ทราบหรือไม่ว่า ในคนที่น้ำหนักเยอะ ๆ น้ำหนักเกินมาตรฐาน จนเข้าข่ายเป็นโรคอ้วนในประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ความอ้วนไม่เพียงแต่จะทำให้เรารู้สึกสูญเสียความมั่นใจ มันยังแฝงโรคร้ายต่าง ๆ มากับความอ้วนอีกด้วย ทั้งยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากกว่าคนปกติอีกด้วย นอกจากโรคอ้วนและโรคมะเร็งแล้ว ความอ้วนยังทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคร้ายอะไรอีกได้บ้าง ลองอ่านบทความนี้ดู
สุขภาพร่างกายจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับอาหารการกิน อาจจะเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับบางคนในการเลือกรับประทานอาหาร แต่การที่เราเลือกรับประทานอาหารนั้นเป็นผลดีกับร่างกาย ไม่ต้องกังวลว่าจะอ้วนลงพุง หรือเสี่ยงโรคร้าย อาหารการกินในยุคปัจจุบัน ได้ถูกพัฒนามาเรื่อย ๆ มีการใช้สารเคมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้พอกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาด นี่คือเหตุผลหลักที่ทำไมพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ทวด ของเราจึงมีอายุยืนยาวกว่าคนในยุคปัจจุบัน
จากรายงานของ World Obesity Federation ปี 2565 รายงานว่า คนทั่วโลกที่เป็นโรคอ้วนมีอยู่ประมาณ 800 ล้านคน ในจำนวนนี้ 39 คน เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และ 340 ล้านคน เป็นเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-19 ปี และจากรายงานจากองค์กรอนามัยโลก WHO พบว่าปัญหาน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนในผู้ใหญ่เท่ากับ 39% หรือ 1.9 พันล้านคน และไม่น่าเชื่อว่า ประเทศไทยบ้านเราติดอันดับประชากรที่มีปัญหาเรื่องโรคอ้วน เป็นอันดับ 2 ในกลุ่มอาเซียน (อ้างอิง : https://marketeeronline.co/archives/254403 )
โรคอ้วน
โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติ หรือได้รับพลังงานมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญได้หมด จึงสะสมพลังงานที่เหลือในรูปแบบของไขมันตามอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านสุขภาพ และยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา แล้วอะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน
ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดโรคอ้วน
- เกิดจากการไม่เลือกทาน รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลมากจนเกินไป เช่น เบเกอรี่ ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม ฯลฯ
- พฤติกรรมติดอาหารฟาสต์ฟู้ด อาจจะเพราะมันง่ายและสะดวก
- ไม่ออกกำลังกาย
- ลดความอ้วนแบบผิดวิธี เช่น ใช้ยาลดความอ้วน อดอาหาร เป็นต้น
- เกิดจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญในร่างกาย
ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดโรคอ้วน
- เกิดความผิดปกติที่ต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์
- ภาวะเครียด รวมถึงจิตใจและอารมณ์
- กรรมพันธุ์
- โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กรดไหลย้อน
- การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า
- อายุที่มากขึ้น ระบบเผาผลาญทำงานถดถอยและมีการใช้พลังงานแต่ละวันน้อย
วิธีคำนวณดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index-BMI โดยทั่วไปแล้ว BMI ควรอยู่ระหว่าง 18.5-22.9 kg/m2 ถ้าหากมากหรือน้อยกว่านี้ จะเกิดภาวะทุพโภชนาการและเสี่ยงเกิดโรคต่าง ๆ ลองเช็คดูว่าค่าดัชนีมวลกายปกติหรือไม่ตามด้านล่างนี้
- ค่า BMI < 18.5-22.9 kg/m2 ถือว่า ปกติ
- ค่า BMI 23.0-24.9 kg/m2 เข้าข่าย น้ำหนักเกิน
- ค่า BMI > 25 kg/m2 จัดว่าเป็น โรคอ้วน
เป็นโรคอ้วน เสี่ยงโรคอะไรอีกบ้าง
- โรคมะเร็งลำไส้
- โรคมะเร็งเต้านม (ในวัยหมดประจำเดือน)
- เยื่อบุโพรงมดลูก
- โรคไต
- โรคมะเร็งถุงน้ำดี
- โรคมะเร็งตับอ่อน
- โรคมะเร็งรังไข่
โรคแทรกซ้อนที่มาพร้อมกับโรคอ้วน
ไขมันพอกตับ
ร้อยละ 20 ของคนที่เป็นโรคอ้วน จะมีไขมันพอกตับร่วมด้วย การรับประทานอาหารที่มากเกินความพอดี เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันในตับ และเมื่อตับไม่ได้นำไขมันเหล่านั้นไปใช้ อาจก่อให้เกิดการสะสมไขมันที่ตับ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
สำหรับคนที่อ้วนหรือเป็นโรคอ้วน มักจะมีไขมันสะสมในผนังลำคอ จะสังเกตุได้ว่าคนที่น้ำหนักเกินมาตรฐานหรือคนที่เป็นโรคอ้วนผนังคอจึงมีความหนาและมีลักษณะคอหดสั้น ช่วงลำคอจึงแคบลงทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจและเสี่ยงทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้
โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคอ้วนมักทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยตรง เนื่องจากร่างกายมีไขมันและคลอเรสเตอรอลสูงกว่าคนปกติ ส่งผลให้หลอดเลือดหนาขึ้น หลอดเลือดแดงตีบแคบ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี จนเกิดปัญหาหลอดเลือดอุดตัน จนกลายเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
กรดไหลย้อน
ในผู้ที่เป็นโรคอ้วน มักจะมีความดันในช่องท้องและความดันในกระเพาะอาหารสูง ทำให้กรดและอาหารที่กำลังย่อยไหลทวนย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร จนเกิดเป็นภาวะกรดไหลย้อน
โรคเบาหวาน
ในคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน อินซูลินที่หลั่งออกจากตับอ่อนอาจมีฤทธิ์ที่ไม่ดี และส่งผลให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน และเกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบเผาผลาญ
โรคข้อเสื่อม
คนที่มีน้ำหนักเกินหรือคนที่เป็นโรคอ้วน จะเกิดแรงกระแทกที่ข้อเข่ามากกว่าคนที่ไม่อ้วน และข้อเข่าที่มีเนื้อเยื่อไขมันมาก ๆ จะล้นไปกดและทำลายผิวกระดูกอ่อนที่อยู่ใกล้ ๆ ทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม
โรคอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์หรือภาวะสมองเสื่อม เนื่องจากโรคอ้วนหรือคนที่อ้วนลงพุง ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งในสมองจะมีอินซูลินอยู่ จึงส่งผลให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้นั่นเอง
และทั้งหมดนี้ก็เกิดขึ้นจากภาวะน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ไม่เลือกรับประทานอาหาร ไม่ออกกำลังกาย นอกจากนี้ ยังมีภาวะอื่น ๆ อีก เช่น โรคซึมเศร้า อาการซึมเศร้าจะลดลงเมื่อน้ำหนักตัวลดลง ดังนั้น เราจึงควรใส่ใจดูแลสุขภาพของเรา ไม่ตามใจปาก มีวินัยในการรับประทานอาหาร และออกกำลังกายให้ได้ 5 วันต่อสัปดาห์ แต่หากภาวะอ้วนเกิดจากกรรมพันธุ์ รู้ใจ แนะนำให้พบแพทย์อย่างเป็นประจำ ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคร้ายต่าง ๆ
นอกจากการลดน้ำหนักเพื่อลดความเสี่ยงโรคแล้ว การวางแผนรับมือโรคต่าง ๆ ก็สำคัญ โดยเฉพาะโรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งที่พบได้มากในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ การทำประกันมะเร็งจึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้คุณอุ่นใจมากขึ้นหากตรวจเจอโรคร้าย และข้อสำคัญที่พึงระวังคือประกันมะเร็งจะคุ้มครองเฉพาะผู้ที่ซื้อประกันตอนที่ยังไม่เป็นมะเร็งเท่านั้น หากคุณมีภาวะน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน และเสี่ยงกับโรคมะเร็งมากกว่าคนทั่วไป จึงควรมองหาประกันมะเร็งไว้คุ้มครองความเสี่ยงขณะที่กำลังเริ่มต้นดูแลสุขภาพ เพื่อให้แผนการสร้างสุขภาพที่ดีต่อจากนี้ ไปได้ดีไม่มีสะดุด
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)