นอกจากที่คนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกายแล้ว อีกเรื่องที่หลาย ๆ คนไม่ละเลยเช่นกันคือ เรื่องของความสวยความงาม ความสวยความงามในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะใบหน้าเท่านั้น แต่รวมไปถึงรูปร่างหน้าตา ทรงผม สีผม สไตล์การแต่งตัว สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับคน ๆ นั้น แต่ในบางคนที่ประสบปัญหาผมหงอกก่อนวัย อาจกำลังกลุ้มใจ กังวลใจ และอายที่จะออกจากบ้าน วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การย้อมผม แต่จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าเราได้สืบจนทราบว่าผมหงอกก่อนวัยเกิดจากอะไร การรักษาที่ต้นเหตุ น่าจะดีกว่าการรักษาที่ปลายเหตุ
- ผมหงอกเกิดจากอะไร?
- รู้มั้ย? คนที่ต่างเชื้อชาติกันจะเกิดผมหงอกในอายุที่ต่างกัน
- อายุเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่ามีผมหงอกก่อนวัย?
- สาเหตุอะไรบ้างที่เร่งให้เกิดผมหงอก?
- ผมหงอกก่อนวัยเป็นสัญญาณเตือนโรคอะไรบ้าง?
- ผมหงอก รักษาได้ไหม?
- วิธีลดความเสี่ยงผมหงอกก่อนวัย
- รู้ใจตอบ! หากเราถอนผมหงอก ผมงอกใหม่จะเป็นสีอะไร?
ก่อนที่เราจะไปทราบถึงต้นเหตุของการเกิดผมหงอกก่อนวัย เรามาทำความเข้าใจกลไกการทำงานของวัฏจักรเส้นผมของเรากันก่อน
ผมหงอกเกิดจากอะไร?
เส้นผมของทุกคนสร้างมาจาก เซลล์รากผม เซลล์รากผมนี้ จะอยู่ลึกลงไปในชั้นหนังศีรษะประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ที่บริเวณรากผมจะมีเซลล์ที่สามารถสร้างเม็ดสี เช่น คนเอเชียจะมีผมสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เพราะส่วนใหญ่คนเอเชียจะมีเม็ดสีที่เรียกว่า “ยูเมลานิน” ซึ่งมีสีที่เข้ม ส่วนคนแถบฝั่งยุโรป สหรัฐอเมริกา จะมีสีผมเป็นสีทอง เพราะมีเมลานินน้อยกว่า และจะมีเซลล์เม็ดสี “ฟีโอเมลานิน” เยอะกว่า
เซลล์เม็ดสีเหล่านี้ จะเหมือนเซลล์อื่น ๆ ทั่วร่างกายของเรา ที่เมื่อวันเวลาผ่านไป เซลล์พวกนี้จะมีความเสื่อมสภาพ ทำงานช้าลง หรือตายไป และจะมีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทน แต่ก็อาจจะมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เซลล์เสื่อมเร็วกว่าปกติ หรือเมื่อเซลล์ตายแล้วกลับไม่มีเซลล์ใหม่ ๆ ขึ้นมาแทน จึงทำให้เกิด ผมหงอก
รู้มั้ย? คนที่ต่างเชื้อชาติกันจะเกิดผมหงอกในอายุที่ต่างกัน
โดยเฉลี่ยแล้ว คนเอเชียจะเริ่มมีผมหงอกขึ้นตั้งแต่อายุ 40 ปีเป็นต้นไป ส่วนคนผิวขาวหรือแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา จะเริ่มมีผมหงอกก่อนคนเอเชีย เฉลี่ยอยู่ที่อายุประมาณ 35 ปี นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้สามารถบอกได้ว่า ผมหงอกอาจมีผลมาจากสารพันธุกรรม
ในผู้ที่มีปัญหาผมหงอกก่อนวัย หากสืบประวัติครอบครัวแล้ว มักจะพบปัญหาเดียวกันในพ่อหรือแม่ โดยที่ส่วนใหญ่ผู้ชายมักจะมีผมหงอกที่จอนและขมับ และจะค่อย ๆ เริ่มกระจายไปที่บริเวณกระหม่อม ส่วนในผู้หญิง มักจะเริ่มมีผมหงอกที่บริเวณไรผมก่อนบริเวณอื่น ๆ
อายุเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่ามีผมหงอกก่อนวัย?
โดยเฉลี่ยแล้ว ทั้งเพศหญิงและเพศชาย จะเริ่มมีผมหงอกช่วงเข้าสู่วัยกลางคน อายุ 30-40 ปี การเกิดผมหงอกก่อนวัย อาจมาจากเชื้อชาติ สำหรับคนเอเชีย หากพบว่ามีผมหงอกขึ้นก่อนอายุ 25 ปี แบบนี้เข้าข่าย ผมหงอกก่อนวัย
รู้ใจตอบ! หากเราถอนผมหงอก ผมงอกใหม่จะเป็นสีอะไร?
การที่ผมหงอกได้นั้นมันขึ้นอยู่กับเซลล์สร้างเม็ดสีในผม หากเซลล์สร้างเม็ดสีถูกทำลายไปแล้ว หรือเสื่อมสภาพตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะถอนผมหงอกออกสักกี่ครั้ง ผมงอกออกมามันก็จะยังขึ้นมาเป็นสีขาวอยู่ดี ไม่เป็นสีดำตามที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดไป
สาเหตุอะไรบ้างที่เร่งให้เกิดผมหงอก?
นอกจากธรรมชาติของเส้นผมแล้ว ยังมีสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ อีก ดังต่อไปนี้
- บุหรี่เป็นตัวการของการเกิดสารอนุมูลอิสระ ซึ่งสารอนุมูลอิสระนี้จะไปทำลายเซลล์ผมโดยตรง
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ยาบางชนิด
- ภาวะขาดสารอาหารรุนแรง ขาดโปรตีน ธาตุเหล็กและภาวะขาดทองแดง
- กรรมพันธุ์
- โรคประจำตัว เช่น ไทรอยด์ชนิดเกรฟ โรคผิวหนังอักเสบ ภาวะผิดปกติของภูมิต้านทาน โรคโลหิตจางชนิดขาดวิตามิน B12 โรคผิวหนังบางชนิด เช่น โรคด่างขาว
- ผมหงอกก่อนวัยเกิดจากอะไร อาจเกิดจากโรคร้ายแรง อย่างโรคไตเรื้อรัง ซึ่งหากเป็นในระยะท้าย ๆ แน่นอนว่ามีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง และต้องรับการรักษาต่อเนื่องยาวนาน การวางแผนทางการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่รู้ใจมีประกันโรคร้ายแรง เจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท และมีความคุ้มครองไตวายเรื้อรังหากเลือกความคุ้มครองกลุ่มภาวะอวัยวะล้มเหลว มีเงินสำรองในวันที่ป่วย นอกจากจ่ายค่ารักษาพยาบาล ยังบริหารเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าบัตรเครดิตได้อีกด้วย
ผมหงอกก่อนวัยเป็นสัญญาณเตือนโรคอะไรบ้าง?
- โรคโลหิตจาง หากป่วยเป็นโรคโลหิตจางจะทำให้รากผมขาดเลือดไปเลี้ยงเซลล์เม็ดสี
- โรคขาดสารอาหาร โดยเฉพาะการขาดวิตามิน B12 ทำให้เส้นผมขาดหลุดร่วงง่าย และบางลง
- โรคเบาหวาน ตามสถิติทางการแพทย์ระบุว่า ถ้ามีผมขาวแต่คิ้วยังดกดำ ในช่วงอายุ 50-70 ปี คนกลุ่มนี้อาจมีแนวโน้มจะเป็นโรคเบาหวาน
- โรคไทรอยด์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของเม็ดสีในเส้นผมของเรา
ผมหงอก รักษาได้ไหม?
วิธีรักษาผมหงอกขึ้นก่อนวัยที่ดีที่สุด คือ การหาสาเหตุของการเกิดผมหงอก เช่น ขาดวิตามินหรือไม่ หากขาดวิตามิน เมื่อเติมวิตามินเข้าร่างกาย จนอาการขาดวิตามินดีขึ้น ปัญหาผมหงอกก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
แต่ในคนที่ผมหงอกก่อนวัยที่มาจากพันธุกรรม จะไม่สามารถรักษาอาการผมหงอกให้หายขาดได้ ซึ่งหากไม่ชอบที่ตัวเองมีผมหงอก เพราะทำให้ดูแก่ ไม่มั่นใจ วิธีที่ทำได้คือการย้อมสีผม
วิธีลดความเสี่ยงผมหงอกก่อนวัย
- จากงานวิจัยพบว่า การสูบบุหรี่มีผลโดยตรงต่อการเกิดผมหงอกก่อนวัย หากต้องการหยุดปัญหาผมหงอกก่อนวัย ควรงดสูบบุหรี่เพื่อลดเลี่ยงความเสียหายที่จะมีต่อเซลล์สร้างเม็ดสี (ที่มา: chulalongkornhospital.go.th)
- ดูแลเรื่องอาหารการกิน ให้ได้สารอาหารครบถ้วน เพราะหนึ่งในสาเหตุที่เกิดผมหงอกก่อนวัย มาจากการขาดสารอาหาร ขาดวิตามินที่มีผลต่อเซลล์สร้างเม็ดสี โดยการที่ผมหงอกขาดวิตามินอะไร ก็ต้องทานวิตามินนั้นอย่างเพียงพอเพื่อลดความเสี่ยง โดยเฉพาะวิตามินบี 12, โอเมก้า 3 ธาตุเหล็ก, ทองแดง, สังกะสี ซึ่งมักจะมีอยู่ในเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ตับ ไข่ นมไขมันต่ำ ผักใบเขียว ถั่วและธัญพืช
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือสงสัยว่า มีอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผมหงอกก่อนวัย เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคไพบอลดิซึม (piebaldism) กลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก (Waardenburg Syndrome) โรคด่างขาว โรคผมร่วงเป็นหย่อม โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง โรคไทรอยด์ ผู้ที่มีโรคดังกล่าวนี้ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษา
ผมหงอกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่ออายุมากขึ้น แต่บางคนอาจมีผมหงอกก่อนวัย ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แม้ไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่บางครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพ ดังนั้นการสังเกตตัวเองบ่อย ๆ และปรึกษาแพทย์เมื่อมีความผิดปกติของร่างกายจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
โรคทางพันธุกรรม | โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซม ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้ โรคทางพันธุกรรมอาจส่งผลต่อร่างกายและสมอง |
สารอนุมูลอิสระ | สารไม่เสถียรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในร่างกาย หรือได้รับจากปัจจัยภายนอก โดยสารอนุมูลอิสระเหล่านี้สามารถทำลายเซลล์ในร่างกาย เร่งการเสื่อมสภาพของเซลล์ และเพิ่มความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ |
สารพันธุกรรม | สารชีวโมเลกุลที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมสำหรับการทำงานของสิ่งมีชีวิต และเมื่อมีการสืบพันธุ์ ก็จะมีการถ่ายทอดต่อไป |