ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา เพื่อน ๆ คงได้ไปท่องเที่ยวช่วงเทศกาล ได้สังสรรนัดรวมตัวกันที่บ้านเพื่อน กินเลี้ยง ปาร์ตี้ จับฉลาก แต่เพื่อน ๆ อาจจะลืมนึกไปว่าปีใหม่มักจะมาพร้อมกับคำว่า ภาษี
วันนี้ เราจะมาพูดถึงประกันชีวิตและประกันสุขภาพที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้กัน เพื่อน ๆ หลายคนอาจจะมีคำถามว่าประกันแบบไหนบ้างที่เราสามารถนำเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้ ประกันมะเร็งลดหย่อนได้หรือไม่ ประกันโรคร้ายแรงล่ะลดหย่อนได้หรือเปล่า แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น เรามาดูกันก่อนว่า ใครบ้างที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี
ผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ได้แก่ บุคคลที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใดตามด้านล่างนี้
- บุคคลธรรมดา – บุคคลที่มีเงินได้ระหว่างปีเกิน 30,000 บาท (กรณีโสด) และบุคคลที่มีรายได้มากกว่า 60,000 บาท ต่อปี (ในกรณีสมรส)
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล – คณะบุคคลจะคำนวณภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดา และยังสามารถหักค่าลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาทต่อคณะบุคคล (คล้าย ๆ กับค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว 30,000 บาท ในกรณีบุคคลธรรมดา)
สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน ลักษณะจะคล้าย ๆ กับคณะบุคคล โดยทั้งคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มีรายได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษี - ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี – กรณีที่ผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในปีภาษีนั้น ๆ ทายาทหรือผู้จัดการมรดก มีหน้าที่ ๆ จะต้องยื่นแบบ ภงด. แทน
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง – เช่น นาย ก. เป็นผู้มีเงินได้ระหว่างปีมากกว่า 30,000 บาท แต่ถึงแก่ความตายในปีภาษีก่อนหน้านั้น และยังไม่ได้จัดการมรดก ดังนั้นในปีภาษีนี้จะต้องยื่นแบบในนามกองมรดกของนาย ก. โดยทายาทหรือผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ยื่นแบบภาษีจากเงินได้ทั้งปีของนาย ก.
ทีนี้ พอเราทราบแล้วว่าใครบ้างที่เข้าข่ายต้องเสียภาษี ขั้นตอนต่อไปคือหารายการค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มาช่วยลดหย่อนภาษี
ทำไมถึงต้องหารายการต่าง ๆ ไปลดหย่อนภาษี ก็เพราะว่าบางคนมีรายได้ที่สูงมาก เช่น ศิลปิน หรือ นักธุรกิจที่มีรายได้หลายล้านต่อปี บุคคลเหล่านี้หากไม่นำรายการอื่น ๆ มาช่วยแบ่งเบาภาระ จะต้องเสียภาษีถึงหกหรือเจ็ดหลักกันเลยทีเดียว และมีรายการค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่เราจะสามารถนำไปช่วยลดหย่อนภาษีได้ ข้อมูลอัปเดตสำหรับปีภาษี 2564 มีดังนี้
- กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
- กลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
- กลุ่มค่าลดหย่อนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
- กลุ่มเงินบริจาค
- กลุ่มค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันถึงเรื่องของประกันมะเร็งและประกันสุขภาพเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีกัน โดยประกันที่เราสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้แบ่งเป็น 2 ประเภท
- ประกันชีวิตทั่วไป + ประกันเงินออมแบบบำนาญ
- ประกันชีวิตทั่วไป ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
- ประกันแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท
- ประกันสุขภาพตัวเอง + ประกันสุขภาพบิดา มารดา
- ประกันสุขภาพบิดา มารดา ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท
- ประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท และแยกย่อยออกมาได้แบบนี้
- ประกันอุบัติเหตุที่มีค่ารักษาพยาบาล การสูญเสียอวัยวะ กระดูกแตก
- ค่ารักษาพยาบาล
- ประกันโรคร้ายแรง ประกันมะเร็ง
มาถึงตรงนี้ น่าจะตอบคำถามที่เพื่อน ๆ หลายคนสงสัยได้แล้วว่าประกันมะเร็งสามารถลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้แน่นอน ซึ่งความคุ้มค่าของการซื้อประกันมะเร็งนั้นไม่ได้มีแค่ใช้ลดหย่อนภาษีเท่านั้น แต่คุณจะได้รับสิทธิประโยชน์อีกมากมาย
- ได้ความคุ้มครองโรคมะเร็ง
- หมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายเมื่อจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง
- ปกป้องครอบครัวจากภาระหนี้สินเมื่อต้องเจ็บป่วยหรือเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง
- ปกป้องเงินเก็บที่เพื่อน ๆ อุตส่าห์เก็บมาทั้งชีวิต ให้เราสามารถนำเงินเก็บนี้ไปใช้จ่ายตามแพลนที่เราวางไว้ได้ โดยค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็งปล่อยให้เป็นหน้าที่ของบริษัทประกัน
- ผลประโยชน์ชดเชยการสูญเสียรายได้จากการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง
ในการนำประกันสุขภาพ ประกันมะเร็งไปลดหย่อนภาษีในแต่ละปี ผู้เอาประกันสามารถขอเอกสารจากตัวแทนขายประกันได้เลย โดยในเอกสารยื่นลดหย่อนภาษีทางบริษัทประกันจะแยกมาให้เราเรียบร้อย โดยจะแยกเบี้ยประกันชีวิต และเบี้ยประกันสุขภาพ เราแค่นำตัวเลขไปกรอกตามช่องในแบบยื่นเสียภาษีได้เลย ไม่ต้องเสียเวลามานั่งคำนวนเอง
การวางแผนเตรียมความพร้อมเรื่องค่ารักษาพยายบาลเมื่อเราเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่จำเป็นที่หลาย ๆ คนมองข้าม บางคนเสียเบี้ยประกันรถยนต์ปีละเป็นแสนแต่ไม่ยอมซื้อประกันสุขภาพให้ตัวเอง ด้วยเหตุผลที่เข้าใจผิดว่า “จ่ายเบี้ยทิ้งทุกปี” ซึ่งประกันรถยนต์ก็เช่นกัน จ่ายเบี้ยปีต่อปี เรารักรถยนต์แต่เราไม่รักตัวเองคงเป็นไปไม่ได้ จริงมั้ย