Roojai

รับมือโรคลมชัก วิธีสังเกตุอาการก่อนเริ่มชัก และวิธีรักษา

วิธีการรับมือโรคลมชัก | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

โรคลมชักเป็นโรคที่สามารถพบได้ในทุกเพศและทุกวัย โดยตรวจพบได้ประมาณ 1% ของประชากรไทยทั้งหมด หรือประมาณ 6 แสนคน โดยอาการของโรคลมชักจะพบได้หลากหลาย และถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะเคยได้ยินโรคลมชัก แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจถึงโรคนี้ ซึ่งในบทความนี้ รู้ใจได้นำข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับโรคลมชักมาฝากกัน สาเหตุของการเกิด วิธีป้องกัน และพร้อมวิธีรับมือหากพบเห็นคนเป็นลมชัก

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

โรคลมชักคืออะไร?

โรคลมชัก เป็นโรคที่เกิดจากกลุ่มอาการชักที่มีสาเหตุมาจากการที่สมองส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดทำงานมากจนเกินไปชั่วขณะ ทำให้เกิดความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนกลาง ไฟฟ้าของการชักจะเกิดขึ้นและแพร่กระจายออกไปยังบริเวณส่วนต่าง ๆ ในสมอง อาการของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าสมองส่วนไหนที่ได้รับการกระตุ้น

ลมชัก VS ลมบ้าหมู เหมือนหรือต่างกัน?

ลมชักและลมบ้าหมู ทั้งสองคำนี้เป็นโรคเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันตามความหมายทางการแพทย์ กล่าวคือ ลมบ้าหมูเป็นการชักรูปแบบหนึ่งของอาการลมชักเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงโรคลมชักทั้งหมดทุกรูปแบบ โดยการชักโรคลมบ้าหมู จะมีอาการกระตุก เกร็ง หมดสติ กัดลิ้น เป็นต้น 

โรคลมชักเกิดจากอะไร?

โรคลมชักเกิดจากหลากหลายสาเหตุ เช่น  

  • ความผิดปกติทางโครงสร้างสมอง เช่น เป็นแผลบริเวณฮิปโปแคมปัส หรือมีเนื้องอกในสมอง
  • เกิดจากพันธุกรรม
  • เกิดจากการติดเชื้อ เช่น ไข้สมองอักเสบ แบคทีเรีย หรือการติดเชื้อโปรโตซัว (พยาธิในสมอง)
  • เกิดจากภาวะเมตตาบอลิซึ่ม ความไม่สมดุลของสารน้ำ หรือเกลือแร่และน้ำตาล
  • เกิดจากภูมิคุ้มกันของตนเองจากการเจ็บป่วยบางโรค
  • สาเหตุสุดท้าย คือ ไม่ทราบเหตุแน่ชัด เช่น โรคลมชักที่ไม่พบรอยของโรคในสมอง เป็นต้น

อาการโรคลมชักมีกี่แบบ?

ชนิดของอาการโรคลมชักที่พบได้บ่อย คือ 

  • อาการชักเฉพาะที่ (ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว) 
  • อาการชักแบบเหม่อลอย โดยมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ทำปากขมุบขมิบ มือมีอาการสั่นเกร็ง หรือบางรายอาจมีอาการพูดไม่ได้ไปชั่วขณะ
  • อาการชักแบบเกร็งและกระตุกทั้งตัว เป็นชนิดที่พบได้บ่อย โดยช่วงเวลาของการชักจะนาน 2-3 นาทีแล้วก็หายไป
  • อาการชักแบบเหม่อนิ่ง อาการชักเช่นนี้พบได้มากในเด็กและมักเกิดขึ้นในระยะสั้นๆ

มีวิธีวินิจฉัยโรคลมชักยังไง?

  • X-Ray ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมองเพื่อค้นหาความผิดปกติ
  • การใช้เครื่อง PET Scan และ SPECT
  • การตรวจเลือดหาสาเหตุที่อาจเกิดจากพันธุกรรม
วิธีสังเกตุอาการโรคลมชัก | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

โรคลมชักมีวิธีรักษายังไง?

โรคลมชักสามารถแบ่งการรักษาใหญ่ ๆ ออกได้ 2 วิธี คือ การใช้ยากันชักอย่างเดียว หรือการใช้ยากันชักร่วมกับวิธีรักษาแบบอื่น เช่น การผ่าตัด การใช้โภชนาการสูตรพิเศษแบบคีโตเจนิค (Ketogenic Diet) การกระตุ้มสมองด้วยไฟฟ้า หากผู้ป่วยปฏิบัติตัวอย่างดีและดูแลเรื่องอาหารการกิน อาจไม่จำเป็นต้องรับประทานยาแก้ลมชักไปตลอดชีวิตก็เป็นได้ 

โดยสำหรับคนที่ต้องกินยา จำเป็นต้องรับประทานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และไม่ควรรับประทานยากันชักพร้อมกับนมหรืออาหาร เพราะอาหารหรือนมจะไปรบกวนการดูดซึมของตัวยาทำให้ยารักษาโรคลมชักออกฤทธิ์ไม่เต็มประสิทธิภาพ 

โรคลมชักสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?

หากแพทย์ตรวจพบสาเหตุที่แท้จริง ก็อาจมีวิธีรักษาโรคลมชักให้หายขาดได้ และทำให้ผู้ป่วยหายและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ แต่ในบางกรณีที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ ก็ต้องรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น และผู้ป่วยเองก็ต้องหมั่นสังเกตตัวเองด้วย เพื่อเป็นข้อมูลให้กับแพทย์ประกอบการรักษาที่ถูกต้อง 

ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักต้องกินยาไปตลอดชีวิตมั้ย?

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า หากผู้ป่วยดูแลตัวเองดี โภชนาการถูกต้องเหมาะสม ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง ก็อาจไม่จำเป็นต้องทานยาไปตลอดชีวิตก็ได้ แต่ในกรณีที่ต้องทานยาแก้ลมชักไปตลอดชีวิตนั้นอาจเพราะผู้ป่วยบางรายไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ 

วิธีรักษาโรคลมชัก | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

วิธีรับมือเมื่อพบเห็นผู้เป็นลมชัก

หากบังเอิญไปประสบพบเจอคนเป็นลมชักกลางถนน คุณสามารถช่วยพวกเขาได้ โดยการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการชักทำตามดังนี้ 

  • ประคองผู้ป่วยให้นอนบนเตียงและระวังไม่ให้พลัดตก
  • จับหน้าเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้น้ำลายไหลออกป้องกันการสำลัก
  • ไม่ควรใช้นิ้วหรือช้อนใส่เข้าไปในปากเพื่อกันผู้ป่วยกัดลิ้น เพราะอาจเพิ่มโอกาสทำให้ฟันหัก หรือเกิดการสำลักและลงปอดได้
  • ในกรณีที่มีการชักนานเกินกว่า 5 นาที ควรเรียกรถพยาบาล (โทร 1669) เพื่อนำตัวส่งโรงพยาบาลและทำการรักษา

วิธีการป้องกันโรคลมชัก

วิธีการป้องกันโรคลมชักที่ดีที่สุดคือ การที่ตัวเองรู้ว่าตัวเองเป็นโรคลมชัก และรีบทำการรักษาในระยะแรก จะช่วยป้องกันไม่ให้สมองถูกทำลาย และสามารถกลับมาทำงานหรือใช้ชีวิตได้ตามปกติ พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง คือ การอดนอน การออกกำลังกายที่มากจนเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นชั้นดีให้อาการลมชักกำเริบขึ้นได้ 

โรคลมชักสามารถควบคุมได้ด้วยการรับการรักษาที่เหมาะสมและการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยต้องใส่ใจกับตัวเองอย่างจริงจัง ทั้งเรื่องของการทานยาแก้ลมชัก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงการหมั่นสังเกตอาการ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างอุ่นใจ โดยไม่ต้องคอยระแวงอาการป่วย 

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai) 

คำจำกัดความ

ระบบประสาทส่วนกลาง เป็นระบบประสาทที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของระบบอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและกระดูก
Ketogenic Diet “คีโตเจนิค ไดเอท” เป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นการบริโภคไขมันในปริมาณสูง โปรตีนปานกลาง และคาร์โบไฮเดรตต่ำมาก