Roojai

ผมร่วงทำไงดี? 7 เทคนิคแก้ปัญหาผมร่วง อาการแบบไหนต้องไปหาหมอ

ผม ร่วง เกิด จาก | รักษาผมร่วง | รู้ใจ

อีกหนึ่งปัญหากวนใจที่อาจทำให้ใครหลายคนสูญเสียความมั่นใจ คือ ปัญหาผมร่วง ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นได้โดยไม่เลือกเพศ ไม่เลือกอายุอีกด้วย จะเห็นได้ว่าในบางคนที่อายุยังน้อย ก็มีปัญหาผมร่วง หัวล้านได้เช่นกัน และแน่นอนว่าไม่ว่าจะเพศหญิงหรือเพศชายต่างก็มีปัญหานี้เช่นกัน แต่อาจจะพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงนั่นเอง วันนี้รู้ใจแชร์ข้อมูลทั้งผมร่วงเกิดจากอะไร สาเหตุผมร่วง ผู้หญิงและผู้ชาย รวมไปถึงวิธีลดผมร่วง การดูแลสุขภาพผม และการรักษาผมร่วง เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์ อ่านด้านล่างได้เลย

ผมร่วงเกิดจากอะไร?

ผมร่วงอาจเกิดได้จากปัจจัยมากกว่า 1 อย่าง โดยปกติคนเราจะมีผมหลุดร่วงในแต่ละวันอยู่แล้ว ซึ่งจะอยู่ที่วันละราว 40-90 เส้น และก็จะมีผมใหม่ขึ้นมาทดแทน วนเป็นวัฏจักรแบบนี้ แต่หากใครที่ผมร่วงมากกว่าที่กล่าวมา สันนิษฐานได้เลยว่า ไม่ปกติ ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ 

  • ผมร่วงเกิดจากขาดวิตามิน และสารอาหารบางชนิด
  • ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล
  • ผมร่วงจากกรรมพันธุ์
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานมากหรือน้อยกว่าปกติ
  • ลดน้ำหนักเร็วเกินไป 
  • การรับประทานยาบางตัวก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน 
  • อยู่ในกระบวนการรักษาโดยเคมีบำบัด
  • โรคบางชนิดก็ทำให้ผมร่วงได้
  • ความเครียด
  • การรับประทานวิตามินเสริมบางตัว
  • โรคเชื้อราบนศีรษะ หรือผิวหนังอักเสบ
  • โรคผมร่วมเฉพาะจุด
  • แพ้แชมพูสระผม

สาเหตุผมร่วงคืออะไร?

1. ผมร่วงแบบมีแผลเป็น

หากหนังศีรษะเกิดการอักเสบ และเป็นบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นแผลเป็นที่บริเวณหนังศีรษะ จะทำให้รากผมบริเวณนั้นถูกทำลายจนไม่สามารถสร้างผมเส้นใหม่ได้ รวมไปถึงโรคผิวหนังที่ทำให้เกิดแผลเป็น เช่น โรค DLE (Discoid Lupus Erythematosus), Lichen Planus, Scleroderma

รักษาผมร่วง | ผู้หญิงดูแลตัวเอง | รู้ใจ

2. ผมร่วงแบบไม่มีแผลเป็น

ผมร่วงแบบไม่มีแผลเป็นนี้ เกิดจากรากผมถูกทำลายแต่ไม่ถาวร หากได้รับการรักษารากผมเส้นผมใหม่จะสามารถขึ้นได้ตามปกติ ซึ่งผมร่วงชนิดนี้สามารถพบได้บ่อยกว่าชนิดแรก โดยมักจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยเหล่านี้ 

  • โรคผมร่วงเป็นหย่อม เป็นอาการผมร่วงที่มีขอบเขตชัดเจน ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่แน่ชัดได้ มีเพียงการตั้งข้อสันนิษฐานว่า อาจเกิดจากประวัติครอบครัว มีประวัติภูมิแพ้ เครียด ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของตัวเอง ซึ่งโรคนี้จะทำให้เกิดการอักเสบที่รากผม ส่งผลให้เกิดการหลุดร่วง 
  • ผมร่วงจากพันธุกรรม เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุดและพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยในเพศชายมักจะพบผมบางบริเวณหน้าผาก กลางศีรษะ ถ้าเป็นมากจะเหลือผมแค่บริเวณหน้า ใบหูและท้ายทอย ส่วนในเพศหญิงจะพบได้บ่อยบริเวณกลางศีรษะ 
  • ภาวะเส้นผมระยะหลุดร่วง อาจอยู่ในระยะผมหลุดร่วงแต่หลุดร่วงมากกว่าคนปกติ สาเหตุอาจแตกต่างกันออกไป เช่น ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง หลังคลอดบุตร ขาดสารอาหาร ลดน้ำหนักเร็วเกินไป และจากผลข้างเคียงจากยาบางตัว
  • ภาวะเส้นผมระยะแบ่งตัว อยู่ในภาวะเส้นผมระยะแบ่งตัว แต่อาจหลุดร่วงมากกว่าปกติ ซึ่งมาจากสาเหตุเหล่านี้ เช่น ให้เคมีบำบัด การแพ้สารเคมีบางชนิด หรือขาดสารอาหาร เช่น โปรตีน ไบโอติก ธาตุเหล็ก ฯลฯ 

วิธีแก้ปัญหาผมร่วง

  1. หวีผมอย่างถูกต้อง – โดยการหวีเบา ๆ ที่กลางผมหรือเหนือปลายผมเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ผมพันกัน ไม่ควรดึงรั้งหรือกระตุกแรง ๆ หากหวีผมได้ถูกวิธี นอกจากจะช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมได้แล้ว ยังเป็นการดูแลสุขภาพหนังศีรษะของเราให้ดีขึ้นอีกด้วย 
  2. นวดหนังศีรษะ – การนวดหนังศีรษะเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้การเจริญเติบโตของเส้นผมดีขึ้น
  3. สระผมอย่างถูกต้อง – หวีผมก่อนสระ เลี่ยงการเกาหนังศีรษะแรง ๆ เลือกแชมพูที่เหมาะกับสภาพเส้นผมและหนังศีรษะ และอย่าลืมล้างผมให้สะอาดทุกครั้ง
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการช่วยบำรุงเส้นผม – เช่น วิตามินเอ วิตามิน บี แร่ธาตุต่าง ๆ ธาตุเหล็ก สังกะสี เป็นต้น
  5. เลี่ยงการใช้สารเคมีและความร้อนกับหนังศีรษะ – สำหรับคนที่ชอบทำสีผมบ่อย ๆ ทั้งกัด ทั้งย้อม สารเคมีเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเส้นผมและหนังศีรษะ หากใช้เป็นประจำและติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้หนังศีรษะอักเสบ เป็นแผล และทำให้ผมร่วงได้ง่าย
  6. ไม่มัดหรือดึงรั้งผมแน่นจนเกินไป – การรัดผมทุกวัน และรัดแน่นมาก ก็เป็นอีกสาเหตุของผมหลุดร่วงได้ ควรสลับ ๆ กันบ้าง ไม่ควรมัดผมทุกวัน หรือหากจำเป็นต้องมัดผมทุกวัน พยายามอย่ารัดแน่นจนเกินไป

การแก้ปัญหาผมร่วงด้วยตัวเองนั้นทำได้ไม่ยาก แต่อาจจะเป็นเพียงแค่การบรรเทาอาการผมร่วงเท่านั้น แต่หากผมร่วงเยอะมากจนผิดปกติ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า ไม่ว่าเพศไหน ผู้ชาย ผู้หญิงดูแลตัวเองแต่เนิ่น ๆ เพราะการได้รับการรักษาผมร่วงเร็ว ปัญหาผมร่วง ผมบางก็จะไม่ลุกลามเป็นวงกว้าง ตัวเราเองก็มีความมั่นใจมากขึ้น

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)