ย้อนไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา มีรายงานค่ามลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM 2.5 ของประเทศไทยพุ่งติดอันดับ 6 ของโลก ก่อนที่เราจะรับมือกับปัญหามลพิษทางอากาศหรือฝุ่น PM 2.5 นี้ เราไปทำความเข้าใจและเรียนรู้ถึงฝุ่น PM 2.5 กันให้ดีก่อนว่ามันเกิดจากอะไรและอันตรายมากแค่ไหน
ฝุ่น PM 2.5 คือ ค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองเล็ก ๆ ในอากาศ หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อม ประเทศสหรัฐอเมริการได้กำหนดไว้ว่า ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กในอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยใช้ค่า PM (Particulate Matters) เป็นเกณฑ์ในการวัดคุณภาพอากาศ ค่ามาตรฐานทั่วไป PM จะอยู่ที่ PM 10 หรือที่เรียกว่า “ฝุ่นหยาบ” เป็นฝุ่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่ฝุ่นที่มีละอองเล็กกว่านั้น เช่น ฝุ่น PM 2.5 หรือที่เรียกว่า “ฝุ่นจิ๋ว” ฝุ่นเหล่านี้มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์หากได้รับในปริมาณที่มาก
ผลเสียต่อสุขภาพที่มากับฝุ่น PM 2.5 มีอะไรบ้าง?
- ส่งผลต่อระบบหายใจ เมื่อเราหายใจเอาฝุ่น PM 2.5 เข้าไปจะทำให้เกิดอาการแสบจมูก ไม่สบาย ไอ จาม มีเสมหะ
- ฝุ่น PM 2.5 มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่างภูมิแพ้ โรคปอด หอบหืด ถุงลมโป่งพอง อาจทำให้อาการต่าง ๆ เหล่านี้กำเริบได้
- หากร่างกายได้รับฝุ่น PM 2.5 นี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งปอดและโรคระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือดได้
แล้วฝุ่น PM 2.5 นี้มาจากไหนกัน?
- มาจากการเผาไหม้ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่
- การเผาไหม้เชื้อเพลิงทั้งดีเซลและแก๊สโซฮอลล์จากท่อไอเสียเครื่องยนต์
- เกิดจากการผลิตไฟฟ้า กระบวนการผลิตไฟฟ้าทำให้มีการปล่อยฝุ่นจิ๋วหรือฝุ่น PM 2.5 ออกมามากในอากาศ
- สารเคมีและอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ เช่น ในเขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง ที่วัดได้ในแต่ละปี 65,140 ตันต่อปีในการปล่อยฝุ่นจิ๋วออกมา
เมื่อร่างกายของเราได้รับฝุ่น PM 2.5 เข้าไปมาก ๆ นอกจากจะทำให้โรคประจำตัวของเรากำเริบแล้ว มันอาจจะนำพาโรคร้ายแรงต่าง ๆ มาให้เราอีกด้วย
ฝุ่น PM 2.5 พาโรคร้ายแรงอะไรมาให้คุณได้บ้าง?
- โรคระบบทางเดินหายใจ – ฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่นจิ๋วมีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีค่าความเข้มข้นสูงเกิน 120 ไมครอน เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง อักเสบ ทำให้เรามีอาการไอ จาม แสบคอ แสบจมูก แสบตา
- โรคหัวใจและหลอดเลือด – เมื่อร่างกายเราได้รับฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณมาก สามารถทำให้เลือดของเรามีความข้นสูงและทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
- โรคผิวหนัง – ในฝุ่น PM 2.5 มีสารคาร์บอนปนอยู่ด้วย ซึ่งสารคาร์บอนนี้มีคุณสมบัติในการละลายได้ดีในน้ำมัน จึงสามารถเล็ดลอดเข้าสู่ผิวหนังของเราได้ และเมื่อเข้าสู่ผิวหนังของเรา จนเกิดการทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นมีผลทำให้ผิวหนังของเราเหี่ยวย่น เกิดริ้วรอยได้ง่าย ผิวหมองคล้ำ เกิดจุดด่างดำ ส่งผลต่อการทำงานของยีน เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบและโรคผื่นแพ้
- โรคเยื่อบุตาอักเสบ – หรือโรคตาแดง มาจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และมลพิษทางอากาศ เมื่อฝุ่น PM 2.5 นี้เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดอาการแสบตา คันตา
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ – มลพิษทางอากาศที่เราหายใจเข้าไป สามารถไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถนำไปสู่การเกิดหัวใจล้มเหลวและอาการน้ำท่วมปอดได้
- โรคมะเร็งปอด – พิษสงของฝุ่น PM 2.5 เมื่อเราสะสมเข้าไปในร่างกายของเราทุกวัน นานวันเข้า อาจเกิดผลกระทบต่อปอด ทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งปอดได้
ในเมื่อปัจจุบันนี้ ยังไม่มีวิธีที่จะป้องกันหรือแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในบ้านเราได้ ตัวเราเองจำเป็นที่ต้องรู้วิธีป้องกันและรับมือกับฝุ่นจิ๋วเหล่านี้ มีวิธีรับมือกับฝุ่น PM 2.5 อย่างไรกันบ้าง รู้ใจขอแนะนำเคล็ดลับ ดังนี้
เคล็ดลับการรับมือกับมลพิษทางอากาศหรือปัญหาฝุ่น PM 2.5 มีอะไรบ้าง?
- สวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น PM 2.5
หน้ากากอนามัยที่เราสวมกันทุกวันนั้นไม่สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ หากต้องการป้องกันฝุ่น PM 2.5 ต้องสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 ที่จะสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ - ทำร่างกายให้เเข็งแรงอยู่เสมอ
อีกวิธีรับมือกับฝุ่น PM 2.5 คือ ทำร่างกายตัวเองให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ - เลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง
ในช่วงที่ค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งสูงขึ้น ให้เลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด หากเป็นคนที่ชอบวิ่ง ชอบปั่นจักรยาน ชอบออกกำลังกาย ให้เปลี่ยนสถานที่ออกกำลังกายจากกลางแจ้ง มาเข้าฟิตเนสแทน - ตรวจสอบเครื่องยนต์ทั้งรถเก๋งและมอเตอร์ไซด์
ตรวจสอบให้มั่นใจว่า รถของเราไม่ได้ปล่อยไอเสียที่จะไปเพิ่มค่าฝุ่น PM 2.5 เป็นมลพิษทางอากาศ ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและเช็คความสมบูรณ์ของท่อไอเสียเป็นประจำ - สังเกตความผิดปกติของร่างกาย ทั้งตัวเองและคนในครอบครัว
หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น แสบตา ไอบ่อย หายใจไม่ค่อยออก หรือหายใจถี่ แน่นหน้าอก คลื่นไส้ ใจสั่น ให้รีบไปพบแพทย์ - ลดหรือเลี่ยงกิจกรรมปิ้งย่าง
รวมถึงงดจุดธูปภายในบ้าน ควันจากธูปหรือควันจากการกินอาหารปิ้งย่าง จะไปช่วยเพิ่มมลพิษทางอากาศให้มากขึ้น - ปลูกต้นไม้
การปลูกต้นไม้รอบ ๆ บ้าน จะสามารถช่วยทำให้อากาศในบ้านของเราบริสุทธิ์ขึ้นได้ เพราะต้นไม้จะไปดักจับมลพิษทางอากาศและปล่อยอากาศบริสุทธิ์ออกมาให้เรา
ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไม่น่าจะหมดไปจากประเทศไทยได้ง่าย ๆ การที่เราไม่เห็นไม่ใช่ว่ามันไม่มี ฝุ่น PM 2.5 คือมฤตยูที่แฝงตัวมากับอากาศที่เราหายใจเข้าไป รู้ใจหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกคน
โรค ภัย ไข้ เจ็บ ไม่ได้อยู่ไกลจากเราเลย มันอยู่ใกล้มากเพียงแค่หายใจเข้าไปก็สามารถทำให้เราเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ จะดีกว่าไหม ถ้ามีคนคอยดูแลค่ารักษาพยาบาลให้คุณเมื่อคุณเจ็บป่วยทางด้านสุขภาพ หนึ่งในการวางแผนการเงินที่ยอดเยี่ยมคือการมีประกันภัยไว้คุ้มครอง คุณจะได้หมดห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาลจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่รู้ใจ เราพร้อมดูแลคุณและคนที่คุณรักด้วยประกันภัยที่ซื้อง่าย ราคาดี และเชื่อถือได้ รับประกันภัยโดยบริษัทประกันชั้นนำหลายแห่ง มีประกันภัยให้เลือกมากมาย สามารถดูรายละเอียดออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม. เลย
ติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจ ประกันออนไลน์ ได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือ Official Line ID: @roojai