Roojai

เช็คความเสี่ยงมะเร็งตับ สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

มะเร็งตับ ภัยเงียบที่ระยะแรกๆ ไม่แสดงอาการ เช็คความเสี่ยงเลย I ประกันมะเร็ง I รู้ใจ

มีรายงานสถิติ 5 อันดับมะเร็งที่คนไทยเป็นมากที่สุดในปี 2566 จากข้อมูลสถิติโรคมะเร็ง ที่กรมการแพทย์ ได้ทำการเปิดเผยในงานประชุมวิชาการโรคมะเร็งแห่งชาติ ครั้งที่ 15 ซึ่งอันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งตับไม่เพียงแต่พบมากในเพศชาย แต่มันยังเป็นมะเร็งที่มีการดำเนินโรคที่เร็วมาก หรือจากสถิติผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งตับ มักจะมีโอกาสเสียชีวิตภายใน 3-6 เดือน ซึ่งมะเร็งตับนั้นสามารถเกิดได้ 2 ทาง คือ เกิดโดยตรงกับตับ และลุกลามจากมะเร็งที่อวัยวะอื่นมาที่ตับ และรวมไปถึงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งตับอีกด้วย เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี พยาธิใบไม้ในตับ ฯลฯ

มะเร็งตับ เกิดจากอะไร?

สาเหตุที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุหลัก คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อาจเกิดจากการติดต่อผ่านแม่สู่ลูก แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนั้นสาเหตุอื่น ๆ คือ

  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี
  • มีภาวะไขมันพอกตับจากเบาหวาน และโรคอ้วน
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งจากการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด หรือจากสาเหตุอื่น
  • การรับประทานอาหารที่มีอะฟลาท็อกซินและไนไตรต์สูง

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับ?

  • คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลายาวนานและดื่มเป็นประจำ
  • คนที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี และซี
  • คนป่วยที่ใช้ยารักษาโรคบางชนิดที่เสี่ยงต่อโรคตับ
  • คนที่มีภาวะตับแข็ง
  • คนที่มีภาวะไขมันเกาะตับ
  • คนป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
  • คนที่เป็นโรคอ้วน

อาการของมะเร็งตับเป็นยังไง?

สำหรับอาการของโรคมะเร็งตับ ผู้ป่วยแต่ละรายอาจแสดงอาการที่ไม่เหมือนกัน ในระยะแรกจะไม่มีอาการใด ๆ จนกระทั่งก้อนมะเร็งที่ตับจะโตขึ้น และมีอาการแน่นหรืออึดอัดในช่องท้อง คล้ายกับอาหารไม่ย่อย บางรายมีอาการคล้าย ๆ กับคนที่เป็นโรคกระเพาะ มีอาการปวดชายโครงด้านขวาบริเวณตับ หากก้อนมะเร็งโตขึ้น จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องโตหรือบวม มีน้ำในช่องท้อง และยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้

  • ตาเหลือง ตัวเหลือง
  • อาการแน่นท้อง ท้องอืดบ่อยก็เสี่ยงมะเร็งตับได้
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดชายโครงด้านขวา หรือมีอาการจุกเสียดแน่นท้อง
  • มีอาการปวดร้าวไปถึงไหล่ขวาหรือใต้สะบักด้านขวา
  • ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม
  • ขาบวม
  • มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • คลำพบก้อนที่บริเวณตับ
มะเร็งตับ เกิดจากอะไร I ประกันมะเร็ง I รู้ใจ

การตรวจและวินิจฉัยมะเร็งตับ

  1. ซักประวัติและตรวจร่างกาย และตรวจรายการอื่น ๆ เช่น
    • ตรวจหาค่าการทำงานของตับ เช่น SGPT (ALT), SGOT (AST), ALP (Alkline phosphatse) ที่ผิดปกติ
    • ตรวจหาภูมิไวรัสตับอักเสบบีและซี
    • ตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP
  2. ทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน เพื่อตรวจดูตับอ่อนว่ามีความผิดปกติหรือไม่ หรือมีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะใดบ้าง
  3. ตรวจด้วยเครื่องไฟโบรสแกน (FibroScan) เป็นเทคโนโลยีใหม่ทางการแพทย์ที่ช่วยประเมินปริมาณไขมันในตับ รวมถึงระดับของพังผืดและตับแข็ง โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บตัวและใช้เวลาไม่นาน
  4. การทำ CT Scan หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI
  5. การตรวจชิ้นเนื้อตรงตำแหน่งก้อนเนื้อ Biopsy

มะเร็งตับ รักษาหายไหม?

มะเร็งตับสามารถแบ่งออกเป็น 5 ระยะ โดยเริ่มจากระยะที่ 1 ซึ่งเป็นระยะที่มีขนาดก้อนเนื้อมะเร็งเล็กมาก สามารถรักษาให้หายขาดได้ไม่ยาก ระยะต่อ ๆ มาจะมีขนาดและความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น จนถึงระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยมีสุขภาพทรุดโทรมมาก นอนติดเตียงเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการตรวจพบและรักษามะเร็งในระยะแรก ๆ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การรักษาประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในระยะที่ 1-2 ที่มะเร็งตับจะยังมีขนาดเล็กไม่เกิน 3 เซนติเมตร จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ และในบางรายกรณีที่ตรวจพบในระยะที่ 3 เป็นต้นไป ก็ยังมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้เช่นกัน แต่อาจต้องใช้เวลานานกว่า ซึ่งในบางคนก็อาจรักษาได้ยากเช่นกัน

ไม่ว่ามะเร็งตับระยะไหนก็ไม่มีใครอยากเป็น แต่เมื่อเป็นแล้วต้องเข้ารับการรักษาอาการของมะเร็งตับโดยเร็ว เพื่อเพิ่มโอกาสทางการรักษา แต่การเข้าถึงการรักษาที่ดีและรวดเร็วต้องมีค่ารักษาไม่น้อยเลย ดังนั้นในตอนที่อายุยังน้อย และไม่เป็นโรค การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือแต่เนิ่น ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งการวางแผนที่ดี ประกันมะเร็งที่รู้ใจ เจอจ่ายจบ คุ้มครองสูงสุด 3 ล้านยาท คุ้มครองทุกระยะ และคุ้มครองมะเร็งทุกชนิด เมื่อเรามีประกันคุ้มครองหากตรวจพบมะเร็งก็เข้ารับการรักษาได้ ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่าย

วิธีรักษามะเร็งตับ

  1. ผ่าตัด – การผ่าตัดจัดเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด และสามารถหวังผลให้หายขาดได้ แต่ต้องเป็นผู้ป่วยที่มีก้อนมะเร็งไม่ใหญ่มาก และตับต้องยังทำงานได้ดีอยู่
  2. ฉีดยาเคมีและสารอุดตันเข้าเส้นเลือดแดง – เส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง เมื่อฉีดยาเคมีเข้าไป จะทำให้ก้อนนั้นยุบลง
  3. ฉีดยา – เช่น ฉีดแอลกอฮอล์เข้าตรงที่ก้อนมะเร็ง โดยฉีดผ่านทางผิวหนัง มักจะใช้ในกรณีที่ก้อน มะเร็งยังเล็กและสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
  4. การใช้ยาเคมี – เป็นเพียงเพื่อช่วยบรรเทาอาการ แต่จะไม่สามารถใช้รักษาให้หายขาดได้
  5. การฉายแสง – เช่นเดียวกับการใช้ยาเคมี เพื่อบรรเทาอาการของมะเร็งเท่านั้น
  6. การใช้วิธีรักษาแบบผสมผสาน – เป็นวิธีการรักษาแบบธรรมชาติบำบัด เช่น ในผู้ป่วยที่ใช้วิธีการรักษามาจนครบทุกอย่างแล้ว มาต่อที่การรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก เช่น การใช้สมุนไพร หรือการใช้หลักธรรมะ ฝึกสมาธิ เป็นต้น
อาหารผู้ป่วยมะเร็งตับ ไม่ควรรับประทานอาหาร 9 อย่างนี้ I ประกันมะเร็ง I รู้ใจ

อาหารผู้ป่วยมะเร็งตับไม่ควรรับประทานมีอะไรบ้าง?

ผู้ป่วยมะเร็งจะมีภูมิต้านทานน้อยกว่าคนทั่วไป อาหารผู้ป่วยมะเร็งตับไม่ควรรับประทานมีดังนี้

  1. อาหารหมักดอง – อาหารหมักดองมักมีโซเดียมสูงและเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของแบคทีเรีย หากกระบวนการไม่สะอาดหรือเก็บในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
  2. อาหารมีน้ำตาลสูง – ถ้าน้ำตาลที่สะสมในร่างกายแต่ไม่ถูกเผาผลาญก็จะเปลี่ยนเป็นไขมัน เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะไขมันพอกตับ
  3. อาหารแปรรูป – อาหารแปรรูปมักมีส่วนผสมของไนไตรต์ เช่น ไส้กรอก เบคอน แหนม เพื่อช่วยให้มีสีชมพูและป้องกันการเน่าเสีย
  4. อาหารไหม้เกรียม – อาหารที่ถูกความร้อนสูงเป็นเวลานาน เช่น อาหารทอดซ้ำหรืออาหารย่างที่มีส่วนไหม้เกรียม
  5. อาหารไขมันสูง – อาหารที่มีไขมันสูงอาจทำให้ท้องผูกได้ง่ายในผู้ป่วยมะเร็งตับ เพราะไขมันจะชะลอการย่อยอาหาร
  6. อาหารรสจัด – อาหารรสเผ็ดจัด อาหารที่ใช้ผงชูรส ซุปก้อน หรือน้ำปลาปริมาณมาก อาจระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
  7. ถั่วลิสงและเมล็ดพืชแห้งที่มีเชื้อราปนเปื้อน – เชื้อราที่ปนเปื้อนอาจทำให้ตับอักเสบและนำไปสู่มะเร็งตับได้
  8. ผลไม้ที่ไม่ได้ปอกเปลือก – ผลไม้ที่ไม่ได้ปอกเปลือกอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย แม้จะล้างแล้วก็ตาม
  9. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ – การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดต่างก็มีสารที่เป็นพิษต่อตับ

วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ

  1. ก่อนการรับประทานอาหาร ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีการขึ้นรา หรืออาหารที่ไหม้เกรียม อาหารประเภทรมควัน หรืออาหารค้างคืน
  2. งดหรือเลี่ยงการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ซอยจุ๊ ปลาดิบ เพราะอาจทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับ
  3. ควรรับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสดใหม่
  4. ควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อและไม่มีภูมิคุ้มกัน
  5. ตรวจสุขภาพแบบละเอียดทุก ๆ ปี และให้เน้นการตรวจสุขภาพตามช่วงอายุ

มะเร็งตับเป็นโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ จากโรคมะเร็ง พบได้บ่อยในเพศชาย แต่ถึงมะเร็งตับจะเป็นโรคร้ายแรงที่น่ากลัว แต่หากเราพบเร็ว รักษาและอยู่ในการดูแลของแพทย์ โอกาสรอดชีวิตก็มีสูง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการป้องกันก่อนเป็น ด้วยการดูแลตัวเอง กินอาหารที่ดี นอนเพียงพอ เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่จัด

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

อะฟลาท็อกซิน เป็นสารพิษที่มักพบในอาหารแห้งที่เก็บรักษาไม่เหมาะสม เช่น ถั่ว ธัญพืช พริกแห้ง เป็นต้น โดยเป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อราแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) เมื่อกินเข้าไปแล้วแรก ๆ จะไม่มีอาการ จากนั้นทำให้เกิดการอักเสบของตับเรื้อรัง เกิดภาวะตับแข็ง เกิดมะเร็งตับ
ไนไตรต์ ไนไตรต์มักใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารในเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบางชนิด ยืดอายุการเก็บรักษา ช่วยคงสีชมพูของเนื้อสัตว์ และเพิ่มรสชาติ