Roojai

อาหารติดคอ ทํายังไงดี! วิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง เคลมประกันได้มั้ย?

วิธีปฐมพยาบาล อาหารติดคอ | ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล | รู้ใจ

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยผ่านภาวะอาหารติดคอ เช่น ก้างปลาติดคอ หรือมีการสำลักอาหาร แต่อาจไม่รุนแรง แต่ใช่ว่าอาการอาหารติดคอหรือสำลักอาหารจะไม่อันตราย มันมีความเสี่ยงอยู่ หากอาหารติดคอแล้วเกิดไปอุดกั้นหลอดลม จนทำให้หายใจไม่ออกก็อาจจะเสียชีวิตได้เช่นกัน

ในบทความนี้ รู้ใจอยากจะมาแนะนำวิธีปฐมพยาบาลหากตัวเราเอง หรือคนใกล้ชิดเกิดอาการอาหารติดคอ หรือสำลักอาหารขึ้นมา จะได้ปฐมพยาบาลและช่วยเหลือได้อย่างถูกวิธี ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

อาหารติดคอ คืออะไร?

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะที่กำลังรับประทานอาหาร โดยปกติแล้ว การกลืนอาหารจะต้องผ่านโคนลิ้นเข้าไปในคอ หลอดอาหาร และไปยังกระเพาะอาหาร ขณะนั้น กล่องเสียงจะยกขึ้นมาชิดกับฝาปิดร่วมกับการกลั้นหายใจ เพื่อไม่ให้เศษอาหารติดอยู่ในหลอดลม เป็นกลไกที่ร่างกายออกแบบมาตามธรรมชาติ

แต่ก็อาจมีกรณีที่มีอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าสู่หลอดลมหรือทางเดินอาการศสำหรับหายใจ ในขณะที่อาหารยังอยู่ในช่องปาก อาจทำให้เกิดการสำลักอาหาร เมื่อสำลักอาหาร ฝาปิดกล่องเสียงจะเปิดพร้อมกับการหายใจเข้าอย่างแรง อาหารจึงหลุดเข้าไปติดอยู่บริเวณทางเดินอาหารหรือช่องทรวงอก

อาหารติดคอ เกิดจากอะไร?

1. อาหารติดคอจากความประมาท

  • เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
  •  รีบกิน รีบเคี้ยวจนเกินไป
  • ไม่ระวังเรื่องกระดูกหรือก้างปลาหรือเมล็ดผลไม้

2. อาหารติดคอ อุบัติเหตุในเด็กเล็ก

  • เป็นวัยที่เสี่ยง เพราะวัยนี้เป็นวัยที่มักจะหยิบจับสิ่งของรอบๆ ตัวเข้าปาก ซึ่งบางอย่างอาจจะไม่ใช่ของที่รับประทานได้ ทำให้เกิดการติดคอ
  •  ฟันของเด็กเล็ก ยังเป็นฟันน้ำนม ไม่แข็งแรงพอที่จะเคี้ยวอาหารชิ้นใหญ่ๆ ได้อย่างละเอียด

3. อาหารติดคอจากอุบัติเหตุ

  • มักจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะในคนที่ใส่ฟันปลอม หรือเพิ่งได้รับการรักษาทางทันตกรรม

4. อาหารติดคอจากโรคหรือภาวะความผิดปกติ

  • หลอดอาหารเป็นอัมพาต
  • โรคประสาทที่ส่งผลต่อการกลืนอาหาร
  • ผู้ป่วยทางจิตเวช

อาหารติดคอ อาการเป็นยังไง?

ทางเดินอาหาร

  • รู้สึกเจ็บคอขณะพูดหรือกลืน รวมทั้งหน้าอก
  • น้ำลายไหล
  • อาเจียน

กล่องเสียง

  • เกิดการไอ
  • เสียงแหบ
  • หายใจดัง
  • หอบ
  • ตัวเขียว
  • ดิ้นทุรนทุราย

หลอดลม

  • หายใจลำบาก หรือหายใจไม่ออก
  • มีเสมหะปนเลือดหรือหนอง
  • เกิดความผิดปกติแทรกซ้อน โดยเฉพาะปอดและทางเดินหายใจ

รู้ใจรวมทริคป้องกันอาหารติดคอ

หลังจากที่รู้ว่าอาหารติดคอ อาการเป็นยังไง รู้ใจแนะนำทริคกินยังไงไม่ให้อาหารติดคอ ป้องกันไว้ก่อน ดังนี้

  1. แบ่งหรือตักอาหารเป็นชิ้นพอดีคำ และเคี้ยวช้า ๆ ให้ละเอียด
  2. นั่งตัวตรง ไม่นอนกิน และหลังกินเสร็จควรนั่งย่อยสัก 15-20 นาที
  3. ทานอาหารที่ต้องบดเคี้ยวสลับกับอาหารเหลว เช่น ซุป น้ำดื่ม เพื่อให้กลืนลงคอได้ง่าย
  4. หลีกเลี่ยงการทานอาหารอย่างเร่งรีบ หรือหอบเนื่อยแล้วมาทาน รวมทั้งการพูดคุยหรือเดินระหว่างกินข้าว
  5. ในเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ต้องระมัดระวังไม่ควรนำสิ่งของเข้าปาก ระวังเศษกระดูก ก้าง เมล็ดผลไม้ และเลือกเมนูที่เหมาะกับฟันของเด็ก

อันตรายจากอาหารติดคอ

อาหารติดคอนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย เมื่อเกิดการระคายเคือง และเป็นแผลบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งการที่อาหารติดคอ อาการอาจร้ายแรงถึงขั้นขาดอากาศหายใจ กลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา หรือเสียชีวิตได้

หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นขณะรับประทานอาหารแล้วอาหารติดคอ วิธีแก้ที่เร็วและดีที่สุดคือการได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี และหลังจากนั้นก็ควรจะไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกที เพื่อความปลอดภัย

อาหารติดคอเคลมประกันได้มั้ย | ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล | รู้ใจ

อาหารติดคอหรือสำลักอาหาร เคลมประกันได้มั้ย?

หากผู้ป่วยมีประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลอยู่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ และที่รู้ใจมีประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่รู้ใจที่คุ้มครองอาการอาหารติดคอเมื่อพิสูจน์ได้ เพราะอาหารติดคอ เกิดจากความไม่ตั้งใจและเป็นเหตุไม่คาดคิดซึ่งถือเป็นอุบัติเหตุ

วิธีปฐมพยาบาล อาหารติดคอเมื่อเราอยู่คนเดียว

กรณีที่เรารับประทานอาหารอยู่คนเดียว แล้วเกิดการสำลักอาหาร หรืออาหารติดคอ อยู่คนเดียวขึ้นมา เราควรเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลด้วยตัวเอง ดังนี้

  1. กำมือข้างหนึ่ง และวางกำมือนั้นบริเวณเหนือสะดือ และให้ใช้มืออีกข้างมากุมมือที่กำไว้
  2. ออกแรงกระทุ้งในแนวงัดขึ้นแรง ๆ เพื่อให้เกิดแรงดันจนร่างกายดันสิ่งแปลกปลอมให้หลุดออกมา
  3. ให้ออกแรงกระทุ้งไปเรื่อย ๆ จนกว่าอาหาร หรือสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา
  4. ควรออกไปหาคนมาช่วย หรือโทร 1669 เรียกหน่วยกู้ชีพฉุกเฉิน
  5. หากอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือเป็นคนที่อ้วนมาก ๆ ให้เปลี่ยนตำแหน่งจากเหนือสะดือ มาที่เหนือลิ้นปี่แทน โดยวางมือบริเวณร่องอก แล้วออกแรงกระทุ้งแรง ๆ

วิธีปฐมพยาบาล อาหารติดคอให้คนอื่น ๆ

เมื่อเรารับประทานอาหารกับเพื่อ ครอบครัว หรือกับคนอื่น ๆ แล้วเกิดเหตุการณ์อาหารติดคอ ทํายังไงดี? สิ่งที่ควรทำคือการตั้งสติให้มั่น อย่าลนลาน แล้วปฐมพยาบาลให้คนอื่น ดังนี้

  1. ยืนข้างหลังผู้ป่วย ใช้แขนทั้งสองข้างโอบรอบเอวผู้ป่วย
  2. กำหมัดข้างหนึ่ง วางบริเวณเหนือสะดือ
  3. ใช้มืออีกข้างจับมือที่กำหมัดไว้ และทำการอัดเข้าท้องแรง ๆ เร็ว ๆ ขึ้นไปข้างบน คล้าย ๆ กำลังจะยกตัวผู้ป่วยขึ้น
  4. กระทุ้งท้องซ้ำ ๆ แบบนี้หลาย ๆ ครั้ง จนกว่าอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา
  5. โทรหาหน่วยกู้ชีพ 1669 เพื่อช่วยเหลือและนำส่งโรงพยาบาลต่อไป
  6. กรณีที่ผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้รีบทำ CPR ร่วมด้วย

การช่วยเหลือผู้ที่มีอาการอาหารติดคอ ควรเร่งช่วยเหลือโดยด่วน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่ได้ นั่นหมายความว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดที่หลอดลม หรือโทรหาหน่วยกู้ชีพ แต่ทางที่ดีนั้น ควรระมัดระวังขณะรับประทานอาหาร ไม่ต้องรีบ เลี่ยงการพูดคุย หรือหัวเราะระหว่างเคี้ยว หรือรับประทานอาหาร จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างรับประทานอาหารได้

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ไม่ว่ากับใครก็ตาม หรือแม้กระทั่งตอนกินข้าวก็อาจสำลักหรืออาหารติดคอได้ และไม่ว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะเล็กน้อยแค่ไหน ก็อาจนำไปสู่ความรุนแรงถึงกับชีวิตได้ การมีประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลติดไว้ จะช่วยคุณในเรื่องของการเงินในวันที่เกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิด เมื่อได้รับความคุ้มครองแล้วก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินค่ารักษาเมื่อเกิดอุบัติเหตุ สบายใจได้ไม่กระทบเงินเก็บ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่รู้ใจ คุณสามารถเลือกความคุ้มครองเองได้ตามไลฟ์สไตล์ ง่าย สะดวก ซื้อออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ:

อาหารติดคอ อาการที่มีอาหารหรือสิ่งกีดขวางที่กินเข้าไปแล้วไปขัดอยู่บริเวณลำคอ ไม่ลงไปตามหลอดอาหาร
อุบัติเหตุ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด มักใช้เฉพาะกับเหตุร้ายที่บังเอิญเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นกระทันหัน
ปฐมพยาบาล การปฏิบัติเบื้องต้นเมื่อฉุกเฉินตามวิธีทางการแพทย์ก่อนลงมือรักษาพยาบาล เพื่อช่วยชีวิต ลดความรุนแรงของอาการหรือการบาดเจ็บ และบรรเทาความเจ็บป่วย
ความประมาท การกระทำโดยไม่เจตนา แต่ทำโดยปราศจากความระมัดระวังและความรอบคอบ