เรื่องของสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต่างรับรู้ ในปัจจุบันการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานหลายบริษัทเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ซึ่งในการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานนั้น ต้องมีใบรับรองจากแพทย์ และใบผลตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน จุดประสงค์ก็เพื่อต้องการยืนยันถึงความสมบูรณ์ แข็งแรงของร่างกาย รวมไปถึงเป็นเครื่องช่วยยืนยันว่าตนเองไม่ได้ป่วยเป็นโรคติดต่อ หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน
ในบทความนี้ รู้ใจจะมาอธิบายถึงวิธีการและขั้นตอนในการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน ควรตรวจตามรายการตรวจสุขภาพอะไรบ้าง และควรเลือกตรวจสุขภาพที่ไหนดี
สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!
- ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน?
- ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานต้องตรวจอะไรบ้าง?
- ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานแตกต่างจากตรวจสุขภาพประจำปียัง?
- ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน 5 โรคคืออะไร?
- ผู้ชายกับผู้หญิงมีรายการตรวจสุขภาพต่างกันมั้ย?
- ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานที่ไหนดี?
- ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน ราคาเท่าไหร่?
- วิธีการเตรียมตัวเพื่อตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานมีวิธียังไง?
- Q&A ก่อนตรวจสุขภาพเข้าทำงาน
ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน?
ปัจจุบันการตรวจสุขภาพก่อนเข้างานเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหลาย ๆ บริษัทเพื่อสร้างความมั่นใจก่อนการทำงานว่า พนักงานที่เข้ามาที่ทำงานจะได้มีความพร้อมและสุขภาพแข็งแรง ซึ่งจะส่งผลดีต่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงานของคนในองค์กรที่ต้องทำงานร่วมกัน ในขณะเดียวกันก็เกิดประโยชน์กับตัวพนักงานเอง เพราะการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานจะทำให้ทราบถึงสุขภาพโดยรวมของตนเอง หากมีโรคที่ยังไม่แสดงอาการหรือมีแนวโน้มจะเกิดโรค สามารถรักษาได้ทันเวลา ลดต้นทุนค่ารักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานต้องตรวจอะไรบ้าง?
ก่อนเริ่มทำงานต้องตรวจสุขภาพ ตรวจอะไรบ้าง? เรามีคำตอบ โดยการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานจะแตกต่างกันไปในแต่ละการทำงานในบริษัท ซึ่งจะสามารถแบ่งเป็นการตรวจสุขภาพทั่วไปและการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงของงานที่ทำ โดยทั่วไปมักประกอบด้วย
- การซักประวัติและตรวจสุขภาพทั่วไป (Physical exams) – โดยแพทย์จะซักประวัติเบื้องต้นและตรวจวัดสัญญาณชีพ เช่น ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต การทำงานของระบบประสาท ตรวจเอกซ์เรย์ปอดและช่องท้อง เป็นต้น
- การตรวจวัดทางสายตา – เพื่อดูค่าสายตา ภาวะตาบอดสี และการตอบสนองของดวงตาดีหรือไม่
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด – จะเป็นการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของเม็ดเลือด ระดับคอเลสเตอรอล ค่าไต และค่าไทรอยด์ฮอร์โมน
- ตรวจปัสสาวะและสารเสพติด – ตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะ รวมถึงตรวจหาโรคอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคไต และโรคเบาหวาน เพราะคงไม่มีบริษัทไหนที่อยากรับความเสี่ยงจากการที่พนักงานของตนเองติดสารเสพติด
- ตรวจหาเชื้อไวรัสและโรคติดต่อ – ตรวจหาโรคติดต่อที่ติดได้จากการใช้ของร่วมกันหรือทางสารคัดหลั่ง เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โควิด-19 เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำงานร่วมกัน
ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานแตกต่างจากตรวจสุขภาพประจำปียังไง?
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน คือ การตรวจที่มีรายการตรวจสุขภาพเฉพาะเจาะจงตามที่บริษัทกำหนด เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานมีสุขภาพที่พร้อมต่อการทำงาน
การตรวจสุขภาพประจำปี คือ การตรวจเพื่อประเมินสภาพสุขภาพโดยรวมของพนักงานเป็นประจำทุกปี เพื่อค้นหาความเสี่ยงหรือความผิดปกติที่อาจนำไปสู่โรคในอนาคต เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด เป็นต้น
ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน 5 โรคคืออะไร?
ในบางบริษัทจะระบุให้ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานโดยขอใบผลตรวจสุขภาพ 5 โรค ได้แก่
- วัณโรคในระยะอันตราย
- โรคเท้าช้าง
- โรคยาเสพติดให้โทษ
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคเรื้อรังหรือร้ายแรงอื่น ๆ ที่แสดงอาการชัดเจน
ผู้ชายกับผู้หญิงมีรายการตรวจสุขภาพต่างกันมั้ย?
รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานอาจมีความแตกต่างกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง เช่น ในผู้ชายอาจมีการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากหรือการตรวจถุงลมโป่งพอง สำหรับผู้หญิงอาจมีการตรวจภายในเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือการตรวจเต้านม ซึ่งการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานถือเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะได้รับทราบสุขภาพภายในของเราด้วย และหากตรวจพบขึ้นมา หลายคนคงกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่หมดห่วงได้ด้วยการทำประกันโรคร้ายแรงติดไว้ ที่รู้ใจ เจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท คุ้มครองมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ กลุ่มอาการทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะอวัยวะล้มเหลว
ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานที่ไหนดี?
ในการเลือกสถานที่ตรวจสุขภาพควรสถานที่ที่ได้มาตรฐาน เช่น โรงพยาบาล ที่มีโปรแกรมตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมตามที่บริษัทกำหนด และสามารถรับผลตรวจได้ทันที
ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน ราคาเท่าไหร่?
ค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานนั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลและรายการการตรวจที่คุณเลือก
- โรงพยาบาลรัฐทั่วไป ค่าตรวจสุขภาพอาจอยู่ที่ประมาณ 500-1,000 บาท
- โรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายอาจสูงกว่า 1,000-2,000 บาท ขึ้นไป
- ตรวจสุขภาพคลินิก ราคาก็จะประมาณ 500-1500 บาทขึ้นอยู่กับคลิกนิกที่จะไปตรวจ
แต่ก่อนที่จะไปตรวจอย่าลืมเช็คกับบริษัทว่าสามารถไปตรวจที่ไหนได้บ้าง เพราะบางครั้งคลินิกตรวจสุขภาพใกล้ฉันอาจไม่ได้ครอบคลุมโรคทั้งหมดจึงควรถามบริษัทให้แน่ใจ และในส่วนของราคา การโทรสอบถามไปยังสถานพยาบาลโดยตรง จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนกว่า โดยบอกรายละเอียดว่าต้องตรวจกี่โรค โรคอะไรบ้างและสอบถามโดยตรงกับโรงพยาบาลนั้น ๆ เลย
รู้หรือไม่? คุณสามารถใช้บัตรประกันสังคมตรวจสุขภาพประจำปีได้นะ
ในปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคมได้ขยายขอบเขตการให้สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพแก่ผู้ที่มีสิทธิประกันสังคม โดยให้สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปีได้ฟรี 1 ครั้ง เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ โดยมีโปรแกรมตรวจสุขภาพ เช่น ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจประเมินการทำงานของไต ตรวจวัดระดับไขมันในเลือด ดังนั้น หากคุณอยากตรวจสุขภาพ และเป็นผู้มีสิทธิประกันสังคม คุณสามารถใช้สิทธินี้ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
วิธีการเตรียมตัวเพื่อตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานมีวิธียังไง?
- เตรียมเอกสารยืนยันตัว เช่น บัตรประชาชน ใบขับขี่
- พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
- งดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ
- สวมเสื้อผ้าที่สบายและสะดวกต่อการเจาะเลือด
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง
- หากมีโรคประจำตัว ยาที่รับประทานประจำ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนตรวจ
Q&A ก่อนตรวจสุขภาพเข้าทำงาน
Q1: ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานต้องงดอาหารไหม?
A:ต้องงดอาหารก่อนตรวจสุขภาพ 8-10 ชั่วโมง
Q2: จะทราบผลตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานภายในกี่วัน?
A: ส่วนมากใบตรวจสุขภาพจะออกภายใน 1 วันหรือน้อยกว่านั้น
Q3: หากรับประทานกินยาคุมหรือวิตามินจะมีผลกับการตรวจสุขภาพหรือไม่?
A:สำหรับยาคุมไม่มีผลต่อการตรวจสุขภาพ แต่ควรงดวิตามินก่อนตรวจ
Q4: ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานจำเป็นต้องตรวจเอดส์ไหม?
A:สามารถตรวจหาเชื้อ HIV ได้แต่ต้องมีการเซ็นเอกสารยินยอม
เรื่องของการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานมีประโยชน์ทั้งต่อบริษัทและต่อตัวพนักงานเอง ช่วยเพิ่มความมั่นใจในสุขภาพและเพื่อเป็นการยืนยันถึงความพร้อมในการเข้าทำงาน สำหรับคนวัยทำงานที่ไม่ได้วางแผนหางานใหม่การหาแพคเกจตรวจสุขภาพหรือลองตรวจสุขภาพทั่วไปทุก ๆ ปี แบบนี้ก็จะช่วยให้เราห่างไกลโรคร้าย และยังเพิ่มโอกาสในการรักษามากขึ้นวินิจฉัยโรคได้เร็ว
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
ดัชนีมวลกาย | ดัชนีมวลกายหรือค่า BMI คือ ตัวดัชนีที่ใช้ในการชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัวและส่วนสูง |
สารคัดหลั่ง | สารที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ๆ แตกต่างกันออกไป สารคัดหลั่งเช่น น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ปัสสาวะ เลือด น้ำตา |