Roojai

ประกันอุบัติเหตุเด็กและประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุจำเป็นแค่ไหน?

อาการแสบร้อนกลางอก กับ โรคหลอดเลือดหัวใจ ต่างกันอย่างไร | รู้ใจ

เป็นที่ทราบกันดีว่า วัยเด็กเป็นวัยแห่งการเรียนรู้และทุกการเรียนรู้มักจะมาพร้อมกับการบาดเจ็บ อาจจะเพราะด้วยวัยนี้เป็นวัยที่เริ่มฝึกการใช้การเคลื่อนไหวทางร่างกาย ประกอบกับเป็นวัยที่อยากรู้ อยากลองไปซะหมดทุกอย่าง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและบ่อย สถิติการเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุของเด็ก ๆ ที่อายุระหว่าง 1-15 ปี พบว่ามีเด็กเจ็บป่วยฉุกเฉินเกี่ยวกับกุมารเวชกรรมมากที่สุด

สาเหตุของอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในวัยเด็กมีอะไรบ้าง?

  1. จากตัวเด็กเอง – โดยธรรมชาติของเด็กวัยเจริญเติบโต จะมีความอยากรู้อยากเห็น เช่น ในวัยที่เด็กสามารถปีนป่ายได้เมื่อเกิดอาการหิว เด็กก็จะคลานหรือปีนป่ายหาของกินซึ่งตรงนี้เองที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
  2. จากผู้ใหญ่ – เช่น พ่อแม่ ญาติ หรือพี่เลี้ยง ส่วนมากเกิดจากความประมาท
  3. จากของใช้ ของเล่นหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ – เช่น ตู้เย็น เตาไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า รถบังคับ หรือหุ่นยนต์ที่ทำจากพลาสติก เมื่อเด็กเกิดความสงสัยก็อาจจะเอามือไปจับ เคาะ กัด สิ่งของเหล่านั้น ทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้
  4. จากสิ่งแวดล้อม – เช่น ที่โรงเรียน สระว่ายน้ำ สวนสัตว์ สนามเด็กเล่น หากผู้ปกครองหรือครูผู้ดูแลประมาทอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อเด็กได้

ประเภทของอุบัติเหตุที่เป็นสาเหตุให้เด็กเกิดอาการบาดเจ็บได้บ่อย ๆ ก็คือ

  1. การหกล้มหรือพลัดตกจากที่สูง – เช่น วิ่งแล้วลื่นหกล้ม เดินตกบันได ถ้าร้ายแรงกว่านั้นก็คือการตกจากอาคารที่สูง
  2. อุบัติเหตุบนท้องถนน – เช่น ขี่จักรยานโดยไม่ดูรถ หรือวิ่งเล่นแล้วไม่ทันได้ระวังทำให้วิ่งชนต้นไม้ หรือถูกรถชนบ้าง
  3. อุบัติเหตุที่เกิดจากสัตว์เลี้ยง – เช่น สุนัข แมว ด้วยความเป็นเด็กที่อาจจะยังไม่รู้ถึงวิธีการเข้าหาสัตว์เลี้ยง ทำให้เกิดการถูกกัด ถูกข่วนได้บ่อยในเด็กวัยซน
  4. จากสาเหตุอื่น ๆ – เช่น ถูกของมีดบาด น้ำร้อนลวก
กรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก โรคหัวใจ | รู้ใจ

อุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ แม้ว่าการไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล อัตราค่ารักษาพยาบาลอาจจะไม่ได้สูงมากก็ตาม แต่ความถี่ในการเกิดอุบัติเหตุในเด็กวัยนี้มักจะเกิดขึ้นได้บ่อย ความถี่และความบ่อยนี่แหละที่จะทำให้ผู้ปกครองเสียเงินมากแบบไม่รู้ตัว

นอกจากวัยเด็กจะเป็นวัยที่เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและบ่อยแล้ว สำหรับผู้สูงอายุก็เป็นกลุ่มเสี่ยงที่สามารถเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าอุบัติเหตุที่เกิดในผู้สูงอายุจะไม่บ่อยเท่าในวัยเด็กซนก็ตาม แต่การเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุแต่ละครั้ง มักจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่รุนแรงเสมอ

ปัจจุบันคนไทยในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสถิติการเสียชีวิตจากการ “พลัดตกหกล้ม” สูงถึงปีละ 1,600 คน และปัญหาจากอุบัติเหตุที่พบบ่อยคือ กระดูกสะโพกแตก หัก หรือมีอาการบาดเจ็บทางสมองจากการลื่นหกล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความพิการและมีอัตราการเสียชีวิตที่ค่อนข้างสูง

ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมักจะมีปัญหาเรื่องกระดูกพรุน เมื่อเกิดอุบัติเหตุหกล้มเพียงเล็กน้อยก็อาจจะทำให้เกิดกระดูกหักได้ และอัตราค่ารักษาพยาบาลในการรักษากระดูกหักนั้นค่อนข้างสูงทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่ารักษาพยาบาลในแต่ละโรงพยาบาลด้วย ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐค่ารักษาพยาบาลก็จะไม่แพงมากแต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนอัตราค่ารักษาพยาบาลจะค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

อัตราค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐกับโรงพยาบาลเอกชนแตกต่างกันอย่างไร?

ตัวอย่างค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากกระดูกหัก

  1. ค่าห้องและค่ารักษาพยาบาล
    • โรงพยาบาลรัฐ เริ่มต้นที่ 600 บาท/คืน
    • โรงพยาลบาลเอกชน เริ่มต้นที่ 1,500 บาท/คืน
  2. ค่ายาระงับความรู้สึก สำหรับโรงพยาบาลรัฐ – เมื่อมีการหักหรือผิดรูปของกระดูก ขั้นตอนการรักษาของแพทย์จำเป็นที่ต้องจัดกระดูกที่ผิดรูปนั้นให้กลับเข้าที่ได้เหมือนเดิม ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้ยาระงับอาการปวด ซึ่งมีวิธีให้ยาอยู่ 2 วิธี ดังนี้
    • การใช้ยาชาเฉพาะจุดหรือเฉพาะที่ ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 500-1,000 บาท/ครั้ง
    • การใช้ยาสลบ ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,500 บาท/ชั่วโมง
  3. ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับโรงพยาบาลรัฐ
    • กระดูกข้อสะโพกเทียม ราคา 7,500 บาท
    • แท่งเหล็กดามกระดูกต้นขา ราคา 6,000 บาท

เพื่อยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายและเห็นภาพ

  • นาย A อายุ 60 ปี ลื่นล้มจนทำให้กระดูกต้นขาหัก เข้ารักษาที่โรงพยาบาลรัฐ โดยการดมยาสลบเพื่อผ่าตัดใส่แผ่นเหล็กดามกระดูกขนาดใหญ่ ต้องนอนพักในโรงพยาบาลประมาณ 3-5 วัน และจำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำยันหลังจากการผ่าตัด รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 12,000 บาท

กรณีเดียวกัน ถ้าเป็นการรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนราคาอาจจะพุ่งสูงถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียว

อาการกรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก หรือโรคหัวใจ | รู้ใจ

แผนประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่รู้ใจ คุ้มครองครอบคลุมอะไรบ้าง?

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลออนไลน์ที่รู้ใจ คุ้มครองตั้งแต่อายุ 1-65 ปี ผลประโยชน์ความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลมีดังนี้

  • คุ้มครองการเกิดอุบัติเหตุจากการโดยสารรถยนต์
  • คุ้มครองการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการเล่นกีฬา เช่น แข่งสเก็ต ดำน้ำ ชกมวย
  • สามารถเลือกความคุ้มครองเพิ่มเติมในส่วนของการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ได้
  • เลือกความคุ้มครองเพิ่มเติมสำหรับกีฬาผาดโผนหรือ Extreme Sport ได้ เช่น บันจี้จั๊มพ์ โดดร่ม และอื่น ๆ

เบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ การเคลมประกันก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ยื่นบัตรรู้ใจแคร์การ์ดพร้อมกับบัตรประชาชน ก็สามารถเข้ารักษาตัวจากอุบัติเหตุได้ในโรงพยาบาลและคลินิกในเครือกว่า 400 แห่งทั่วประเทศโดยที่ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล

เมื่อทุกประสบการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นบทเรียนอันล้ำค่า … จะดีแค่ไหน ถ้าเรามีแผนความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่จะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ สามารถไล่ตามสิ่งที่ชอบได้โดยไม่ลังเล สนุกกับทุกช่วงอายุได้โดยไม่ต้องกังวล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือรับคำปรึกษาได้ที่ 02 582 8855 หรือเข้าดูแผนประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลได้เลย

ติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจ ประกันออนไลน์ ได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือ Official Line ID: @roojai