ถ้าพูดถึงอาการติดหวานหรือภาวะเสพติดน้ำตาล (sugar blues) หลายคนคงไม่แน่ใจอาการของเราคือกำลังติดหวานอยู่หรือเปล่า? แต่ถ้าคุณเริ่มคิดถึงของหวานมาก ๆ อยากกินของหวานตลอดเวลา ลองมาเช็คกันดูว่า คุณมีอาการติดหวานจากการเป็นโรคร้ายหรือแค่เป็นคนชอบกินกันแน่
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้คนติดหวาน ก็เพราะความหวานจะเข้าไปกระตุ้นการหลั่งสารโดพามีนหรือฮอร์โมนแห่งความสุข ลองสังเกตตัวเองว่าเมื่อเราได้กินขนมหวาน ๆ หรือของที่มีรสชาติหวาน เรามักจะอารมณ์ดี นั่นก็เพราะฮอร์โมนเเห่งความสุขกำลังทำงานอยู่นั่นเอง แต่นอกจากความสุขเมื่อกินของหวาน หลังกินอาจเป็นความทุกข์ที่ไม่อยากจะคิดถึง เมื่อร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินกว่าความต้องการ จนอาจเสี่ยงเกิดโรคร้ายหลายโรค ไม่ใช่เพียงแค่โรคเบาหวานอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด เพราะโรคที่ตามมามีทั้งโรคอ้วน โรคมะเร็ง ไมเกรน และโรคร้ายอื่น ๆ วันนี้รู้ใจจะขอแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับอาการติดหวาน ทั้งในแง่ของพฤติกรรม อาการ และโรคร้ายที่ตามมา
อาการติดหวานเกิดจากอะไร?
ติดหวานหรือภาวะเสพติดน้ำตาล (sugar blues) แทบจะไม่แตกต่างจากคนที่ติดยาเสพติด เพราะการที่คนเราติดสารเสพติดนั้นก็เพราะสารนั้นทำให้เราเกิดความพึงพอใจหรือมีความสุข ทำให้เกิดการใช้ซ้ำและนำไปสู่ภาวะเสพติด เช่นเดียวกับอาการเสพติดความหวาน เมื่อเรากินของหวานเข้าไป เรามักจะมีความสุข ร่างกายจดจำช่วงเวลาแห่งความสุขนั้นได้และมักต้องการเรียกร้องความสุขนั้นให้กลับมาเรื่อย ๆ จนเกิดภาวะเสพติดความหวาน ซึ่งอาการติดหวานนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้เราน้ำหนักขึ้น แต่ความหวานยังนำมาซึ่งโรคร้ายต่าง ๆ อีกมากมาย อาการที่มักจะปรากฏในผู้ที่เสพติดน้ำตาล มีดังต่อไปนี้
- อยากกินของหวานตลอดเวลา
- มักจะเลือกกินของหวานมากกว่าอาหารมื้อหลัก
- หากไม่ได้กินของหวานจะมีอารมณ์หงุดหงิด โมโห และจะยิ้มออกทุกครั้งหลังจากที่กินของหวานๆ
- สามารถกินขนมหวาน ของหวานได้ไม่จำกัด
- ไม่สามารถกินอาหารรสอื่นได้ ต้องมีรสหวานนำเท่านั้น
คุณติดหวานระดับไหน?
1. อยากกินของหวานตลอดเวลา
ลองสังเกตตัวเองว่า หลังมื้ออาหารเรามีความอยากกินของหวานมั้ย มีเมนูของหวานแวบขึ้นมาในหัวระหว่างมื้ออาหารหรือเปล่า เราต้องไปหาของหวานกินตามทุกครั้งหรือไม่ ถ้าใช่ คุณเข้าข่ายติดของหวาน
2. เครียดเมื่อไหร่ก็ต้องกินของหวาน
เพราะน้ำตาลหรือความหวาน เป็นอาหารชั้นเลิศของสมอง เมื่อความหวานแผ่ซ่านในปากตัวสารแห่งความสุขก็จะออกมา ทำให้ความหงุดหงิดหรือความเครียดของเรานั้นหายไป และเมื่อไม่ได้กินของหวานก็จะมีอาการหงุดหงิดขึ้นมาอีกครั้ง
3. กินหวานมากและกินตลอดเวลา
ปกติคนส่วนใหญ่จะกินขนมหวานไม่ได้มาก แค่กินให้หายอยาก แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในภาวะติดความหวาน การกินขนมหรือของหวาน ๆ ในแต่ละครั้ง คือ กินเสมือนอาหาร 1 มื้อ กินได้เรื่อย ๆ กินได้ไม่หยุด
4. คิดถึงแต่ขนมหวาน
ในหัวของเราหรือแม้กระทั่งบทสนทนาของเรากับแก๊งเพื่อน มักจะมีเรื่องขนมอยู่เป็นประจำ
5. แพ้ความสวยงามของขนม
ต้องยอมรับว่าขนมหวาน เช่น เค้ก บิงซู ชานมไข่มุก ขนมไทย หรือเมนูของหวานต่างออกแบบมาให้ดูน่ากิน ด้วยรูปร่างหน้าตาที่เชิญชวน ประกอบกับโลกโซเชียลที่ต้องลงคอนเทนต์ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องไปเช็คอิน ไปกินตามคนอื่นจนกลายเป็นพฤติกรรมล่าของหวานและเกิดติดเป็นนิสัยในที่สุด
6. ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
โดยปกติผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่คอยควบคุมไขมันในร่างกายให้มีไม่ต่ำกว่า 23% เพื่อให้ผู้หญิงมีสภาพที่พร้อมตั้งครรภ์ เมื่อใกล้ถึงเวลามีประจำเดือนฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้จะเพิ่มขึ้นทำให้กระตุ้นความอยากอาหารมากขึ้น และแน่นอนว่ามันไปกระตุ้นความอยากขนมหวานด้วย
แล้วคุณล่ะ เข้าข่ายหรือตรงกับพฤติกรรมของตัวเองกี่ข้อ ลองตรวจเช็คกันดูเพราะหากเข้าข่ายภาวะติดความหวานที่กล่าวมาทั้งหมด คุณเองกำลังเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายดังต่อไปนี้
โรคร้ายที่มากับความหวาน
1. โรคเบาหวาน
เกิดจากการที่ร่างกายได้รับน้ำตาลเข้าไปปริมาณมาก ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายต้องหลั่งอินซูลินออกมาเพื่อปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลง และหากไม่สามารถหยุดกินของหวานได้ ร่างกายจะเกิดการต้านอินซูลินและจะนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวาน
2. โรคหัวใจ
อาหารหรือขนมที่มีน้ำตาลสูง จะเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของระบบสูบฉีดเลือด มีการเพิ่มคอเลสเตอรอลเลวหรือ LDL เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการหลั่งอินซูลินมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานของหัวใจ
3. โรคอ้วน
เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น อินซูลินก็เอาไม่อยู่ น้ำตาลจะเปลี่ยนรูปไปเป็นไขมัน และมันจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ จนมีไขมันสะสมในร่างกายและกลายเป็นโรคอ้วนในที่สุด และโรคอ้วนนี่แหละที่เป็นที่มาของโรคร้ายอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ
4. โรคความดันโลหิตสูง
น้ำตาลทำให้ฮอร์โมนแคทีโคลามีนและกรดยูริกสูงขึ้น สองปัจจัยนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง
5. ไมเกรน
น้ำตาลและของหวานทุกชนิดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน
6. โรคมะเร็ง
มะเร็งกับความหวานดูเหมือนจะเป็นคู่หูกัน อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ใช้ควบคุมการเจริญเติบโต การเพิ่มขึ้นของอินซูลิน หรืออินซูลินไม่คงที่สวิงขึ้น ๆ ลง ๆ มีส่วนทำให้เซลล์มะเร็งเติบโตได้ดีในร่างกาย
7. โรคกระดูกพรุน
การที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เลือดของเรามีภาวะเป็นกรด ทำให้ร่างกายต้องปรับสมดุลด้วยการดึงแร่ธาตุต่าง ๆ ออกมาใช้ รวมถึงเเคลเซียมในร่างกายของเราด้วย จึงส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนตามมา
จะเห็นได้ว่าโรคร้าย มักจะเกิดจากพฤติกรรมการกินของเรา สิ่งเดียวที่ป้องกันได้คือ พยายามปรับพฤติกรรมการกินของตัวเอง อย่ากดดันตัวเองแบบหักดิบ ไม่กินของหวาน ไม่กินแป้งเลย แบบนี้ก็ไม่ดีต่อสุขภาพของเราเช่นกัน ลองเปลี่ยนมาเป็นการให้รางวัลตัวเอง 1 วัน / 1 อาทิตย์ เป็นวันที่เราสามารถกินอะไรก็ได้ การให้รางวัลตัวเองแบบนี้นอกจากจะทำให้เรามีความสุข สุขภาพของเราก็จะดีตามไปด้วย หรือลองนำข้อมูลที่ได้จากบทความนี้ ไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเองเพราะสุขภาพดี เริ่มต้นที่ตัวเอง
นอกจากนั้นการวางแผนเพื่อรับมือความเสี่ยงเมื่อเกิดโรคร้ายก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน เพราะถึงแม้เราจะมีสุขภาพที่ดี ทานอาหารที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีโอกาสเกิดโรคร้ายใด ๆ เลย ดังนั้นการวางแผนความเสี่ยงทางการเงินด้วยการทำประกันภัยจึงเป็นอีกเรื่องจำเป็น เพื่อให้เราไม่ต้องใช้เงินที่เก็บมาทั้งชีวิตหมดไปกับค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดโรคร้าย ที่รู้ใจมีประกันภัยโรคร้ายแรง CI Focus ปรับแผนได้ตามใจ เลือกความคุ้มครองได้เอง ทั้งมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ กลุ่มอาการทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะอวัยวะล้มเหลว เจอ จ่าย จบ คุ้มครองสูงสุด 2 ล้านบาท
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)