Roojai

6 โรคติดเชื้อยอดฮิตของไทย สาเหตุ อาการ รู้ทันก่อนเป็น

โรคติดเชื้อ | โรคต่างๆ | โรคร้ายแรง | รู้ใจ

อากาศเปลี่ยนมักจะส่งผลต่อสุขภาพ ยิ่งย่างเข้าหน้าฝนด้วยแล้วการแพร่ระบาดของโรคก็จะมีมากขึ้น เพราะเชื้อโรคพวกนี้จะเติบโตได้ดีในช่วงที่มีอากาศเย็นและมีความชื้น และเมื่ออากาศเปลี่ยนภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราก็จะลดลง จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมหน้าฝนถึงป่วยกันง่าย ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังโรคต่างๆ และใส่ใจการดูแลสุขภาพของตัวเรามากขึ้น เรามาดูกันว่า โรคติดเชื้อที่คนไทยเป็นบ่อย ๆ ทั้งโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจอย่างไข้หวัดใหญ่ รวมถึงโรคติดเชื้ออื่น ๆ มีอะไรบ้าง ด้านล่างนี้เลย

โรคติดเชื้อคืออะไร?

โรคติดเชื้อ หรือ Infectious Diseases คือ โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคหรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ซึ่งโดยมากมักจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สิ่งมีชีวิตตัวเล็กนี้รวม ๆ เรียกว่า Pathogen หรือ Infectious Agent ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อริกเกตเซีย เชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตซัว เชื้อรา เป็นต้น 

โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อ อาจมีหลายปัจจัย เช่น ภูมิต้านทานของร่างกาย ปัจจัยทางพันธุกรรม ชนิดและปริมาณของเชื้อโรคที่ร่างกายได้รับ ในบางกรณีร่างกายรับเชื้อมาแล้ว แต่ไม่ก่อให้เกิดโรคก็มีเพราะภูมิต้านทานแข็งแรงจะสามารถกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้ได้ แต่หากได้รับเชื้อในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอก็จะก่อให้เกิดโรคในทันที 

โรคติดเชื้อ มีอะไรบ้าง?

โรคต่างๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อปรสิต รวมถึงไวรัส โดยมีตัวอย่างโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ดังนี้

  • โรคติดเชื้อจากไวรัส ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสตับอักเสบ โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัด-หัดเยอรมัน คางทูม ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ โรคเอดส์ เป็นต้น
  • โรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย ได้แก่ ไข้ไทฟอยด์ โรคฉี่หนู บาดทะยัก ไข้กาฬหลังเเอ่น ซิฟิลิส เป็นต้น
  • โรคติดเชื้อจากเชื้อรา ได้แก่ โรคเชื้อราที่ผิวหนัง โรคติดเชื้อเเคนดิดา โรคติดเชื้อแอสเปอจลลัส เป็นต้น 
  • โรคติดเชื้อจากเชื้อปรสิต ได้แก่ โรคพยาธิตัวแบน-ตัวกลม ไข้มาลาเรีย บิดมีตัว และโรคเท้าช้าง

โรคติดเชื้อ มีอะไรบ้างที่พบได้บ่อยในไทย?

1. โรคไข้สมองอักเสบ (Japanese Encephalitis)

โรคไข้สมองอักเสบเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส อาการจะมีไข้สูง ปวดหัว คอแข็ง ทำให้ไม่สามารถทรงตัวได้ สั่น หรือมีอากากชัก โดยเฉพาะในทารก เป็นอัมพาต หมดสติ อาการติดเชื้อจะรุนแรงหากเกิดในทารกและคนชรา 

2. โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากไวรัส โดยติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ จะมีอาการมีไข้สูงติดกันหลายวัน หนาวสั่น เหงื่ออก ปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ มีน้ำมูก จาม หายใจถี่ เจ็บคอ และเบื่ออาหาร อาจมีถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน

3. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อจากไวรัส เกิดจากการถูกกัดหรือสัมผัสน้ำลายสัตว์ติดเชื้อ อาการในระยะแรกมีอาการไม่จำเพาะ เช่น มีไข้ ปวดหัว เจ็บคอ หนาวสั่น อาเจียน ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามตัว กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ระคายเคืองบริเวณที่โดนกัด โดยที่ระยะนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ 2-10 วัน 

4. โรคซิฟิลิส (Syphilis)

โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียและติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาการเริ่มต้นจะมีแผลเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “เริมแข็ง” โดยเริมแข็งจะเกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายประมาณ 3 สัปดาห์ โดยอาจจะเกิดขึ้นที่บริเวณริมฝีปาก หรือบริเวณอวัยวะเพศ มีผื่นขึ้นตามฝ่ามือและร่างกาย เป็นแผลที่อวัยวะเพศ แผลในช่องปาก เช่น ลิ้น เป็นต้น 

โรคติดเชื้อ | ไข้หวัดใหญ่ | โรคร้ายแรง | รู้ใจ

5. โรคเชื้อราที่ผิวหนัง

โรคเชื้อราที่ผิวหนังเป็นโรคติดเชื้อจากเชื้อรา อาการจะมีผิวหนังแตกแห้ง มีตุ่มพองหรือตุ่มหนอง เล็บหนาและเหลือง แผลหายช้า หากมีการติดเชื้อที่รุนแรงอาจมีไข้ร่วมด้วย รวมถึงอ่อนเพลียและน้ำหนักลด

6. ไข้มาลาเรีย (Malaria)

ไข้มาลาเรียเป็นโรคติดเชื้อจากเชื้อปรสิต โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค จะมีอาการมีไข้ หนาวสั่น ปวดหัว ไม่มีน้ำมูก ปวดตามตัวและกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หากมีอาการรุนแรงตัวจะซีด เหลือง มีจุดเลือดออก และอาจซ็อคได้ 

การวินิจฉัยโรคติดเชื้อ

  1. โรคติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นกับระบบใดระบบหนึ่งของร่างกาย หรืออาจเกิดขึ้นทั่วร่างกายก็ได้ โดยลักษณะของการติดเชื้อนั้น มักจะเกี่ยวกับอวัยวะภายใน ได้แก่ 
    • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
    • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 
    • โรคติดเชื้อในระบบประสาท 
    • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
    • โรคติดเชื้อในกระดูกและข้อ 
    • โรคติดเชื้อทางผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน
  2. ในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดเชื้อหรือไม่ จำเป็นต้องทำอย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพื่อจะได้วางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง ความล่าช้าในขั้นตอนการวินิจฉัยโรคอาจทำให้ยากต่อการรักษาให้หายได้
  3. การเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต้องทำอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทั้งวิธีการเก็บตัวอย่าง การดูแลรักษาตัวอย่างก่อนส่งตรวจ วิธีการขนย้ายไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการต้องทำอย่างถูกต้อง 
  4. แพทย์ผู้วินิจฉัยจำเป็นต้องรู้ประวัติของผู้ป่วย เช่น มีโรคประจำตัวหรือไม่ รับประทานยาอะไรเป็นประจำบ้าง รวมถึงผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อหาความผิดปกติในร่างกายให้เจอ การตรวจเพียงตำแหน่งเดียวในร่างกายจะไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้
  5. วินิจฉัยจากลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร่างที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และกล้องจุลทรรศน์ของพยาธิสภาพ และอาการแทรกซ้อนจากการติดเชื้อชนิดต่าง ๆ จะช่วยให้การวินิจฉัยโรคแม่นยำมากยิ่งขึ้น
  6. ตรวจสอบการวินิจฉัยโรคอีกครั้ง เชื้อโรคอะไรที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค และนำข้อมูลจากห้องปฏิบัติการมาประกอบการวินิจฉัย

โรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งบางครั้งเราอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราวางแผนเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเงินได้ด้วยการทำประกันโรคร้ายแรง เพื่อมีค่ารักษาพยาบาลในวันที่คุณป่วยโรคร้ายแรง รวมถึงค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ยังคงต้องจ่ายออกทุกเดือนอย่างค่าบ้าน ค่ารถ ที่รู้ใจมีประกันภัยโรคร้ายแรง เจอ จ่าย จบ รับเงินก้อนสูงสึด 2 ล้านบาท คุ้มครอง 4 กลุ่มโรคร้ายทั้งมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ กลุ่มอาการทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะอวัยวะล้มเหลว ให้คุณรักษาตัวเองจนหายดีได้หมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)