Roojai

ภัยเงียบผู้หญิง! มะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ รู้ก่อนรักษาทัน

มะเร็งเกิดจากอะไร | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

ไม่ว่าจะเพศหญิงหรือเพศชาย หรือใครก็ตาม ทุกคนต่างมีโอกาสเสี่ยงต้องเจอกับโรคภัยไข้เจ็บ แต่หากร่างกายของเรามีความสมบูรณ์ แข็งแรง ก็จะจะสามารถยืดเวลาในการเจ็บป่วยออกไปได้บ้าง วันนี้รู้ใจจะมาพูดถึงอีกหนึ่งโรคของผู้หญิงที่ต้องระวัง นอกจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ก็หนึ่งมะเร็งระบบสืบพันธุ์ที่ต้องระวังคือมะเร็งรังไข่

มะเร็งทุกชนิด ในระยะแรก ๆ มักจะไม่แสดงอาการ แต่มันจะมีสัญญาณบางอย่าง ที่บอกเราว่า “ควรไปพบแพทย์” มีอะไรบ้าง ประกันมะเร็งที่ไหนดี ไปดูกัน

มะเร็งรังไข่ คืออะไร?

มะเร็งรังไข่ คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นที่รังไข่ เป็นมะเร็งที่พบได้มากของมะเร็งระบบสืบพันธุ์ผู้หญิง ปกติแล้วผู้หญิงจะมีรังไข่สองข้าง ซ้าย-ขวา โอกาสที่จะเกิดมะเร็งรังไข่ทั้งสองข้างพร้อม ๆ กันมีโอกาสไม่มากประมาณ 25% แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ โรคมะเร็งรังไข่มักจะพบได้ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยโอกาสในการเกิดโรคจะพุ่งสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้นของผู้หญิง โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยสาเหตุของการเกิดโรคอาจเกิดจาก 3 สาเหตุ ดังนี้ 

  1. Germ Cell Tumors – มะเร็งฟองไข่ที่เกิดจากเซลล์ตัวอ่อน มีโอกาสพบได้ประมาณ 5 % 
  2. Epithelium Tumors – มะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผิวรังไข่ ซึ่งเป็นมะเร็งรังไข่ประเภทที่พบส่วนใหญ่ประมาณ 90% เลยก็ว่าได้
  3. Sex Cord Stromal Tumors – มะเร็งเนื้อรังไข่ มะเร็งชนิดนี้มีโอกาสพบได้น้อย

มะเร็งรังไข่เกิดจากอะไร?

  • สตรีโสด ไม่เคยตั้งครรภ์ ไม่มีบุตร หรือมีบุตรยาก
  • สตรีที่มีประจำเดือนเร็ว หรือหมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ
  • มีประวัติบุคคลในสายเลือดเป็นมะเร็ง เช่น มารดา พี่สาว น้องสาว เป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือตรวจพบสารพันธุกรรมผิดปกติ
  • สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร ฯลฯ พบว่าประเทศที่เป็นอุตสาหกรรมจะมีผู้ป่วยมะเร็งรังไข่มากกว่าประเทศเกษตรกรรม
  • สตรีที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าคนปกติ 

ในสตรีที่มีการใช้ยาคุมกำเนิดมากกว่า 5 ปีขึ้นไป จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ได้

มะเร็งรังไข่ อาการ | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

มะเร็งรังไข่ อาการเป็นยังไง?

ส่วนใหญ่แล้วมะเร็งมักจะไม่แสดงอาการในระยะเเรก หรือหากมีอาการจะมีอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับรังไข่ เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ กินอาหารได้นิด ๆ หน่อย ๆ ก็รู้สึกอึดอัด รวมถึงมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูก เบื่ออาหาร ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักขึ้นหรือลดลงโดยไม่มีสาเหตุ จะเห็นได้ว่าอาการที่กล่าวมาทั้งหมดแทบจะไม่มีอาการใดที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคมะเร็งรังไข่เลย กว่าจะตรวจพบอีกทีก็มักจะเป็นระยะลุกลามไปแล้ว คือ คลำพบก้อนเนื้อบริเวณท้องน้อย มีอาการปวดท้อง หรือมีน้ำในช่องท้อง

สัญญาณเตือนแบบนี้ต้องไปพบแพทย์

หากสังเกตตัวเองแล้วว่า มักจะมีอาการท้องอืดบ่อย ๆ อาหารไม่ย่อย หรือมีอาการปวดท้องเรื้อรัง รับประทานยาลดกรดแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น คลำที่ท้องน้อยพบก้อนหรือปวดแน่น หรือมีอาการท้องโตผิดปกติ ก้อนมะเร็งที่มีขนาดโตมากจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ส่วนปลาย จนทำให้ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องโต ผอมแห้ง และมีภาวะขาดสารอาหาร หากมีสัญญาณเตือนแบบนี้ ต้องเข้าพบแพทย์โดยด่วน เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรค

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่

  1. ตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจภายใน โดยจะคลำหาก้อนที่บริเวณท้อง ท้องน้อย ส่วนใหญ่แล้วจะคลำพบก้อนรังไข่ในสตรีวัยหมดประจำเดือนถึงร้อยละ 30 
  2. การตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวนด์ จะสามารถบอกได้ว่า มีก้อนหรือมีน้ำในช่องท้องหรือไม่ ในบางรายที่อ้วนหรือมีหน้าท้องหนามาก ๆ การตรวจโดยการคลำอาจพบเจอได้ยาก จึงต้องใช้การตรวจแบบอัลตราซาวนด์ถึงจะได้ผลที่ชัดเจน
  3. ตรวจด้วยเครื่องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่มีความละเอียดสูง สามารถเห็นภาพ ลักษณะ ขนาด และจำนวนของก้อนเนื้อที่พบ และยังสามารถตรวจต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่น ๆ ในช่องท้องได้
  4. การตรวจเลือดเพื่อใช้ประกอบคำวินิจฉัย

มะเร็งรังไข่มีกี่ระยะ?

  • ระยะที่ 1 – มะเร็งจะอยู่เฉพาะที่รังไข่ ยังไม่กระจายตัวมาที่ช่องท้องน้อย 
  • ระยะที่ 2 – มะเร็งเริ่มกระจายมาที่อุ้งเชิงกราน เนื้อเยื่อรอบ ๆ รังไข่
  • ระยะที่ 3 – มะเร็งกระจายที่ช่องท้อง ผิวช่องท้อง ไขมันในช่องท้อง ผิวลำไส้เล็ก ต่อม น้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน และในต่อมน้ำเหลืองรอบ ๆ เส้นเลือดใหญ่ในช่องท้อง
  • ระยะที่ 4 – มะเร็งกระจายไปในอวัยวะภายใน เช่น ปอด ช่องหัวใจ ต่อมน้ำเหลืองที่คอ เนื้อตับ และสมอง 

วิธีการรักษามะเร็งรังไข่

1. การผ่าตัด

เป็นการรักษามะเร็งด้วยการผ่าตัดเพื่อนำเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ออก หรืออาจรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงด้วย

2. เคมีบำบัด

เป็นการรักษามะเร็งด้วยการใช้ยาในการฆ่าเซลล์มะเร็ง เคมีบำบัดมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น การใช้ยาเม็ด ยาฉีดเข้าเส้นเลือด หรือผ่านสายเข้าไปในช่องท้อง

3. การฉายรังสี

สำหรับการใช้รังสีรักษามะเร็งรังไข่ เป็นการใช้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ทำให้ก้อนมะเร็งเล็กลง อาจเป็นการฉายรังสีจากภายนอกตรงเข้าสู่ร่างกาย แต่วิธีนี้ใช้ในการรักษามะเร็งรังไข่น้อยมาก

4. การให้ยารักษาแบบมุ่งเป้า

เป็นการให้ยาหรือสารอื่น ๆ เพื่อการรักษามะเร็ง โดยยาจะออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง และก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ปกติน้อยกว่าเคมีบำบัด หรือการฉายรังสี มักจะใช้กับผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ระยะลุกลาม 

การป้องกันมะเร็งและดูแลสุขภาพ

สำหรับเพศหญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะในสตรีที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง รวมถึงการดูแลอื่น ๆ เช่น 

  • การรับประทานอาหาร เลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง
  • ออกกำลังกาย 30 นาทีให้ได้ 5 วันต่อสัปดาห์
  • ควรตรวจภายในทุกปี หากมีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป 

โรคภัยไข้เจ็บคือสิ่งไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ไม่ว่าเพศไหน อายุเท่าไหร่ สิ่งที่เราพอจะทำเพื่อรับมือได้ คือ การวางแผนทางการเงินเพื่อรับมือความเสี่ยงเหล่านั้น โดยเฉพาะความเสี่ยงทางด้านการเงิน ไม่ให้เงินเก็บต้องหมดไปกับค่ารักษาพยาบาล ด้วยการทำประกันมะเร็งติดไว้สักฉบับ

ที่รู้ใจมีประกันมะเร็ง เจอ จ่าย จบ รับเงินก้อนสูงสุด 3 ล้านบาท คุ้มครองมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ หมดห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายเมื่อเป็นมะเร็ง ไม่ว่าค่าบ้าน ค่ารถ ค่าบัตรเครดิต ค่าใช้จ่ายอื่น รวมถึงค่ารักษาพยาบาล ให้คุณรักษาตัวได้อย่างอุ่นใจ เมื่อหายดีก็กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ ไม่กระทบเงินเก็บ

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)