Roojai

มะเร็งเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ หากเสี่ยงควรรับมือยังไง?

มะเร็งเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ I ประกันมะเร็ง I รู้ใจ

หากจะให้พูดถึงโรคทางพันธุกรรมได้นั้นมีอยู่หลายโรคด้วยกัน เช่น โรคธาลัสซีเมีย กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม โรคฮีโมฟีเลีย โรคตาบอดสี โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม โรคพร่องเอนไซม์ G6PD และโรคลูคีเมียหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว และโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ เพราะมะเร็งคือโรคร้ายที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งหากมีคนในครอบครัว เครือญาติสายตรงที่มีประวัติเคยป่วยเป็นโรคมะเร็ง ทายาทอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งสูงกว่าคนทั่วไป

รู้ใจอยากให้คุณผู้อ่านทุกท่านได้อ่านบทความที่มีประโยชน์นี้ เพราะวันนี้ เราจะมาพูดถึงมะเร็งที่เป็นโรคทางพันธุกรรม มาเจาะลึกกันว่าพันธุกรรมคืออะไร ทำไมถึงถ่ายทอดโรคร้ายมาสู่ทายาทรุ่นต่อรุ่นได้ รวมไปถึงการตรวจหาพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง ใครบ้างที่มีความเสี่ยงและควรได้รับการตรวจ หากตรวจพบว่ามีมะเร็งทางพันธุกรรมควรทำอย่างไร

พันธุกรรมคืออะไร?

พันธุกรรม หรือ Heredity คือ การถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ที่มาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้า เช่น รุ่นพ่อแม่ ถ่ายทอดลักษณะเหล่านั้นส่งต่อไปสู่ทายาทหรือลูก สามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า กรรมพันธุ์ โดยมียีน (Gene) ที่อยู่ภายในเซลล์ร่างกายเป็นตัวควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของพันธุกรรมให้มีความต่างกัน ทั้งสีผิว ผม ความสูง หรือแม้กระทั่งการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคล้วนเป็นผลมาจากพันธุกรรมทั้งสิ้น

โรคมะเร็งมีความเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ยังไง?

มะเร็งคือ เซลล์ที่ผิดปกติในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และเซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมเอาไว้ได้ ซึ่งโรคมะเร็ง สาเหตุกว่า 90% มาจากปัจจัยภายนอก เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิต การทานอาหาร สิ่งแวดล้อม และอีก 10% มาจากปัจจัยภายในนั่นก็คือ กรรมพันธุ์ กรรมพันธุ์ที่ถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษทำให้เซลล์ในร่างกายมีแนวโน้มในการเกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนปกติทั่วไป เช่น หากมีกรรมพันธุ์ของมะเร็งเต้านม BRCA ผู้นั้นจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมสูงถึง 80%

วิธีดูแลตัวเองเมื่อคุณมีความเสี่ยงอาการโรคมะเร็งจากพันธุกรรม I ประกันมะเร็ง I รู้ใจ

ใครบ้างที่ควรตรวจพันธุกรรม?

สำหรับวิธีการตรวจหากรรมพันธุ์ก่อมะเร็งสามารถทำได้โดยวิธีเจาะเลือด 1 หลอด ไปตรวจในห้องปฏิบัติการ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานและทางแลปจะส่งผลกลับมาภายใน 3 สัปดาห์ คนที่สมควรได้รับการตรวจพันธุกรรม มีดังนี้

  1. ผู้ป่วยที่ทราบอยู่แล้วว่าตัวเองเป็นมะเร็ง – สาเหตุที่ทำไมต้องตรวจพันธุกรรมของผู้ป่วยมะเร็ง คำตอบคือ เพื่อหาสาเหตุและเพื่อยืนยันว่ามะเร็งนั้นเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  2. การตรวจหาความเสี่ยงในคนที่ยังสุขภาพแข็งแรง – วิธีนี้จะใช้ตรวจคนที่สุขภาพแข็งแรง ยังไม่ได้เป็นผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งการตรวจลักษณะนี้มีไว้เพื่อเช็คความเสี่ยงของตัวเองในการเกิดโรค มะเร็งที่ถ่ายทอดมาจากกรรมพันธุ์
  3. กลุ่มคนที่ต้องการดูแลสุขภาพ – กลุ่มคนนี้เป็นคนที่ไม่มีประวัติอะไรเลย รวมถึงทางครอบครัวก็มีประวัติสุขภาพแข็งแรง เพียงแค่เข้ารับการตรวจเพื่อป้องกันหรือเพื่อให้ทราบอย่างแน่ใจว่า ตัวเองนั้นไม่ได้มีกรรมพันธุ์มะเร็งซ่อนอยู่ในตัว อาจจะใช้วิธีนี้สำหรับคู่แต่งงานใหม่ที่ต้องการ มีทายาท เพื่อเช็คความเสี่ยงต่อการส่งต่อสารพันธุกรรม

การตรวจพันธุกรรมมะเร็ง ตรวจหามะเร็งชนิดไหนบ้าง?

ส่วนใหญ่มะเร็งที่แพทย์แนะนำให้ตรวจ มักจะเป็นมะเร็งที่มีอัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสูง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งโพรงมดลูก มะเร็งไทรอยด์ หลัก ๆ แพทย์จะทำการตรวจมะเร็งเหล่านี้ก่อน

และก็มีมะเร็งบางชนิดที่ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์ คือ มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งนี้ สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งพบได้บ่อยในผู้หญิงไทยเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งเต้านม ซึ่งการฉีดวัคซีนจะสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้

มีผลวิจัยเรื่องการถ่ายทอดมะเร็งทางกรรมพันธุ์หรือไม่?

มีผลงานวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กับปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ ประเทศไทย งานวิจัยนี้เน้นไปที่การถอดรหัสพันธุกรรมของผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นคนไทยและสมาชิกในครอบครัว โดยเน้นมะเร็งที่พบได้บ่อยและมีแนวโน้มในการถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก เช่น มะเร็งเต้านม  มะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,535 คน ในระยะเวลา 1 ปี ไม่พบการกลายพันธุ์ที่ก่อโรค 1,088 คนและตรวจพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมที่ยังไม่ทราบความสำคัญหรือไม่สามารถบอกได้ว่าจะก่อให้เกิดโรคหรือไม่อีก 752 คน และอีก 392 คนหรือ 16.1% ที่ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนก่อมะเร็ง ในจำนวน นี้พบการกลายพันธุ์ของยีนก่อมะเร็งเต้านมซึ่งเป็นชนิดของมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมมากที่สุด

ประกันโรคมะเร็งลดความเสี่ยงทางการเงินเมื่อคุณตรวจพบมะเร็ง I รู้ใจ

วิธีป้องกันมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีอะไรบ้าง?

  1. เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
  2. รับประทานยาบางชนิดเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง หรือให้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
  3. ผ่าตัดเอาอวัยวะที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งออก ในกรณีที่อวัยวะนั้นอาจจะไม่สำคัญ หรือไม่สำคัญต่อเราแล้ว หรือไม่จำเป็นต้องใช้อวัยวะนั้นแล้ว เช่น มดลูกและรังไข่ หลังหมดประจำเดือนมดลูกและรังไข่จะไม่ได้ใช้งานอีกต่อไป ทิ้งไว้อาจเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง การผ่าตัดออกจึงอาจเป็นการป้องกันที่ดีกว่า

นอกจากป้องกันมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้ว ต้องหาทางรับมือเมื่อเกิดมะเร็งด้วย ประกันมะเร็งที่จะมาช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงิน ช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินและทำให้อุ่นใจ ประกันมะเร็งที่รู้ใจ คุ้มครองมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ ไม่ว่าโรคมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งผิวหนัง ฯลฯ หมดห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาล เริ่มต้นวันละ 5 บาท เบื้ยคงที่ 5 ปี ใช้ชีวิตได้เต็มที่เพราะอุ่นใจได้เมื่อมีประกันคุ้มครอง

รู้มั้ย? กินตามพันธุกรรมไม่ทำให้อ้วน ลดเสี่ยงโรคร้าย

การตรวจพันธุกรรม นอกจากทำให้รู้ความเสี่ยงอาการโรคมะเร็งแล้ว ยังมีเทคนิคการตรวจที่ช่วยให้เราปรับโภชนาการตามพันธุกรรม ให้เหมาะกับแต่ละคนอีกด้วย คือ การตรวจหาโภชนพันธุศาสตร์ หรือนิวทริจีโนมิกส์ (Nutrigenomics)

เป็นการหาปฏิกิริยาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันระหว่างอาหารและพันธุกรรมของเรา เพราะร่างกายของเราต้องการสารอาหารไม่เหมือนกัน การตรวจยีนเพื่อค้นหาโภชนพันธุศาสตร์ที่เหมาะกับตัวเองจะช่วยทำให้เราเลือกรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญนอกจากจะไม่ทำให้อ้วนด้วย โภชนพันธุศาสตร์ยังช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ ได้อีกด้วย

หากมีการตรวจพบยีนมะเร็ง จะมีวิธีรับมือได้อย่างไรบ้าง?

  1. การที่เรารับทราบว่ามะเร็งเกิดจากกรรมพันธุ์ จะนำไปสู่การเลือกใช้ยาบางชนิดหากเป็นมะเร็ง เพราะตัวมะเร็งที่เป็นกรรมพันธุ์อาจตอบสนองต่อยาแตกต่างจากมะเร็งที่ไม่ได้ถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม
  2. การเลือกใช้เคมีบำบัดอาจมีทางเลือกที่มากขึ้น เพราะเราทราบสาเหตุของมะเร็งว่ามาจากกรรมพันธุ์ แพทย์จะเลือกใช้เคมีบำบัดที่เหมาะกับอาการโรคมะเร็งที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
  3. ใช้การรักษาแบบมุ่งเป้าหรือการรักษาแบบแม่นยำ หรือที่เรียกว่า Precision Medicine

โรคทางพันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดที่หลีกหนีไม่ได้ แม้จะไม่มีใครอยากเป็นแต่อย่างน้อยเราก็สามารถรู้ได้ก่อน และระวังทัน ดังนั้น หากพบว่าคนในครอบครัวมีประวัติโรคคร้ายหรือโรคมะเร็ง อย่ากลัวที่จะไปตรวจ อย่างน้อยเราก็ป้องกันการเกิดโรค หรือหากตรวจพบไว โอกาสในการรักษาและหายขาดก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

โรคฮีโมฟีเลีย เป็นโรคที่เกิดจากการขาดโปรตีนที่มีหน้าที่ทำให้เลือดแข็งตัวและหยุดไหล
เอ็ดเวิร์ดซินโดรม เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม หรือเรียกว่า ไตรโซม พบได้บ่อยเป็นอันดับสองรองจาก ดาวน์ซินโดรม
โภชนพันธุศาสตร์ โภชนพันธุศาสตร์หรือนิวทริจีโนมิกส์ (Nutrigenomics) คือ การนำเทคโนโลยีตรวจ DNA มาประยุกต์กับการดูแลสุขภาพ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการ สมรรถภาพร่างกาย และพันธุกรรม เพื่อปรับโภชนาการเฉพาะบุคคล ที่เหมาะกับแต่ละบุคคลอย่างแท้จริง