หายใจไม่ทัน หอบ เหนื่อย เป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ ไม่ว่าจะจากการออกกำลังกาย การทำงานหนัก เดินขึ้นลงบันได อาการเหนื่อยจากกิจกรรมเหล่านี้่ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะอาการนี้จะหายไปเองเมื่อเราได้พักสักระยะ แต่ในบางคนที่รู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ แค่เดินขึ้นบันไดไม่กี่ขั้น ก็มีอาการหอบ เหนื่อยมาก อาการแบบนี้เข้าข่าย “ไม่ปกติ” และอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายบางโรค โดยที่คุณไม่ทันรู้ตัว
- หายใจไม่อิ่ม คืออะไร?
- หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร?
- หายใจไม่อิ่ม อาจเป็นสัญญาณของโรค!
- ระดับความรุนแรงของอาการหายใจไม่อิ่ม
- วิธีป้องกันอาการหายใจไม่อิ่ม
- เทคนิคการฝึกหายใจ
อาการหายใจไม่อิ่มคืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายมากน้อยแค่ไหน มีวิธีป้องกันหรือไม่ และเทคนิคในการฝึกหายใจที่ถูกต้อง อ่านด่านล่างได้เลย
หายใจไม่อิ่ม คืออะไร?
อาการหายใจไม่อิ่ม หรือ Shortness of Breath เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ผู้ที่มีอาการหายใจไม่อิ่มจะรู้สึกจุกที่อก ไม่สามารถสูดอากาศเข้าปอดได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีอาการหายใจสั้น หายใจไม่คล่อง ซึ่งอาจจะมาจากหลายสาเหตุ เช่น ออกกำลังกายหักโหมเกินไป สภาพอากาศที่ทำให้หายใจลำบาก เช่น ปีนเขาขึ้นไปสูงมากและเร็วจนเกินไป ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ และส่งผลต่อสุขภาพ
หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร?
อาการหายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่คนส่วนใหญ่มักมองข้าม เพราะคิดว่าการหายใจแบบเหนื่อยหอบหรือหายใจสั้น ๆ เป็นผลมาจากกิจกรรมที่ทำ แต่หากลองสังเกตว่ามีอาการหัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่คล่อง จากการออกแรงทำกิจกรรมบางอย่างที่มีการเคลื่อนไหวไม่มาก เช่น เดินจากหน้าบ้านไปในครัว ก็มีอาการเหนื่อยหอบแล้ว อาการเช่นนี้ สามารถบอกได้ว่า ร่างกายของเรามีบางอย่างที่ผิดปกติ หรืออาจมีโรคบางอย่าง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคสมอง โรคโลหิตจาง โรคไต และโรคตับ
หายใจไม่อิ่ม อาจเป็นสัญญาณของโรค!
อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่มอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจ และสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวทั้ง 2 กลุ่มด้านล่าง ควรสังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการหายใจไม่อิ่ม จุกคอ หรือมีภาวะอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจนานกว่า 2-3 วัน ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรค
1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคที่ส่งผลโดยตรงต่อการเกิดภาวะหายใจไม่อิ่ม ยิ่งในผู้ป่วยที่มีอายุมาก และมีโรคประจำตัวหลายโรค เช่น ความดันสูง เบาหวาน ความเสี่ยงที่จะเหนื่อยหอบง่าย หรือหายใจไม่ทั่วท้องจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่สุขภาพแข็งแรง
2. โรคปอด
โรคระบบทางเดินหายใจกลุ่มโรคปอด เช่น หอบหืด หลอดลมอักเสบ ปอดบวม วัณโรค โรคเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีความรู้สีกเหมือนหายใจไม่อิ่ม และไม่สามารถสูดหายใจเข้าปอดได้อย่างเต็มที่
ระดับความรุนแรงของอาการหายใจไม่อิ่ม
สำหรับขั้นตอนการประเมินอาการและความรุนแรงของโรค แพทย์จะทำการซักถามอาการที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังของผู้ป่วย โดยใช้ World Scale เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา สามารถแบ่งออกได้เป็นเกรด 0-4 ดังนี้
- เกรด 0 – เหนื่อยหอบ หลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
- เกรด 1 – อาการเหนื่อย เมื่อต้องเดินเร็วบนทางราบหรือขึ้นเขา
- เกรด 2 – เดินบนทางราบได้ช้ากว่าคนปกติที่อายุเท่ากัน และมักจะพักหยุดหายใจเมื่อเดินไปได้สักพัก
- เกรด 3 – หยุดพักทุก 2-3 นาที เพื่อหายใจในระหว่างทำกิจกรรม
- เกรด 4 – หอบ เหนื่อยง่าย แค่สวมหรือถอดเสื้อผ้า
วิธีป้องกันอาการหายใจไม่อิ่ม
- พยายามหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มากระตุ้นให้เกิดการหายใจไม่อิ่ม เช่น พื้นที่ที่มีอากาศเป็นพิษ หรือสถานที่ที่มีความคับแคบ
- งดสูบบุหรี่ เพราะจะส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินหายใจ
- งดออกกำลังกายหักโหม หรือกิจกรรมใด ๆ ที่ต้องใช้แรงมาก เช่น ยกหรือเคลื่อนย้ายของที่หนักมาก หรือการวิ่งออกกำลังกาย
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะหากนอนไม่พออาจเป็นสาเหตุให้หายใจไม่อิ่มได้
- ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วน น้ำหนักเกินมาตรฐาน และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
เทคนิคการฝึกหายใจ
1. หายใจแบบห่อริมฝีปาก
หายใจเข้าทางจมูก แล้วห่อริมฝีปากไว้ และค่อย ๆ ปล่อยลมออกทางปากช้า ๆ จะเหมือนกับการหายใจขณะฝึกโยคะ วิธีนี้จะทำให้ร่างกายสามารถรับออกซิเจนได้อย่างเต็มที่
2. ฝึกหายใจด้วยท้อง
วางฝ่ามือข้างหนึ่งลงบนหน้าอก และวางอีกข้างลงบนหน้าท้อง เมื่อหายใจเข้าให้ใช้ฝ่ามือกดหน้าท้องเบา ๆ เพื่อไล่อากาศ สามารถใช้วิธีนี้ร่วมกับวิธีที่ 1 ได้ เป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อกะบังลมทำงานได้ดียิ่งขึ้น
3. ฝึกหายใจขณะออกกำลังกาย
เน้นการหายใจออกขณะที่ต้องออกกำลังกายในท่าที่ใช้แรงมาก ๆ และควรมีการวอร์มร่างกายก่อนการออกกำลังกายทุกครั้ง
การแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยหอบง่าย อาจเกิดขึ้นได้เมื่อคุณออกกำลังกาย ทำงานหนัก แต่หากอาการเกิดขึ้นจากการออกแรงแค่นิดเดียวหรือเกิดขึ้นเอง อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจที่คุณควรต้องเริ่มต้นสังเกตตัวเองอย่างถี่ถ้วน และอีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือการทำประกันโรคร้ายแรงต่าง ๆ เพื่อวางแผนทางการเงินรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ประกันโรคร้ายแรงที่รู้ใจ เจอ จ่าย จบ คุ้มครองเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท เลือกปรับแผนได้ ให้คุณบริหารเงินก้อนเองได้ตามใจ เพราะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อคุณป่วยไม่ใช่แค่ค่ารักษาพยาบาล แต่ยังรวมไปถึงการสูญเสียรายได้ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายในครอบครัว เงินก้อนจะตอบโจทย์การวางแผนการเงินของคุณ ให้คุณวางใจรักษาตัวได้จนหายและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ไม่กระทบเงินเก็บ
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)