เรื่องของเกาต์เป็นเรื่องที่เราควรมีความรู้ติดตัวเอาไว้บ้าง เพราะเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิง บางคนเอามาแซวเล่นเป็นเรื่องตลก แต่ทราบหรือไม่ว่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์บางคนมีอาการปวดทรมานมากจนไม่สามารถลงน้ำหนักหรือใช้งานอวัยวะข้างที่ปวดได้เลย ฉะนั้นเรื่องของเกาต์อาจจะไม่ใช่เรื่องล้อเล่นของเราอีกต่อไป มาทำความรู้จักโรคเกาต์ เพื่อป้องกันตัวเองให้ห่างไกลโรคนี้กันดีกว่า
- โรคเกาต์ คืออะไร?
- โรคเกาต์เกิดจากอะไร?
- ระดับยูริกในเลือดสูงเกิดจากอะไร?
- โรคเกาต์ อาการเป็นยังไง?
- โรคเกาต์วินิจฉัยยังไง?
- โรคเกาท์มักจะเกิดในเพศชายมากกว่าจริงมั้ย?
- โรคเกาต์รักษายังไง?
- วิธีป้องกันโรคเกาต์
- ประกันแบบไหนที่คุ้มครองโรคเกาต์?
โรคเกาต์ คืออะไร?
โรคเกาต์ Gout เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคข้ออักเสบทั้งหมด เป็นโรคข้ออักเสบจำเพาะ โรคเกาต์ เกิดจากร่างกายมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้มีการตกผลึกยูเรต (Monosodium Urate : MSU) ในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบของข้อขึ้น และหากมีการตกตะกอนในเนื้อเยื่อต่าง ๆ และใต้ผิวหนัง จะทำให้เกิดก้อนตะปุ่มตะป่ำตามตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่า โทฟัส
โรคเกาต์เกิดจากอะไร?
โรคเกาต์เกิดจากการที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จนเกิดเป็นผลึกสะสมอยู่ในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบ บวม และปวดอย่างรุนแรง เพราะกรดยูริกเปรียบเสมือนของเสียในร่างกายที่เหลือ จากการกำจัดเซลล์ที่หมดอายุลง โดยปกติแล้ว ร่างกายของแต่ละคนจะมีกรดยูริกอยู่ประมาณ 80% ส่วนอีก 20% จะได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไปในแต่ละมื้อ
ระดับยูริกในเลือดสูงเกิดจากอะไร?
- การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกอยู่สูง – เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มหวาน ๆ ที่มีการเติมน้ำตาลฟรุกโตส เป็นต้น
- เกิดจากอาการเจ็บป่วยที่มีผลต่อการสร้างเซลล์ – เช่น โรคมะเร็ง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย โรคสะเก็ดเงิน
- เกิดจากการเจ็บป่วยที่ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างกรดยูริก – อาการเจ็บป่วยบางชนิด มีส่วนไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิตกรดยูริกออกมาเกินความจำเป็น ขณะเดียวกันก็ลดความสามารถในการกำจัดกรดยูริกนั้นออกจากร่างกาย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไต
- เกิดจากการรับประทานยาบางตัว – การใช้ยารักษาโรคบางชนิดส่งผลให้ไตขับกรดยูริกออกมาทางปัสสาวะได้น้อยลง
โรคเกาต์ อาการเป็นยังไง?
สำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ อาการมักจะมีการปวด บวมแดง หรือร้อนบริเวณข้ออย่างฉับพลัน และมักจะเริ่มจากข้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า หรือกับข้ออื่น ๆ เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ซึ่งอาการก็จะเป็น ๆ หาย ๆ ในระยะแรกโรคเกาต์ที่ไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างถูกต้อง อาการอักเสบจะรุนแรงกว่าผู้ที่ทำการรักษา จะปวดมากกว่า และปวดถี่ขึ้นและนานมากขึ้น จนกลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะอื่นแทรกซ้อนและโรคร้ายแรงจากเกาต์ตามมา เช่น โรคไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวาย
เราไม่รู้ว่าในวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น เราอาจเป็นโรคก่อน เช่น เกาต์ เบาหวาน แล้วยังจึงรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคร้ายแรงขึ้น แต่โรคร้ายแรงบางโรค เช่น มะเร็งก็อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัวได้เช่นกัน การมีประกันจะช่วยรับภาระค่าใช้จ่ายในวันที่ป่วย ประกันโรคร้ายแรงที่รู้ใจ เจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 3 ล้านบาท คุ้มครองมากว่า 80+ โรคร้าย
โรคเกาต์วินิจฉัยยังไง?
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคเกาต์ได้จากการตรวจร่างกาย และด้วยวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้
- เจาะน้ำในข้อที่มีอาการออกมาตรวจ – การเจาะน้ำในข้อที่มีอาการปวดออกมาตรวจดูว่ามีกรดยูริกหรือไม่ ถือว่าเป็นวิธีหลักในการตรวจวินิจฉัย โดยแพทย์จะเป็นคนพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเจาะ เพราะหากผู้ป่วยยังมีอาการปวดอย่างรุนแรง อาจจะยังไม่สมควรแก่การเจาะ อาจต้องจ่ายยาให้รับประทานเพื่อให้หายอักเสบก่อนถึงจะนัดมาเจาะน้ำอีกที
- เจาะเลือดเพื่อตรวจดูระดับกรดยูริก – เป็นการตรวจค่ายูริกว่ามีสูงมาก-น้อย มักนิยมตรวจในกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่พร้อมรับการเจาะน้ำในข้อ แต่ระดับกรดยูริกสูงก็ไม่ได้หมายความว่าเกิดการตกตะกอนเป็นผลึกในข้อเสมอไป
- ตรวจด้วยวิธี Dual Energy CT Scan – เป็นการตรวจแบบเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่ช่วยให้แพทย์เห็นผลึกของกรดยูริกที่ตกตะกอนอยู่ในข้อได้โดยไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำออกมาตรวจ แต่การตรวจแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับผู้ป่วยเกาต์ทุกคน แต่จะเหมาะสำหรับกรณีที่ผลึกจับตัวเป็นก้อนใหญ่เกินไปจนไม่สามารถเอกซเรย์เห็นได้ โดยแพทย์จะประเมินจากลักษณะข้อที่ผิดปกติ หรือจากระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น เป็น ๆ หาย ๆ มานานถึง 5-10 ปี เป็นต้น
โรคเกาท์มักจะเกิดในเพศชายมากกว่าจริงมั้ย?
คำตอบคือ จริง โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุดในเพศชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเป็นสัดส่วน 9:1 มักตรวจพบเพศชายที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี และในเพศหญิงช่วงวัยหมดประจำเดือนหรืออายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
โรคเกาต์รักษายังไง?
สำหรับการรักษาทำได้โดยการรับประทายานยาละลายผลึกยูริกแล้วให้ร่างกายขับออกมา เมื่อกรดยูริกในร่างกายลดลง อาการอักเสบของเกาต์ก็จะลดลงตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะช่วยลดอาการอักเสบแล้ว ยังเป็นการป้องกันการกลับมาสะสมใหม่และลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรค โดยการรักษาโรคเกาต์ในช่วงที่มีอาการอักเสบ มีดังนี้
- รับประทานยาแก้ปวดพาราเซตตามอลหรือยาแก้ปวดชนิดอื่นๆ
- ช่วงที่มีการอักเสบของข้อ สามารถใช้ยา Colchicine 0.6 mg. จนอาการปวดดีขึ้น และควรหยุด การใช้ยาทันทีที่ผู้ป่วยมีอาการท้องเสีย
- ให้ยาลดการอักเสบ
- ช่วงที่มีอาการปวด ให้พักและดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันการตกตะกอนของกรดยูริก
- นอนยกเท้าสูง ๆ
- เลี่ยงการยืนหรือเดินนาน ๆ
- ห้ามบีบ นวดข้อที่อักเสบ
วิธีป้องกันโรคเกาต์
สำหรับการป้องกันโรคเกาต์ สามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ด้วยการเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง และผู้ป่วยควรดูแลตัวเองดังนี้
- พบแพทย์ตามนัด และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
- เลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด แอลกอฮอล์ เน้นรับประทานโปรตีนจากผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ และผู้ป่วยควรศึกษาเรื่องอาหารโดยละเอียดว่า ผู้ป่วยโรคเกาต์ห้ามกินอะไร และอะไรบ้างที่ควรเลี่ยง
- คุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกิน และไม่ควรลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเพราะอาจเป็นการไปกระตุ้นให้เพิ่มระดับยูริกได้
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพื่อขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ
- หากมีอาการปวดเฉียบพลัน ให้พักการใช้ข้อที่อักเสบไว้ก่อน แล้วให้ใช้วิธีประคบเย็นช่วยบรรเทาอาการ
ผู้ป่วยโรคเกาต์ห้ามกินอะไร?
การควบคุมอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญของผู้ป่วยโรคเกาต์ เพราะจะช่วยลดอาการเจ็บ และทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข สิ่งที่ผู้ป่วยโรคเกาต์ห้ามกินเด็ดขาด ควรหลีกเลี่ยงอะไร และควรกินอะไร รู้ใจสรุปให้ดังนี้
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะทำให้กรดยูริกสูงขึ้น เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
- งดอาหารที่มีพิวรีนสูง หน่อไม้ สะเดา ยอดกระถิน เครื่องในสัตว์ เป็ด ไก่ เป็นต้น
- เลี่ยงการกินไขมันมาก เพราะทำให้การขับยูริกออกยากขึ้น
- กินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ พบมากในผักผลไม้ ช่วยลดอาการอักเสบ
- ดื่มน้ำเปล่า 2-3 ลิตรต่อวัน เพื่อช่วยการขับกรดยูริกผ่านทางปัสสาวะ
ประกันแบบไหนที่คุ้มครองโรคเกาต์?
- ประกันสุขภาพ ประกันกลุ่มบริษัท – หากใครที่มีประกันสุขภาพส่วนตัวอยู่ในมือ หรือแม้แต่ประกันกลุ่มของบริษัท สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลโรคเกาต์ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่มีประวัติเป็นโรคนี้มาก่อนการทำประกัน
- ประกันสังคม สิทธิ์บัตรทอง -สามารถพบแพทย์รักษาโรคเกาต์ได้ตามโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์ประกันสังคมเอาไว้
การรักษาเกาต์ นอกจากการใช้ยาแล้ว การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแลสุขภาพ เช่น การควบคุมอาหาร ดื่มน้ำ ออกกำลังกายก็จะช่วยทำให้ลดอาการเจ็บปวดจากโรคเกาต์ได้ และสำหรับคนที่มีอาการโรคเกาต์หรือคิดว่าตัวเองมีความเสี่ยง ควรรีบพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพราะโรคนี้สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น โรคไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะหรือไตวายได้
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
กรดยูริก | สารที่ได้จากหารสลายตัวของพิวรีนซึ่งร่างกายสรา้งขึ้น และอีกส่วนยังมาจากอาหารบางชนิดที่ทานด้วย |
การตกผลึกยูเรต | เกิดจากการที่มีระดับยูริกในเลือกสูงเป็นเวลานาน ๆ จึงเกิดจากตกตะกอนที่ชื่อว่า ยูเรต สะสามอยู่ตามข้อแล้วทำให้เกิดการอักเสบขึ้น |