Roojai

นอนกรนแบบไหนเป็นอันตราย? เรื่องใกล้ตัวเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ

เช็คอันตรายจากการนอนกรน | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

อาการนอนกรนอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย และไม่เพียงแต่คนที่มีน้ำหนักเกิน หรือคนอ้วนเท่านั้นที่นอนกรน ในคนที่มีรูปร่างสมส่วนก็สามารถนอนกรนได้เช่นกัน สาเหตุสำคัญของการกรน คือ โรคความดันโลหิต เบาหวาน โรคหัวใจ โรคนอนกรน และโรคอ้วน

สาเหตุการนอนกรนคืออะไร?

เสียงกรนเกิดจากการที่อากาศเคลื่อนตัวผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง โดยเฉพาะในคนอ้วน หรือคนที่มีโครงสร้างใบหน้าที่มีลักษณะคางสั้น ส่งผลให้ทางเดินหายใจส่วนต้นบริเวณโคนลิ้นและเพดานปากหย่อนลง และตกลงไปปิดกั้นทางเดินหายใจ จึงทำให้เกิดเสียงกรนจากการที่ร่างกายพยายามให้แรงดันอากาศผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบ โดยเฉพาะในท่านอนหงาย

นอนกรนอันตรายมั้ย?

อาการนอนกรนสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ โดยพบได้ร้อยละ 30 ในเพศชาย และอีกร้อยละ 15 ในเพศหญิง การนอนกรนธรรมดาหรือเพียงบางครั้งจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่ในผู้ที่นอนกรนเป็นประจำ หรือนอนกรนมากกว่า 3 คืน/สัปดาห์ และมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย จะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์

นอนกรนแบบไหนที่เป็นอันตราย?

อาการนอนกรนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับภาวะการหยุดหายใจในขณะหลับ ซึ่งสามารถสังเกตได้จาก อาการดังต่อไปนี้

  • เสียงกรนดังมาก
  • มีการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ระหว่างการหลับ
  • มีอาการเหมือนสำลักน้ำลายขณะหลับ หรือเหมือนหายใจไม่ออก
  • อ่อนเพลีย หรือง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน
  • ขาดสมาธิ
  • ความจำไม่ดี หรือมีอาการปวดหัวในตอนเช้า
  • ปากแห้ง คอแห้ง หรือนอนกรนแล้วรู้สึกเจ็บคอเมื่อตื่นขึ้นมา
  • ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
  • กัดฟันขณะนอนหลับ
  • เจ็บหน้าอกในช่วงกลางคืน
  • ความดันโลหิตสูง

หยุดหายใจขณะหลับ เป็นยังไง อันตรายหรือไม่?

อาการนอนกรนเป็นหนึ่งในอาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในคนไทย โดยเฉพาะผู้ชายอายุมากกว่า 35 ปี ซึ่งพบได้ถึง 60% ปัญหานี้เกิดจากกล้ามเนื้อเพดานอ่อนหย่อนยาน ส่งผลให้ทางเดินหายใจตีบแคบลง จนเกิดการหยุดหายใจเป็นระยะ ๆ ขณะหลับ และทำให้นอนกรนดังมาก ปัญหานี้ไม่เพียงแค่รบกวนคุณภาพการนอนของตัวเองและคนรอบข้าง แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงอย่างความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น หากคุณหรือคนใกล้ชิดกำลังประสบปัญหานี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาโดยเร็ว

สาเหตุการนอนกรน | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

ใครมีความเสี่ยงนอนกรนบ้าง?

บางคนอาจมีอาการนอนกรนโดยที่ไม่รู้ตัว จนนอนกับเพื่อนหรือพ่อ-แม่ สามี-ภรรยา จึงทราบว่ามีอาการนอนกรน มาดูว่าแล้วใครบ้างที่มีความเสี่ยงนอนกรน เพื่อที่เราจะได้เช็คตัวเองว่าเรานอนกรนหรือไม่ อาการนอนกรนที่เป็นอันตรายมั้ย ดังนี้

  1. คนที่มีน้ำหนักเกิน ในผู้ที่มีน้ำหนักมาก หรือคนอ้วน จะมีทางเดินหายใจส่วนบนแคบกว่าผู้ที่มีรูปร่างปกติและน้ำหนักปกติ
  2. คนที่มีริดสีดวงจมูกหรืออาการของโรคภูมิแพ้บริเวณจมูกทำให้นอนกรนได้
  3. คนที่มีสันจมูกเบี้ยวหรือคด รูปหน้าหรือคางผิดปกติ เช่น คางเล็ก หรือ คางหลุบ
  4. คนที่มีต่อมทอนซิลโตและไปขวางทางเดินหายใจ
  5. คนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่เป็นประจำ
  6. คนที่รับประทานยาที่ทำให้มีอาการง่วง เช่น ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ และยาคลายเครียด
  7. ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทองหรือภาวะหมดประจำเดือน และผู้หญิงตั้งครรภ์

ในคนที่มีน้ำหนักเกิน หรือคนที่มีภาวะโรคอ้วน นอกจากเสี่ยงนอนกรนแล้วยังมีความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงอื่น ๆ ด้วย การรักษานอนกรนเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ แต่การเสี่ยงโรคร้ายแรงอาจเสี่ยงถึงชีวิต โดยในคนที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนมีความเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง จนถึงโรคมะเร็ง เป็นต้น นอกจากการควบคุมน้ำหนักเพื่อลดความเสี่ยงแล้ว การทำประกันโรคร้ายแรงก็จะช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินในวันที่คุณป่วย ให้เข้าถึงการรักษาที่เลือกได้อีกด้วย

อาการนอนกรนวินิจฉัยยังไง?

แพทย์จะทำการซักประวัติคนไข้ รวมไปถึงครอบครัวและผู้ใกล้ชิด ประกอบกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ในบางรายแพทย์อาจต้องทำการเจาะเลือดตรวจทางรังสีและการตรวจการนอนหลับ เพื่อทำการทดสอบว่าผู้ป่วยมีภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วยหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่การนอนกรนธรรมดา

แก้ปัญหานอนกรน | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

แก้ปัญหานอนกรนทำยังไงได้บ้าง?

อาการนอนกรนที่ไม่รุนแรงมาก สามารถลองปรับพฤติกรรมต่อไปนี้เพื่อแก้นอนกรนได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  1. ปรับเปลี่ยนท่านอนให้ศีรษะอยู่สูงกว่าลำตัว เพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจให้สะดวกขึ้น
  2. รักษาน้ำหนักให้ได้ตามมาตรฐาน การมีน้ำหนักเกินพอดีเป็นสาเหตุหนึ่งของการนอนกรน
  3. งดการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ สารเคมีในบุหรี่และแอลกอฮอล์จะทำให้กล้ามเนื้อคอหย่อนลง
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยให้น้ำหนักคงที่ และกล้ามเนื้อแข็งแรง
  5. ปรับการนอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน การนอนไม่พอจะทำให้รู้สึกง่วงในเวลากลางวัน
  6. หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้ง่วงนอน ยาเหล่านี้จะทำให้กล้ามเนื้อคอผ่อนคลายมากเกินไป

อาการนอนกรนรักษายังไง?

ในเรื่องของแก้ปัญหานอนกรน สามารถทำให้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ การรักษาจะทำได้โดยวิธีการผ่าตัด และแบบไม่ต้องผ่าตัด และติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง

การรักษานอนกรนแบบไม่ต้องผ่าตัด

  • ลดน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • งดการดื่มสุราและสูบบุหรี่
  • ใช้อุปกรณ์ช่วยให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น หรือไม่อุดกั้นขณะหลับ เช่น เครื่องอัดอากาศ หรือใส่ฟันยางขณะหลับ

การรักษานอนกรนโดยการผ่าตัด

การรักษาโดยการผ่าตัดจะใช้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางกายวิภาค จนทำให้เกิดอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด ริดสีดวงจมูก ต่อมอดีนอยด์โต รวมถึงในผู้ป่วยที่รักษาโดยไม่ผ่าตัดแล้วไม่ได้ผล

อาการนอนกรนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป หากเกิดขึ้นบางครั้งบางคราวก็ไม่อันตราย แต่เราต้องรู้ว่าอาการนอนกรนที่เราเป็นมันอันตรายจนต้องไปพบแพทย์หรือไม่ เพราะมีความเสี่ยงที่จะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้ การสังเกตตัวเอง คนที่เรารัก และไม่เมินเฉยอาการเจ็บป่วยก็จะพาเข้าสู่กระบวนการรักษาที่เร็ว และลดความเสี่ยงโรคร้ายหรือความอันตรายต่อร่างกายและชีวิตอีกด้วย

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ฟันยาง เครื่องมือทันตกรรมที่ทำด้วยซิลิโคน มีความอ่อนนุ่ม สวมเพื่อปกป้องฟัน สามารถช่วยรักษาอาการนอนกรนให้ดีขึ้นได้
เครื่องอัดอากาศ เครื่องอัดแรงดันอากาศผ่านทางจมูกหรือปาก เปิดช่องทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้อย่างเพียงพอ เป็นการรักษาที่เห็นผลดีวิธีหนึ่งในการรักษานอนกรน