Roojai

อาการขาอยู่ไม่สุข เช็คอาการ สาเหตุ การรักษา

อาการขาอยู่ไม่สุขเกิดจากอะไร

เคยรู้สึกเหมือนมีอะไรไต่ขา จะนอนก็นอนไม่หลับ นอนไม่สบายตัว กลายเป็นว่าพักผ่อนไม่พอ ลามไปง่วงตอนเช้าหรือหลับในเวลาทำงานมั้ย หากคุณมีอาการเหล่านี้ เข้าข่ายอาการขาอยู่ไม่สุข แล้วขาอยู่ไม่สุขเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาหรือไม่ วิธีแก้ขาอยู่ไม่สุข บทความนี้มีคำตอบ

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

ขาอยู่ไม่สุข คืออะไร?

อาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome; RSL หรือที่รู้จักในชื่อ Willis-Ekbom disease) เป็นโรคทางระบบประสาทที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอยากขยับขาอย่างรุนแรง มักมีความรู้สึกไม่สบายตัวร่วมด้วย อาการนี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่พักผ่อนหรือนอนหลับ และจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้ขยับขา แต่อาการเหล่านี้จะกลับมาอีกเมื่อกลับมานอนหรือพักผ่อนใหม่ คนที่มีอาการขาอยู่ไม่สุข จึงนอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ จนกระทบต่อชีวิตประจำวัน

วิธีแก้อาการขายอยู่ไม่สุข

ขาอยู่ไม่สุขมีกี่ประเภท?

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. Early Onset RLS อาการขาอยู่ไม่สุขที่เริ่มเกิดก่อนอายุ 45 ปี

มักเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์หรือภาวะขาดธาตุเหล็ก โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะเลือดออกประจำเดือนผิดปกติ หรือในช่วงการตั้งครรภ์ อาการมักจะแย่ลงอย่างช้า ๆ

2. Late Onset RLS อาการขาอยู่ไม่สุขที่เริ่มเกิดหลังอายุ 45 ปี

อาการมักจะรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วและเกี่ยวข้องกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน หรือโรคทางสมองและระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน

ขาอยู่ไม่สุขอาการเป็นยังไง?

ผู้ป่วยที่มีอาการขาอยู่ไม่สุขมักจะรู้สึกไม่สบายตัวที่ขา แต่บางครั้งอาการอาจเกิดขึ้นที่บริเวณอื่นของร่างกายได้เช่นกัน โดยอาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้ 

  • รู้สึกเหมือนมีแมลงไต่ขา
  • รู้สึกคันและต้องการเกา
  • รู้สึกปวดลึกในกล้ามเนื้อ
  • รู้สึกแสบร้อนหรือเหมือนมีเข็มทิ่ม
  • รู้สึกปวดตุบ ๆ ที่ขา
  • รู้สึกว่ากล้ามเนื้อตึง
  • รู้สึกว่าจำเป็นต้องขยับแขนขาเพื่อบรรเทาอาการ

อาการเหล่านี้มักจะทำให้ผู้ป่วยต้องขยับขาเพื่อบรรเทาความไม่สบายตัว ซึ่งอาการขาอยู่ไม่สุข ทำให้นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้ป่วยมักจะตื่นขึ้นมาขยับขาบ่อย ๆ ทำให้การนอนหลับไม่มีคุณภาพ และส่งผลให้มีอาการง่วงนอนตอนกลางวัน รู้สึกเหนื่อยล้า อารมณ์แปรปรวน ไม่มีสมาธิ และในบางกรณีอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า

นอนไม่หลับ นอนน้อย เพิ่มความเสี่ยงโรคร้าย!

อาการขาอยู่ไม่สุข เป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ ส่งผลให้เรานอนน้อยและพักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากกระทบชีวิตประจำวันแล้ว ยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้

  • เกิดความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนลดลง
  • ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต เช่น เกิดความเครียด โรคซึมเศร้า
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และมะเร็งลำไส้

แต่ไม่ว่าการนอนไม่หลับจะเกิดจากสาเหตุไหน ปลายทางก็คือมันเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้าย ไม่ว่าโรคมะเร็ง โรคหัวใจ การทำประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองถึง 4 กลุ่มโรค แถมเป็นประกันแบบเจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท ที่รู้ใจ จะช่วยคุ้มครองคุณในวันที่เกิดโรคร้ายช่วยให้อุ่นใจแล้วเข้าถึงการรักษาที่คุณเลือกได้เอง

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อมีอาการขาอยู่ไม่สุข

ขาอยู่ไม่สุข เกิดจากอะไร?

สาเหตุของ RLS อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แล้วขาอยู่ไม่สุข เกิดจากอะไรได้บ้าง ปัจจัยที่พบบ่อยได้แก่

  1. การขาดสารโดพามีน – RLS มีความเกี่ยวข้องกับปมประสาทฐาน (basal ganglia) ซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยใช้สารสื่อประสาทที่เรียกกันว่าโดพามีน หากร่างกายขาดสารโดพามีน อาจส่งผลต่อการทำงานของปมประสาทฐาน
  2. พันธุกรรม – RLS มักพบในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้
  3. ยาบางชนิด  เช่น ยาแก้แพ้ ยาต้านเศร้า ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
  4. การขาดธาตุเหล็ก – ภาวะขาดธาตุเหล็กอาจทำให้อาการแย่ลง
  5. โรคต่าง ๆ  เช่น ภาวะโลหิตจาง โรคไต โรคเบาหวาน โรคปลายประสาทอักเสบ
  6. การตั้งครรภ์ – โดยเฉพาะในการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน)
  7. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การบริโภคแอลกอฮอล์ คาเฟอีน นิโคติน ความเครียด หรือการนอนไม่พอ

อาการขาอยู่ไม่สุขรักษายังไง?

อาการขาอยู่ไม่สุข ทำให้นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นอาการที่สามารถรักษาได้ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแพทย์จะประเมินอาการและรักษา ดังนี้

  • การรักษาที่ต้นเหตุ เช่น การงดยาอื่น ๆ หรือรักษาโรคที่เป็นต้นเหตุ เช่น โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน
  • การรักษาเพื่อให้เกิดความสมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย โดยเฉพาะธาตุเหล็ก
  • การปรับระดับชีวเคมีในร่างกาย โดยใช้ยาที่ช่วยให้เกิดความสมดุลของสาร Dopamine

นอกจากนั้นก็มีวิธีแก้ขาอยู่ไม่สุขด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงและการดูแลตนเองที่บ้าน เช่น

  • นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 7 ชั่วโมงทุกคืน
  • ออกกำลังกายเพื่อช่วยบรรเทาอาการ แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนักหรือออกกำลังกายช่วงเย็น
  • ลดการบริโภคคาเฟอีน และงดการดื่มชา น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอื่น ๆ เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์เพื่อดูว่าอาการดีขึ้นหรือไม่
  • สวมใส่ปลอกรัดเท้าหรือใช้ vibrating pad สำหรับผู้ป่วย RLS
อาการขาอยู่ไม่สุขที่ควรพบแพทย์

อาการขาอยู่ไม่สุขแบบไหนที่ควรพบแพทย์?

หากอาการขาอยู่ไม่สุขรบกวนการนอนหลับจนทำให้คุณภาพการนอนลดลง พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีอาการนอนไม่หลับและมีอาการง่วงนอนตอนกลางวัน ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์ต้องทำยังไง?

สำหรับการเตรียมตัวเพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนพบแพทย์ เช่น 

  • จดบันทึกอาการ โรคประจำตัว และยาที่กำลังรับประทาน
  • พาเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวไปด้วยเพื่อช่วยจำข้อมูล
  • จดคำถามที่ต้องการถามแพทย์

หากคุณรู้สึกว่าอาการขาอยู่ไม่สุข ทำให้นอนน้อย นอนไม่หลับ จนเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ง่วงตอนทำงานหรือขับรถ การพบแพทย์และได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องสามารถช่วยให้คุณจัดการกับโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะกลายเป็นอุบัติเหตุไม่คาดคิดหรือส่งผลกระทบระยะยาวต่อร่างกายจนเป็นโรคร้ายแรง

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

สารสื่อประสาท คือ สารเคมีในร่างกายที่สร้างขึ้นเพื่อส่งสัญญาณจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์ประสาทหนึ่ง
ปมประสาทฐาน ปมประสาทฐาน หรือ Basal Ganglia เป็นกลุ่มของนิวเคลียส (nuclei) ที่อยู่ในสมองส่วนกลาง (cerebrum) และทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้อ รวมถึงมีบทบาทในกระบวนการเรียนรู้และการประมวลผลข้อมูลเชิงอารมณ์และความคิด