Roojai

เผยเคล็ดลับลดน้ำหนัก รู้จัก “อินซูลิน” คืออะไร ช่วยลดยังไง?

เจาะลึก ผลของอินซูลินต่อการลดน้ำหนัก | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

You are what you eat! ประโยคคลีเช่ที่ได้ยินบ่อยๆ เพราะการตามใจปากแต่อยากได้หุ่นลีนนั้น คงเป็นไปได้ยาก ยิ่งหากขาดการออกกำลังกายและเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องด้วยแล้ว น้ำหนักและไขมันส่วนเกินโปรดปรานมากกับร่างกายแบบนี้ น้ำหนักที่พุ่งขึ้นอาจไม่ได้มาจากการกินไม่เลือกเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของอินซูลินในร่างกายของเรา ในบทความนี้ รู้ใจจะมาแนะนำให้รู้จักอินซูลิน เราจะสามารถใช้อินซูลินในการลดน้ำหนักได้อย่างไร ติดตามอ่านในบทความนี้

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!
วิธีลดน้ำหนักไม่ได้ผล อาจเป็นเพราะไม่ควบคุมอินซูลิน | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

อินซูลิน คืออะไร?

อินซูลิน หรือ Insullin เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีหน้าที่ส่งพลังงานในรูปแบบของกลูโคสจากการย่อยน้ำตาล จากเลือดไปสู่เซลล์และสั่งให้เซลล์ปิดเมื่อได้รับกลูโคสเพียงพอ ส่วนกลูโคสที่เหลือจะเปลี่ยนเป็นไขมัน ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง และอินซูลินก็จะลดลงตามไปด้วย

หากเลือกกินน้ำตาลหรืออาหารจนมากเกินไป อินซูลินที่ถูกส่งมาก็จะมากตามไปด้วย ในขณะที่เซลล์ต่าง ๆ ยังคงต้องการปริมาณน้ำตาลเท่าเดิม เมื่อเซลล์อิ่มน้ำตาลแล้ว ปากเซลล์จะปิดลง แต่กลูโคสที่เหลือยังคงอยู่ มันจะแปลงร่างกลายไปเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่พุง

ถ้าร่างกายมีอินซูลินมากเกินไป จะเกิดอะไรขึ้น?

หากร่างกายมีอินซูลินมากเกินไป ร่างกายจะตอบสนองอินซูลินได้น้อยลง หรือเรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน และหลังจากนี้ ร่างกายก็จะต้องการอินซูลินมากขึ้นเพื่อส่งน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์ในปริมาณเท่าเดิม การที่มีน้ำหนักตัวเกิน และมีไขมันสะสมมากเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินได้ง่าย

อินซูลินไม่เพียงแต่มีผลต่อเซลล์ในร่างกาย อินซูลินยังส่งผลต่อสมองของเราอีกด้วย อินซูลินจะไปกระตุ้นการสร้างโดพามีน หรือสารแห่งความสุข เมื่อเกิดภาวะดื้ออินซูลิน การสร้างโดพามีนที่ต้องอาศัยอินซูลินก็จะตอบสนองได้น้อยลง ร่างกายจึงต้องการอินซูลินมากขึ้นเพื่อให้ได้โดพามีนเท่าเดิม ผลที่ตามมาก็คือ ความอยากอาหารนั่นเอง มันจึงกลายเป็นวัฏจักรที่ไม่มีวันหยุด คือ อินซูลินในร่างกายสูง ทำให้เกิดภาวะดื้อ และภาวะดื้ออินซูลินก็ทำให้ระดับอินซูลินในร่างกายสูงขึ้น

รู้จักอินซูลินและโรคเบาหวาน | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

สาว ๆ ที่มีพุงน้อย ๆ อาจเป็นผลมาจากการที่มีอินซูลินในร่างกายมากเกินไป ถ้าอยากลดน้ำหนัก เราก็ต้องลดอินซูลินในร่างกายของเราลงด้วย เพื่อดึงไขมันสะสมตามร่างกายออกมาใช้งาน ช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมวิธีลดน้ำหนักแบบ IFหรือ Ketoginic Diet จึงได้ผล

หากไม่อยากเป็นโรคเบาหวาน เลี่ยงอาหารที่มีความเสี่ยงเพิ่มอินซูลิน

โรคเบาหวานจัดเป็น 1 ในโรคร้ายแรงที่คนไทยป่วยเป็นอันดับต้นๆ สาเหตุของโรคเบาหวานหลัก ๆ เกิดจากการกินอาหาร และพฤติกรรม การป้องกันสามารถทำโดยออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ลดหรือเลี่ยงอาหารที่มีอินซูลินสูง ๆ ซึ่งเรามักจะเห็นในเมนูลดน้ำหนัก ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์จากนม โยเกิร์ต นมเปรี้ยว นมข้นหวาน น้ำตาลทุกชนิด
  • อาหารที่ปรุงแต่งด้วยไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันมะพร้าว เนยเทียม ครีมเทียม และแกงกะทิ
  • ผลไม้แปรรูป เช่น ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้ตากแห้ง และผลไม้กระป๋อง

การลดหรือเลี่ยงจะช่วยพาเราออกจากจุดเสี่ยงอาการเบาหวานได้ เพราะหากเป็นเบาหวานแล้วยังเสี่ยงโรคร้ายแรง เช่น ไตวาย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง แต่หากยังไม่มั่นใจ ลองหาตัวช่วยเพิ่มเติม เช่น ทำประกันโรคร้ายแรงแบบเจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาทที่รู้ใจ ติดเอาไว้สักเล่มเพื่อให้อุ่นใจในยามเจ็บป่วย

เมนูอาหารลดความอ้วน ลดปริมาณอินซูลิน | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

ทำยังไงให้ร่างกายลดระดับอินซูลิน

วิธีลดความอ้วนและระดับอินซูลินในร่างกาย สิ่งสำคัญคืออาหาร อาหารลดความอ้วนที่ขายในรูปแบบอาหารเสริมนั้น อาจจะช่วยให้เราลดน้ำหนัก ลดอินซูลินไปได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่การปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินนี่แหละที่จะเป็นตัวช่วยที่ยั่งยืน เรามาดูกันว่ามีวิธีใดบ้างที่ทำให้ระดับอินซูลินนั้นลดลงได้

  1. ลดแป้ง – เป็นข้อที่ตรงกับคุณสมบัติของอินซูลินคือ กินแป้งมาก อินซูลินก็มากตามไปด้วย
  2. ลดแป้งและควบคุมโปรตีน – เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ดทั้งหลาย น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ อาหารหวาน มัน ทอด
  3. เลือกโปรตีนไร้ไขมัน – เนื้อติดมันละลายในปาก ตัวช่วยให้อินซูลินพุ่งสูงปรี๊ด แต่ไม่ได้หมายความว่าห้ามกินไขมัน แต่ควรบริโภคไขมันดี เช่น อาโวคาโด ถั่ว แทนการกินเนื้อติดมัน
  4. ลดโซเดียม – โซเดียมมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างอินซูลินได้ถึง 2 เท่า 
  5. ลดความเครียด – ฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเกิดจากความเครียด เป็นมิตรกับอินซูลิน หากร่างกายของเราผลิตคอร์ติซอลออกมามาก นั่นหมายความว่า มิตรแท้อย่างอินซูลินก็จะมากตามไปด้วย 
  6. กินน้อยมื้อ – การกินบ่อย กินหลายมื้อ ทำให้ร่างกายต้องผลิตอินซูลินออกมาตลอด

อะไรที่มากเกินความพอดี มักจะไม่ดี เช่นเดียวกับอินซูลินในร่างกายของเรา เมื่อได้ทราบถึงอีกสาเหตุของไขมันสะสมเนื่องจากภาวะดื้ออินซูลินกันไปแล้ว หลังจากนี้ ก่อนจะเลือกรับประทานอะไรอาจจะต้องคิดให้ละเอียดถี่ถ้วน ไม่เช่นนั้นพุงน้อย ๆ และเซลลูไลต์มาเยือนแน่นอนและวิธีการลดน้ำหนักเองที่เราศึกษามาและลองทำก็อาจไม่ได้ผลหากไม่เลือกทานอาหารที่เหมาะสม

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

IF เป็นวิธีลดความอ้วนชนิดหนึ่ง ที่แบ่งสัดส่วนเวลาในการรับประทานอาหาร
Ketoginic Diety เป็นแนวทางในการลดน้ำหนักด้วยการทานอาหารที่เน้นการกินไขมันดีเป็นหลัก โดยต้องมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตที่น้องลงและมีปริมาณโปรตีนปานกลาง เพื่อให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบเผาผลาญ
คอร์ติซอล เป็นฮอร์โมนในกลุ่มสเตียรอยด์ที่สร้างขึ้นมาจากต่อมหมวกไต ช่วยทำให้ร่างกายตอบสนองต่อความเครียด และยังทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ต่อสู้กับอาการอักเสบ หรือช่วยควบคุมปริมาณสารน้ำภายในร่างกาย