ประกอบอาชีพในสำนักงาน

ส่วนใหญ่แล้วบุคคลที่อยู่ในขั้นอาชีพนี้ จะทำงานประจำในสำนักงาน ไม่ค่อยมีความเสี่ยง เช่น นักเรียน-นักศึกษา, ข้าราชการ, ครู, อาจารย์, พนักงานเก็บเงิน, ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ, แพทย์ (ยกเว้น ศัลยแพทย์ / ทันตแพทย์ / สัตวแพทย์), นักบัญชี ฯลฯ

  • ชั้นอาชีพที่ 2 ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้วิชาชีพทำงานกลางแจ้งตลอดเวลา

บุคคลที่ต้องทำงานนอกสถานที่ เช่น ผู้แทน, มัคคุเทศก์, พนักงานบริษัทท่องเที่ยว / โรงแรม / โรงงาน / โรงมหรสพ / ภัตตาคาร, พนักงานจัดส่งสินค้า, พนักงานขายของหน้าร้าน, เจ้าของและพนักงาน (ร้านเสื้อผ้า / ร้านเพชรพลอย / ร้านทอง), ศิลปิน, ดารา, นักดนตรี, นักร้อง, เจ้าของ (กองมรดก / บ้านจัดสรร / บ้านเช่า), ตากล้องถ่ายหนัง ถ่ายโฆษณา, ผู้กำกับโฆษณา, นักข่าว ฯลฯ

  • ชั้นอาชีพที่ 3 ปฏิบัติงานด้านช่างที่มีกระบวนการผลิต มีการใช้เครื่องจักรกลหนัก ผู้ที่ต้องเดินทางหรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ

เช่น ช่างฝีมือ, ช่างกึ่งฝีมือ, แม่บ้าน (ทั่วไป / รับจ้าง), พี่เลี้ยงเด็ก, คนที่ทำงานในครัว (แม่ครัว, ลูกมือ) ,คนรับใช้ในบ้าน, ดารา-นักแสดง, พนักงานต้อนรับ (โรงแรม / ภัตตาคาร / บาร์ / โรงมหรสพ), ช่างเสริมสวย-ช่างตัดเสื้อ, ช่างสำรวจ, ผู้จัดการโรงงานทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่, ผู้รับเหมาก่อสร้าง, คนงานก่อสร้าง, เจ้าของร้าน (แผงลอย / ขายของชำ) ฯลฯ

  • ชั้นอาชีพที่ 4 อาชีพพิเศษที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าชั้นอื่น ๆ เป็นพิเศษ

เช่น สตั๊นแมน, ข้าราชการฝ่ายปกครองท้องที่, หัวหน้าโรงงาน, หัวหน้าคนงาน, ช่างทาสี-ช่างไม้ที่ทำงานในโรงงาน, ช่างทำทองรูปพรรณ, ช่างไฟฟ้า, คนกรีดยาง, โชเฟอร์-คนขับรถ (รถบรรทุก / รถโดยสาร / รถรับจ้าง), ผู้ขับขี่เครื่องจักร, เจ้าของและพนักงาน (ปั๊มน้ำมัน / ปั๊มแก๊ส), กรรมกร, พนักงานเก็บขยะ, ช่างปูน, ช่างไม้งานก่อสร้าง, ช่างทำหม้อน้ำ, คนขายเนื้อ ชำแหละสัตว์, คนส่งของ, วิศวกรไฟฟ้า, บุรุษไปรษณีย์, พนักงานส่งเอกสาร, พนักงานวางบิล-เก็บบิล, มอเตอร์ไซค์รับจ้าง, ผู้ใช้จักรยานยนต์เป็นพาหนะหลักในการประกอบอาชีพทุกกรณี ฯลฯ

สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (1) | รู้ใจ

เบี้ยประกันอุบัติเหตุนอกจากจะขึ้นอยู่กับขั้นอาชีพแล้วยังขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  1. การทำประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่ม – การทำประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่มเบี้ยจะถูกกว่าการทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ยิ่งคนเยอะเบี้ยก็จะยิ่งต่ำลง
  2. อายุ – บุคคลที่อายุมากกว่า 60 ปี เบี้ยจะค่อนข้างสูง
  3. แผนประกันที่เลือก – ถ้าหากผู้เอาประกันเลือกความคุ้มครองที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องของการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ การเล่นหรือแข่งกีฬาอันตราย เช่น ปีนเขา เซิร์ฟสเก็ต ฯลฯ การโดยสารเฮลิคอปเตอร์ การจลาจล/นัดหยุดงานและสงคราม เบี้ยประกันภัยก็จะเพิ่มสูงขึ้น
  4. จำนวนเงินเอาประกันภัย – หากผู้เอาประกันต้องการจำนวนเงินเอาประกันภัยที่สูงขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาลสูง ๆ ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิตสูง ๆ เบี้ยประกันภัยก็จะสูงตามไปด้วย

ผลประโยชน์และสิ่งที่ควรรู้ 7 อย่าง ก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล

  1. กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุจะชดเชยค่าเสียหายจากการสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ เช่น บาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต
  2. กรมธรรม์จะมอบเงิน 100% ให้กับผู้รับผลประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอาประกันประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต เช่น ผู้เอาประกันซื้อประกันอุบัติเหตุไว้ในวงเงิน 1 ล้านบาท ญาติผู้รับผลประโยชน์จะได้เงินก้อน 1 ล้านบาทนี้ไป
  3. วัตถุประสงค์หลักของกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล คือ การชดเชยรายได้ให้กับครอบครัวของผู้เอาประกันภัยที่เกิดการสูญเสียรายได้อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุของผู้เอาประกันภัย
  4. กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุไม่ได้ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย
  5. มีเงินชดเชยรายวันกรณีผู้เอาประกันต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
  6. ครอบคลุมค่ารถพยาบาลในกรณีเกิดอุบัติเหตุ และมีการเรียกรถพยาบาล กรมธรรม์อุบัติเหตุส่วนบุคคลจะเป็นคนดูแลค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
  7. ชดเชยรายได้ กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เช่น สูญเสียแขนขาหรืออัมพาต หรือแม้กระทั่งทุพพลภาพชั่วคราว เช่น กระดูกหัก
สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (2) | รู้ใจ

อะไรบ้างที่ไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล

  • ไม่คุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากการเล่นกีฬา หรือ กิจกรรมผาดโผน (แต่สามารถซื้อเพิ่มได้ที่รู้ใจ)
  • ไม่คุ้มครองกรณีฆ่าตัวตาย
  • ไม่คุ้มครองอุบัติเหตุจากการจลาจลหรือสงคราม
  • ไม่คุ้มครองกรณีเมาแล้วขับจนเกิดอุบัติเหตุ

ความคุ้มครองหรือผลประโยชน์ของกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลขึ้นอยู่กับแผนของแต่ละบริษัท ศึกษาสักนิด ก่อนซื้อความคุ้มครองเพื่อที่จะได้ความคุ้มครองตามความต้องการและเบี้ยประกันภัยที่ไม่แพง

ที่รู้ใจ แผนประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ให้คุณปรับแต่งแผนได้ตามไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เบี้ยลดหย่อนภาษีได้ ซื้อง่ายผ่านช่องทางออนไลน์ เพียงตอบคำถามสุขภาพ ภายในไม่กี่นาทีเท่านั้น ให้ความคุ้มครองทุนประกันสูงถึง 2 ล้านบาท คลิกดูแผนความคุ้มครองและข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย

ติดตามข้อมูลข่าวสารและโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจได้ทาง FB Fan page: Roojai หรือ คลิก add Official Line ของเราไว้ได้เลย