โรคมะเร็งกระดูก รวมถึงมะเร็งกระดูกสันหลังจากอัตราการเกิดโรคทั่วโลกพบได้ประมาณ 2% ของโรคมะเร็งทั้งหมด ซึ่งดูจากตัวเลขแล้วมีอัตราการเกิดขึ้นน้อย ในปี 2563 ประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรค มะเร็งอยู่ประมาณ 3,600 คน และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระดูกและเสียชีวิตถึง 1,720 คน โดย มะเร็งกระดูกที่ตรวจพบมากที่สุดคือ โรคมะเร็งกระดูกชนิดออสติโอชาร์โคมาซึ่งมีประมาณ 28% ของโรคมะเร็งกระดูกทั้งหมด
ถ้าดูจากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติเกี่ยวกับโรคมะเร็งกระดูก จะพบได้ในเพศหญิง 0.8 คนและเพศชาย 0.4 คนต่อประชากรทั้งหมด 100,000 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน้อย จึงทำให้แพทย์ไม่คุ้นเคยกับโรค ส่งผลให้ทำการวินิจฉัยและรักษาได้ค่อนข้างยาก และที่สำคัญโรคมะเร็งกระดูกนั้นตรวจพบได้น้อยมาก จึงทำให้บุคลลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ มีไม่มากเช่นกัน
- โรคมะเร็งกระดูกสันหลังและเชิงกรานแบ่งออกได้เป็นกี่ชนิด?
- โรคมะเร็งกระดูกสันหลังเกิดจากอะไร?
- โรคมะเร็งกระดูกสันหลังมีอาการยังไง?
- เช็คด่วน! คุณมีอาการเสี่ยงมะเร็งกระดูกหรือไม่?
- วิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งกระดูกสันหลังทำยังไง?
- วิธีรักษามะเร็งกระดูกสันหลังมีวิธีใดบ้าง?
- รู้มั้ย? ประกันสังคมให้รักษามะเร็งฟรี!
วันนี้รู้ใจ นำสาระน่ารู้เรื่องโรคมะเร็งกระดูกสันหลังมาฝากกัน เพราะทราบหรือไม่ว่า มะเร็งกระดูกสันหลังหากตรวจพบได้เร็ว บางชนิดจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากท่านใดที่ปวดคอ ปวดหลังเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะหากนิ่งนอนใจจนเกินไปอาจนำมาซึ่งโรคร้ายที่ยากเกินจะรักษา
โรคมะเร็งกระดูกสันหลังและเชิงกรานแบ่งออกได้เป็นกี่ชนิด?
โรคมะเร็งกระดูกสันหลัง (Spine) เชิงกราน และแขน ขา (Pelvic and Extremities) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลัก คือ
1. มะเร็งกระดูกที่มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ของกระดูกเอง
มะเร็งกระดูกที่มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ของกระดูกเอง หรือ Primary Bone Cancer มีสาเหตุมาจากการเกิดเซลล์ในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงและแบ่งตัวมากจนผิดปกติ และกลายเป็นเนื้องอกมะเร็ง ซึ่งสามารถพบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง และทุกวัย โดยผู้ป่วยที่มาพบแพทย์มักจะคลำเจอก้อนต่าง ๆ ตามร่างกาย หรือมีอาการปวด หรือกระดูกหัก หรือแม้กระทั่งการตรวจพบโดยบังเอิญอย่างมะเร็งกระดูกชนิดออสติโอซาร์โคมา (Osteosarcoma)
2. มะเร็งที่มาจากอวัยวะอื่น ลามมาที่กระดูก
มะเร็งที่มาจากอวัยวะอื่น ลามมาที่กระดูก หรือ Secondary Bone Cancer / Bone Metastasis มักจะพบในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งอยู่แล้ว แต่เป็นมะเร็งที่อวัยวะอื่น เช่น เต้านม ปอด ต่อมลูกหมาก ไทรอยด์ ไต หรือเม็ดเลือด แล้วลุกลามมายังกระดูก ซึ่งหากผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งแล้วมีอาการปวดกระดูกร่วมด้วย ควรแจ้งแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาเพิ่มเติม
โรคมะเร็งกระดูกสันหลังเกิดจากอะไร?
จริง ๆ แล้วโรคมะเร็งกระดูกทุกชนิด ณ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดโรค แต่มีหลักฐานที่พบอยู่ 3 ข้อ ดังนี้
- โรคมะเร็งกระดูกมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีนในร่างกายของผู้ป่วย
- เกิดจากการกระตุ้นโดยปัจจัยภายนอก เช่น อาชีพเสี่ยง การใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง รังสี ซึ่งคนที่ทำงานกับสารเคมีอยู่เป็นประจำ หรือทำงานโรงงานที่เกี่ยวข้องกับรังสี อาจมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งได้
- เกิดจากการรักษาในปัจจุบัน เช่น การให้เคมีบำบัด การฉายรังสีรักษา สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ง่าย รวมถึงโรคบางโรคที่เกิดขึ้นในทางแถบยุโรปทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งกระดูกได้สูง
โรคมะเร็งกระดูกสันหลังมีอาการยังไง?
มะเร็งกระดูกอาจจะเกิดขึ้นที่กระดูกส่วนใดในร่างกายก็ได้ แต่โดยส่วนมากแล้วมักตรวจพบที่กระดูกสันหลัง ซึ่งอาจส่งผลให้กระดูกสันหลังหัก และมีเนื้องอกมะเร็งมากดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท โดยผู้ป่วยอาจคลำเจอก้อนและมีอาการปวดหลังร้าวมาถึงแขนและขา และในบางกรณีอาจมีอาการชา แขนขาอ่อนแรง หากมารับการรักษาช้าอาจส่งผบต่อการควบคุมปัสสาวะและอุจจาระ
ส่วนตำแหน่งที่พบรองลงมาจากกระดูกสันหลังคือ มะเร็งกระดูกเชิงกรานและแขนขา โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดตอนกลางคืน หรือปวดเมื่อต้องเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า ยืน เดิน และคลำพบก้อน ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้กระดูกหัก
เช็คด่วน! คุณมีอาการเสี่ยงมะเร็งกระดูกหรือไม่?
อาการที่กำลังจะกล่าวต่อไปนี้ เป็นสัญญาณเตือนมะเร็งกระดูกให้คุณรีบไปพบแพทย์
- คลำเจอก้อนตามร่างกาย
- เป็นโรคมะเร็งอยู่แล้ว เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด แล้วมีอาการปวดกระดูกเรื้อรัง ทำการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น
- ปวดกระดูกสันหลังหรือปวดกระดูกบริเวณอื่น ๆ มากจนผิดปกติ แขนขาชาและอ่อนแรง
- น้ำหนักลด อ่อนเพลีย โดยไม่ทราบสาเหตุ
- ตรวจเจอโดยบังเอิญ
หลายคนเมื่อป่วยหรือมีความเสี่ยงมะเร็งกระดูกสันหลัง กลับไม่กล้าไปหาหมอ เพราะกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล จนทำให้อาการหนักขึ้น และมะเร็งยังลุกลามหนักขึ้นอีกด้วย รับมือโรคร้ายด้วยประกันมะเร็งแบบเจอจ่ายจบที่รู้ใจ คุ้มครองมะเร็งทุกระยะ ทุกชนิด เมื่อตรวจพบรับเงินก้อนสูงสุดถึง 3 ล้านบาท ซึ่งข้อดีคือเราสามารถนำเงินก้อนมาบริหารจัดการเองได้ ทั้งค่ารักษา ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเทอมลูก อุ่นใจได้เรื่องค่าใช้จ่ายแล้วรักษาตัวเองจนหายดีได้เลย
วิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งกระดูกสันหลังทำยังไง?
ในเบื้องต้น แพทย์จะซักประวัติและอาการเป็นมาของผู้ป่วย และอาจพิจารณาตรวจเพิ่มเติม เช่น
- การทำ MRI Scan
- การทำ CT Scan
- การตรวจเอกซเรย์
- การตรวจชิ้นเนื้อ หรือ Biopsy
- การสแกนกระดูก หรือ Bone Scan หรือ PET/CT Scan
โรคมะเร็งกระดูกสันหลัง วินิจฉัยพบเร็วหายขาดได้จริงมั้ย?
โรคมะเร็งกระดูกสันหลัง หากตรวจพบเจอตั้งแต่ระยะแรกที่มีก้อนเนื้องอกเพียงไม่กี่จุด และก้อนไม่ใหญ่มาก การรักษามักจะได้ผลที่ดีสามารถควบคุมอาการปวดได้ มะเร็งกระดูกถึงแม้จะตรวจพบได้น้อย แต่เมื่อเป็นแล้วอาการจะทรุดลงอย่างรวดเร็ว หากพบความผิดปกติต่าง ๆ เช่น มีก้อนบริเวณแขน ขา กระดูก ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะการเริ่มรักษาที่เร็วตั้งแต่เนิ่น ๆ ที่โรคยังไม่แพร่กระจายจะสามารถรักษาให้หายขาดได้
วิธีรักษามะเร็งกระดูกสันหลังมีวิธีใดบ้าง?
การรักษามะเร็งกระดูกสันหลัง แพทย์จะพิจารณาชนิดและระยะของโรคจึงค่อยทำการรักษา
- ในกรณีที่มะเร็งกระดูกมีต้นกำเนิดมาจากตัวเซลล์ของกระดูกเอง (Primary maligant bone tumor) หากตรวจพบได้เร็ว และไม่พบการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง มีโอกาสในการผ่าตัดรักษาให้หายขาดได้ โดยทีมแพทย์จะพิจารณาให้เคมีบำบัด และการฉายรังสีตามความเหมาะสม ร่วมกับเทคนิคการผ่าตัดแบบนำเนื้องอกมะเร็งออกทั้งก้อน โดยไม่มีเซลล์มะเร็งปนมาด้วย
- ในกรณีที่มะเร็งมากจากอวัยวะอื่นลามมาที่กระดูก (Bone Maetastasis) เป้าหมายทางการรักษาคือ ต้องเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดความปวด ลดภาวะอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ และให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองได้ใกล้เคียงคนปกติให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
โรคมะเร็งกระดูกผ่าตัดครั้งแรกสำคัญที่สุดจริงมั้ย?
ไม่ว่าจะมะเร็งกระดูกสันหลัง หรือกระดูกส่วนอื่น ๆ ตัวมะเร็งที่มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์กระดูกเองนั้น ต้องใช้เทคนิคในการผ่าตัดที่เหมาะสมจึงจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าการรักษาโดยการผ่าตัดผิดวิธี โอกาสที่มะเร็งงอกซ้ำจะมีสูงมาก และโอกาสในการผ่าตัดแก้ไขก็อาจจะทำไม่ได้ เนื่องจากเกิดการปนเปื้อนของเซลล์มะเร็งที่บริเวณที่เคยทำการผ่าตัดมาก่อนหน้านี้ ฉะนั้น การผ่าตัดมะเร็งกระดูกจึงต้องใช้แพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น
รู้มั้ย? ประกันสังคมมีสิทธิรักษาพยาบาลให้รักษามะเร็งฟรี!
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 สามารถเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งโดยไม่มีค่าใช้จ่ายจนสิ้นสุดการรักษา หากเข้ารับการรักษาตามแนวทางที่กำหนด (Protocol) ครอบคลุมการรักษาโรคมะเร็ง 20 ชนิดได้แก่
- โรคมะเร็งกระดูกชนิด Osteosarcoma ในผู้ใหญ่, โรคมะเร็งเต้านม, โรคมะเร็งปากมดลูก, โรคมะเร็งรังไข่, โรคมะเร็งมดลูก, โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก, โรคมะเร็งปอด, โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ตรง, โรคมะเร็งหลอดอาหาร, โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี, โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก, โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบลิมฟอยด์ในผู้ใหญ่, โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ในผู้ใหญ่, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันในผู้ใหญ่แบบ Acute Promyelocytic leukemia (APL), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ในผู้ใหญ่, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอีโลมาในผู้ใหญ่, และโรคมะเร็งเด็ก
และในกรณีที่ไม่สามารถรักษาตามแนวทางที่กำหนด (Protocol) ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายต่อปี (ที่มา: thaigov.go.th/news)
โรคมะเร็ง เป็นโรคร้ายแรงที่ไม่มีใครอยากเป็น ไม่ว่ามะเร็งกระดูกสันหลังหรือมะเร็งชนิดอื่น ๆ ก็ตาม และถึงแม้จะมีสิทธิการรักษาฟรี แต่ก็ไม่สามารถรักษาตามวิธีที่เลือกเองได้ จุดนี้การมีประกันมะเร็งจะช่วยซัพพอร์ตโดยที่เราไม่ต้องใช้เงินเก็บให้หมดไปกับค่ารักษาพยาบาล แถมยังทำให้เข้าถึงการรักษาที่ตนเลือกได้เองอีกด้วย
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
กระดูกเชิงกราน | กระดูกเชิงกราน (Pelvis) เป็นโครงสร้างกระดูกที่อยู่บริเวณปลายล่างของกระดูกสันหลัง มีหน้าที่สำคัญในการรองรับน้ำหนักของร่างกายและปกป้องอวัยวะภายใน เช่น มดลูก รังไข่ และลำไส้ใหญ่ตอนปลาย |
ออสติโอชาร์โคมา | เป็นมะเร็งกระดูกชนิดหนึ่ง |