Roojai

4 พฤติกรรมเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ที่คุณควรระวัง!

4 พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ | ประกันมะเร็งที่รู้ใจ

ลำไส้จัดว่าเป็นอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญ ไม่ได้แค่ทำหน้าที่ในการย่อยอาหารเพียงเท่านั้น แต่ลำไส้ยังมีเซลล์ประสาทที่ซับซ้อนจนถูกเรียกว่าเป็นสมองที่ 2 และเมื่อมันทำงานผิดปกติ แน่นอนว่าย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะเมื่อเป็นมะเร็งลำไส้ บทความนี้จะเผยข้อมูลมะเร็งลำไส้ เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความร้ายแรงของมะเร็ง เพราะนอกจากจะมาจากกรรมพันธุ์แล้ว มะเร็งลำไส้ เกิดจากปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่อีกด้วย

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

มะเร็งลำไส้ใหญ่ น่ากลัวหรือไม่?

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ถูกจัดให้เป็น 1 ใน 3 อันดับโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในคนไทย โดยอ้างอิงสถิตินี้จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี 2565 มีทั้งอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นและส่งผลต่อคุณภาพการใช้ชีวิตอีกด้วย และจากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติปี 2565 พบว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น มักจะเกิดขึ้นกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในเพศชายจัดว่าเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งที่ตรวจพบ ส่วนเพศหญิงมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเป็นอันดับที่ 3

สถิติของมะเร็งลำไส้ใหญ่ | ประกันมะเร็งที่รู้ใจ

อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นยังไง?

อย่างที่รู้กันอยู่ว่ามะเร็งในระยะแรก ๆ มักจะไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจะรู้ตัวเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 3-4 เข้าไปแล้ว อาการที่บ่งบอกถึงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจาก  

  1. การขับถ่ายเปลี่ยนไป – เช่นท้องผูก หรือท้องเสียเป็นเวลานานติดกัน และความถี่ใน+การขับถ่ายก็เปลี่ยนไปเช่นกัน เช่น จากที่เคยถ่ายปกติก็ท้องผูก หรือถ่ายบ่อยขึ้น
  2. ลักษณะของอุจจาระที่เปลี่ยนไป – มีลักษณะ ดังนี้
    • อุจจาระลีบเล็ก หรือบางยาวผิดปกติ 
    • อุจจาระเป็นเลือด 
    • อุจจาระมีเมือก ๆ ปนออกมา 
    • อุจจาระแข็ง สลับกับอุจจาระเหลวอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน
  3. มีความรู้สึกอึดอัดหรือไม่สบายช่องท้อง
    • มีอาการปวดบีบเกร็งในช่องท้อง 
    • มีลมในท้อง หรืออิ่มเร็วหลังกินข้าว
  4. อาการทั่ว ๆ ไปของร่างกาย
    • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ 
    • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า อาจเกิดจากภาวะโลหิตจาง

4 พฤติกรรมเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอะไรบ้าง?

มะเร็งลำไส้ เกิดจากปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร และพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีดังต่อไปนี้  

1. การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

พฤติกรรมการกินอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง มีดังนี้ 

  • ชอบทานอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม กุนเชียง เบคอน อาหารเหล่านี้มักมีการเติมสารไนเตรตหรือไนไตรต์เพื่อถนอมอาหารและรักษาสีของเนื้อสัตว์ให้สดใส เมื่อสารเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับสารเอมีนในเนื้อสัตว์ จะเกิดสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง หากทานมาก ๆ เป็นประจำอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลายชนิด
  • ชอบอาหารไขมันสูง และเนื้อแดง รวมถึงอาหารปิ้ง ย่าง ทอด เนื่องจากการปรุงอาหารด้วยความร้อนสูงจะทำให้เกิดสารเฮทเทอโรไซคลิกเอมีน (Heterocyclic Amines; HCAs) และโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons; PAHs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
  • ชอบทานอาหารที่มีกากใยอาหารต่ำ ทำให้การเคลื่อนที่ของลำไส้ลดลงและยังไปเพิ่มเวลาให้สารก่อมะเร็งมีโอกาสได้สัมผัสกับเยื่อบุลำไส้อีกด้วย 
​โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่น่ากลัวยังไง | ประกันมะเร็งที่รู้ใจ

2. การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลายชนิด ทั้งมะเร็งตับ มะเร็งคอหอย และมะเร็งลำไส้ด้วย โดย สารเอทานอลในแอลกอฮอล์จะถูกเปลี่ยนเป็นสารอะซีทาลดีไฮด์ในร่างกาย ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่สามารถทำลาย DNA ภายในเซลล์ เซลล์ในร่างกายจึงอ่อนแอลง 

สำหรับคนที่ชอบสูบบุหรี่เป็นประจำมีความเสี่ยงสูงต่อโรคมะเร็ง เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปอด โดยสารเคมีในควันบุหรี่ เช่น ทาร์และนิโคติน สามารถทำลายเซลล์และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ที่นำไปสู่มะเร็งได้ 

3. ไม่ออกกำลังกาย และน้ำหนักเกินหรืออ้วน

การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้การย่อยและขับถ่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคทางเดินอาหารต่าง ๆ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) และโรคกรดไหลย้อน (GERD) นอกจากนั้นการออกกำลังกายยังช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดไปยังระบบย่อยอาหาร ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น และลดความเครียดซึ่งมีผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารอีกด้วย

และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การออกกำลังกายไม่ได้ดีต่อลำไส้เพียงอย่างเดียว ยังทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นด้วย ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยต่าง ๆ ลดเสี่ยงโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน เพราะคนอ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้และมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้

4. การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ

การนอนไม่พอ นอนดึก อดหลับอดนอนติด ๆ กันเป็นเวลานาน หรือทำจนชิน จนส่งผลกระทบต่อการกิน การขับถ่าย ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันและการทำงานของร่างกาย ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ในระยะยาว และมีงานวิจัยเปิดเผยว่า การนอนที่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่มากถึง 47% เมื่อนำไปเทียบกับผู้ที่นอนหลับ 7-8 ชั่วโมง (ที่มา: pptvhd36.com) 

การใช้ชีวิตในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าบางครั้งเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ไม่ได้ เช่น งานยุ่งจนต้องรีบกิน ไม่มีเวลาออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุมะเร็งลำไส้ แต่คุณสามารถวางแผนรับมือได้ ด้วยทางเลือกการทำประกันมะเร็ง ไว้ซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายในวันที่เป็นมะเร็ง ไม่ต้องใช้เงินเก็บที่หามาทั้งชีวิตหมดไปกับการรักษามะเร็งลำไส้หรือมะเร็งชนิดอื่น ๆ ประกันมะเร็งที่รู้ใจ เจอ จ่าย จบ รับเงินก้อนสูงสุดถึง 3 ล้านบาท คุ้มครองมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ

วิธีป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ | ประกันมะเร็งที่รู้ใจ

ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

นอกจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ด้วยเช่นกัน 

พันธุกรรมมีผลต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่?

ประมาณ 5-10% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม ดังนั้น คนในครอบครัวที่มีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง คนใดคนหนึ่งเคยเป็นมะเร็งลำไส้ จึงควรใส่ใจสุขภาพอยู่เสมอ รวมถึงตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจับสัญญาณของโรคในระยะแรกและรับการรักษาได้ทันท่วงที  

โรคอะไรบ้างที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่?

โรคที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบอัลเซอเรทีฟ โคไลติส มีประวัติเคยเป็นมะเร็งหรือพบติ่งเนื้อโพลิป จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้สูงกว่าคนปกติทั่วไป  

การล้างสำไส้หรือการดีท็อกซ์ลำไส้ ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ได้หรือไม่?

การล้างสำไส้หรือการดีท็อกซ์ลำไส้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้โดยตรง โดยการดีท็อกซ์ลำไส้จะช่วยทำความสะอาดลำไส้ อุจจาระ สารพิษต่าง ๆ ช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบขับถ่ายและลดอาการท้องผูกได้ ซึ่งอาจช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น แต่การดีท็อกซ์ลำไส้ควรทำด้วยความระมัดระวัง ควรขอคำแนะนำ หรือต้องทำโดยบุคลากรทางการแพทย์ทุกครั้ง

มะเร็งไม่ใช่เรื่องไกลตัว แม้จะไม่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแต่ใช่ว่าจะไม่สามารถเกิดโรคนี้ได้ ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องการรับประทานอาหาร การไม่ออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้แค่สาเหตุมะเร็งลำไส้ แต่เพิ่มความเสี่ยงโรคร้ายอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นการลด ละ เลิกพฤติกรรมที่ไม่ดี เพิ่มพฤติกรรมที่ดีและดูแลสุขภาพอยู่เสมอก็จะเป็นวิธีป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทำให้มีสุขภาพที่ดีห่างไกลโรคร้าย 

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai) 

คำจำกัดความ

โพลิป โพลิป เป็นติ่งเนื้อในถุงน้ำดี ที่ตรวจพบได้จากการอัลตราซาวนด์ มีลักษณะเป็นชิ้นเนื้อเล็ก ๆ ที่ยื่นออกมา โดยอยู่ติดกับผนังของถุงน้ำดี และไม่มีการเคลื่อนไหว
โรคโครห์น เป็นโรคที่มีอาการอักเสบที่ทางเดินอาหารชนิดเรื้อรัง ตั้งแต่กระเพาะอาหาร ลำไส้เส็ก ไปจนถึงลำไส้ใหญ่ และบริเวณทวารหนัก ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง และสามารถทำให้ลำไส้ตีบหรือทะลุได้
โรคลำไส้อักเสบอัลเซอเรทีฟ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบที่เยื่อบุผิวบริเวณลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ทำให้เกิดเป็นแผลที่ผนังทางเดินอาหาร และทำให้ลำไส้บีบตัวเร็ว จึงทำให้เกิดอาการปวดท้อง แม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงแต่หากเป็นบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ เรื้อรัง ก็อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เช่นกัน
โคไลติส เป็นโรคลำไส้อักเสบ ที่เกิดขึ้นที่เยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ด้านใน ทำปฏิกิริยาการอักเสบ ซึ่งเป็นผลมาจากการตอบสนองต่อการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง