Roojai

ไขข้อสงสัย! เคยผ่าตัดซีสต์ ทำประกันมะเร็งได้มั้ย?

เคยผ่าตัดซีสต์ ทำประกันมะเร็งหรือไม่ รู้ใจมีคำตอบ

เป็นคำถามหรือข้อสงสัยที่หยิบขึ้นมาพูดกันอยู่บ่อยครั้งถึงเรื่องของการทำประกัน เช่น เคยผ่าตัดซีสต์ หรือถุงน้ำแล้วยังจะสามารถทำประกันมะเร็งหรือประกันสุขภาพได้หรือไม่ วันนี้รู้ใจจะมาอธิบายถึงโรคที่ประกันมะเร็งและประกันสุขภาพมักจะปฏิเสธว่ามีโรคอะไรบ้าง รวมถึงการผ่าตัดก่อนหน้าการทำประกัน เช่น ผ่าเนื้องอก หรือผ่าถุงน้ำ หรือซีสต์แล้วจะสามารถทำประกันมะเร็งได้หรือไม่ หรือแม้กระทั่งเคยผ่านการผ่าตัดมะเร็งมาแล้ว จะทำประกันอีกได้หรือไม่ ทุกข้อสงสัยมีคำตอบอยู่ในบทความนี้

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

ซีสต์ คืออะไร?

ซีสต์ คือ ถุงน้ำที่เกิดขึ้นภายในร่างกายจากการทำงานที่ผิดปกติ หรืออาจเกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันใต้ผิวหนังในร่างกาย ซึ่งอาจจะเป็นต่อมไขมันหรือต่อมเหงื่อก็ได้เช่นกัน ซีสต์สามารถเกิดได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง เมื่อต่อมดังกล่าวเกิดการอุดตันมากขึ้นจนสารคัดหลั่งต่าง ๆ สะสมอยู่ภายในถุง ซีสต์ก็อาจจะมีก้อนที่โตขึ้นได้

ซีสต์เกิดจากอะไร และอันตรายหรือไม่?

สาเหตุและปัจจัยในการเกิดซีสต์แต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ว่าจะเป็นซีสต์ชนิดใด หรือในบางครั้งซีสต์อาจจะเกิดตามจุดที่เคยบาดเจ็บมาก่อน แต่โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะก้อนซีสต์ขนาดเล็กจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่หากลักษณะก้อนซีสต์มีการอักเสบหรือมีก้อนขนาดใหญ่จนไปเบียดอวัยวะข้างเคียง อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายได้

ซื้อประกันมะเร็งในช่วงอายุเท่าไหร่ดี รู้ใจมีคำตอบ

ซีสต์หายเองได้ไหม?

โดยปกติ ซีสต์ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน อาจไม่ต้องทำการรักษาใด ๆ ซีสต์ก็จะยุบตัวหายไปได้เองได้

เมื่อเราได้รู้กันแล้วว่า ซีสต์เกิดจากอะไร รู้จักลักษณะก้อนซีสต์ และความอันตรายต่อร่างกาย กันไปแล้ว เรามาดูกันต่อถึงเงื่อนไขการทำประกันมะเร็งกันว่า ประกันมะเร็งคุ้มครองครอบคลุมไปถึงโรคอะไรบ้าง 

ประกันมะเร็งคุ้มครองอะไรบ้าง?

รู้หรือไม่? ว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยที่ครองแชมป์อันดับ 1 มาหลายปี ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยพญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้เปิดเผยสถิติโรคมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า “แต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นมะเร็งรายใหม่ประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 83,000 คน โดยโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 5 อันดับแรก คือ 1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี 2. มะเร็งปอด 3. มะเร็งเต้านม 4. มะเร็งลำไส้และทวารหนัก 5. มะเร็งปากมดลูก” (ที่มา: hfocus.org)

หากป่วยเป็นโรคมะเร็ง จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและใช้เวลาค่อนข้างนาน โรคมะเร็งบางชนิดอาจมีการรักษาที่ซับซ้อน ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงถึงหลักหลายแสนหรือหลักล้านบาทเลยทีเดียว การมีประกันมะเร็งจะให้ความคุ้มครองค่ารักษาโรคมะเร็ง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา และค่าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่กระทบเงินส่วนอื่นของครอบครัว รวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องกังวล และโฟกัสไปที่การรักษาได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ การเลือกประกันมะเร็งที่ดีควรคุ้มครองค่าใช้จ่ายหลัก และคุ้มครองมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ หรือทำประกันมะเร็งคุ้มครองเงินก้อนมาบริหารเองได้

ข้อยกเว้นที่ประกันมะเร็งไม่คุ้มครอง | รู้ใจ

ประกันมะเร็งที่รู้ใจให้ความคุ้มครองมะเร็งชนิดไหนและระยะไหนบ้าง?

สำหรับเงื่อนไขความคุ้มครองของแต่ละบริษัทประกันนั้นจะมีความแตกต่างกันออกไป อย่างของรู้ใจ ความคุ้มครองจะครอบคลุมมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ ทั้งมะเร็งในระยะลุกลาม และมะเร็งในระยะไม่ลุกลาม โดยเป็นประกันแบบเจอจ่ายจบ เคลมเงินก้อนสูงสุดถึง 3 ล้านบาท

ทำประกันมะเร็งอายุเท่าไหร่ดีที่สุด?

ช่วงอายุที่เหมาะกับการซื้อประกันมะเร็งคือ คือ ช่วงอายุก่อน 30 ปี เนื่องจากยิ่งอายุน้อยค่าเบี้ยประกันจะยังไม่สูง นอกจากนี้ประกันมะเร็งที่รู้ใจยังเบี้ยคงที่ 5 ปี ดังนั้นหมายความว่าคุณจะจ่ายเบี้ยเท่าเดิมถึง 5 ปี และการทำประกันในตอนที่กำลังมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว และไม่เคยมีประวัติในการรักษาโรคเรื้อรังร้ายแรง ไม่เคยตรวจพบหรือผ่าซีสต์ เนื้องอก หรือมะเร็ง ช่วงเวลานี้แหละที่เหมาะกับการทำประกันมะเร็งมากที่สุด 

ข้อยกเว้นอะไรบ้างที่ประกันมะเร็งที่รู้ใจจะไม่ให้ความคุ้มครอง?

  1. สภาพร่างกายที่เป็นมาก่อนทำประกัน หรือภาวะที่เป็นมาแต่กำเนิด
  2. การปรากฎอาการ หรือการได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งในระยะเวลารอคอย
  3. โรคติดเชื้อไวรัส HIV โรค AIDS กลุ่มอาการเอดส์สัมพันธ์หรือ ARC โรคติดเชื้อแทรกซ้อน หรือมะเร็งบางชนิดที่พบเมื่อมีอาการของ HIV AIDS ARC
  4. โรคมะเร็งที่เกิดจากผลจากการติดยาหรือสารเสพติดให้โทษหรือโรคพิษสุราเรื้อรัง
  5. การรักษาอาการ หรือโรคเรื้อรัง อาการแทรกซ้อนจากการทำศัลยกรรมตกแต่ง
คนเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งซื้อประกันมะเร็งได้มั้ย รู้ใจมีคำตอบ

เคยผ่าตัดซีสต์ ทำประกันมะเร็งได้ไหม?

หากคุณเคยตรวจพบหรือผ่าซีสต์ เช่น ซีสต์ในรังไข่ ช็อกโกแลตซีสต์ ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง เป็นต้น อาจสมัครทำประกันมะเร็งได้และไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันภัย สำหรับประกันมะเร็งที่รู้ใจหากเคยพบซีสต์หรือผ่าตัดซีสต์จะไม่สามารถทำประกันมะเร็งได้ 

คนเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งซื้อประกันมะเร็งได้มั้ย?

คนที่เป็นโรคมะเร็ง ทั้งที่เป็นอยู่และรักษาหายแล้ว จะไม่สามารถซื้อประกันมะเร็งได้ เพราะมีความเสี่ยงสูง แต่หากเคยเป็นเนื้องอก อาจสามารถทำประกันมะเร็งได้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและเงื่อนไขของบริษัทประกันภัย สำหรับประกันมะเร็งที่รู้ใจ หากเคยตรวจพบเนื้องอกจะไม่สามารถทำประกันมะเร็งได้

แต่อย่างไรก็ตาม ประกันมะเร็งหรือประกันโรคร้ายแรงจะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกัน หรือภาวะที่เป็นมาแต่กำเนิด ดังนั้น ก่อนการทำประกันแนะนำให้ทำความเข้าใจรายละเอียด ศึกษาอย่างถี่ถ้วน หากไม่แน่ใจให้ถามกับบริษัทโดยตรง เพื่อไม่ให้เราต้องเสียเบี้ยเปล่าไปกับการจ่ายประกันที่ไม่ตอบโจทย์

ในบทความนี้ได้ตอบคำถามและข้อสงสัย ทั้งในเรื่องของประกันมะเร็ง คนที่เคยผ่าตัดซีสต์ เป็นมะเร็ง เนื้องอก สามารถทำประกันมะเร็งได้มั้ย และมีสิ่งที่ขอเน้นย้ำคือเรื่องของการอ่านรายละเอียดประกันภัย และเลือกประกันภัยที่ตอบโจทย์เราจริง ๆ เพื่อให้ได้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม แบบนี้ในวันที่เราป่วยก็อุ่นใจได้มีประกันคอยคุ้มครอง

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

แถลง แถลงเป็นศัพท์ที่ใช้ในวงการประกัน การแถลงจึงเป็นการแจ้งข้อมูล ประวัติการรักษา หรือโรคที่เคยเป็นมาก่อนการทำประกัน การแถลงให้บริษัทประกันได้ทราบถึงเงื่อนไขของผู้เอาประกัน จะทำให้บริษัทฯ สามารถพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติกรมธรรม์ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทฯ
ข้อยกเว้น สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่บริษัทประกันไม่คุ้มครอง โดยจะไม่สามารถเคลมค่าสินไหมทดแทน ชดเชย หรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ โดยจะมีการระบุไว้ในเอกสารกรมธรรม์
โรคที่เป็นมาก่อนการทำประกัน โรคเรื้อรัง การบาดเจ็บหรือการป่วย (รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) ที่ยังไม่ได้รักษาให้หายก่อนวันที่กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มมีผลบังคับเป็นครั้งแรก เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้แถลงให้บริษัททราบและบริษัทยินยอมรับความเสี่ยงภัย โดยไม่มีเงื่อนไขยกเว้นความคุ้มครองดังกล่าว หรือ โรคเรื้อรัง การบาดเจ็บหรือการป่วย(รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) นั้น ไม่ปรากฏอาการ ไม่ได้รับการตรวจรักษาหรือวินิจฉัยโดยแพทย์ หรือไม่ได้พบหรือปรึกษาแพทย์ ในระยะ 5 ปีก่อนวันที่ กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มมีผลบังคับเป็นครั้งแรก และในช่วงเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มมีผลบังคับเป็นครั้งแรก