Roojai

วิธีดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

โรคหลอดเลือดสมอง | หลอดเลือดสมองตีบ | รู้ใจ

โรคหลอดเลือดสมอง แตก ตีบ อุดตัน โรคร้ายแรงต้นเหตุของอัมพฤกษ์-อัมพาต ที่ตอนนี้ไม่ได้อันตรายแค่กับผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะในปัจจุบันต่างก็มีผู้ป่วยอายุน้อยที่เป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แล้วหากคนที่เรารัก คนใกล้ตัวของเราเป็นโรคนี้ เราเองจะต้องเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยดูแลและให้กำลังใจผู้ป่วย บทบาทและหน้าที่ของคนที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหลอดเลือดสมองตีบ แตก ตัน มีอะไรบ้าง และดูแลผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกยังไงไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ การทำประกันโรคร้ายแรงคุ้มครองโรคหลอดเลือดสมองมั้ย ทำที่ไหนดี อ่านได้ล่างได้เลย

โรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก อุดตันคืออะไร?

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เกิดจากภาวะที่ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย ซึ่งอาจเกิดจากการที่หลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก และไปขวางการลำเลียงเลือด ซึ่งเลือดนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมอง ส่งผลให้สมองได้รับความเสียหาย สูญเสียการทำหน้าที่จนทำให้มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

  1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน (Ischemic Stroke) จะเกิดจากการที่ไขมันไปอุดตันในเส้นเลือด ทำให้ตีบและขาดความยืดหยุ่น นอกจากนั้นโรคประจำตัวอย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และพฤติกรรมการสูบบุหรี่จัด
  2. โรคหลอดเลือดในสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) เส้นเลือดในสมองแตก เกิดจากอะไร? เกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ความดันโลหิตสูง การบาดเจ็บ อาจมีอาการเกิดขึ้นฉับพลัน

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง

เส้นเลือดในสมองแตก เส้นเลือดในสมองอุดตันหรือหลอดเลือดสมองตีบ อาการเริ่มแรกจะคล้ายกัน หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งอย่างเฉียบพลัน ทำให้มุมปากตก ปากเบี้ยว อมน้ำไม่อยู่ หรือน้ำไหลออกจากมุมปาก
  • มีอาการชาหรืออ่อนแรงที่แขนซีกใดซีกหนึ่งอย่างฉับพลัน หรือสูญเสียการทรงตัว
  • พูดไม่ชัด พูดไม่ออก สับสน นึกคำพูดไม่ออก
  • มีปัญหาทางการมองเห็นแบบเฉียบพลัน เช่น เห็นเป็นภาพซ้อน มองเห็นภาพแค่ครึ่งเดียว มองไม่เห็นหรือตาบอดหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • มีอาการปวดศีรษะรุนแรงและเฉียบพลัน
โรคหลอดเลือดสมอง | วิธีดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ | รู้ใจ

วิธีดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

หากคนที่เรารักป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เราคือส่วนสำคัญที่จะช่วยเหลือ ดูแล และคอยให้กำลังใจเขา โดยญาติ คนรัก หรือคนที่ดูแลผู้ป่วยต้องทำดังนี้

  1. กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันให้ได้มากที่สุด เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ขับถ่าย ทานอาหาร แต่งตัว โดยให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น
  2. กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้ร่างกายข้างที่อ่อนแรงเท่าที่จะสามารถขยับได้
  3. ช่วยเหลือผู้ป่วยในกิจกรรมที่พวกเขาทำไม่ได้
  4. เฝ้าระวังสัญญาณชีพ ควรมีการตรวจสอบสัญญาณชีพอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงวัดความดันโลหิต ชีพจร และการหายใจ อย่างน้อย 4-6 ครั้งต่อวัน
  5. ช่วยทำกายภาพบำบัด
  6. ช่วยจัดการเรื่องที่จำเป็น เช่น การทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง การไปพบแพทย์ตามนัด
  7. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ ควรให้อาหารทางสายยาง และให้ระวังเรื่องการสำลัก
  8. ให้กำลังใจผู้ป่วยเสมอ

อาหารและโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

หลอดเลือดสมองแตก เส้นเลือดในสมองตีบ อาหารที่ควรรับประทาน คือ อาหารที่มีโปรตีนสูง เพื่อช่วยในการฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่เสียหายจากการเป็นโรค และช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อที่ดี เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง อาหารทะเล ไข่ นม ถั่ว และเนื้อปลา

เพราะอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูงไม่เพียงแต่ช่วยเรื่องการเสริมสร้างเนื้อเยื่อที่ดีเท่านั้น ยังเป็นอาหารช่วยบำรุงหัวใจและยังช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างเอนไซม์และฮอร์โมนต่าง ๆ ได้เพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยมีกำลังและความแข็งแรง ผู้ป่วยจึงควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุสูง ผัก ผลไม้ ธัญพืช เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ฉะนั้น การดูแลผู้ป่วยโรคเลือดสมองแตกนั้น เรื่องอาหารและโภชนาการเป็นเรื่องที่จำเป็นไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ เช่นกัน

วิธีดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

  • ลดพฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ห้ามสูบบุหรี่เด็ดขาด 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์จำพวกผัก ผลไม้ เน้นอาหารพวกเนื้อปลาอย่างน้อย 2 ครั้ง / สัปดาห์ เพราะในปลามีโอเมก้า 3 ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยลดอาการอักเสบซ่อนเร้น
  • ลดการบริโภคอาหารไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์
  • ลดการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
  • วิธี ดูแลผู้ป่วย เส้นเลือด ในสมองตีบต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย ต้องดูแลทั้งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาอย่างเหมาะสม
  • งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ หรือ ดื่มได้แต่ต้องไม่เกิน 2 แก้ว/วัน
  • ดูแลสุขอนามัยและฟื้นฟูร่างกาย โดยการทำกายภาพบำบัด

นอกจากการวางแผนเพื่ออยู่ร่วมและช่วยเหลือผู้ป่วยแล้ว การวางแผนทางการเงินเพื่อรับมือโรคร้ายในวันที่ยังไม่เกิดขึ้นกลับเป็นเรื่องจำเป็นยิ่งกว่า เพราะการดูแลคนที่เรารักหรือดูแลตัวเองในวันนั้น สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ที่รู้ใจมีประกันโรคร้ายแรง เจอ จ่าย จบ รับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท ปรับแต่งความคุ้มครองโรคร้ายได้เอง เมื่อตรวจพบเคลมเงินก้อนได้เลย ทำให้สามารถบริการจัดการเงินก้อนได้เอง อาจแบ่งเป็นค่ารักษา ค่ายา ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ให้คุณวางใจในวันที่คุณหรือคนที่คุณรักล้มป่วย

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)