Roojai

7 สิ่งควรรู้ก่อนกินยาคุมกำเนิด กินนานเสี่ยงมะเร็ง-มีลูกยากหรือไม่?

วิธีกินยาคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี | ประกันออนไลน์ | รู้ใจ

ยุคสมัยนี้ การพูดคุยเรื่องยาคุมกำเนิดหรือถุงยางอนามัยเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว เพราะสังคมยุคใหม่ที่เปลี่ยนไปตามโลก ทำให้สังคมไทยเปิดกว้างมากขึ้นยอมรับและเปิดใจในบางเรื่องมากยิ่งขึ้น เรื่องของการทานยาคุมกำเนิดก็เช่นกัน ถึงแม้ว่าโลกจะเปิดกว้างในเรื่องนี้แล้ว แต่ก็ยังมีเด็กวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาวหลายคนที่ใช้ยาคุมกำเนิดแบบผิดวิธีกันอยู่ หรือบางคนมีความเชื่อที่ว่าการกินยาคุมกำเนิดมาเป็นเวลานานหลายสิบปีอาจทำให้มีลูกยาก หรือในเด็กบางคนเลือกที่จะใช้ยาคุมฉุกเฉินทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์ วันนี้ รู้ใจจะมาบอกถึงวิธีการใช้ยาคุมกำเนิดที่ถูกต้อง ใครเหมาะกับยาคุมกำเนิดแบบไหน และใช้ยาคุมกำเนิดมานานจะมีลูกยากจริงหรือไม่ ทุกคำตอบอยู่ในบทความนี้

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

ยาคุมกำเนิดคืออะไร?

ยาคุมกำเนิด หรือ Birth Control Pill เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้สำหรับการคุมกำเนิด แล้วยาคุมกำเนิด ช่วยคุมกำเนิดอย่างไร? คำตอบคือ ในเม็ดของยาคุมกำเนิดจะมีฮอร์โมนเพศหญิงหรือที่เรียกว่า เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ต่อการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ ยับยั้งการตกไข่ เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กันรองจากการใช้ถุงยางอนามัย เพราะยาคุมกำเนิดหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป หากทานถูกวิธีจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่หากทานไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

ข้อควรระวังเมื่อกินยาคุมกำเนิด | ประกันออนไลน์ | รู้ใจ

ประเภทของยาคุมกำเนิด และข้อดีข้อเสีย มีอะไรบ้าง?

ยาคุมกำเนิดเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีให้เลือกหลายแบบ โดยแต่ละชนิดมีวิธีการใช้งานและผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก และยาคุมกำเนิดมีข้อดีข้อเสีย ได้แก่

  1. ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด – ใช้รับประทานเป็นประจำทุกวัน ข้อดีคือมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดถึง 92 เปอร์เซ็นต์ แต่หากใช้ถูกวิธีและใช้อย่างต่อเนื่อง อาจช่วยคุมกำเนิดได้มากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ และยังเหมาะกับผู้หญิงที่ไม่ชอบวิธีการคุมกำเนิดอื่น ๆ ส่วนข้อเสียคือ ต้องกินในวันและเวลาเดิมทุกวัน หากลืมเพียงแค่วันเดียวประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดก็จะลดลง
  2. ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน – ใช้ในกรณีเร่งด่วนหรือฉุกเฉิน เช่น หลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน หรือในกรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศ ข้อดีคือ ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ ข้อเสียคือ ยิ่งกินช้าประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดยิ่งลดลง และควรกินเม็ดแรกภายใน 24 ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์
  3. ยาคุมกำเนิดแบบฉีด – โดยจะต้องฉีดซ้ำทุก 3 เดือน หรือบางตัวอาจมีประสิทธิภาพได้ถึงปี ข้อดีคือ ไม่ยุ่งยากเพียงแค่ไปฉีดตามนัดหมายของแพทย์ ส่วนข้อเสียคือ หากใช้นาน ๆ ไปอาจมีผลต่อความหนาแน่นของกระดูกที่อาจเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุนได้
  4. ยาคุมกำเนิดแบบฝัง –  ฝังใต้ผิวหนัง มีอายุการใช้งานประมาณ 3 ปี ข้อดีคือประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงถึง 99% ข้อเสียคือ การฝังต้องทำโดยแพทย์ และอาจรู้สึกว่ามีราคาแพงกว่าการคุมกำเนิดประเภทอื่น ๆ เนื่องจากต้องจ่ายครั้งเดียว

ข้อควรระวังของยาคุมกำเนิดเหล่านี้ คือ อาจมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย เช่น การเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน อาการปวดท้องประจำเดือน ปัญหาสิวหรือแม้กระทั่งปัญหาตัวบวมหรืออ้วนยาคุม ทีนี้ เราไปดูอันตรายของยาคุมแบบฉุกเฉินที่เด็ก ๆ หลายคนเข้าใจผิดและคิดว่าวิธีนี้ดีกว่าการกินยาคุมหลาย ๆ เม็ด

เลือกยาคุมกำเนิดที่เหมาะกับคุณยังไง?

ทราบหรือไม่ว่า ในต่างประเทศการจะใช้ยาคุมกำเนิดนั้น ไม่สามารถไปหาซื้อได้เองต้องพบแพทย์เพื่อทำการตรวจภายใน และแพทย์จะเป็นคนแนะนำเองว่าคุณเหมาะกับยาคุมกำเนิดแบบไหน ส่วนในประเทศไทย ไม่ได้มีกฎข้อบังคับนี้เลยทำให้หลายคนเข้าใจผิด ซื้อยาตามเพื่อน หรือหยิบอะไรได้ก็เอาแบบนั้น ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวและประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดอาจลดลง

ส่วนยาคุมกำเนิดแบบเม็ดที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือแบบฮอร์โมนรวม ซึ่งแต่ละยี่ห้อยาคุมกำเนิดมีส่วนประกอบของฮอร์โมนที่แตกต่างกันไป การเลือกยาควรพิจารณาจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการและความเหมาะสมกับร่างกายของตนเอง และที่สำคัญคือควรเลือกยี่ห้อยาคุมกำเนิด ราคาที่ไม่ถูกเกินไป และแหล่งขายที่น่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันยาปลอม

ประโยชน์ของยาคุมกำเนิด | ประกันออนไลน์ | รู้ใจ

7 สิ่งควรรู้ก่อนใช้ยาคุมกำเนิด

  1. ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดมี 2 ประเภท คือ แบบฮอร์โมนเดี่ยวและแบบฮอร์โมนรวม โดยฮอร์โมนเดี่ยวมีโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว ขณะที่ฮอร์โมนรวมมีทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
  2. ยาคุมกำเนิดมีผลทำให้ผนังมดลูกบางลง ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวได้
  3. ยาคุมแบบเม็ด หากแบ่งตามจำนวนเม็ดจะมี 2 แบบ คือ 21 เม็ดและ 28 เม็ด โดยที่ตัวยาจะเท่ากัน
    • ยาคุมแบบ 21 เม็ด หลังกินหมดต้องนับ 7 วันแล้วจึงเริ่มแผงใหม่
    • ยาคุมแบบ 28 เม็ด จะมีเม็ดแป้งที่ไม่มีตัวยา 7 เม็ด เพื่อให้กินต่อเนื่องกันไม่สับสน พอหมดแผงแล้วกินแผงใหม่ต่อได้เลย
  4. ในคนที่ใช้ยาคุมกำเนิดครั้งแรก ควรเริ่มกินภายในวันที่ 1-5 ของช่วงที่มีประจำเดือน เพื่อจะได้มั่นใจได้ว่าไม่ได้กำลังตั้งครรภ์อยู่
  5. การกินยาคุมกำเนิดต้องกินในเวลาเดิม ติดต่อกันทุกวันเพื่อให้ประโยชน์ยาคุมกำเนิดได้ผลสูงสุด
  6. ยาคุมฉุกเฉินควรใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น เช่น การถูกข่มขืนหรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ
  7. ก่อนเริ่มกินยาคุมกำเนิดแผงใหม่ทุกครั้ง ต้องตรวจเช็ควันหมดอายุก่อนใช้ยา เพราะอาจเกิดความผิดพลาดและตั้งครรภ์ได้

วิธีรับยาคุมกำเนิด ยาคุมฉุกเฉินฟรี!

ประโยชน์ของยาคุมกำเนิด คือการช่วยป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมและแม้ราคายาคุมกำเนิดจะไม่ได้ราคาแพงมาก แต่หากต้องจ่ายทุกเดือนก็หลายเป็นอีกหนึ่งภาระค่าใช้จ่าย แต่รู้มั้ย? คุณสามารถรับยาคุมกำเนิดได้ฟรี! แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งป็นโครงการดี ๆ จาก สปสช.ร่วมกับสภาเภสัชกรรมที่ให้กับคนไทย ทุกคนเพียงแค่เพียงยื่นบัตรประชาชนที่ร้านขายยาที่ร่วมโครงการ แต่ก่อนไปรับที่ร้าน มีขั้นตอนดังนี้

ไปที่แอปเป๋าตัง > เลือกเมนูกระเป๋าสุขภาพ > เลือกสิทธิประโยชน์ > เลือกบริการที่ต้องการ > แล้วจองสิทธิ์ผ่านแอปเลือกร้านยาที่จะไปรับได้เลย โดยคุณสามารถรับบริการเหล่านี้ได้ด้วย

  1. รับยาเม็ดคุมกำเนิด
  2. รับยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
  3. รับถุงยางอนามัย
  4. รับชุดทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง
  5. รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิกป้องกันโลหิตจาง
  6. คัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต

อันตรายจากการใช้ยาคุมฉุกเฉินมีอะไรบ้าง?

ยาคุมฉุกเฉินเป็นยาที่ใช้ในกรณีเร่งด่วนหรือฉุกเฉินเท่านั้น เช่น หลังจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันหรือเกิดความผิดพลาดในการคุมกำเนิด การใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีคือการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ แต่ก็มีอันตรายและความเสี่ยงบางประการหากใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้บ่อยเกินไป โดยข้อควรระวังของยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมีดังนี้

1. ประสิทธิภาพลดลงหากใช้บ่อย

ยาคุมฉุกเฉินไม่ได้มีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ากับวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น ๆ หากใช้อย่างสม่ำเสมอ ประสิทธิภาพของยาจะลดลงเมื่อใช้บ่อย ๆ เพราะร่างกายอาจเริ่มต้านทานการทำงานของฮอร์โมนในยา ทำให้มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์สูงขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้ยาคุมแบบเม็ดหรือวิธีอื่นที่ใช้เป็นประจำ

2. เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก

ยาคุมฉุกเฉินสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิไปฝังตัวนอกมดลูก เช่น ในท่อนำไข่ ภาวะนี้เป็นอันตรายที่อาจทำให้เกิดการตกเลือดภายในและเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

3. ผลข้างเคียงจากฮอร์โมน

ยาคุมฉุกเฉินมีปริมาณฮอร์โมนสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงหลายอย่าง เช่น

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • อาการปวดท้อง หรือมีเลือดออกผิดปกติ
  • อารมณ์แปรปรวน

ผลข้างเคียงเหล่านี้มักเกิดขึ้นชั่วคราว แต่ในบางกรณีอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมได้

4. ไม่ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ข้อควรระวังของยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่สำคัญคือ ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น HIV, ซิฟิลิส หรือหนองในได้ ดังนั้น ควรใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคเหล่านี้เสมอ

5. ความไม่สมดุลของฮอร์โมน

การใช้ยาคุมฉุกเฉินบ่อยครั้งอาจทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ส่งผลต่อรอบเดือน อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือขาดประจำเดือน ซึ่งอาจสร้างความสับสนในการตรวจสอบว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่

ยาคุมกำเนิดเสี่ยงมะเร็งเต้านมจริงมั้ย | ประกันออนไลน์ | รู้ใจ

กินยาคุมกำเนิดนาน ๆ เสี่ยงมีบุตรยากจริงหรือไม่?

หลายคนเชื่อว่าการรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานจะทำให้มีบุตรยาก แต่จริง ๆ แล้ว ความเชื่อนี้ไม่เป็นความจริง ยาคุมกำเนิดทำหน้าที่เพียงแค่ป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อใช้อย่างถูกวิธี แต่ไม่ทำให้ภาวะมีบุตรยากเกิดขึ้น การมีบุตรยากมักเกิดจากหลายปัจจัย เช่น อายุที่มากขึ้น สุขภาพร่างกายของทั้งสามีและภรรยา คุณภาพของอสุจิและไข่ รวมถึงโรคประจำตัวบางประการ

กินยาคุมนาน ๆ เสี่ยงมะเร็งเต้านมมั้ย?

หลายคนคงได้ยินว่าการกินยาคุมเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม ในเรื่องนี้ ผศ. พญ. กมลรัตน์ พิบูลย์ โรงพยาบาลพญาไท1ได้ตอบผ่าน Phyathai PODCAST ว่า ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิงหากรับประทานพวกฮอร์โมนคุมกำเนิดก็มีฤทธิ์ต่อเต้านมด้วยเช่นเดียวกัน แต่ผลของเต้านมว่าจะกระตุ้นมะเร็งเต้านมหรือเปล่ายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจากว่ามีผลการศึกษาทั้งที่บอกว่าไม่ได้เพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งเต้านม กับมีบางการศึกษาก็บอกว่าทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมในอัตราที่ไม่ได้สูงมากนัก แล้วก็พบได้ในเฉพาะคนที่กำลังใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิด หรือ current User ซึ่งก็คือกำลังใช้อยู่ในขณะนั้นหรือเพิ่งหยุดใช้ได้ไม่นาน แล้วพอเราหยุดใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน ๆ ความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมก็ลดลงเรื่อย ๆ ด้วย พอผ่านไป 10 ปีหรือไม่ได้ใช้มา 10 ปีเนี่ยก็ความเสี่ยงก็เหมือนผู้หญิงทั่วไป

เรื่องของมะเร็งเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ไม่ใช่แค่ยาคุมกำเนิดที่อาจเพิ่มความเสี่ยง แต่การใช้ชีวิตประจำวัน สภาพแวดล้อมปัจจุบัน โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ชีวิตยิ่งทำให้ความเสี่ยงมะเร็งมีเพิ่มขึ้น นอกจากการป้องกันโดยการดูแลสุขภาพแล้ว อย่าลืมทำประกันมะเร็งติดไว้ ประกันมะเร็งที่รู้ใจ เจอจ่ายจบรับเงินก้อนสูงสุดถึง 3 ล้านบาท คุ้มครองมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ

ประโยชน์ยาคุมกำเนิดคือเป็นทางเลือกคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์แต่ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับร่างกายและสถานการณ์ พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยาคุมและภาวะมีบุตรยาก เพราะปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการมีบุตรมักมีความสำคัญมากกว่ายาคุมกำเนิด

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ประเภทหนึ่ง ที่สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียโพนีมา พาลลิดัม ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดซิฟิลิสหรือแผมริมแข็ง
การปฏิสนธิ คือ กระบวนการที่สเปิร์ม (อสุจิ) ผสมกับไข่ในร่างกายของเพศหญิง เพื่อสร้างเซลล์ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ (zygote) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน
การตกไข่ คือ กระบวนการที่ไข่สุกถูกปล่อยออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายของผู้หญิงพร้อมสำหรับการปฏิสนธิ โดยมักเกิดขึ้นประมาณกลางรอบเดือน