Roojai

ทริคเลือกประกันโรคร้ายแรง ทำประกันเฉพาะโรคร้ายดียังไง ใครควรทำ?

ความคุ้มครองโรคร้ายแรงที่รู้ใจ | ประกันโรคร้ายแรง

โรคร้ายแรง บางคนอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก ๆ ด้วยความเข้าใจของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน บ้างก็เข้าใจว่าโรคร้ายแรงนั้นมักจะเกิดกับคนที่มีอายุมากหรืออยู่ในวัยชราเท่านั้น แต่โรคร้ายไม่เลือกอายุ ไม่เลือกเพศ บางคนอาจตรวจพบโรคร้ายตั้งแต่ยังเด็กก็มี 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบัน ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย ทั้งอาหารการกิน สภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว การทำประกันโรคร้ายแรงจึงมีบทบาทสำคัญที่จะมาช่วยเหลือเรื่องค่ารักษาพยาบาล มาดูประกันโรคร้ายของรู้ใจกันว่า ความคุ้มครองครอบคลุมโรคอะไรบ้าง 

เลือกประกันโรคร้ายแรงแบบไหนดี?

หากกำลังมองหาประกันโรคร้ายแรง ที่ไหนดี? รู้ใจมีทริคการเลือกทำประกันโรคร้ายแรงเพื่อบริหารความเสี่ยงทางการเงินในวันที่คุณเกิดเป็นโรคร้ายขึ้นมา ให้กระทบเงินเก็บน้อยที่สุด ในการทำโรคร้ายแรง เบี้ยประกันที่คุณจ่ายเพื่อที่จะได้รับความคุ้มครองแล้ว คุณยังสามารถใช้เบี้ยประกันเพื่อลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

1. เคลมเงินก้อน

การเคลมเป็นเงินก้อนมูลค่าสูง เราจะสามารถบริหารการใช้เงินเองได้ เมื่ออยู่ขั้นตอนการรักษา หากเป็นประกันที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลเพียงอย่างเดียวหรือมีค่าชดเชยรายวันบ้าง อาจไม่ตอบโจทย์สำหรับคนที่มีภาระทางครอบครัว เพราะเราอาจต้องหยุดงาน ไม่มีรายได้ แต่ค่าใช้จ่ายในครอบครัวเป็นภาระที่ต้องจ่ายออกทุกเดือน ทั้งค่าบ้าน ค่ารถ ค่าบัตรเครดิต ค่าเทอมลูก รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกด้วย 

2. ปรับแผนความคุ้มครองได้เอง

การเลือกประกัน คุ้มครอง โรค ร้ายที่เราสามารถปรับแผนคุ้มครองโรคร้ายแรงได้เอง จะช่วยประหยัดเบี้ยประกันมากขึ้น เพราะเราไม่ต้องจ่ายเบี้ยสำหรับความคุ้มครองที่ไม่ตอบโจทย์ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเพียงความคุ้มครองของโรคหลอดเลือดสมองแตก ก็สามารถเลือกเฉพาะกลุ่มโรคได้ ไม่ต้องจ่ายเบี้ยสำหรับความคุ้มครองที่ไม่จำเป็นอย่างโรคมะเร็งหรือโรคสมองเสื่อม

3. เลือกแบบไม่มีระยะเวลารอคอยเมื่อต่ออายุประกัน

การทำประกันโรคร้ายแรง เมื่อทำครั้งแรกมักจะมีระยะเวลารอคอยตามที่บริษัทกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 90 วัน แต่เมื่อเราทำประกันจนครบปีแล้ว และต้องการต่อประกัน อย่าลืมเช็คก่อนว่ามีระยะเวลารอคอยเมื่อต่อประกันหรือไม่ ให้เลือกทำประกันที่ไม่มีระยะเวลารอคอยเมื่อต่อประกัน เพื่อไม่ให้มีระยะที่ประกันจะไม่คุ้มครองคุณ

4. เลือกบริษัทหรือนายหน้าประกันภัยที่น่าเชื่อถือ

การเลือกบริษัทประกันและนายหน้าที่น่าเชื่อถือ เราสามารถทั้งจากชื่อเสียงที่ดี การบริการ หรือหากเราทำประกันกับตัวแทนหรือนายหน้า ควรตรวจสอบใบอนุญาตก่อนการทำประกัน โดยสามารถตรวจสอบตัวแทน/นายหน้าได้จาก เว็บไซต์ของคปภ. ทำให้อุ่นใจว่าในวันที่เกิดโรคร้ายขึ้นมาจริง ๆ ก็ยังมีประกันคุ้มครอง

5. มีแผนผ่อนจ่ายรายเดือน

การจ่ายเบี้ยรายเดือนได้ เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดภาระและช่วยบริหารค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนโต เหมือนเป็นการทำประกันสุขภาพรายเดือน ที่รู้ใจสามารถผ่อนได้ถึง 12 เดือน และเบี้ยประกันยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

ประกันโรคร้ายแรงที่รู้ใจ คุ้มครองอะไรบ้าง?

ทำประกันโรคร้ายแรงที่รู้ใจ คุ้มครอง 4 กลุ่มโรคร้าย ให้คุณเลือกเองได้ ดังนี้

กลุ่มโรคร้าย ความคุ้มครอง
โรคมะเร็ง
  • มะเร็งระยะลุกลาม
  • มะเร็งระยะไม่ลุกลาม
กลุ่มอาการทางประสาท
  • ภาวะโคม่า
  • โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด
  • โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่รักษาโดยใช้ขดลวด ผ่านสายสวนทางหลอดเลือด
  • โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์
  • โรคพาร์กินสัน
โรคระบบหัวใจหลอดเลือด
  • โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
  • กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ
ภาวะอวัยวะล้มเหลว
  • โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง
  • โรคปอดระยะสุดท้าย
  • ไตวายเรื้อรัง

สามารถอ่านรายละเอียดความคุ้มครองของกลุ่มโรคร้ายแรงเพิ่มเติมได้เลย

ความคุ้มครองประกันโรคร้ายแรงที่รู้ใจ เลือกแบบไหนได้บ้าง?

ที่รู้ใจ คุณสามารถเลือกทำประกันเฉพาะโรคได้ตามใจ หรือเลือกไม่คุ้มครองกลุ่มโรคที่ไม่ต้องการก็ได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งจากพันธุกรรม คุณเลือกแผนอุ่นใจที่ทุนประกันสูงสำหรับกลุ่มโรคมะเร็ง แล้วเลือกแผนสบายใจสำหรับกลุ่มโรคอื่น หรือหากไม่อยากรับความคุ้มครองจากกลุ่มโรคอื่น ก็สามารถเลือกไม่คุ้มครองได้เช่นกัน ซึ่งจะทำให้ประหยัดเบี้ยประกันได้มากขึ้นและตอบโจทย์เฉพาะความคุ้มครองต้องการ โดยสามารถเช็คราคาและลองปรับแผนคุ้มครองโรคร้ายแรง หรือดูความคุ้มครองได้ตามตารางด้านล่าง

ความคุ้มครอง ทุนประกัน
สบายใจ ถูกใจ อุ่นใจ
โรคมะเร็ง 500,000 บาท 1,000,000 บาท 2,000,000 บาท
โรคมะเร็งผิวหนัง 50,000 บาท 100,000 บาท 200,000 บาท
กลุ่มอาการทางระบบประสาท 500,000 บาท 1,000,000 บาท 2,000,000 บาท
โรคระบบหัวใจหลอดเลือด 500,000 บาท 1,000,000 บาท 2,000,000 บาท
ภาวะอวัยวะล้มเหลว 500,000 บาท 1,000,000 บาท 2,000,000 บาท

โรคร้ายแรงน่ากลัวยังไง?

โรคร้ายแรงในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียดสะสม การกินอาหารไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย และสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เช่น ฝุ่นพิษ มลภาวะ สิ่งเหล่านี้ที่เราต้องเจออยู่ทุกวัน รวมถึงไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ของเรา อาจเป็นสิ่งที่ทำให้โรคร้ายเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ รู้ใจยกตัวอย่างความน่ากลัวของโรคร้ายแรงดังนี้

1. โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งเกิดจากเซลล์ที่ผิดปกติในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเซลล์นี้จะเติบโตเร็วกว่าปกติ และอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ผ่านทางเลือดและน้ำเหลือง จนทำให้อวัยวะอื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันต้น ๆ ของโลก และในไทยตามรายงานของกรมการแพทย์ปี 2565 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 400 คนต่อวัน 140,000 คนต่อปี และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของไทย โดยมะเร็งที่พบบ่อยคือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก (ที่มา: www.hfocus.org)

2. โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง จากการตีบ แตก และอุดตันของหลอดเลือด จนทำให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย และเป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์-อัมพาต และร้ายแรงถึงการเสียชีวิตด้วย ตามรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 พบคนไทยป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 349,126 คน และเสียชีวิตถึง 36,214 คน (ที่มา: pr.moph.go.th)

3. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด

หรือโรคหัวใจวาย โรคนี้เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากการที่ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน จนขัดขวางการไหลของเลือดจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ ซึ่งลิ่มเลือดเกิดจากภาวะไขมันมากจนเกินไป ตามข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 คนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เฉลี่ย 8 คนต่อชั่วโมง หรือ 70,000 คนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี (ที่มา: www.hfocus.org)

4. ไตวายเรื้อรัง

ไตวายเรื้อรัง คือภาวะที่ไตของเราทำงานได้ลดลงอย่างช้า ๆ ใช้ระยะเวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปี ระยะแรกจะไม่แสดงอาการ เมื่อเข้าสู่ภาวะไตเสื่อมระยะสุดท้าย จะต้องรักษาเพื่อทดแทนการทำงานของไตตลอดชีวิต เช่น การฟอกเลือด ล้างไตผ่านช่องท้อง การปลูกถ่ายไต ซึ่งในปี 2565 มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3 ถึง 420,212 คน ระยะ 4 ถึง 420,212 คน และระยะที่ 5 ที่ต้องล้างไตมากถึง 62,386 คน (ที่มา ddc.moph.go.th)

ประกันโรคร้ายแรง กลุ่มไหนเหมาะกับใคร?

ความคุ้มครองประกันโรคร้ายของแต่ละบริษัทแตกต่างกัน สำหรับประกันโรคร้ายที่รู้ใจ สามารถเลือกประกันเฉพาะโรค เราลองยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพได้ง่ายขึ้น

ยกตัวอย่าง เช่น นาย A อายุ 28 ปี คุณพ่อนาย A เคยมีประวัติเคยผ่าตัดมะเร็งลำไส้มาก่อน และทางฝั่งคุณแม่ มีประวัติเกี่ยวกับโรคกลุ่มอาการทางประสาท ประกันโรคร้ายที่นาย A ควรเลือกซื้อ ควรเลือกซื้อความคุ้มครองโรคมะเร็งและกลุ่มอาการทางประสาท เพราะความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งและโรคกลุ่มอาการทางประสาท อาจส่งต่อจากพันธุกรรมที่มายังรุ่นลูกหรือหลาน นั่นหมายความว่า นาย A อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคดังกล่าวสูงกว่าคนปกติ

ยกตัวอย่าง เช่น นางสาว B เป็นสาวสังคม หลังเลิกงานชอบปาร์ตี้สังสรรค์เกือบทุกวัน ทำให้กลับบ้านดึก แต่ต้องตื่นเช้ามาทำงาน ไม่ออกกำลังกาย ไม่มีเวลาซื้ออาหารเช้า มักชอบสั่งจังก์ฟู้ดมากินเวลาทำงาน หากคุณมีพฤติกรรมคล้ายนางสาว B รู้ใจแนะนำว่า ควรเลือกซื้อประกัน 4 โรคร้ายแรงทุกกลุ่มโรค เนื่องจาก พฤติกรรมนี้เสี่ยงต่อ

  • เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ มะเร็งปอด เนื่องจาก แอลกอฮอล์และบุหรี่ 
  • เสี่ยงต่อกลุ่มอาการทางประสาท เพราะแอลกอฮอล์อาจมีผลทำให้สมองเสื่อม
  • เสี่ยงต่อโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากขาดการออกกำลังกาย และกินอาหารแบบไม่เลือก 
  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับปอด เนื่องจากการสูบบุหรี่ 

หากมีพฤติกรรมเสี่ยงดังเช่นกลุ่มคนเหล่านี้ ควรเลือกความคุ้มครองทุกกลุ่มโรคร้าย ทั้ง โรคมะเร็ง กลุ่มอาการทางประสาท กลุ่มระบบหัวใจและหลอดเลือด และกลุ่มภาวะอวัยวะล้มเหลว 

ทำประกันเฉพาะโรคที่รู้ใจ | ประกันโรคร้ายแรง

เช็คลิสต์ก่อนทำประกันโรคร้ายแรง

1. เช็คสวัสดิการ

ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อประกันโรคร้าย ควรตรวจสอบดูก่อนว่า สวัสดิการที่เราได้รับจากบริษัทหรือที่ทำงานมีอะไรบ้าง เช่น ประกันสังคม ประกันสุขภาพกลุ่ม หรือประกันอุบัติเหตุ เช็คดูผลประโยชน์ของสวัสดิการว่าครอบคลุมอะไรบ้าง ครอบคลุมวงเงินการรักษาพยาบาลเท่าไหร่ แต่ต้องไม่ลืมด้วยว่า หากเราพ้นสภาพพนักงานของบริษัทแล้ว ความคุ้มครองหรือสวัสดิการที่เคยได้รับเรื่องค่ารักษาพยาบาลก็จะหยุดลงด้วยเช่นกัน  การรักษาโรคร้ายเป็นการรักษาที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และบางโรคต้องใช้วันหยุดเพื่อเข้ารับการรักษา อาจเป็นไปได้ว่า บริษัทฯ อาจเห็นถึงความไม่สมบูรณ์ในด้านสุขภาพ ขาดงานบ่อยเนื่องจากต้องรักษาอาการเจ็บป่วย และอาจถูกเชิญให้พ้นสภาพพนักงาน ดังนั้น การมีประกันโรคร้ายและประกันสุขภาพส่วนตัว จึงเป็นเรื่องที่ดีกว่า หากได้สวัสดิการจากบริษัทมาเพิ่มเติม ให้คิดว่าเป็นกำไรที่ได้ขยายวงเงินในการรักษาพยาบาล แต่ไม่ควรหวังพึ่งประกันกลุ่มจากบริษัทอย่างเดียว 

2. เช็คค่ารักษาพยาบาล

ควรตรวจเช็คค่ารักษาโรคร้ายแรง ในวันที่ป่วยหนักอยากนอนโรงพยาบาลไหน? ต้องยอมรับว่าการเข้าถึงการรักษาในประเทศ โรงพยาบาลรัฐอาจไม่ได้สะดวกสบายไปซะหมดแต่ก็มีค่ารักษาที่ถูกกว่า ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนมีบริการที่ดี สะดวกสบาย แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูงตามมา เมื่อเรารู้ก็จะง่ายต่อการกำหนดกรอบของวงเงินค่ารักษาโรคร้ายแรง ซึ่งทำให้ตัดสินใจในการเลือกแผนความคุ้มครองโรคร้ายแรงได้ง่ายขึ้น และอย่าลืมประมาณการค่ารักษาพยาบาลเผื่อไว้ให้สูงกว่าปกติ เพราะค่ารักษาโรคร้ายแรงมีการปรับขึ้นเกือบทุกปี 

3. ผลประโยชน์ความคุ้มครอง

สำหรับเรื่องความคุ้มครอง ประกันโรคร้ายของแต่ละบริษัทจะมีความแตกต่างกัน ก่อนการเลือกซื้อ ควรศึกษาเงื่อนไขอย่างละเอียด เช่น ระยะเวลารอคอย คุ้มครองโรคร้ายทุกระยะหรือไม่ บางกรมธรรม์จะคุ้มครองเฉพาะระยะลุกลาม บางกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เงื่อนไขเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้แต่มีความสำคัญมาก 

การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องใส่ใจ เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราในทุกวันนี้ ทั้งอาหารการกิน  ไลฟ์สไตล์ สภาพแวดล้อมอย่างฝุ่นพิษ PM 2.5  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้เราป่วยเป็นโรคร้ายแรงโดยไม่ทันรู้ตัว

วางแผนสุขภาพของเราตั้งแต่วันนี้ เพื่อวันหน้าไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในวันที่เป็นโรคร้าย ที่รู้ใจหากตรวจพบโรคร้ายรับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท กังวลกลุ่มโรคไหนก็เลือกความคุ้มครองได้ตามใจ แถมผ่อนได้สูงสุด 12 เดือน

 สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)