เรื่องของมะเร็งใครได้ยินหรือได้ฟังก็มีแต่จะจิตตก ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ในสมัยนี้จะล้ำหน้าไปอย่างมาก มีทางเลือกหลากหลายในการรักษาโรคมะเร็งให้หายขาดได้ ทั้งการผ่าตัด การรักษาแบบมุ่งเป้า การใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด การฉายแสงมะเร็ง การทำคีโม แต่การที่มีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคร้ายคงจะดีที่สุด และการมีประกันมะเร็งเผื่อไว้ยามฉุกเฉิน ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่หากต้องทำการผ่าตัดและรักษาด้วยเคมีและฉายแสง จะได้หมดกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล
- การฉายแสงมะเร็ง คืออะไร?
- ประเภทของรังสีมีทั้งหมดกี่ประเภท?
- การฉายแสงมะเร็งทำได้ที่ตำแหน่งใดบ้าง?
- โรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านการรักษามะเร็งในประเทศไทย
- สิทธิบัตรทองรักษาด้วยการฉายแสงมะเร็งได้ที่ไหนบ้าง?
- หลังจากฉายแสงมะเร็งแล้ว ต้องติดตามอาการหรือไม่?
- แนะนำการดูแลผิวหลังจากฉายแสงมะเร็ง
วันนี้รู้ใจได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาด้วยการฉายแสงมะเร็ง เรามาทำความเข้าใจถึงการรักษามะเร็งด้วยการฉายรังสีว่าคืออะไร สามารถทำส่วนไหนบ้าง และแน่นอนว่า การรักษามันอาจจะตามมาด้วยผลข้างเคียง ผลข้างเคียงจากการฉายแสงมะเร็งมีอะไรบ้าง และโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญในการรักษามะเร็งที่ดีที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งสิทธิบัตรทองต่าง ๆ สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ที่ไหนบ้าง และ ประกันมะเร็งของรู้ใจคุ้มครองมะเร็งชนิดใดและระยะใดบ้าง
การฉายแสงมะเร็ง คืออะไร?
การฉายแสง หรือบางครั้งเรียก การฉายรังสีรักษามะเร็ง เป็นประเภทหนึ่งของรังสีรักษา หรือ Radiotherapy ที่มักนิยมใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยการใช้รังสีพลังงานสูง ฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนของเซลล์มะเร็งนั้น การรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีนั้น แพทย์ต้องประเมินระยะของโรค ชนิดของมะเร็ง และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
ประเภทของรังสีมีทั้งหมดกี่ประเภท?
สำหรับการรักษามะเร็งด้วยการฉายรังสีมีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่
1. การฉายรังสีรักษามะเร็งระยะไกลจากภายนอก (External Beam Radiotherapy)
เป็นการฉายรังสีพลังงานสูงจากเครื่องฉาย สามารถปรับระดับความเข้มข้นของรังสีได้ตามความหนาและขนาดของก้อนมะเร็ง หรือเรียกว่า Intensity Modulated Radiation Therapy (MRT) ซึ่งจะช่วยลดผลข้างเคียงต่ออวัยวะปกติรอบ ๆ ที่ผ่านชั้นผิวหนังมาสู่ตัวของก้อนมะเร็ง โดยเน้นปริมาณของรังสีไปที่ก้อนมะเร็ง และเลี่ยงไม่ให้ไปโดนอวัยวะปกติหรือให้ได้รับรังสีน้อยที่สุด
2. การฉายรังสีรักษามะเร็งระยะใกล้ (Brachytherapy)
เป็นการฝังแร่กัมมันตรังสีเข้าไปในตัวก้อนมะเร็งโดยตรง หรือให้ใกล้ก้อนมะเร็งมากที่สุด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
- การฝังแร่ถาวร เป็นการฝังแร่ต้นกำเนิดของรังสีซึ่งมีขนาดเล็ก และให้ปริมาณรังสีต่ำในก้อนมะเร็งแบบถาวร มักนิยมใช้วิธีนี้กับการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
- การฝังแร่ชั่วคราว เป็นการฝังแร่ต้นกำเนิดของรังสีใกล้ ๆ กับก้อนมะเร็ง หรือฝังในก้อนมะเร็งแต่เป็นแบบชั่วคราว โดยแร่ที่ฝังไปนั้นจะให้อัตราปริมาณของรังสีในปริมาณสูง มักจะใช้รักษามะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งต่อมลูกหมาก
การฉายแสงมะเร็งทำที่ตำแหน่งใดได้บ้าง?
1. ฉายแสงมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ
เพื่อใช้รักษามะเร็งสมอง มะเร็งโพรงจมูกและไซนัส มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งในช่องปาก มะเร็งในลำคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งต่อมน้ำลายและไทรอยด์
ผลข้างเคียง
- ผิวหนังแดงคล้ำและแห้งคัน
- มีอาการเจ็บคอ ปากแห้ง หรือการรับรสผิดปกติ
- อ่อนเพลีย
2. ฉายแสงมะเร็งบริเวณทรวงอก
ใช้รักษามะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งระบบน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม
ผลข้างเคียง
- ผิวหนังแดงคล้ำและแห้งคัน
- เกิดการเจ็บขณะกลืน
- มีอาการไอแห้งเล็กน้อย
- อ่อนเพลีย
3. ฉายแสงมะเร็งบริเวณช่องท้อง
ใช้รักษามะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งไต และมะเร็งระบบน้ำเหลืองบริเวณช่องท้อง
ผลข้างเคียง
- ผิวหนังแดงคล้ำและแห้งคัน
- มีอาการคลื่นไส้ พะอืดพะอมหลังจากฉายแสงมะเร็ง 2-3 ชั่วโมง
- ท้องเสีย หลังจากฉายแสงมะเร็งได้ 2-4 สัปดาห์
- อ่อนเพลีย
4. ฉายแสงมะเร็งบริเวณท้องน้อย
ใช้รักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งมดลูก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก
ผลข้างเคียง
- ผิวหนังแดงคล้ำและแห้งคัน
- มีอาการปวดเล็กน้อยหรือปัสสาวะถี่
- ท้องเสียหรือมีอาการปวดเบ่ง
- ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระได้น้อยหลังจากการฉายแสงมะเร็งได้ 2-4 สัปดาห์
- อ่อนเพลีย
นอกจากอาการดังกล่าวแล้ว ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการฉายแสงจะมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง หากกลับมาพักรักษาตัวที่บ้าน ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ลื่นล้มในห้องน้ำ หรือตกบันได เนื่องจากความอ่อนเพลียได้
แนะนำการดูแลผิวหลังจากฉายแสงมะเร็ง
หลังจากการรักษาด้วยการฉายแสงมะเร็ง ผู้ป่วยอาจเกิดอาการข้างเคียงดังที่ได้กล่าวไป รู้ใจมีเคล็ดลับในการดูแลตัวเองมาฝาก สำหรับผู้ป่วยที่เกิดอาการแสบ ๆ คัน ๆ ทางผิวหนัง
- ให้ผิวบริเวณที่ถูกฉายรังสีโดนอากาศให้มากที่สุด แต่เลี่ยงแสงแดด สามารถเปิดน้ำให้ไหลผ่านบริเวณที่ถูกฉายแสงได้ และต้องซับให้แห้งทุกครั้ง ห้าม ใช้สบู่ น้ำหอม เครื่องสำอาง หรือเเป้ง ทาบริเวณที่ฉายรังสี
โรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านการรักษามะเร็งในประเทศไทย
จริง ๆ แล้วโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญเรื่องการรักษามะเร็งในประเทศไทยมีอยู่เยอะมาก ๆ แต่มีเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็น โรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในด้านการรักษาโรคมะเร็ง ประจำปี 2566 คือ ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับการจัดอันดับโดย Newsweek และ Statista
ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน ให้ความสำคัญด้วยการยกระดับคุณภาพการดูแลเชิงป้องกันมะเร็ง การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่อง โรคมะเร็งถือเป็นโรคร้ายแรงที่มีความซับซ้อนและต้องการการดูแลแบบเฉพาะบุคคล พร้อมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน บวกกับเทคโนโลยีในการรักษาที่ล้ำสมัย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นหนึ่งในเครือโรงพยาบาลที่เป็นพันธมิตรกับรู้ใจ หมดห่วง คลายกังวลไปได้ หากได้รับการรักษาที่ดีด้วยฝีมือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
และอุ่นใจได้หากคุณทำประกันมะเร็งติดไว้ เพราะประกันจะช่วยค่ารักษาพยาบาลให้คุณเข้าถึงการรักษามะเร็งที่คุณเลือกเองได้ แต่ต้องมั่นใจว่าทุนประกันเพียงพอ ที่รู้ใจมีประกันมะเร็ง เจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 3 ล้านบาท ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางไปหาหมอ ค่าบ้าน ค่ารถ เงินก้อนก็ครอบคลุม ให้คุณบริหารค่าใช้จ่ายเองได้ไม่กระทบเงินเก็บ
สิทธิบัตรทองรักษาด้วยการฉายแสงมะเร็งได้ที่ไหนบ้าง?
ผู้ป่วยที่มีสิทธิบัตรทอง หากอยู่ต่างจังหวัดสามารถเช็ครพ.ที่รักษาด้วยการฉายรังสี และสำหรับผู้ป่วยในกรุงเทพฯ สามารถรับการรักษาได้ที่
- โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
- โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- โรงพยาบาลศิริราช
- โรงพยาบาลราชวิถี
- โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
- โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งกรุงเทพขนาดเล็ก
- สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
- โรงพยาบาลวัฒโนสถโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็งขนาดกลาง (เอกชน)
หลังจากฉายแสงมะเร็งแล้ว ต้องติดตามอาการหรือไม่?
หลังครบคอร์สการฉายรังสี ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องดูแลตัวเองให้เหมือนกับช่วยฉายรังสีต่อไปอีก 2-3 สัปดาห์ โดยแพทย์จะทำการนัดให้มาตรวจติดตามอาการประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังจากเสร็จจากการฉายรังสี และจะนัดตรวจทุก 1-3 เดือน แล้วแต่ชนิดและขั้นตอนในการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งการติดตามผลแพทย์จะค่อย ๆ นัดให้ห่างขึ้นจนกระทั่ง 5 ปี หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคแล้ว ก็จะนัดให้ห่างออกไปเป็นปีละครั้งตลอดชีวิต
การเป็นโรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนที่เรารัก แต่หากเกิดขึ้นแล้วควรไปพบแพทย์ เผชิญหน้ากับการรักษา ไม่ว่าด้วยการผ่าตัด คีโม ฉายแสงมะเร็ง หรือวิธีอื่น ๆ ดูแลตัวเอง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด นอกจากนั้นการทำประกันมะเร็งติดไว้จะช่วยให้หมดห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาลในวันที่เป็นโรคร้ายและเลือกโอกาสการรักษาที่ดีกว่าให้กับตัวเราและคนที่เรารักได้
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
ระยะของโรค | ระยะของโรคเป็นระยะที่พยาธิสภาพของโรคเกิดขึ้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางลักษณะและหน้าที่ของส่วนต่างตามร่างกายและตามชนิดของโรค |
อาการปวดเบ่ง | เป็นอาการเหมือนปวดเวลาอยากถ่ายอุจจาระ แต่พอถ่ายไปแล้วรู้สึกว่ายังไม่สุด ทำให้ต้องเพิ่มแรงในการเบ่ง จึงเรียกว่า ปวดเบ่ง |