รู้ใจเชื่อว่า ผู้อ่านส่วนใหญ่น่าจะมีความเข้าใจในเรื่องของโรคร้ายแรงอยู่พอสมควร และเชื่อว่าผู้อ่านน่าจะทราบกันดีถึงเรื่องของค่ารักษาโรคร้ายแรงที่ยิ่งนับวันก็จะยิ่งสูงขึ้น และโรคร้ายแรงส่วนใหญ่มักจะต้องใช้การรักษาอย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน การทำประกันโรคร้ายแรงจึงสำคัญ เพราะหากไม่ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องของค่าใช้จ่ายไว้ก่อน นี่อาจจะเป็นภาระก้อนโตของสมาชิกในครอบครัวเลยก็ว่าได้
- ประกันโรคร้ายแรง เจอจ่ายจบ คุ้มครองยังไง?
- ประกันโรคร้ายแรง เจอจ่ายจบ ที่รู้ใจคุ้มครองอะไรบ้าง?
- ใครควรทำประกันโรคร้ายแรง?
- รู้ใจแนะ 4 ทริคทำประกันโรคร้ายแรงทั้งที ต้องดูอะไรบ้าง?
- ประกันโรคร้ายแรง เจอจ่ายจบ ดียังไง ทำไมควรทำ?
ประกันโรคร้ายแรงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่ประกันโรคร้ายแรงของแต่ละบริษัทก็ให้ความคุ้มครองกลุ่มโรคร้ายไม่เหมือนกัน มีทั้งแบบเจอ จ่าย จบ แบบเบี้ยคงที่ แบบมีเงินสะสม หรือแบบจ่ายเป็นค่าชดเชย วันนี้รู้ใจอยากชวนผู้อ่านมาทำความรู้จัก ประกันโรคร้ายแรงของรู้ใจ ว่าคุ้มครองกลุ่มโรคร้ายแรงอะไรบ้าง และประกันโรคร้ายแรงแบบ เจอ จ่าย จบ ดีอย่างไร มีเหตุผลอะไรที่ควรทำ
ประกันโรคร้ายแรง เจอจ่ายจบ คุ้มครองยังไง?
ประกันโรคร้ายแรงแบบ เจอจ่ายจบ คือ การทำสัญญาจ่ายผลประโยชน์เมื่อตรวจพบเจอโรคร้ายแรงตามที่แต่ละบริษัทกำหนดเอาไว้ หากผู้เอาประกันได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงโรคใดโรคหนึ่งที่อยู่ในเงื่อนไขของกรมธรรม์ ผู้เอาประกันจะได้รับเงินก้อนเพื่อนำไปใช้ในการรักษาพยาบาล โดยประกันโรคร้ายแรงที่รู้ใจมากกว่า 80+ โรค
ประกันโรคร้ายแรง เจอจ่ายจบ ที่รู้ใจคุ้มครองอะไรบ้าง?
ทำประกันโรคร้ายแรง ออนไลน์ที่รู้ใจ ให้ความคุ้มครองดังนี้
- ตรวจพบรับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท
- ปรับแต่งแผนตามใจ เลือกคุ้มครองเฉพาะกลุ่มโรคที่เสี่ยงได้
- ซื้อง่ายผ่านออนไลน์
- เช็คราคาเบี้ยประกันไม่ต้องใส่ข้อมูลติดต่อ
- ผ่อนได้สูงสุด 12 งวด
และความคุ้มครองประกัน 4 กลุ่มโรคร้ายแรง ครอบคลุม 80+ โรคร้าย ดังนี้
กลุ่มโรคร้าย | คุ้มครองครอบคลุมกลุ่มโรคดังนี้ |
โรคมะเร็ง |
|
กลุ่มอาการทางประสาท |
|
โรคระบบหัวใจหลอดเลือด |
|
ภาวะอวัยวะล้มเหลว |
|
ใครควรทำประกันโรคร้ายแรง?
1. เหมาะกับพนักงานออฟฟิศ ข้าราชการ
ที่มักจะมีสวัสดิการเป็นประกันสุขภาพอยู่แล้ว แต่ประกันสุขภาพที่มากับสวัสดิการของบริษัท มักจะเน้นเรื่องค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง ค่าผู้ป่วย IPD แต่จะไม่มีความคุ้มครองในเรื่องโรคร้ายแรงและมะเร็ง ซึ่งหากเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงขึ้นมา ประกันสุขภาพจากสวัสดิการออฟฟิศอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อค่ารักษาพยาบาลอย่างแน่นอน พนักงานออฟฟิศ ข้าราชการ จึงเป็นบุคคลที่เหมาะกับการทำประกันโรคร้ายแรงเพิ่มเติม เพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุม
2. เหมาะกับวัยทำงาน
กลุ่มคนในวัยทำงานอาจจะดูเหมือนเป็นกลุ่มคนที่มีความแข็งแรง แต่ต้องไม่ลืมด้วยว่า ลักษณะงานที่ทำอยู่นั้นส่งผลเสียอะไรต่อร่างกายบ้าง บวกกับไลฟ์ไสตล์ กิน ดื่มจัด และมลพิษต่างๆ รอบตัวที่ต้องเดินทางไปทำงานทุกวัน ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมา อาจส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงได้ในอนาคต วัยทำงานจึงเหมาะกับการทำประกันโรคร้ายแรง และด้วยช่วงอายุที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงเหมาะกับการทำประกันและด้วยอายุที่ยังน้อย ทำให้เบี้ยประกันถูกกว่าการทำประกันเมื่ออายุมากขึ้น
3. เหมาะกับผู้ที่ต้องการเก็บเงิน
สำหรับผู้ที่ต้องการเก็บเงินหรือต้องการมีเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน การทำประกันโรคร้ายแรงเผื่อเอาไว้ เป็นการป้องกันเงินสำรองที่อุตส่าห์เก็บไว้ใช้ไม่ต้องละลายหายไปกับค่ารักษาพยาบาลที่สูง และหากได้รับเงินก้อนจากการทำประกันโรคร้ายแรง เงินเหลือก็สามารถนำไปใช้ระหว่างพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ โดยไม่ไปรบกวนเงินสำรองที่เก็บมาตลอดชีวิต
รู้ใจแนะ 4 ทริคทำประกันโรคร้ายแรงทั้งที ต้องดูอะไรบ้าง?
- ข้อยกเว้นกรมธรรม์ หากการเคลมของเราตรงกับเงื่อนไขข้อยกเว้นกรมธรรม์จะไม่สามารถเคลมได้
- ระยะเวลารอคอย เช็คว่ามีระยะเวลารอคอยเท่าไหร่ เพราะหากเราตรวจพบโรคร้ายแรงในช่วงระยะเวลารอคอยประกันจะไม่คุ้มครอง
- แผนการชำระเงิน มีแผนชำระเงินแบบจ่ายเป็นก้อนหรือผ่อนได้ ผ่อนแล้วเริ่มคุ้มครองโรคร้ายแรงเลยหรือไม่ และมีช่องทางการชำระเงินอะไรบ้าง
- บริการเคลม อย่าลืมเช็ครีวิวบนหน้าเว็บหรือบนโลกออนไลน์เรื่องบริการเคลม เพราะหากบริการเคลมดีเราก็อุ่นใจได้ในวันที่จะต้องใช้บริการ
ระกันโรคร้ายแรง เจอจ่ายจบ ดียังไง ทำไมควรทำ?
จากค่ารักษาโรคร้ายแรงนั้นค่อนข้างสูง และต้องใช้การรักษาแบบต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อสภาพการเงินของครอบครัวได้ ซึ่งนอกจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลแล้ว ยังมีเหตุผลอื่นที่ทำไมคุณถึงควรทำประกันโรคร้ายแรง
1. สภาพแวดล้อมทำให้เสี่ยงโรคร้ายแรง
สภาพแวดล้อมที่เราใช้ชีวิตอยู่ทุกวัน นับวันมันยิ่งแย่ลงไปเรื่อย ๆ เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้สุขภาพร่างกายของเราเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งควันท่อไอเสีย ฝุ่น PM2.5 ควันบุหรี่ ความเครียด แสงแดด รวมไปถึงอาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละมื้อ ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นชั้นดีให้เกิดโรคร้ายแรง
2. ลดความเสี่ยงค่าใช้จ่ายวันที่เป็นโรคร้ายแรง
ประกันโรคร้ายแรง จัดว่าเป็นหลักประกันที่จะมาช่วยลดความเสี่ยงในด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล หากตรวจพบและแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคร้ายแรงโรคใดโรคหนึ่งที่อยู่ในเงื่อนไข บริษัทประกันจะจ่ายเงินก้อนให้กับผู้เอาประกัน เพื่อไว้ใช้จ่ายในการักษาพยาบาล
3. เพิ่มโอกาสการรักษาโรคร้ายแรง
หากเรามีประกันโรคร้ายแรงที่มอบเงินก้อนเมื่อตรวจพบ ถือเป็นเรื่องที่ดีที่คุณจะสามารถเลือกแผนการรักษาที่ดีที่สุดให้กับตัวเองได้ เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่นี้ มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคให้หายขาดได้ แต่แน่นอนว่ามันราคาสูง หากไม่ได้ทำประกันเอาไว้ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดก็ต้องรับผิดชอบส่วนนี้เอง
4. ช่วยให้วางแผนการเงินได้
หากคุณทำประกันโรคร้ายแรงไว้ตั้งแต่ยังอายุน้อย จะช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้ในอนาคต เพราะคุณไม่ต้องกังวลว่าต้องเแบ่งเงินเก็บไว้สำหรับค่ารักษาพยาบาล ทำให้คุณทราบทุกค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละเดือน และสามารถวางแผนออมเงินได้อย่างเป็นระบบ
5. ประกันโรคร้ายแรงลดหย่อนภาษีได้
ทั้งประกันสุขภาพ ประกันมะเร็ง ประกันโรคร้ายแรง หรือประกันชีวิต สามารถนำมาลดหย่อนภาษีประจำปีได้ นับเป็นความคุ้มค่าเพราะนอกจากจะได้ค่ารักษาโรคร้ายแรงแล้ว ยังสามารถไปช่วยลดภาระจากภาษีได้อีกด้วย
ก่อนการทำประกันทุกครั้ง สิ่งสำคัญที่สุดคือการอ่านและศึกษาความคุ้มครองจนเข้าใจอย่างถ่องแท้ รวมทั้งเปรียบเทียบข้อเสนอจากบริษัทประกันต่าง ๆ แล้วเลือกกรมธรรม์ประกันโรคร้ายแรงที่เหมาะสมกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของเราที่สุด เท่านี้ก็อุ่นใจที่มีประกันคอยดูแลในวันที่เราเจ็บป่วย
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
ข้อยกเว้นกรมธรรม์ | เงื่อนไขต่าง ๆ ที่บริษัทประกันภัยจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้เอาประกันภัย โดยจะระบุไว้ในกรมธรรม์ |
หลักประกัน | สิ่งของหรือทรัพย์สินที่นำมาวางไว้เป็นประกัน เพื่อแสดงความมั่นใจว่าคุณจะชำระหนี้คืนให้ได้ |
ลดหย่อนภาษี | ค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้สามารถนำไปหักออกจาก “เงินได้” ของผู้เสียภาษี เพื่อลดจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี |