สมาคมโรคมะเร็งในสหรัฐอเมริกามีการคาดการณ์เอาไว้ว่า จะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 1.9 ล้านคนในปี 2565 นี้ แม้ว่าตัวเลขผู้ป่วยโรคมะเร็งจะดูสูงขึ้นจนน่าตกใจก็ตาม แต่ยังมีสถิติผู้ป่วยที่หายจากการรักษาโรคมะเร็งอยู่เพิ่มขึ้นไม่น้อยเช่นกัน
ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ ที่มีการนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาช่วยในการรักษาโรคมะเร็งแต่ละชนิด ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีเปอร์เซ็นต์หรือโอกาสรอดจากโรคมะเร็งเพิ่มสูงขึ้น บริษัทประกันภัยหรือบริษัทประกันชีวิตต่าง ๆ จึงได้มีการพัฒนาแผนประกันเพื่อรองรับผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคมะเร็งมาก่อนให้สามารถทำประกันชีวิตได้
ฉะนั้น ผู้ที่ต้องการทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ แต่มีประวัติเคยเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งมาก่อน สบายใจได้เลยว่าคุณสามารถทำประกันชีวิตได้ แต่อาจจะมีข้อจำกัดบางอย่างที่ทำประกันเหมือนคนสุขภาพดีไม่ได้ เรามาดูกันว่า ข้อจำกัดหรือสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการทำประกันชีวิตหลังหายจากโรคมะเร็งมีอะไรบ้าง
ข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในการทำประกันชีวิตมีอะไรบ้าง?
ทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการตัดสินใจทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพนั้น คือ ช่วงเวลาที่ร่างกายของเราสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวใด ๆ ช่วงนี้แหละที่ควรทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพที่สุด และยิ่งทำประกันตั้งแต่อายุยังน้อย ยิ่งมีข้อได้เปรียบอยู่มาก ปัจจัยเรื่องอายุและความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่บริษัทประกันจะนำมาพิจารณาค่าเบี้ยประกันของคุณ
อยากทำประกันชีวิตแต่ยังรักษาโรคมะเร็งอยู่ ทำได้หรือไม่?
ถ้าคุณกำลังรักษาโรคมะเร็งอยู่ ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มรักษา หรือรักษามาจนจะครบคอร์สแล้วก็ตาม คุณจะยังไม่สามารถทำประกันชีวิตได้ โดยผู้ที่เคยป่วยหรือผู้ที่เคยได้รับการรักษาโรคมะเร็งจนหายเป็นปกติแล้ว ถึงจะสามารถทำประกันชีวิตได้ แต่เบี้ยประกันอาจจะสูงกว่าคนที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ และยังสามารถทำประกันสุขภาพได้ โดยที่อาจจะมีข้อจำกัดบางอย่างที่ไม่คุ้มครอง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผลการรักษาและสุขภาพหลังการรักษา ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน
หลังหายจากโรคมะเร็ง จะสามารถทำประกันชีวิตได้ตอนไหน?
ผู้ป่วยที่หายจากโรคมะเร็งแล้วเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี ถึงจะสามารถกลับมาทำประกันชีวิตได้ โดยต้องยื่นประวัติการรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่เเรกเริ่มตอนวินิจฉัยโรคจนมาถึงปัจจุบัน ว่ามีการติดตามอาการ มีการตรวจหาโรคมะเร็งทุก ๆ ปี จนบริษัทประกันมั่นใจได้ว่า คุณมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงพร้อมที่จะทำประกันชีวิต
นอกจากนี้ บริษัทประกันจะพิจารณาจากชนิดของโรคมะเร็งที่เคยเป็น โรคมะเร็งบางชนิดอาจจะไม่รุนแรงหรือมีอันตรายถึงชีวิต โรคมะเร็งที่ไม่รุนแรงบริษัทประกันจะพิจารณาระยะเวลารอคอยที่สั้นกว่ากลุ่มคนที่เป็นโรคมะเร็งชนิดที่รุนแรง เช่น ผู้ป่วยเคยผ่านการปลูกถ่ายไขกระดูก
ยกตัวอย่างให้พอนึกภาพออก เช่น ผู้หญิงที่เคยเป็นโรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 1 หรือ 2 จะมีระยะเวลารอการทำประกันชีวิตสั้นกว่า อาจจะ 3 ปี ถึงสามารถกลับมาทำประกันชีวิตได้ แต่ถ้าเคยเป็นโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 หรือ 4 ระยะเวลารออาจจะ 5 ปีกว่าจะสามารถกลับมาทำประกันชีวิตได้
ตัวอย่างระยะเวลารอคอยสำหรับโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ (ขึันอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน)
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ – 2 ปี
- มะเร็งกระดูก – 5 ปี
- มะเร็งเต้านม – 2 ปี
- มะเร็งปากมดลูก – 1 ปี
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ – 2 ปี
- มะเร็งไต – 3 ปี
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว – 10 ปี
- มะเร็งปอด – 3 ปี
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง – 2 ปี
- มะเร็งระยะลุกลาม – 5 ปี
- มะเร็งรังไข่ – 3 ปี
- ต่อมลูกหมาก – 1 ปี
- มะเร็งทวารหนัก – 2 ปี
- เนื้องอกผิวหนัง – 1 ปี
โรคมะเร็งมีผลต่อการพิจารณาทำประกันชีวิตอย่างไรบ้าง?
แน่นอนว่า ผู้ที่มีประวัติการรักษาโรคมะเร็งจะมีผลต่อการทำประกันชีวิต ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ขั้นตอนการทำประกันชีวิตของผู้ที่เคยเป็นโรคมะเร็ง จะต้องซับซ้อนกว่าคนทั่วไป ดังนี้
1.เอกสารในการสมัครทำประกันชีวิต
ผู้ที่มีประวัติการรักษาโรคมะเร็งมาก่อน จะต้องยื่นเอกสารประวัติการรักษาตั้งแต่เริ่มการรักษาจนถึงปัจจุบัน เอกสารจะเยอะและยุ่งยากกว่าคนทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทประกันภัยมั่นใจว่า คุณมีสุขภาพที่ดีหลังจากหายจากโรคมะเร็งแล้ว
2.จำเป็นต้องตรวจสุขภาพก่อนการทำประกัน
ผู้ที่มีประวัติการรักษาโรคมะเร็ง นอกจากต้องยื่นเอกสารประวัติการรักษาแล้ว และถึงแม้จะมีผลการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์แต่งตั้งของแต่ละบริษัทประกันภัยอีกรอบก่อนการทำประกัน
3.ตรวจสอบประวัติการกินยา
ประวัติการซื้อยาหรือประวัติการกินยาชนิดต่าง ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่บริษัทประกันนำมาพิจารณาในการทำประกัน ยาแต่ละชนิดที่ผู้เอาประกันกินนั้น มีความเสี่ยงหรือบ่งชี้ว่าร่างกายของคุณอยู่ในสถานะแบบไหน สิ่งเหล่านี้บริษัทประกันจะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาทั้งหมด
มีเทคนิคลดราคาเบี้ยประกันที่บริษัทประกันใช้พิจารณาอย่างไรบ้าง?
1.อย่าเพิ่งรีบซื้อประกันชีวิต
ควรรอให้แน่ใจว่า เราหายขาดจากโรคมะเร็งแล้ว และร่างกายของเราสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคแทรกซ้อน ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร โอกาสในการทำประกันชีวิตในอัตราเบี้ยที่ถูกลงก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
2.ดูแลสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง
ข้อนี้สำคัญมาก หลังจากจบกระบวนการการรักษาโรคมะเร็งแล้ว หากเราดูแลสุขภาพร่างกายเป็นอย่างดี เปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ๆ ที่เคยทำมาในอดีต ออกกำลังกายตลอดระยะเวลา 3 ปีหลังหายจากโรคมะเร็ง การทำสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง จะเป็นผลดีต่ออัตราเบี้ยประกันที่ถูกลง
3.ปรึกษาตัวแทน
ตัวแทนจะเป็นคนที่รู้ดีที่สุดในการให้คำปรึกษา เราสามารถปรึกษาได้ว่า ในขณะที่สุขภาพเราสมบูรณ์เช่นนี้ เหมาะเเล้วหรือยังที่จะลองยื่นเรื่องทำประกันชีวิต ตัวแทนจะสามารถให้คำแนะนำได้ว่า เราต้องทำอย่างไรถึงจะมีโอกาสทำประกันชีวิตสำเร็จในราคาเบี้ยที่ไม่แพง
หากอ่านบทความนี้แล้ว อยากลองปรึกษาตัวแทนดูบ้างว่าเราหรือคนในครอบครัวมีสิทธิ์ที่จะทำประกันชีวิตหรือประกันมะเร็งได้หรือไม่ สามารถโทรเข้ามาปรึกษาที่รู้ใจได้ที่ 02 582 8855 รวมถึงสามารถเข้าไปดูข้อมูลประกันมะเร็งออนไลน์ที่ซื้อง่าย จ่ายเบา คุ้มครองโรคมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ คุ้มครองเงินก้อนเต็มจำนวนสูงสุด 3 ล้านบาท ดูแลแบบรู้ใจกว่า ประหยัดกว่า
ติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ เรื่องรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจ ประกันออนไลน์ ได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือ Official Line ID: @roojai