Roojai

ซีสต์ในรังไข่ อันตรายมั้ย? รู้ทันป้องกันความเสี่ยงมะเร็งรังไข่

รู้ทันป้องกันซีสต์ในรังไข่ | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพของผู้หญิงที่นอกจาก มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกแล้ว อีกหนึ่งในนั้นคือเรื่องของ ซีสต์ ทั้งซีสต์ในรังไข่ ซีสต์ในเต้านม ที่ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้น้อย แต่ใช่ว่าจะไม่เกิดเลย วันนี้ รู้ใจเลยหยิบยกเรื่องซีสต์ในรังไข่มาอธิบายให้ฟังกันว่า มันคืออะไรกันแน่ แล้วมันอันตรายมากน้อยแค่ไหน ป้องกันไม่ให้เป็นเลยได้หรือไม่ เราไปติดตามอ่านกันได้เลย 

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

ซีสต์ คืออะไร?

ซีสต์ (Cyst) คือ ถุงน้ำที่เกิดขึ้นในร่างกายของเรา ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงหรือเม็ดแคปซูลที่อยู่ติดกัน และมักจะบรรจุของเหลว ของแข็งกึ่งของเหลว หรืออากาศไว้ภายใน ซีสต์อาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่ และอาจเกิดขึ้นได้ทั้งบนผิวหนังและอวัยวะภายใน โดยในร่างกายของคนเรามีโอกาสที่จะเกิดซีสต์ได้เกือบทุกอวัยวะ ทั้งผิวหนัง กระดูก หรือแม้กระทั่งในสมอง แต่ในอวัยวะภายในของเพศหญิงจะมีความพิเศษมากกว่าเพศชาย คือเพศหญิงจะมีอวัยวะสืบพันธุ์นั่นก็คือ มดลูกและรังไข่ ที่เป็นอวัยวะที่มีโอกาสเกิดซีสต์ได้ง่าย โดยเฉพาะในรังไข่ เพราะเป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นถุง ฉะนั้น เรื่องซีสต์ในรังไข่คุณผู้หญิงควรทำความรู้จักโรคนี้เอาไว้ เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ซีสต์ในรังไข่ อันตรายไหม | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

ซีสต์ในรังไข่ เกิดจากอะไร?

ในความเป็นจริงแล้ว อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของมนุษย์มีโอกาสในการเกิดซีสต์ได้ทั้งนั้น เช่น ผิวหนัง ไขมัน กระดูก อวัยวะภายใน หรือแม้แต่สมองก็สามารถมีซีสต์เกิดขึ้นได้เช่นกัน ในเพศหญิงจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น รังไข่ มีโอกาสในการเกิดซีสต์ที่รังไข่ได้บ่อย เมื่อย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อาจเกิดซีสต์หรือถุงน้ำในรังไข่ได้ ซึ่งมันจะโตแล้วก็ยุบหายไปเองตามรอบเดือนจากการตกไข่ที่เป็นปกติ

ซีสต์ในรังไข่มีทั้งหมดกี่ประเภท?

ซีสต์ในรังไข่ หรือ Cystic Ovary สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

  1. ฟังก์ชันนัล ซีสต์ หรือ Functional Cyst – จะเป็นถุงน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อกักเก็บไข่ที่เป็นเซลล์สำหรับสืบพันธุ์ เมื่อถุงน้ำโตขึ้นก็จะแตกออก ทำให้ไข่ไหลออกมาและถุงน้ำนั้นก็จะค่อย ๆ ยุบตัวลงไปเอง
  2. เนื้องอกถุงน้ำรังไข่ หรือ Ovarian Cyst – หรือสามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า Ovarin Tumor เป็นเนื้องอกที่ถุงน้ำในรังไข่ชนิดไม่ร้ายแรง ถุงน้ำชนิดนี้จะมีลักษณะเฉพาะคือ ภายในจะบรรจุด้วยน้ำ ไขมัน เส้นผม หรือฟันและกระดูก
  3. ถุงน้ำที่คล้ายเนื้องอก หรือ Tumor like condition – เป็นการเจริญเติบโตผิดที่ของถุงน้ำในเยื่อบุโพรงมดลูก หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ ช็อกโกแลตซีสต์ ซึ่งเป็นถุงน้ำในรังไข่ที่มีของเหลวอยู่ด้านใน ซีสต์จะเกิดจากการตกไข่ผิดปกติ ทำให้มีของเหลวคั่งในรังไข่มากกว่าปกติ และของเหลวที่ว่านั้นไม่ใช่ช็อกโกแลตซีสต์ แต่เป็นเลือดประจำเดือนที่ค้างอยู่ในถุงน้ำเป็นเวลานานจนกลายเป็นสีน้ำตาล ทำให้มันมีลักษณะเหมือนช็อกโกแลตซีสต์
วิธีรักษาซีสต์ในรังไข่ | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

ซีสต์ในรังไข่อาการเป็นยังไง?

อาการซีสต์ในรังไข่จะมีดังนี้

  • คลำเจอก้อนที่หน้าท้อง
  • ปวดหน่วง ๆ บริเวณท้องน้อย
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น มามากผิดปกติ หรือมาน้อยจนผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ท้องอืด รู้สึกแน่นท้อง
  • มีอาการปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดจากถุงน้ำในรังไข่แตก หรือมีการบิดของถุงน้ำ ซึ่งหากเป็นกรณีดังกล่าว ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์และวินิจฉัยโรค 

ซีสต์ในรังไข่ อันตรายไหม?

ส่วนใหญ่แล้ว การเป็นซีสต์ที่รังไข่จะพบมากในผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ เมื่อมีประจำเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกจะมีเลือดซึมออกมา และสะสมในถุงน้ำเป็นเลือดเก่าและข้น โดยในระยะแรกของโรคจะยังไม่แสดงอาการซีสในรังไข่ แต่หากปล่อยไปนานวันเข้าจนถุงน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น อาจส่งผลให้มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง 

ซีสต์ในรังไข่กลายเป็นมะเร็งได้หรือไม่?

ซีสต์ในรังไข่มีโอกาสในการเกิดมะเร็งได้น้อย แต่ใช่ว่าจะไม่มีเลย ฉะนั้นแพทย์ผู้ตรวจต้องใช้ความระมัดระวังและรอบคอบในการวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่ หรือเคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มาก่อน หรืออัลตราซาวด์แล้วพบลักษณะของถุงน้ำขอบไม่เรียบ และพบน้ำในช่องท้อง หากแพทย์สงสัยก็จะทำการตรวจเพิ่มเติมในเรื่องของมะเร็งต่อไป ซึ่งหากเป็นมะเร็งขึ้นมาจริง ๆ เรื่องที่หลายคนเป็นกังวลหลัก ๆ คือค่ารักษา แต่แก้ปัญหาด้วยการทำประกันแต่เนิ่น ๆ ด้วย การทำประกันมะเร็งที่รู้ใจ เจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 3 ล้านบาท โดยเฉพาะในคนที่ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง ยิ่งควรซื้อประกันมะเร็งเอาไว้ เพื่อความอุ่นใจ เจ็บปวดมาก็ยังมีเงินก้อน

วิธีรักษาซีสต์ในรังไข่

ในการรักษาซีสต์ในรังไข่จะมีวิธีรักษาที่หลากหลาย ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด แต่ในบางรายอาจแค่เพียงติดตามอาการ โดยวิธีรักษาซีสต์ในรังไข่นั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

  1. ติดตามอาการของผู้ป่วย – ถ้าแพทย์พบว่าเป็นอาการของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ แพทย์จะนัดตรวจอาการว่าถุงน้ำนั้นมีขนาดโตขึ้นหรือไม่ และผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยาคุม
  2. การผ่าตัดซีสต์รังไข่ – มีทั้งการผ่าตัดแบบฉุกเฉิน และแบบไม่ฉุกเฉิน การผ่าตัดแบบไม่ฉุกเฉินจะใช้รักษาในกรณีที่มีซีสต์ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีบุตรยาก โดยอาจผ่าเอาซีสต์ออกอย่างเดียว หรือตัดรังไข่ออกทั้งหมด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วย อายุ ชนิด และขนาดของซีสต์ สำหรับกรณีผ่าตัดซีสต์รังไข่ฉุกเฉินมักทำในกรณีที่ถุงน้ำในรังไข่แตก หรือถุงน้ำในรังไข่มีขั้วบิด
การรักษาโดยการผ่าตัดซีสต์รังไข่ | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

การดูแลรักษาตัวเองหลังการผ่าตัด ควรทำอย่างไร?

หลายคนคงมีคำถามว่าผ่าตัดซีสต์รังไข่ พักฟื้นกี่วัน? หลัก ๆ คือห้ามให้แผลเปียกน้ำ จนกว่าแผลจะหายสนิท (ประมาณ 7 วัน) และมีสิ่งที่ควรทำ ดังนี้

  • งดกิจกรรมที่ต้องออกแรงหน้าท้องเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์
  • ในระหว่างการพักฟื้น ควรมีการออกกำลังกายเบา ๆ แบบไม่หักโหม เช่น เดิน
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  • พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง 
  • หากเกิดความผิดปกติ เช่น มีไข้ แผลบวม แดง แฉะ ปวดท้องมาก ควรนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยทันที 

หลังจากผ่าซีสต์ในรังไข่แล้ว มีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่?

คำถามนี้ เป็นคำถามที่ใครหลายคนอาจนึกอยู่ในใจแต่ไม่กล้าที่จะถาม รู้ใจตอบให้ว่าหลังการผ่าตัดซีสต์ในรังไข่ ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 4-6 สัปดาห์ หากร่างกายฟื้นตัวและแพทย์ลงความเห็นแล้วว่าผ่าตัดซีสต์ในรังไข่หายดี ปลอดภัยถึงจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้

หากเกิดซีสต์ในรังไข่ขณะตั้งครรภ์ควรทำอย่างไร?

หากมีการตรวจพบเป็นซีสต์ที่รังไข่และมีขนาดใหญ่ในขณะที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการหมุนตัวบิดขั้ว หากไม่ทำการผ่าตัดอาจจะทำให้แท้งได้ โดยปกติ แพทย์จะทำการวางแผนการผ่าตัดในไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ เพราะมีความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์มากกว่าระยะอื่น ๆ หากถุงน้ำมีขนาดไม่เกิน 5 ซม. และเมื่อตรวจแล้วแพทย์มั่นใจว่าไม่น่าจะใช่มะเร็ง ก็จะสามารถตรวจติดตามอาการซีสต์ในรังไข่ขณะตั้งครรภ์ และแพทย์จะพิจารณาการรักษาขณะผ่าตัดคลอดหรือหลังคลอด แล้วแต่ดุลยพินิจของแพทย์

มีวิธีป้องกันการเกิดซีสต์ในรังไข่หรือไม่?

สำหรับสาเหตุของการเป็นซีสต์ที่รังไข่นั้น ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ว่าซีสต์ในรังไข่ เกิดจากอะไร แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากการที่เซลล์เยื่อบุของท่อนำไข่มีการกลายเซลล์ที่ผิดปกติ สามารถสังเกตได้จากประจำเดือนที่มาผิดปกติ มีอาการปวดท้องมาก ปัสสาวะหรืออุจจาระผิดปกติ สำหรับการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การตรวจอัลตราซาวนด์มดลูกและรังไข่ วิธีนี้จะสามารถทำให้พบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับมดลูกและรังไข่ของเราได้ 

การเป็นซีสต์ที่รังไข่พบได้บ่อยในผู้หญิง โดย ซีสต์ในรังไข่มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีวิธีรักษาซีสต์ในรังไข่ที่แตกต่างกัน ทั้งการใช้ยา การผ่าตัดซีสต์รังไข่ และการติดตามอาการ การรู้จักลักษณะและสาเหตุของซีสต์ในรังไข่จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นเมื่อเกิดอาการผิดปกติใด ๆ ในร่างกายอย่านิ่งนอนใจควรไปพบแพทย์ ตรวจสุขภาพประจำทุกปี เพื่อเช็คให้มั่นใจว่าตัวเรายังคงปลอดภัยจากโรคร้าย และการซื้อประกันมะเร็งติดไว้เพื่อความอุ่นใจ มีค่ารักษาในวันที่เป็นมะเร็ง

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

วัยเจริญพันธุ์ วัยเจริญพันธุ์โดยทั่วไปแล้วเพศหญิงจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์และเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงในร่างกายตั้งแต่อายุประมาณ 8 ปี และในเพศชายจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้ช้ากว่าเพศหญิงเล็กน้อย คือ 9 ปีขึ้นไป
ช็อกโกแลตซีสต์ เป็นอาการที่ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งเกิดจากที่เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกไปเป็นประจำเดือน ไหลย้อนกลับเข้าไปทางท่อนำไข่และเข้าไปสู่ช่องท้อง อุ้งเชิงกราน ทำให้เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกไปฝังตัวและโตกลายเป็นถุงน้ำ
อาการหมุนตัวบิดขั้ว เป็นภาวะที่เกิดการบิดหมุนของอวัยวะที่อยู่ภายในต่อตัวมดลูก เช่น รังไข่และท่อนำไข่