Roojai

สัญญาณเตือนโรคกรวยไตอักเสบ! พร้อมสาเหตุ การรักษา และการป้องกัน

เจาะลึกอาการกรวยไตอักเสบ พร้อมวิธีการรักษา | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

ความแข็งแรงสมบูรณ์ของสุขภาพร่างกาย เป็นพรอันประเสริฐที่ทุกคนล้วนแล้วแต่อยากได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลกที่เราอยู่กันทุกวันนี้มีทั้งฝุ่นพิษ อากาศผิดเพี้ยน รวมไปถึงอาหารที่เรารับประทานกันอยู่ทุกมื้อทุกวัน ล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไปกระตุ้นให้ร่างกายของเราเกิดอาการเจ็บป่วย และเกือบจะทุกโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะแรก ๆ ซึ่งการที่จะรู้ได้นั้นต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียดเท่านั้น บทความอีกนี้จะบอกถึงปัญหาเรื่องกรวยไต หลายคนอาจจะไม่ทราบว่ากรวยไตมีไว้ทำหน้าที่อะไร แล้วถ้ากรวยไตมีปัญหาขึ้นมาจะเกิดอะไรกับร่างกายของเรา ไปค้นหาคำตอบพร้อมกัน

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

กรวยไตอักเสบ คืออะไร?

กรวยไต เป็นส่วนหนึ่งของไต ลักษณะของกรวยไตจะเป็นโพรงต่อกับท่อไต ซึ่งกรวยไตมีหน้าที่ที่เป็นที่รวมของปัสสาวะที่ถูกกรองออกมาจากไตก่อนจะผ่านไปยังท่อไตและลงไปยังท่อปัสสาวะ กรวยไตสามารถเกิดการอักเสบแบบเฉียบพลัน หรืออาจเป็นแบบเรื้อรังก็ได้เช่นกัน พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในกรวยไต ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือภูมิคุ้มกันต่ำ  

กรวยไตอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกรวยไต โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียอีโคไลที่เป็นเชื้อที่พบได้บ่อย แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ 

  • กรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลัน 
  • กรวยไตอักเสบแบบเรื้อรัง
นิ่วกรวยไต ปัจจัยเสี่ยงกรวยไตอักเสบ | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

กรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลัน VS กรวยไตอักเสบเรื้อรังต่างกันยังไง?

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการกรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลันซึ่งจะแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจนและรุนแรง เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ (Gram-negative bacteria) บริเวณกรวยไต โดยเชื้อที่พบได้บ่อย เช่น อีโคไล สูโดโมแนส และเคล็บซิลลา สามารถรักษาให้หายภายใน 2-3 สัปดาห์  

แต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนที่กรวยไตอักเสบแบบเรื้อรังซึ่งจะไม่แสดงอาการ นอกจากจะทำการตรวจและพบเชื้อในเม็ดเลือดขาวและปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการอักเสบเป็นเวลานาน (เรื้อรัง) ทำให้เซลล์ของไตนั้นเสื่อมจนเกิดภาวะไตวายเรื้อรังนั่นเอง บางครั้งเราอาจไม่รู้เลยว่าอะไรจะเกิดขึ้นในร่างกายเราบ้าง แต่เราวางแผนรับมือได้ด้วยการทำประกันโรคร้ายแรงที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาในระยะยาว ที่รู้ใจมีประกันโรคร้ายแรงเจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท คุ้มครอง 80+ โรค ทั้งมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ กลุ่มอาการทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะอวัยวะล้มเหลว

โรคไตน่ากลัวแค่ไหน? มาดูสถิติคนไทยที่เป็นโรคไตกัน

คำตอบของเรื่องนี้ นพ.ดิเรก ขำแป้น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้เปิดเผยว่า “ในประเทศไทยเองมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังขยายตัวขึ้นเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากอาหารการกิน และการใช้ชีวิต โดยจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพหรือ HDC รายงานไว้ว่า มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังถึง 1,062,756 คน ในปี 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้นมาจากปี 2565 เป็นจำนวนมากถึง 85,064 คน  

แบ่งเป็นผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 3 จำนวน 464,420 คน และผู้ป่วยระยะที่ 4 อีก 122,363 คน ส่วนระยะที่ 5 ที่จำเป็นต้องฟอกไตมีมากถึง 70,474 คน ตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขที่น่ากลัว และเป็นตัวเลขที่ตรวจนับได้จากการมาโรงพยาบาล ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่เข้ารับการรักษา นี่จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรหันมาดูแลสุขภาพตัวเอง” 

กรวยไตอักเสบมีอาการยังไงบ้าง?

  • ไข้สูง หนาวสั่น
  • ปวดหัว
  • เบื่ออาหาร
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดท้อง
  • อาเจียนและคลื่นไส้
  • ปวดที่เอวด้านใดด้านหนึ่ง
  • ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย แสบ หรือขัด และมีปัสสาวะขุ่นร่วมด้วย

อาการแบบไหนที่ต้องรีบพบแพทย์?

หากมีอาการติดเชื้อ ปัสสาวะเป็นเลือด คลื่นไส้ หรืออาเจียน สาเหตุจากการติดเชื้อที่รุนแรงที่ไต ภาวะเช่นนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต จึงแนะนำว่าหากพบความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์จะดีที่สุด

การรักษากรวยไตอักเสบ | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

วิธีการรักษาโรคกรวยไตอักเสบ

สำหรับการรักษาโรคกรวยไตอักเสบนั้น หลัก ๆ แพทย์จะทำการรักษาด้วย 2 วิธีเป็นหลัก ดังนี้ 

  1. การให้ยาปฏิชีวนะ เป็นการรักษาหากอาการไม่รุนแรง เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น ยาไซโพรฟล็อกซาซิน และยาซัลฟาเมท็อกซาโซล เป็นต้น
  2. การฉีดยา หากมีอาการรุนแรงต้องนอนพักที่โรงพยาบาล และฉีดยาปฏิชีวนะเจนตามัยซิน (Gentamicin) เข้าทางเส้นเลือดดำเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง บางรายอาจต้องให้ร่วมกับน้ำเกลือและยาแก้ปวด และแพทย์จะทำการตรวจปัสสาวะ และเลือด โดยต้องมาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด 

วิธีการป้องกันกรวยไตอักเสบ

  • ควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน 8-10 แก้ว
  • ไม่ควรอั้นปัสสาวะ
  • หลังจากการอุจจาระ แนะนำให้ทำความสะอาดที่ด้านหน้าก่อน ถึงจะทำความสะอาดที่ทวาร เพราะเชื้อโรคอาจเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะได้ โดยเฉพาะในเพศหญิง
  • ปัสสาวะทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะสีขุ่นมาก หรือปัสสาวะแล้วแสบขัด ควรพบแพทย์ทันที

ภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้างที่ควรระวัง?

  • เกิดรอยแผลเป็นหรือฝีในไต ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเป็นโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง และไตวายแบบเฉียบพลัน
  • ภาวะเลือดเป็นพิษ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาจทำให้ช็อกได้ และการติดเชื้อที่ไตอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดเข้าสู่ร่างกายได้ 
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และเป็นโรคไต อาจทำให้เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ

โรคกรวยไตอักเสบ เป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตามหากพบว่ามีอาการผิดปกติ การไปพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนและทำให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และอย่าลืมดูแลตัวเองให้สุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ เชื่อเถอะว่า การลงทุนลงแรงในสุขภาพเป็นการลงทุนที่ราคาไม่แพงและคุ้มค่ามาก ๆ ในระยะยาว 

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ภูมิคุ้มกันต่ำ คือ ภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานไม่เต็มที่หรือมีประสิทธิภาพลดลง ทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและโรคต่าง ๆ มากขึ้น
แบคทีเรียแกรมลบ คือ แบคทีเรียที่ไม่สามารถรักษาสีคริสตัลไวโอเลตในการย้อมสีแกรมได้ แบคทีเรียแกรมลบมีผลทำให้เกิดโรค เช่น อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น